ถอดบทเรียน สิ่งที่น่าสนใจจากการไปดูงาน AT for hearing and communication


ถอดบทเรียน การเรียนในหัวข้อ AT for hearing and communication  ณ ศูนย์สิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 ในรายวิชา PTOT366 ซึ่งเป็นรายวิชาเปิดใหม่ ในหลักสูตรทางกิจกรรมบำบัดปี 2564

 

1.ความรู้สึกที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

มีความรู้สึกดีและประทับใจ ที่ได้รับรู้บทบาทของนักฝึกพูด นักแก้ไขทางการสื่อความหมาย และแปลกใจที่ว่า มีนักแก้ไขทางด้านการได้ยินอีกหนึ่งบทบาท ที่มีจำนวนน้อยยิ่งกว่านักฝึกพูดในประเทศไทย และรู้สึกภูมิใจในบทบาทวิชาชีพนักกิจกรรมบำบัด ที่สามารถนำสื่อการรักษาผ่านกิจกรรมมาช่วยในการฝึกพูดได้ เช่น การทำกิจวัตรประจำวันภายในบ้าน รวมถึงบทบาทในเรื่องของการกระตุ้นพัฒนาการผ่านการใช้ sneosry intergration (SI) มาเป็นพื้นฐานต่อยอดให้เด็กเตรียมความพร้อมจนสามารถฝึกพูดและกลับไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่อไป….

 

2.สิ่งที่ได้เรียนรู้

‘นักแก้ไขการพูด’ คือผู้ทำหน้าที่ตรวจ ประเมิน วินิจฉัย และแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย โดยทำหน้าที่ต่อหลังจากหมอวินิจฉัย และจะทำงานคู่กับนักแก้ไขการได้ยิน ทว่าอาชีพนี้แทบจะไม่ได้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปและยังเป็นอาชีพที่กำลังขาดแคลนอยู่ เพราะมีบัณฑิตในระดับปริญญาตรีราวๆ 15 คนต่อปีเท่านั้น รวมถึงในขณะนี้ ทั้งประเทศมีนักแก้ไขการพูดประมาณ 250 คน 

 Posted On 13 July 2023 Thanyarat Khotwanta

(https://thematter.co/social/speech-language-pathologis/208136)

 

“นักแก้ไขการได้ยิน” คือ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการได้ยินที่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ มีหน้าที่ตรวจวินิจฉัยปัญหาทางการได้ยิน และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน ปัญหาโรคหูที่มักส่งที่อาจจะส่งผลเรื่องของการได้ยิน เช่น หูน้ำหนวก เป็นการสูญเสียการได้ชนิดการนำเสียงเสื่อม (Conductive hearing loss) ซึ่งอาจทำให้การนำเสียงเข้าไปในหูลดลง ทำให้มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทหูเสื่อม (Sensorineural hearing loss) เช่น ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการได้ยินตามวัย แม้ว่าเสียงพูดจะดังขึ้น แต่ผู้ป่วยอาจจะยังฟังคำพูดได้ไม่ชัดเจน และการสูญเสียการได้ยินแบบผสม (Mixed hearing loss) คือ มีการสูญเสียการได้ยินทั้งสองชนิดร่วมกัน เป็นต้น

(https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2600913)

 

Augmentative and Alternative Communication (AAC) system 

คือ ระบบการสื่อความหมายทดแทน (การพูดหรือการเขียน) เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากความคับข้องใจที่ไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ 

ซึ่งนักแก้ไขการพูด มีบทบาทในการประเมินและเลือกใช้ AAC ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย รวมถึงการฝึกใช้งาน AAC ทั้งตัวผู้ป่วยเองและผู้ดูแล 

Figure 1 - uploaded by Hasan Köse (https://www.researchgate.net/figure/Classification-of-AAC-Systems-AAC-augmentative-and-alternative-communication-Source_fig1_361457255)

 

โดย AAC system สามารถแบ่งออกเป็น

1.แบบไม่ใช้เทคโนโลยี (Unaided AAC)

  • การสื่อสารผ่านสัญลักษณ์ โดยใช้ภาษามือ
  • การสื่อสารผ่านภาษากาย
  • การสื่อสารผ่านการแสดงสีหน้า ท่าทาง การกระพริบตา

2.แบบใช้เทคโนโลยี (Aided AAC)

  • เทคโนโลยี (low tech) : กระดาน, หนังสือ, รูปภาพ
  • เทคโนโลยีปานกลาง (medium tech) : ปุ่มกดสื่อสาร
  • เทคโนโลยีขั้นสูง (high-tech) : Application, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 

 

เครื่องช่วยฟังคือ เครื่องขยายเสียงให้ดังขึ้น ประกอบด้วย ไมโครโฟนเป็นตัวรับเสียง ตัวขยายเสียงให้ดังขึ้นคือแอมพลิฟายเออร์ และลำโพงเป็นตัวปล่อยเสียงออก ทำงานโดยอาศัยถ่านเครื่องช่วยฟังที่มีกำลัง 1.4 โวลต์ ขนาดเท่ากับถ่านนาฬิกา แต่ใช้แทนกันไม่ได้เพราะโวลต์ไม่เท่ากัน จะทำให้เครื่องเสียง่าย

เครื่องช่วยฟังแบ่งเป็น 3 แบบ

  1. แบบกล่อง
  2. แบบแขวนหลังหู
  3. แบบใส่ในช่องหู ซึ่งแบ่งตามขนาดได้ 4 แบบ
    - แบบไมโครใส่ในช่องหู (IIC = Invisible in the Canal)
    - แบบจิ๋วใส่ในรูหู (CIC = Completely in the Canal)
    - แบบเล็กใส่ในช่องหู (ITC = In the Canal)
    - แบบใหญ่ใส่ในช่องหู (ITE = In the Ear)

บทความและรูปภาพจาก : (www.หูอื้อหูตึง.com/เครื่องช่วยฟัง.html)

 

3.ความรู้ที่ได้จะนำไปพัฒนาต่อยอดทางกิจกรรมบำบัดอย่างไร?

นักกิจกรรมบำบัด ช่วยพัฒนาการใช้ Aided Language Modeling เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านภาษาของผู้รับบริการให้สามารถสื่อสารได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ผ่านกิจกรรมการดำเนินชีวิต Occupational-base intervention 

คือ การพูดในบริบทจริงที่ผู้รับบริการอยู่พร้อมการจับคู่กับสิ่งที่ทำอยู่ผ่านสายตาหรือการทำให้ดูไปพร้อมกัน เช่น ขณะทานขนม  (Snacks) : Eat, More, All done, I want, give, open พูดคำขณะเปิดถุงขนม ขณะกิน เป็นต้นโดยให้คำนึงตัวกิจกรรมและสิ่งที่ต้องการจะใช้ Aided language modeling

 

พัฒนาองค์ความรู้ และเชื่อมโยงการใช้ Sensory integration FoR ร่วมกับ Multi-sensory convergence ใน sense ของ Visual, Auditory และ Tactile เพื่อออกแบบกิจกรรมการฝึกที่เหมาะสม รวมถึงการวัดค่าทางคลื่นสมองที่สัมพันธ์กับตำแหน่ง senosry นั้นเพื่อระบุปัญหาที่ชัดเจน 

(https://www.nature.com/articles/nrn3742) Review Article Published: 18 July 2014

 

 

ขอขอบคุณในการอ่านบทความนี้

จัดทำโดย

6423024 พีรพัฒน์ ห่านชัย OT14 ชั้นปีที่ 3

(30/01/67)

 

หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ และสามารถแนะนำเพิ่มเติมผ่าน Comment ได้

 

 

คำสำคัญ (Tags): #at#AAC#ot#slp
หมายเลขบันทึก: 717209เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2024 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2024 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท