การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์


การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้นำเสนอผลงาน นางสุภาโชค กองกูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

สถานที่ติดต่อ: รพ. ละหานทราย 55 ม.8 ต.ละหานทราย อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์                                                 

โทรศัพท์มือถือ 0857633890 e-mail: [email protected]

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) ในคลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก  โรงพยาบาลละหานทราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 41 คน ประกอบด้วยกุมารแพทย์ 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 1 คน พยาบาลเฉพาะทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น 1 คน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน 12 คน   ตัวแทนครูศูนย์เด็กเล็ก 3 คน และตัวแทนของครอบครัวเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า 23 คน  การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินงานวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม–ธันวาคม 2561  เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป สมุดสีชมพูบันทึกข้อมูลสุขภาพประจำตัวเด็ก แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย DSPM และ DAIM เก็บข้อมูลโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาล่าช้า ระยะที่ 2  การกระตุ้นพัฒนาการเด็กในคลินิก โดยใช้เครื่องมือ TDA4I ระยะที่ 3 ติดตามพัฒนาการเด็กในศูนย์เด็กเล็ก ในครอบครัว และชุมชน  ติดตามเยี่ยมบ้าน เดือนละ 1 ครั้ง   ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เชิงปริมาณใช้ร้อยละ เก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ก่อน-หลัง 

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายเด็กที่ปัญหาพัฒนาการล่าช้า จำนวน 23 คน ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้ครบทั้ง 5 ด้าน GM FM RL EL PS พบว่า สมวัย 13คน (ร้อยละ 56.52) อยู่ระหว่างการกระตุ้น 7คน(ร้อยละ 30.43) ไม่สมวัยและส่งต่อ 3 คน (ร้อยละ 13.04)  เมื่อเปรียบเทียบก่อนเริ่มและสิ้นสุดโครงการ พบว่า การส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาล่าช้า ควรให้ความสำคัญในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในครอบครัว  ศูนย์เด็กเล็ก และอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน ให้ความรู้ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก  ผลลัพธ์ มารดาและผู้ปกครองมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.50 ทำให้ได้รูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าเหมาะสมกับบริบท ในพื้นที่ ทำให้เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งเสริมให้มีพัฒนาการสมวัย  

คำสำคัญ พัฒนาการเด็ก,การมีส่วนร่วมของชุมชน

หมายเลขบันทึก: 716791เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2023 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2023 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท