การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน


ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา :การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

คำสำคัญ : พัฒนาการเด็ก,การมีส่วนร่วมของชุมชน,

สรุปผลงานโดยย่อ :

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) ในคลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก  โรงพยาบาลละหานทราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 57 คน ประกอบด้วยกุมารแพทย์ 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 1 คน พยาบาลเฉพาะทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น 1 คน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน 5 คน   ตัวแทนครูศูนย์เด็กเล็ก 3 คน และตัวแทนของครอบครัวเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า 23 คน  การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินงานวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม–ธันวาคม 2561  เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป สมุดสีชมพูบันทึกข้อมูลสุขภาพประจำตัวเด็ก เทปบันทึกเสียง แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การส่งเสริมพัฒนาการเด็กและเครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็ก DSPM และ DAIM  เก็บข้อมูลโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาล่าช้า ระยะที่ 2  การกระตุ้นพัฒนาการเด็กในคลินิก โดยใช้เครื่องมือ TDA4I ระยะที่ 3 ติดตามพัฒนาการเด็กในศูนย์เด็กเล็ก ในครอบครัว และชุมชน  ติดตามเยี่ยมบ้าน เดือนละ 1 ครั้ง   ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เชิงปริมาณใช้ร้อยละ เก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ก่อน-หลัง 

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายเด็กที่ปัญหาพัฒนาการล่าช้า จำนวน 23 คน  ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้ครบทั้ง 5 ด้าน GM FM RL EL PS พบว่า สมวัย 13คน (ร้อยละ 56.52) อยู่ระหว่างการกระตุ้น 7คน(ร้อยละ 30.43) ไม่สมวัยและส่งต่อ 3 คน (ร้อยละ 13.04)  เมื่อเปรียบเทียบก่อนเริ่มและสิ้นสุดโครงการ พบว่า การส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาล่าช้า ควรให้ความสำคัญในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในครอบครัว  ศูนย์เด็กเล็ก และอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน  ให้ความรู้ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก  ผลลัพธ์ มารดาและผู้ปกครองมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.5 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเข้าใจในการเฝ้าระวัง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ทำให้ได้รูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้าเหมาะสมกับบริบท ในพื้นที่ทำให้เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งเสริมพัฒนาการจนเด็กมีพัฒนาการสมวัย  

บริบท ความสำคัญของปัญหา 

พัฒนาการเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในการใช้ชีวิตทำให้อวัยวะต่างในร่างกายและตัวบุคคลสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทั้งหมด 5 ด้านคือ 1.การเคลื่อนไหว 2.ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาการเรียนรู้ 3.ด้านการเข้าใจภาษา 4.ด้านการใช้ภาษา และ 5.ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม การส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้มีประสิทธิภาพจะต้องค้นหาความผิดปกติและกระตุ้นพัฒนาการให้เร็วที่สุด

  เมื่อเราประเมินพัฒนาการแล้ว เราจะเห็นว่าพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กนั้นมีด้านใดที่ช้าบ้าง ทำให้พบว่าเด็กมีปัญหาด้านใด และสามารถให้การกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างเหมาะสมต่อไป

จากการสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัยของกรมอนามัยปี 2556 พบว่าใน 15 จังหวัด12 เขตบริการ พบว่า เด็กที่เกิดปี 2553 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,159 ตัวอย่างมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 56.91 และไม่สมวัยร้อยละ 42.58 และเมื่อศึกษาความก้าวหน้าของพัฒนาการ ก็พบว่าเด็กที่มีพัฒนาการสมวัยเดิม ร้อยละ 80.5 มีพัฒนาการก้าวหน้าตามอายุแต่อีกร้อยละ 19.5 กลับมีพัฒนาการไม่ก้าวหน้าตามอายุส่วนเด็กที่สงสัยล่าช้าเดิม ร้อยละ 29.64 มีพัฒนาการก้าวหน้าขึ้นจากเดิม แต่ร้อยละ 70.36 พัฒนาการไม่ก้าวหน้า ซึ่งจากการศึกษายังพบอีกว่า เด็กที่สงสัยล่าช้าที่ได้รับการดูแลและกระตุ้นมีเพียงร้อยละ 80 และยังมีอีกร้อยละ 20 ที่ไม่ได้รับการกระตุ้น

จากสถิติผลการคัดกรองพัฒนาการในเด็กพบว่าปฐมวัย 0-5 ปีโรงพยาบาลละหานทราย พบว่าปี 2555 ได้รับการคัดกรองคิดเป็นร้อยละ 82.93 ปี 2556 ได้รับการคัดกรองคิดเป็นร้อยละ 96.88  ปี 2557 ได้รับการคัดกรองคิดเป็นร้อยละ 98.89 และปี 2558 ได้รับการคัดกรองคิดเป็นร้อยละ 96.74 โดยปี 2558 เริ่มคิดอัตราการคัดกรองตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2557 – มิถุนายน และในปีงบประมาณ 2556 และ 2557 มีเด็กพัฒนาการล่าช้าที่ส่งพบแพทย์และได้รับการส่งต่อ ปีละ 1 ราย ส่วนในปีงบประมาณ 2558 พบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า และส่งพบแพทย์ได้รับการกระตุ้น/ส่งต่อ 9 ราย

จากปัญหาโรงพยาบาลละหานทรายเรื่องการคัดกรองพัฒนาการในเด็กพบว่าปฐมวัย 0-5 ปี จากการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่พบในกิจกรรมประเมินพัฒนาการร่วมกับผู้ปฏิบัติในทีมพบปัญหาและอุปสรรคพอสังเขปดังนี้

1.ผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก ปฐมวัยอายุ 0-5 ปีขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวัง ประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

2.ความพร้อมสภาพร่างกายและอารมณ์ของเด็กขณะประเมิน

3.ขาดอุปกรณ์ในการประเมินพัฒนาการเด็กที่เหมาะสม

4.สถานที่ในการประเมินพัฒนาการไม่เป็นสัดส่วนที่ชัดเจน

5.อัตรากำลังเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอในการประเมินพัฒนาการเด็กที่มารับบริการ

6.ไม่มีคลินิคประเมินพัฒนาการที่ชัดเจน  

ปี 2558 จึงเริ่มมีการจัดรูปแบบการประเมินพัฒนาการที่ชัดเจนมากขึ้น ดังนี้

1.จัดซื้ออุปกรณ์ชุดคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (116 ข้อ) (DSPM)

2.จัดมุมเพื่อประเมินพัฒนาการแยกเป็นสัดส่วน

3.อัตรากำลัง พยาบาลวิชาชีพ 3 คน

4.ประเมินพัฒนาการโดยอุปกรณ์ชุดคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(116ข้อ)(DSPM)

5.ส่งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานไปอบรมการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

6.จัดให้มีคลินิคประเมินพัฒนาการทุกบ่ายวันอังคารที่ 3 ของทุกเดือน

7.ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กปฐมวัยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังและ

ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล

8.ปรับปรุงflow chart การให้บริการในคลินิคส่งเสริมสุขภาพเด็กดีโดยการเพิ่มแนวทางการดูแลเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า

สมาชิกทีม : นางสุภาโชค กองกูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ                                                                                                 นางศศิปภาวรินท์ ถาวรีย์สีแดด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ป้าหมาย( Purpose) : กลุ่มเป้าหมาย เด็กอายุ 30 เดือน (2 ปี 6 เดือน ) ในอำเภอละหานทราย จำนวน 120 คน  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการของเด็กอายุ 30 เดือน (2 ปี 6 เดือน )  และเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ได้รับการกระตุ้น และส่งต่อ ให้การช่วยเหลือ ทำให้เด็กมีพัฒนาการ ไม่สมวัยลดลง

กิจกรรมการพัฒนา (กระบวนการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย) (Process)  

ตารางเปรียบเทียบรูปแบบการคัดกรองพัฒนาการในเด็กพบว่าปฐมวัย 0-5 ปี

รูปแบบเดิม ปี 2557 รูปแบบใหม่ ปี 2558-2561

1.ใช้แบบประเมินอนามัย55(พัฒนาการเด็กปฐมวัย)ในการประเมินพัฒนาการเด็ก

2.ประเมินพัฒนาการตามแบบอนามัย 55 โดยการซักถาม

3.อัตรากำลัง พยาบาลวิชาชีพ 3 คน

3.ให้บริการทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. ก่อนให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

 

 

 

1.จัดซื้ออุปกรณ์ชุดคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (116 ข้อ) (DSPM)

2.จัดมุมเพื่อประเมินพัฒนาการแยกเป็นสัดส่วน

3.อัตรากำลัง พยาบาลวิชาชีพ 3 คน

4.ประเมินพัฒนาการโดยอุปกรณ์ชุดคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (116 ข้อ) (DSPM)

5.ส่งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานไปอบรมการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

6.จัดให้มีคลินิคประเมินพัฒนาการทุกบ่ายวันอังคารที่ 3 ของทุกเดือน

7.ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กปฐมวัยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังและ

ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล

8.ปรับปรุงflowchartการให้บริการในคลินิคส่งเสริมสุขภาพเด็กดีโดยการเพิ่มแนวทางการดูแลเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า

9.ให้บริการทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. ก่อนให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

การประเมินผล (การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง)(Performance) :

ข้อมูล/ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

(ร้อยละ)

ปี 2556 ปี 2557

ปี 2558

 

2559 2560 2561
ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการสมวัย 85 97.69 98.01 98.96 99.7 91.36 100
ร้อยละของเด็ก0-5ปีที่ได้รับการประเมินพัฒนาการ 100 96.88 98.89 100 100 100 100
ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับคำแนะนำการกระตุ้นพัฒนาการต่อที่บ้านโดยไม่ได้ส่งพบแพทย์   NA NA

56.25

(5 ราย)

     
ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่โรงพยาบาลละหานทราย 100 NA NA

31.25

(5 ราย)

     
       

18.75

(4 ราย)

    3

จากตาราง พบว่า ปีงบประมาณ 2555 การคัดกรองพัฒนาการ คิดเป็นร้อยละ 82.93 ปี 2556 คิดเป็นร้อยละ 96.88  ปี 2557 คิดเป็นร้อยละ 98.89 และปี 2558 คิดเป็นร้อยละ 96.74 โดยปี 2558 เริ่มคิดอัตราการคัดกรองตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2557 – มิถุนายน 2558 จากสถิติดังกล่าวพบว่าปี 2557 เด็กปฐมวัย 0-5 ปี ได้รับการคัดกรองพัฒนาการมากที่สุด และคาดว่าสิ้นปีงบประมาณ 2558 การคัดกรองพัฒนาการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนในปี 2555 มีการคัดกรองพัฒนาการได้น้อยเนื่องจากขาดอัตรากำลังและผู้ปกครองขอประเมินพัฒนาการเองที่บ้านส่วนอัตราการกระตุ้นหรือส่งต่อเด็กพัฒนาการล่าช้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยจากสถิติที่ผ่านมา ปีงบประมาณ 2556 มีการส่งต่อเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า 1 ราย และ ปีงบประมาณ 2557 มีการส่งต่อเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า 1 ราย เช่นกัน ส่วนในปีงบประมาณ 2558 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2557 – มิถุนายน 2558  เด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่โรงพยาบาลละหานทราย 5 ราย  เด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการไม่สมวัยที่เกินศักยภาพที่โรงพยาบาลสามารถกระตุ้นได้ได้รับการส่งต่อ 4 ราย 

 บทเรียนที่ได้รับ : 

การคัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่างร่วมกันในการที่จะปฏิบัติงาน

ให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาสิ่งที่เป็นอุปสรรคทำให้บรรลุเป้าหมายได้น้อยประกอบไปด้วย จำนวนผู้รับบริการที่มีจำนวนมากแต่เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการไม่เพียงพอในการให้บริการ เนื่องจากในผู้รับบริการแต่ละรายเจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาให้ข้อมูลแก่ผู้ปกครองให้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินพัฒนาการ อธิบายขั้นตอน ดำเนินการประเมินพัฒนาการเด็ก เมื่อสิ้นสุดขั้นตอนประเมินต้องแจ้งผลให้ผู้ปกครองรับทราบ และแนะนำการส่งเสริมพัฒนาการต่อ สภาพร่างกายเด็ก อารมณ์ ความหิว ความง่วง ในขณะนั้นทำให้การประเมินผลผิดพลาด อุปกรณ์ในการประเมินมีจำนวน 1 ซึ่งไม่เพียงพอ สถานที่มีจำกัดทำให้จัดมุมพัฒนาการได้ไม่เหมาะสม  และสิ่งที่ทำให้บรรลุเป้าหมายคือ การร่วมมือของทีมที่สามารถบริหารจัดการใช้ทรัพยากรและสถานที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดผลลัพธ์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ประโยชน์และคุณค่าทาง นวัตกรรมและการพัฒนาต่อยอด

มีความสามารถในการส่งเสริมพัฒนาการครบทั้ง 5 ด้าน  คือ การเคลื่อนไหว ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาการเรียนรู้ ด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา และด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม 

ลักษณะเด่นและความรู้ที่ได้จากนวัตกรรม

  1. เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 30 เดือน
  2. สามารถประยุกต์ใช้กับเด็กและใช้ที่บ้านโดยผู้ปกครองได้
  3. เป็นวัสดุ ที่ให้ได้ง่าย ในท้องถิ่น และสามารถทำได้เอง
  4. สามารถใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ครบทั้ง 5 ด้าน GM FM RL EL PS

 

หมายเลขบันทึก: 716790เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2023 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2023 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท