นวัตกรรมตราปั้มมหัศจรรย์รู้ทันโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด


นวัตกรรมตราปั้มมหัศจรรย์รู้ทันโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ชื่อผู้วิจัย สุภาโชค กองกูล, พรรณพร  เงินประโคน, และมะลิวัลย์ เศรษฐบุตร

หน่วยงาน กลุ่มบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม รพ.ละหานทราย 

ผู้นำเสนอผลงาน นางสาวสุภาโชค กองกูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

สถานที่ติดต่อ: รพ. ละหานทราย 55 ม.8 ต.ละหานทราย อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์                                                 

โทรศัพท์มือถือ 0857633890 e-mail: [email protected]

บทคัดย่อ

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดพบบ่อยที่สุดในวัยเด็ก ซึ่งพบร้อยละ 70-80 ของโรคหัวใจในเด็กทั้งหมด ประเทศไทยพบปีละประมาณ 8,000 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 50 จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดกว่าร้อยละ 95 หาสาเหตุไม่ได้ ร้อยละ 10-30 เสียชีวิตก่อนได้รับการวินิจฉัย การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจค้นหากลุ่มเด็กอายุ 2 เดือน ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด การวางแนวทางตรวจคัดกรองของโรงพยาบาลละหานทราย และการส่งต่อเพื่อรักษาไปยังโรงพยาบาลศูนย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ  2  เดือน ที่ได้รับการคัดกรองโรคหัวใจทั้งหมด 723 ราย คัดเลือกโดยเฉพาะเจาะจง เด็กทุกรายได้รับการตรวจร่างกายจากกุมารแพทย์ คัดกรองโดยการฟังเสียงหัวใจ Murmur และติดตราปั้มที่สมุดสีชมพู    เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 -พฤษภาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วย จำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย พบว่า มีอุบัติการณ์ของภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด 0.20 ต่อทารกคลอด 1000 ราย โดยในปี 2559 คัดกรองทั้งสิ้น 310 คน พบสงสัยผิดปกติ 2 คน หลังติดตามพบว่าไม่เป็นโรคหัวใจ  ในปี 2560 คัดกรองทั้งสิ้น 413 คน พบสงสัยผิดปกติ 7 คน และหลังติดตามพบว่าไม่เป็นโรคหัวใจจำนวน 3 คน ส่งต่อรพ.ศูนย์ 2 คน นอกจากนั้นพบผู้ป่วยมีภาวะ VSD จำนวน 1 คน วินิจฉัยเป็น Heart SEM gr.II with VI at LPSB จำนวน 1 คน  การศึกษานี้พบอุบัติการณ์ของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 2 รายต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ จากการคัดกรองร่วมกับการตรวจร่างกายโดยกุมารแพทย์

 การคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็กอายุ 2 เดือนร่วมกับการตรวจร่างกายโดยกุมารแพทย์นั้นช่วยให้ค้นพบความเสี่ยงและโอกาสเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ นอกจากนั้นยังมีการส่งต่อเพื่อรักษาโดยการผ่าตัด ดังนั้นจึงควรพัฒนาคุณภาพการบริการจัดให้มีการคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็กทุกโรงพยาบาลชุมชนเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที นวัตกรรมตราปั้มมหัศจรรย์รู้ทันโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจะช่วยในเรื่องความครอบคลุมของการคัดกรอง การลดอัตราการพิการและเสียชีวิต รวมถึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

คำสำคัญ การคัดกรอง , โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, การส่งต่อ

สรุปสาระสำคัญ

บทนำ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดพบบ่อยที่สุดในวัยเด็ก ซึ่งพบร้อยละ 70-80 ของโรคหัวใจในเด็กทั้งหมด ประเทศไทยพบปีละประมาณ 8,000 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 50 จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดกว่าร้อยละ 95 หาสาเหตุไม่ได้ ร้อยละ 10-30 เสียชีวิตก่อนได้รับการวินิจฉัย จังหวัดบุรีรัมย์มีกุมารแพทย์โรคหัวใจในโรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์รักษาโดยการผ่าตัด3โรงพยาบาลละหานทราย เป็นโรงพยาบาล ชุมชนขนาด 120 เตียง ซึ่งยังไม่มีการตรวจคัดกรองภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาโดยการฟังเสียงหัวใจ Murmur และติดตราปั้มที่สมุดสีชมพูทุกรายในการคัดกรองภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดร่วมกับการตรวจร่างกายจากกุมารแพทย์ เพื่อค้นหาผู้ป่วยและวางแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานประจำให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านการตรวจคัดกรอง และส่งต่อรักษา วัตถุประสงค์ เพื่อคัดกรองค้นหากลุ่มเด็กอายุ 2 เดือน ที่เสี่ยงและมีโอกาสเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 

วิธีการศึกษา การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ  2 เดือน  ในอำเภอละหานทรายที่ได้รับการคัดกรองโรคหัวใจทั้งหมด 723  ราย คัดเลือกโดยเฉพาะเจาะจง เด็กทุกรายได้รับการตรวจร่างกายจากกุมารแพทย์ การฟังเสียงหัวใจ Murmur และติดตราปั้มที่สมุดสีชมพูทุกราย    เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน 2559 -เดือน พฤษภาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วย จำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย พบว่า  กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมด 723  ราย คิดเป็นร้อยละ 73.85 ของ เด็กอายุ 2 เดือนทั้งหมด หลังติดตามพบว่าไม่เป็นโรคหัวใจ ในปี 2560 คัดกรองทั้งสิ้น 413 คน พบสงสัยผิดปกติ 7 คน และหลังติดตามพบว่าไม่เป็นโรคหัวใจจำนวน 3 คน ส่งต่อรพ.ศูนย์ 2 คน นอกจากนั้นพบผู้ป่วยมีภาวะ VSD จำนวน 1 คน วินิจฉัยเป็น Heart SEM gr.II with VI at LPSB จำนวน 1 คน การศึกษานี้พบอุบัติการณ์ของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 2 รายต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ 

อภิปราย สรุป และข้อเสนอแนะ การคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โดยการฟังเสียงหัวใจ Murmur การปั้มแบบคัดกรองในสมุดสีชมพู ร่วมกับการตรวจร่างกายให้ประโยชน์ในการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้ได้ในเบื้องต้น     ควรส่งเสริมให้มีการตรวจที่ต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้วินิจฉัยให้ได้มากขึ้น เป็นการประเมินและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดูแลกลุ่มเด็กอายุ 2 เดือนต่อไปทั้งนี้เนื่องจาก การตรวจคัดกรองโรค นอกจากจะทำให้ เด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีโอกาสได้รับ การวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงทีแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลที่ได้รับ เกี่ยวกับจำนวนเด็กที่ผิดปกติ ไปใช้ ในทางระบาดวิทยา เพื่อให้ทราบถึงความชุกของ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็ก  อัตราชุกของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดใน การศึกษานี้ เท่ากับ 0.20 ต่อ 1,000 ราย สอดคล้อง กับการศึกษาของจรัญ สายะสถิตย์ และคณะ(2553) ที่ว่า ความชุกของโรคหัวใจพิการแต่ กำเนิดในเด็ก ต่อ 1,000 ราย มีค่าเท่ากับ 1.05, 0.45 และ 0.41  สอดคล้องกับดาวเรือง มงคลศิริ และคณะ(2548)  ที่ว่า การฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์เพื่อเพิ่ม ทักษะในการฟังเสียงหัวใจ เป็นประโยชน์มากทั้งใน ด้านคุณภาพและปริมาณในการตรวจคัดกรอง5  และ มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก ที่ว่า เด็กที่จะมีพัฒนาการที่ดีได้นั้น ขึ้นอยู่กับการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง จะเห็น ได้ว่าเด็กที่มีปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาโรคหัวใจ จะส่งผลต่อการพัฒนาการในวัยเด็ก มีผลให้คุณภาพชีวิตของเด็กลดลง.6  จากผลการวิจัยมีจุดเด่น คือ กุมารแพทย์ในโรงพยาบาลละหานทราย คัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็ก ค้นหากลุ่มเด็กอายุ 2 เดือน ที่ความเสี่ยง และมีการส่งต่อเพื่อรักษาโดยการผ่าตัด จึงเสนอแนะให้มีการคัดกรองในทุกโรงพยาบาลชุมชน เพื่อให้เด็กมีโอกาสได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที นวัตกรรมตราปั้มมหัศจรรย์รู้ทันโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจะช่วยในเรื่องความครอบคลุมของการคัดกรอง และพบจุดอ่อน คือ มีเพียงกุมารแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ จึงเสนอแนะให้ศึกษาความแม่นยำในการตรวจ คัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็ก เพื่อประเมินทักษะการตรวจคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็ก  รวมทั้งบุคลากรในคลินิกเด็กดีคุณภาพ การคัดกรองภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดจะมีประโยชน์ในด้านการลดอัตราการพิการและเสียชีวิต รวมถึงทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

1. คณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. (2550).ตำราการพยาบาลเด็ก.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรีวัน.พิมพ์ครั้งที่ 1.

2. ชญาภา วันทุม, และ สุพรรณี สุ่มเล็ก (2555). การเสริม สร้างสุขภาพเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลัง การผ่าตัดของผู้ดูแล. วารสารพยาบาลศาสตร์ และสุขภาพ, 35(1), 1-9.

3. ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์ (2553). การพยาบาลผู้ป่วย เด็กโรคหัวใจแต่กำเนิด: หลักการและแนวทาง ปฏิบัติ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 28(2), 13-22

4. อรจิรา  เทียนน้ำเงิน. 2556. การให้นมเด็กโรคหัวใจ.  ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงประจำหอผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจสก.6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. 

5. อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์, และ รัตนาวดี ชอนตะวัน (2554). การดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในระยะก่อนผ่าตัดหัวใจ: ผลกระทบต่อครอบครัว. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29 (Suppl2): 7-18.

7. Dalieno, L., Mapelli, D., & Volpe, B. (2006). Measurement of cognitive outcome and quality of life in congenital heart disease. Heart, 92, 569-574.

8. Gupta, S., Giuffre, R. M., Crawford, S., & Waters, J. (1998). Covert fears, anxiety and depression in congenital heart disease. Cardiology in the Young, 8(4), 491-499.

9. Hoffman JI, Kaplan S (June 2002). "The incidence of congenital heart disease". J. Am. Coll. Cardiol. 39 (12): 1890–900.

หมายเลขบันทึก: 716794เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2023 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2023 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท