การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาระยะยาวในชุมชน แบบบูรณาการ ด้วยเครือข่าย District Health Board.


การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาระยะยาวในชุมชน แบบบูรณาการ ด้วยเครือข่าย District Health Board.

ชื่อผู้วิจัย สุภาโชค กองกูล

หน่วยงาน กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม รพ.ละหานทราย 

สถานที่ติดต่อ: รพ. ละหานทราย 55 ม.8 ต.ละหานทราย อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์                                                 

โทรศัพท์มือถือ 0857633890 e-mail: [email protected]

ผู้นำเสนอผลงาน นางสุภาโชค กองกูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

คำสำคัญ ผู้สูงอายุ , การดูแลระยะยาว, District Health Board

บทคัดย่อ

บทนำ : ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ ปี 2560 ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 11 ล้านคน พบปัญหาโรคเรื้อรัง ค่าใช้จ่ายสูง การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนที่อยู่บนฐานการบริการสุขภาพปฐมภูมิ เน้นเครือข่าย District Health Board (DHB) มีส่วนร่วมบริหารจัดการ บูรณาการ การทำงาน ใช้แนวคิดการดูแลระยะยาว เป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนให้ผู้สูงอายุติดเตียง มีคุณภาพชีวิตที่ดี

วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเครือข่าย District Health Board ต่อการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาระยะยาวในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง 30 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบจำลอง CIPP Model เป็นกรอบ ในการประเมิน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ และวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา :  พบว่า 1) ด้านบริบท สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขและ ปัญหาสุขภาพ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า บุคลากรและงบประมาณเพียงพอองค์ความรู้คือวัฒนธรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อนผู้สูงอายุ 3) ด้านกระบวนการ มีการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันอยู่ภายใต้กลไกการประสานงานทุกระดับ 4) ผลการพัฒนา ตำบลที่เข้าร่วมLTC 6 ตำบล  อปท. 7 แห่ง ดูแลกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง 203  คน มี Care Giver ที่ผ่านการอบรม 70 ชั่วโมง 178 คน Care manager 15คน มีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ระยะยาว 

วิจารณ์ : ปี 2561 ใช้แนวคิดการดูแลระยะยาว มาจัดการปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงในชุมชน จุดเด่น พัฒนาบทบาท ภาคประชาชน ท้องถิ่น มาแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาระยะยาว ใช้กระบวนการ PDCA

สรุปและข้อเสนอแนะ : สนับสนุนภาคีเครือข่ายDistrict Health Board เพื่อสนับสนุนให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ครอบครัว และช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพาระยะยาวในชุมชน

คำสำคัญ :  ผู้สูงอายุ , การดูแลระยะยาว, District Health Board

สรุปสาระสำคัญ

1.บทนำและวัตถุประสงค์

ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ ในปี 2560 มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 11 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17 ของประชากร ทั้งหมด 65.5 ล้านคน 1  พบปัญหาโรคเรื้อรังและโรคค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องและเป็นเวลานาน การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนที่อยู่บนฐานการบริการสุขภาพปฐมภูมิ เน้นเครือข่าย District Health Board (DHB) มีส่วนร่วมบริหารจัดการ บูรณาการ การทำงาน ใช้แนวคิดการดูแลระยะยาว(Long Term Care: LTC)  เป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนให้ผู้สูงอายุติดเตียง มีคุณภาพชีวิตที่ดี เน้นการทำงานระหว่าง 3 ภาคี สุขภาพ สังคม ชุมชน เป็นระบบการทำงานเพื่อร่วมแก้ไข ปัญหาสุขภาพ เป้าหมายดำเนินงานขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ ภายใต้แนวคิดประชาชนเป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลตนเองของชุมชน (Self-Care)2  เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเครือข่าย District Health Board ต่อการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาระยะยาวในชุมชน

2.วิธีการศึกษา

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ญาติผู้ป่วย ผู้นำชุมชน อบต. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนำชุมชน อสม.  จำนวน 30 คน คัดเลือกแบบเจาะจง(Purposive sampling) ใช้แบบจำลองซิปป์(CIPP Model) เป็นกรอบ ในการประเมิน แบ่งเป็น 4 ระยะ 1)วิเคราะห์บริบท ความสอดคล้องเครือข่าย District Health Board 2)ประเมินรูปแบบในการดำเนินงาน ปัจจัยนำเข้า 3) ประเมินกระบวนการ การดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาระยะยาวในชุมชนแบบบูรณาการด้วยเครือข่าย District Health Board   4) การประเมินผลการพัฒนา District Health Board เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม   เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560 - เดือน กันยายน 2561 รวมระยะเวลา 12 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วย จำนวน ร้อยละ และการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Analysis)

 3.ผลการศึกษา

          1) ด้านบริบท สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขและปัญหาสุขภาพ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า บุคลากรและงบประมาณเพียงพอ องค์ความรู้คือวัฒนธรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อนผู้สูงอายุ 3) ด้านกระบวนการ มีการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันอยู่ภายใต้กลไกการประสานงานทุกระดับ 4) ผลการพัฒนา พบว่า ตำบลที่เข้าร่วมการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาระยะยาวในชุมชน จำนวน 6 ตำบล  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 7 แห่ง ดูแลกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง  จำนวน 203 คน  ในด้านสาธารณสุข มีการสร้าง Care Giver ที่ผ่านการอบรม 70 ชั่วโมง จำนวน 178 คน ลงปฏิบัติงานจริงในชุมชน จำนวน 107 คน และ Care manager จำนวน 15 คน ในด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ระยะยาว เพื่อบริหารจัดการ และสนับสนุนค่าตอบแทน เพื่อให้เกิดกลไกการดูแลระยะยาว ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพในส่วนท้องถิ่น  ทำให้เกิดทีมพัฒนาขับเคลื่อนบูรณาการทุกภาคส่วน มีฐานข้อมูลและการจัดบริการสุขภาพที่คลอบคลุมปัญหา และเชื่อมโยงกับกลไกสุขภาพอำเภอ  District Health Board (DHB) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลตนเองของชุมชน (Self-Care) ได้พัฒนาบทบาทของ อสค. ในเรื่องเป็นแกนนำปฏิบัติตนด้านสุขภาพที่มีพฤติกรรม เป็นแบบอย่างให้ครอบครัว และเป็นผู้ดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวตนเอง ช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง 

4. อภิปราย สรุป และข้อเสนอแนะ 

ปี 2561 คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต(พชอ) (District Health Board:DHB) วางแผน กําหนดแนวทางการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(LTC)  โดยใช้แนวคิด การทำงานอย่างมีส่วนร่วม ตามแนวทางประชารัฐ ดึงภาคีเครือข่าย หมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ มาเป็นตัวเชื่อม อย่างไร้รอยต่อ ระบบสุขภาพชุมชน  สู่ระบบบริการสุขภาพ อย่างยั่งยืน  จากผลการวิจัยมีจุดเด่น พบว่า  การจัดการสุขภาพตนเอง โดย การพัฒนาบทบาทภาคประชาชน ท้องถิ่น และทุกๆภาคส่วน ร่วมกัน โดยใช้กระบวนการตามวงจรการพัฒนาPDCA (Deming Cycle) เพื่อลดปัญหาในด้านผู้สูงอายุต้องพึ่งพาระยะยาวในชุมชน

          จึงเสนอแนะให้ สนับสนุนภาคีเครือข่าย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) District Health Board (DHB) เพื่อแก้ไขปัญหาการดูแลสุขภาพแบบระยะยาว โดยยึดตามบริบทของชุมชน วิเคราะห์ ต้นทุนที่มีอยู่ของชุมชน และวิถีชีวิตวัฒนธรรม มากำหนดกลยุทธ์ และรูปแบบในการดำเนินงานเพื่อ แก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยเน้นกระบวนการจัดการสุขภาพด้านแบบบูรณาการ และปัญหาสุขภาพตามบริบทของพื้นที่ เพื่อให้ ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีและอายุยืนยาว

5. เอกสารอ้างอิง

1. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี2560.โรงพิมพ์เดือนตุลา.2560;3-4

2. Saelee, Rojanavipat, Hungsapruek, Tiptiengtae, Tonsuthepweerawong, & Yana, 2014

3. World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: A handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: WHO document production services; 2010.  

4. สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ District Health System (DHS). นนทบุรี: สำนักบริหารการ สาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2557. 

5. Stanhope M, Lancaster J. Community and public health nursing. 6th ed. St. Louis: The C.V. Mosby; 2004. 

หมายเลขบันทึก: 716793เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2023 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2023 00:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท