Digital Economy


20240109121712.pdf

                                                       Digital Economy สำคัญอย่างไร

เศรษฐกิดิจิทัล (Digital Economy) ตามคำนิยามของ องค์การสหประชาชาติหมายถึง ผลกระทบ ของการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ตกกระทบต่อการพัฒนาสังคมในประเทศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ เช่น การติดต่อสื่อสาร การเดินทาง การรับรู้การผลิต การค้าแลกเปลี่ยน การดำรงชีวิต และอื่นๆอีกมาก ที่สำคัญเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดเป็นนวัตกรรม และสร้างมูลค่าใหม่ในทางเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ จึงถูก เรียกว่า “เศรษฐกิจดิจิทัล” ซึ่งเมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้ใครหลายคนก็เข้าใจได้ว่า เศรษฐกิจดิจิทัล คงมิใช่เพียง หมายถึง การค้าขายผ่านโลกอินเทอร์เน็ต หรือธุรกิจออนไลน์เพราะสิ่งที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น นักเศรษฐศาสตร์และผู้นำโลกธุรกิจดิจิทัล ยืนยันว่า เศรษฐกิจดิจิทัล มีความก้าวหน้า และมีความสลับซับซ้อนกว่า แค่เศรษฐกิจบนอินเทอร์เน็ต หรือการค้าออนไลน์ที่ผู้คนทั้งหลายกำลังกระทำกัน อยู่ในปัจจุบัน

กระบวนทัศน์ของเศรษฐกิจดิจิทัลต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ผ่าน Technology Platform มากมายใน หลากหลายรูปแบบ และมีมาตรฐาน Interface เข้ากันได้แบบไร้รอยต่อ โดยการเชื่อมต่อแบบ Hyper Connected บนพื้นฐานความปลอดภัยระดับสูง ขณะที่ระบบ IOT (Internet of Things) จะเข้ามาสนับสนุนการตรวจสอบข้อมูลที่เปิดกว้าง ข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ขั้นสูง เพื่อได้บทสรุปที่ถูกต้องแม่นยำ ภายใต้Application Platform ที่หลากหลายทั้งแบบ Stand alone และ Cloud Network 

การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านเทคโนโลยีที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่แค่การซื้อขายสินค้าออนไลน์เพียงเท่านั้น แต่การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของสังคมมีความก้าวหน้า สลับซับซ้อนมากกว่าเรื่องของการค้าบนโลก อินเทอร์เน็ต ทั้งมีผลผูกพันในหลายมิติของสังคม ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำของการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม  ดังนั้น หลักสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบที่เป็นสาระ สำคัญ ดังนี้ 

 

1.เครืข่ายอินเทอร์น็ตความเร็สูง ระดับ Gigabit ที่มีความเสถียร และมีประสิทธิภาพสูงเพื่อการ สื่อสารรับส่งข้อมูล โดยจำเป็นต้องให้มีการบริการครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจทั้งเมืองและชนบท แต่ที่ผ่านมาประสิทธิภาพระดับสูงของเครือข่ายมักมีอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมือง จึงกลายเป็นปัญหาสำคัญของ การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้ครอบคลุมในทุกๆระดับของสังคม

 

2. เทคโนโลยีข้มูลหรืที่รียกกัว่า “Big Data” การมีจำนวนข้อมูลมหาศาลจะช่วยทำให้เกิดการ พัฒนาผู้ช่วยอัจฉริยะหรือ (Artificial intelligence) ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้เกิดการพยากรณ์การคาดการณ์มีความแม่นยำสูง ทั้งยังทำให้การทำงานลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนในด้านต่างๆ ลง แต่การ จะมีเทคโนโลยีข้อมูลหรือ Big Data ได้นั้นจำเป็นต้องมีการจัดการโครงสร้างข้อมูลอย่างเป็นระบบ และทำให้ข้อมูลทั้งหลายมีความสามารถในการเชื่อมโยงในรูปแบบเครือข่าย รัฐจำเป็นต้องสนับสนุน ให้เกิดการลงทุน เพราะถือว่าเทคโนโลยีข้อมูลเปรียบเสมือนโครงสร้างพื้นฐานของระบบ เศรษฐกิจ ดิจิทัล

 

3. เครืข่าย IOT หรือ (Internet of Things) เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งขนาดตัวเล็ก เกิดขึ้นจากชิป คอมพิวเตอร์ที่มีราคาถูก มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูลที่Bandwidth ความถี่สูง และเชื่อมโยง เข้าเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมันทำหน้าที่เป็น Sensor ตรวจจับข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่มีความ แม่นยำสูง เพื่อส่งข้อมูลไปสู่กระบวนการประมวลผล ในปัจจุบัน IOT ถูกติดตั้งเข้าไปในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ทีวีตู้เย็น เครื่องซักผ้า และยานพาหนะต่างๆ และผลิตภัณฑ์อีกหลากหลายชนิด เพื่อ ให้เกิดผลของการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ปัจจุบันผู้ผลิตสินค้าภาคเอกชนจำนวนมากเห็นถึง ประโยชน์ของ IOT ในการมีส่วนร่วม ที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการทางธุรกิจในหลายมิติ

สิ่งที่สำคัญคือ การขับเคลื่อนของภาครัฐในด้านเครือข่าย IOT และสนับสนุนในเกิด อุตสาหกรรม IOT จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้IOT จำนวนหลายพันล้านชิ้น ไปผลักดัน เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม ในที่นี้จึงยกตัวอย่างพอสังเขป เช่น 

ตัวอย่างที่1. สำหรับสังคมเมือง การติดตั้ง IOT ที่สามารถส่งข้อมูลเชื่อมโยงกับระบบกล้อง CCTV ที่ติดตั้งอยู่จำนวนมากในหลายพื้นที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการตรวจจับพฤติกรรมของ อาชญากร หรือการกระทำความผิดของทั้งมนุษย์และยานพาหนะ ถือเป็นการสร้างระบบป้องกันและ ปราบปรามอาชญากรรมในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

ตัวอย่างที่2. การติดตั้ง IOT จำนวน 3 ถึง 5 จุดรอบในพื้นที่การเกษตรของหมู่บ้านหรือชุมชน เพื่อตรวจวัดอุณหภูมิความชื้น หรือปริมาณฝน และส่งข้อมูลสู่การประมวลผลสภาพภูมิอากาศของ เฉพาะพื้นที่เพื่อพัฒนาให้ชุมชนผลิตสินค้าการเกษตรอย่างแม่นยำ...

จากที่ยกตัวอย่างมาหากเราสำรวจให้ละเอียด จะเห็นว่า IOT มีความจำเป็นอีกหลายภาคส่วน ดังนั้น ภาครัฐจำเป็นต้องพัฒนาและมีการผลักดันการติดตั้งระบบ IOT ให้เกิดขึ้นในทุกมิติเศรษฐกิจ ดิจิทัลจะสำเร็จไม่ได้เลยหากรัฐยังละเลยเรื่องของ IOT 

 

4. เทคโนโลยีConnectivity Platform Interface คือ ความเสถียรและความปลอดภัยในการเชื่อม ต่อ และการสื่อสาร เนื่องจากโลกแห่งเทคโนโลยีข้อมูล และอินเทอร์เน็ตมีโอกาสถูกรุกรานจากกลุ่ม บุคคลที่มีความชำนาญด้านเทคโนโลยีและใช้เทคโนโลยีเพื่อการแสวงหาประโยชน์อยู่ในทุกรูปแบบ ดังนั้น Platform Interface เป็นระบบสำคัญที่เรามองไม่เห็น เพื่อสนองตอบการตรวจสอบความถูก ต้อง ความปลอดภัยในการสื่อสาร ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับการพัฒนาโครงสร้าง Platform มีสองส่วนที่ประกอบด้วย API (Application Programming Interface) และ Blockchain และยัง จำเป็นต้องเชื่อมโยงรับส่งข้อมูลกับโครงสร้างระบบ IOT เพื่อประสิทธิภาพของระบบ 

ระบบ Connectivity Platform Interface นอกจากจะสร้างเสถียรภาพในการสื่อสารดิจิทัล แล้ว ยังจะทำให้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลมีความโปร่งใส ตรวจสอบความถูกต้องและเป็นธรรม ที่สำคัญ ระบบนี้ยังมีส่วนช่วยในการจัดการปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการ ก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัล และเศรษฐกิจดิจิทัล จะละเลยปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นไม่ได้และยังถือเป็นภาระ หน้าที่ของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลในสังคมทุกคน

 

5. การพัฒนา Application Platform หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า App ในปัจจุบันการพัฒนา App หรือโปรแกรมที่มีศักยภาพสูงมักอยู่ในกลุ่มการค้าที่มีฐานการผลิตมาจากต่างประเทศ ผู้ผลิตใน ประเทศที่มีศักยภาพสูงยังมีน้อยรายและเป็นธุรกิจขนาดใหญ่รัฐจำเป็นต้องสนับสนุนให้เกิดผู้ผลิต Application รายย่อยไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ Startup หรือ SME เพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล และยังเกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไปพร้อมกัน ประเด็นสำคัญคือการพัฒนา App ที่สร้างคุณค่าและประโยชน์ทางสังคม หรือ APP ที่ผู้ใช้สามารถนำ ไปต่อยอดการทำงานในด้านต่างๆได้แต่เป็น App ที่ไม่สร้างรายได้หรือผลประโยชน์เชิงธุรกิจ ภาครัฐ ยิ่งมีความจำเป็นต้องเข้ามาสนับสนุนงบประมาณอย่างเป็นระบบ เพราะมันมีส่วนในการผลักดัน เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญ

 

เศรษฐกิจดิจิทัล กำลังเข้ามาเป็นระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่แทนที่ระบบเศรษฐกิจเดิม ที่มีเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นตัวขับเคลื่อนระบบในทุกมิติแนวโน้มในระดับสากล เศรษฐกิจดิจิทัลกำลังถูกพัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว การกำหนดขอบเขตและสร้างมาตรฐานในการสื่อสารถูกพัฒนาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานระดับโลก เช่น องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) และข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาค กำลังนำ เสนอแนวทางของการกำกับดูแลและเชื่อมโยงต่อกัน ควบคู่ไปกับส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมของภาคเอกชน สำหรับการกำกับดูแลการค้า และข้อมูลดิจิทัล ที่อาจนำไปสู่การสร้างความปลอดภัยส่วนตัว ความไว้วางใจใน ระบบ

 

เศรษฐกิจดิจิทัล เป็นสิ่งที่เน้นย้ำถึงโอกาสและความจำเป็นสำหรับ ภาครัฐสมัยใหม่องค์กรธุรกิจสมัยใหม่และปัจเจกบุคคล ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อน ดำเนินกิจกรรมในมิติต่างๆให้ดีขึ้น เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพ ที่แตกต่างไปจากเดิม เศรษฐกิจของโลกยุคปัจจุบันและอนาคต ปัจจัยของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกำลังเข้ามามีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบสังคม

 

เศรษฐกิจดิจิทัล จึงกลายเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจสมัยใหม่เศรษฐกิจดิจิทัลช่วยให้ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมมีความสามารถในการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขยายการแข่งขันทางการตลาดสู่ระดับโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืน การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจดิจิทัล จะก่อให้เกิดสินค้า บริการ และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น การผลิตซอฟต์แวร์การสร้างปัญญา ประดิษฐ์ส่งผลให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ที่สำคัญเศรษฐกิจดิจิทัล จะยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชน ช่วยให้บุคคลสามารถเข้าถึงข้อมูล และบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วเป็นธรรม คุณภาพ ชีวิตของประชาชนดีขึ้น และสุดท้ายยืนยันอีกครั้งว่า เศรษฐกิจดิจิทัลช่วยทำให้เกิดการตรวจสอบความโปร่งใส ในการบริหารจัดการงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ช่วยให้สังคมมีความเป็นธรรม และเจริญก้าวหน้า 

ภาสกร อรรถสิษฐ

 

20240109121712.pdf

หมายเลขบันทึก: 716978เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2024 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2024 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท