ความรู้เรื่อง ภาพลักษณ์ (Image) : การสร้างภาพลักษณ์


แต่ต้องผ่านการคิด ไตร่ตรอง การวิเคราะห์ การสร้างสรรค์ การใช้จิตใจที่ดี มีความเชื่อศรัทธา รักในสิ่งที่ทำ




โดย พจน์ ใจชาญสุขกิจ

บุคคลทั่วไปก็สามารถสร้างภาพลักษณ์ให้กับตนเองได้ หรือแม้กระทั่งสินค้า/ บริการ ตราสินค้า ก็สามารถสร้างภาพลักษณ์ได้เช่นกัน

การสร้างภาพลักษณ์ (Image Building) ได้ถูกนำมาใช้ทั้งกับบุคคลรวมไปถึงการเชื่อมโยงต่อไปยังบริบทของทุกสิ่ง ศิลปะการสร้างภาพลักษณ์กลายเป็นส่วนสำคัญในการบริหาร เนื่องจากทุกวันนี้ภาพลักษณ์กลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุดต่อองค์กร สถาบันในสังคมและบุคคล

โดยที่การเกิดภาพลักษณ์นั้นสามารถเกิดขึ้นได้  3 ทางด้วยกัน คือ

+  เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
+ เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งหรือสร้างขึ้น
+ เกิดขึ้นจากการควบคุมหรือการจัดการ

ในขณะเดียวกัน ผู้ที่จะทำให้ภาพลักษณ์ให้เกิดขึ้นได้ มีปัจจัยต่างๆกันดังนี้

1. ระดับบุคคล
-  ต้องสามารถทำให้ตนเองนั้นเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนได้  
-  มีความคิดสร้างสรรค์พร้อมก้าวไปข้างหน้าภายใต้ภาพลักษณ์ของตนเอง / องค์กรอย่างมั่นใจ
-  ยอมรับการปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ยังไม่ดีพอ
- มีความรู้ความสามารถ
- มีวิสัยทัศน์ที่ดี
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
- หากอยู่ในองค์กรแล้วสามารถทำงานได้อย่างมืออาชีพ มีความโดดเด่นในกลุ่มงานเดียวกันหรือสายงานเดียวกัน สามารถดึงเอาภาพลักษณ์ที่ดีของตนเองออกมาได้ เช่น  มีลักษณะการเป็นผู้นำ สามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้โดยมีข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ และแสดงให้เห็นอย่างประจักษ์ชัดได้ มีรสนิยม มีความพร้อมในการทำงาน

2. เครื่องมือ เครื่องใช้ สินค้าและบริการ
-  รู้จักเลือกใช้ในสิ่งที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานได้ดี
- มีลักษณะที่ตรงกับการนำไปใช้งาน
- การรู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นประโยชน์ในแง่ของเครื่องมือ เครื่องใช้

3. วิธีการดำเนินงาน
เป็นลักษณะที่เห็นได้จากการปฏิบัติงานโดยตรง เช่น
- การแสดงออก  
- การทำให้เห็นผลงของงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- เน้นที่การดำเนินงานภายใต้หลักการที่เหมาะสม
- การดำเนินงานที่เน้นและให้ความสำคัญกับหลักศีลธรรมจึงมิใช่เรื่องที่ควรมองข้ามแต่ประการใด

4. สังคม
เป็นภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมภายนอกองค์กร หรือ นอกภารกิจหน้าที่ที่ทำประจำ
- เป็นการคืนกำไรให้สังคม เมื่อตนเอง / องค์กร ได้รับประโยชน์อย่างมากมายจากสังคมแล้ว

5. วัฒนธรรม
- วิธีการปฏิบัติงาน ค่านิยม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของตัวบุคคล องค์กร การรู้จักปรับตัวให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม ณ สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
- รู้กาละ และเวลาที่ต้องปฏิบัติตนเช่นไรจึงจะเหมาะสม
- สามารถแสดงให้เห็นถึงการรู้จักใช้องค์ประกอบของตนเอง / องค์กรได้เป็นอย่างดี

6. บรรยากาศแวดล้อม
- เป็นการรวมทุกส่วนที่แวดล้อมตัวเรา หรือองค์กรที่เราทำงานอยู่
- จำเป็นต้องมีลักษณะที่กลมกลืนระหว่างกัน มีความเป็นมิตร สามารถทำงานเข้ากันได้ดีนับตั้งแต่แรกที่พบเจอกัน เพื่อสร้างความประทับใจครั้งแรกให้เป็นที่จดจำไปตลอด

7. ช่องทางการสื่อสาร
- การรู้จักใช้ช่องทางการสื่อสารมาทำให้สถานการณ์ บรรยากาศสภาพแวดล้อมดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพูด การฟัง การได้สัมผัส ลิ้มรส การได้ยิน ได้กลิ่น ได้เห็น ให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างภาพลักษณ์ของบุคคลและองค์กรได้
- เป็นด่านแรกในการทำให้เกิดการรับรู้ที่จะเป็นการเปิดเส้นทางไปสู่ด่านต่อไปในการสร้างภาพลักษณ์ที่ว่าด้วยการเรียนรู้ การรู้สึก การกระทำ และสร้างภาพลักษณ์ที่เหมาะสมให้เกิดขึ้น

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เพียงแค่การแต่งกายให้ดี ดูแลใส่ใจบุคลิกภาพ มีมารยาท รู้จักกาลเทศะ สร้างชื่อเสียง เป็นผู้นำเพียงเท่านั้น ......
....... แต่ต้องผ่านการคิด ไตร่ตรอง การวิเคราะห์ การสร้างสรรค์ การใช้จิตใจที่ดี  มีความเชื่อศรัทธา รักในสิ่งที่ทำ นำเสนอในสิ่งที่ถูกต้อง


หมายเลขบันทึก: 71705เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท