Assistive Technology for hearing and communication @สถาบันสิรินธร


1.ความรู้สึกที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

รู้สึกตื่นตาตื่นใจกับความรู้ใหม่ที่ได้รับในเรื่องของอุปกรณ์ช่วยการสื่อสารและการได้ยิน ช่วงระหว่างเรียนมีกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลของแจกทำให้รู้สึกสนุกสนานและตื่นตัวตลอดช่วงการสอน และมีแลปกลุ่มให้ช่วยกันตอบคำถามทำให้ได้ทบทวนความรู้ที่เรียนมา รู้สึกประทับใจมากๆเลยค่ะ และขอขอบคุณอาจารย์สมจิตร รวมสุข ที่ได้มาบรรยายสอนให้ความรู้และพาเดินดูแผนกกิจกรรมบำบัดและแผนกเวชศาสตร์การสื่อความหมาย ทำให้มองเห็นภาพรวมในการบริการภายในโรงพยาบาลได้ชัดเจนมากขึ้น

2.สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

       Assistive technology(AT) คือ เทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบุคคลซึ่งอาจมีความบกพร่องด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน ซึ่งสิ่งที่เรียนวันนี้จะเน้นไปที่อุปกรณ์ช่วยด้านการได้ยิน และอุปกรณ์ช่วยด้านการสื่อความหมาย และบทเรียนสำคัญอีกหนึ่งอย่าง คือ การสื่อสารทางเลือก(Augmentative Alternative Communication : ACC)

ประเภทของคนที่มีปัญหาด้านการได้ยินและสื่อความหมาย

  1. ผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองมีปัญหาด้านภาษาและการพูด
  2. ผู้ป่วยที่พูดไม่ชัด
  3. ผู้ป่วยเสียงแหบ เสียงห้าว เสียงลมแทรก
  4. ผู้ป่วยพูดติดอ่าง
  5. ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร

คนพิการทางการได้ยิน

แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ หูตึง และหูหนวก ซึ่งเครื่องช่วยฟังสำหรับการได้ยิน มีหลายหลายมาก เช่น

  • เครื่องช่วยฟังแบบกล่อง
  • เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู
  • เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู
  • เครื่องช่วยฟังระบบ FM แบบไร้สาย
  • ฯลฯ

วิธีการดูแลอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง

  • หลีกเลี่ยงการวางไว้ในที่ร้อน ระวังไม่ให้เปียกและอย่าให้เครื่องตก
  • ห้ามใช้ แอลกอฮอร์ ทินเนอร์ หรือ อีเทอร์ ในการเช็ดทำความสะอาด เพราะจะทำให้พลาสติกที่หุ้มตัวเครื่องละลาย
  • หากมีเหงื่อมาก ให้ถอดถ่านออกจากตัวเครื่องแล้วเก็บใส่กล่องดูดความชื้น
  • ห้ามใช้ถ่านนาฬิกา

คนพิการทางการสื่อความหมาย

บุคคลที่มีข้อจำกัดในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน หรือไม่สามารถมีส่วนร่วมในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น

  • ผู้ป่วยไร้กล่องเสียง
  • ผู้ป่วยเด็กสมองพิการ
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • ฯลฯ

ซึ่งอุปกรณ์ช่วยการสื่อสารมีหลากหลายเช่นกัน เช่น

  • กระดานสื่อสาร
  • บัตรภาพ/บัตรคำ
  • อุปกรณ์ช่วยการสื่อสารแบบบันทึกและเล่นเสียง
  • Talking switch 
  • เครื่องช่วยพูด
  • ฯลฯ

การสื่อสารทางเลือก(Augmentative Alternative Communication : ACC)

       เป็นการสื่อสารที่นำมาทดแทนการพูดหรือการเขียน เพื่อลดปัญหาความคับข้องใจที่ไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ โดยจะมีทีมสหวิชาขีพคอยดูแล ดังนี้

  • แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • พยาบาล
  • นักแก้ไขการพูด : มีบทบาทในการประเมินและเลือกใช้ AAC ที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย และฝึกให้ผู้ป่วย/ผู้ดูแลเรียนรู้วิธีการใช้ AAC 
  • นักกายภาพบำบัด
  • นักกิจกรรมบำบัด
  • จิตแพทย์

โดยประเภทของการสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ

  1. ไม่มีเทคโนโลยี ได้แก่ ท่าทาง/ภาษากาย การแสดงสีหน้า การกระพริบตา ภาษามือ(baby sign language และ deaf sign language)
  2. เทคโนโลยีขั้นต่ำ ได้แก่ รูปภาพ หนังสือ กระดาน
  3. เทคโนโลยีขั้นสูง ได้แก่ application อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

3.ความรู้ที่ได้จะนำไปพัฒนาต่อยอดทางกิจกรรมบำบัด

       ช่วยแนะนำ Assistive technology กับผู้รับบริการ รวมไปถึงการออกแบบการสื่อสารทางเลือกให้กับผู้รับบริการเพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมในขีวิตประจำวันและมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้


ผู้จัดทำ : 6423007 พราวพัชระ บริสุทธิ์ธนกุล

หมายเลขบันทึก: 717211เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2024 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2024 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท