อุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้รับบริการที่บกพร่องในการได้ยินและสื่อความหมาย


    สวัสดีค่ะ…ดิฉัน นางสาวพัชรพร ผ่องผล นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ในหัวข้อ Assistive technology  for Hearing impairment & Communication ณ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพแห่งชาติ ในวันที่ 23 มกราคม 2567  ในรายวิชาอุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักกิจกรรมบำบัด โดยได้เรียนรู้กับนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ “นักแก้ไขการพูด” ซึ่งทำให้ได้เห็นการให้บริการ รวมถึงอุปกรณ์ช่วยต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้รับบริการที่มีความบกพร่องในด้าน Hearing impairment & Communication  ให้ยังคงสามารถได้ยินและสื่อสารได้ตามศักยภาพสูงสุด 

ความรู้สึกที่ได้เรียนรู้

    รู้สึกประทับใจ และขอบคุณอาจารย์ที่ผู้ประสานงานรายวิชาและอาจารย์ผู้ดูแลทุกท่าน รวมถึงอาจารย์และพี่ ๆ ในแผนกเวชศาสตร์การสื่อความหมาย ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ ได้เรียนรู้กับ อาจารย์ สมจิตร รวมสุข นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายชำนาญการพิเศษ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการผู้รับบริการประเภท Hearing impairment & Communication โดยอาจารย์ได้บรรยายเนื้อหาและพาไปดูถึงแผนกที่ให้บริการจริงแก่ผู้รับบริการ โดยอาจารย์ได้ให้ความรู้อย่างเต็มที่ในตลอดทุกช่วงของการศึกษาเรียนรู้ (ไม่มีกั๊ก ><) และประทับใจพี่ ๆ ในแผนกเวชศาสตร์การสื่อความหมายที่ให้การต้อนรับในการเข้าไปดูที่แผนกด้วยความยินดี 😊

สิ่งที่ได้เรียนรู้

    ได้เรียนรู้ประเภทและกลุ่มของผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร เช่น ผู้รับบริการที่หูหนวก หรือ หูตึง ผู้รับบริการที่ไร้กล่องเสียง ผู้รับบริการเด็กที่มีปัญหา Dysarthria(กล้ามเนื้อในการพูดอ่อนแรง)อย่างรุนแรง, Delay speech ผู้รับบริการหลอดเลือดสมองที่มีภาวะ Aphasia, Dysarthria, Apraxia และผู้รับบริการกลุ่มที่มีการพยากรณ์โรคแย่ลง ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าผู้รับบริการที่มีความบกพร่องดังกล่าวมีทั้งสามารถแก้ไขที่อวัยวะหรือร่างกายได้ แต่ก็จะเห็นได้ว่าผู้รับบริการที่มีความบกพร่องดังกล่าวส่วนใหญ่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการให้บริการด้วยอุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยี ที่จะมาอำนวยความสะดวกและเนื่องด้วย การให้บริการด้วยอุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยีถือเป็นสิ่งสำคัญและเด่นชัดสำหรับการให้บริการผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร จึงได้เรียนรู้ประเภทการดูแลรักษาเบื้องต้น สิทธิขั้นพื้นฐานในการสื่อสาร การเข้าถึงสิทธิในการได้รับการสนัลสนุนอุปกรณ์ช่วยจากทางภาครัฐ ข้อบ่งชี้ในการให้อุปกรณ์ช่วยประเภทต่าง ๆ สำหรับผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร หรือที่เรียกว่า Augmentative Alternative Communication (ACC) การสื่อสารทางเลือก เช่น บัตรภาพ กระดานสื่อสาร เครื่องช่วยพูด Applicationที่หลากหลาย เครื่องช่วยฟังประเภทต่าง ๆ  และยังได้ไปดูอุปกรณ์จริงที่แผนก 

เครื่องช่วยฟัง
Electro-larynx,SERVOX,Speech aid,เครื่องช่วยพูด,เครื่องสำหรับคนไร้กล่องเสียง

1.เครื่องช่วยฟัง อ้างอิง:https://www.hearingcell.com/hearingaid/

2.เครื่องช่วยพูดสำหรับผู้ที่ไม่มีกล่องเสียง อ้างอิง:http://108pharma.com/home/electro-larynx/372-speed-aid.html

3.ตัวอย่างบัตรคำช่วยสื่อสาร อ้างอิง:เอกสารประกอบการบรรยาย หัวข้อ Augmentative and Alternative Communication การสื่อความหมายทดแทน. สมจิตร รวมสุข นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานแก้ไขการพูด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. 23 มกราคม 2567

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดในทางกิจกรรมบำบัด

    จากการศึกษาเรียนรู้ในครั้งนี้ทำให้ได้เห็นอุปกรณ์อุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลายประเภทมาก ๆ ซึ่งคิดว่าเป็นประโยชน์และจะสามารถนำไปต่อยอดในทางกิจกรรมบำบัดได้อย่างแน่นอน โดยสามารถให้คำปรึกษาและแนะนำ อุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ ให้ผู้รับบริการที่มีความบกพร่องในด้านการได้ยินและการสื่อสารได้เหมาะกับผู้รับบริการแต่ละคน เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการยังคงมีความสามารถการทำงานของอวัยวะที่บกพร่องในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพสูงสุด รวมถึงสามารถให้ความรูัในการเข้าถึงอุปกรณ์ช่วยที่เกี่ยวข้องกับการขอการสนับสนุนจากรัฐบาล และดูแลรักษาอุปกรณ์ในเบื้องต้น นอกจากนี้จะนำความรู้ที่ได้รับจากในการเรียนรู้ครั้งนี้ ใช้ร่วมกับการให้บริการทางกิจกรรมบำบัด เพื่อที่จะดูแล เข้าใจ และให้บริการผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้นในการฝึกงาน และตลอดจนการทำงานในอนาคต 

                                                                                     พัชรพร ผ่องผล

                                                                              รหัสนักศึกษา 6423008

                                                            นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

 

หมายเลขบันทึก: 717163เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2024 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2024 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท