การพัฒนารูปแบบเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในกลุ่มวัยเด็ก ร่วมกับเครือข่ายปฐมภูมิ ปี 2558-2562 โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์


การพัฒนารูปแบบเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในกลุ่มวัยเด็ก ร่วมกับเครือข่ายปฐมภูมิ  ปี 2558-2562 โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อผู้วิจัย สุภาโชค   กองกูล 

หน่วยงาน  งานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม

ผู้นำเสนอผลงาน สุภาโชค   กองกูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

สถานที่ติดต่อกลับ รพ.ละหานทราย 55 ม.8 ต.ละหานทราย อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์

โทร. มือถือ 0857633890 e-mail: [email protected]

บทคัดย่อ

ภาวะโลหิตจางในเด็กนับว่าเป็นปัญหารุนแรงอันจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านสมอง และสติปัญญาของเด็ก พบบ่อยในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งพันธุกรรมและโภชนาการ หากค้นพบได้เร็วและได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องจะส่งผลดีต่อสมองสติปัญญา และสุขภาพร่างกายเด็ก ดังนั้นการคัดกรองเพื่อค้นหาภาวะโลหิตจางจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มวัยเด็ก  ที่มารับบริการในคลินิกส่งเสริมสุขภาพดีได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง   ได้รับการวินิจฉัย และรักษาโดยกุมารแพทย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี  ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอละหานทรายทุกคน  จำนวน 2,448 คน. โดยใช้ค่า CBC และค่า Hct ในการให้การวินิจฉัย รักษา และ ติดตาม เก็บข้อมูลโดยการบันทึกในสมุดสีชมพู โปรแกรม Hos xp   ตั้งแต่ปี 2558 -2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า จำนวนเด็กที่ได้รับการคัดกรองพบภาวะโลหิตจางเพิ่มขึ้น ในปี 2558 คัดกรอง 50 คน พบภาวะโลหิตจาง 6 คน ร้อยละ 12  ปี 2559 คัดกรอง 129 คน พบภาวะซีด 10 คน ร้อยละ 7.75  และปี 2560 คัดกรอง 220 คน พบภาวะซีด 85 คน ร้อยละ 38.63  ปี 2561 คัดกรอง 151 คน พบภาวะซีด 24 คน ร้อยละ 15.89 ปี 2562 (ตุลาคม2561-มิถุนายน 2562)  คัดกรอง จำนวน 91 คน พบภาวะซีด จำนวน 28 คน ร้อยละ 30.76 เด็กที่ได้รับการคัดกรองและพบภาวะซีดได้รับการวินิจฉัย เป็น Suspected thalassemia จำนวน 23 คน ร้อยละ 5.76 และรักษาโดยการให้เลือด จำนวน 2 ราย ปี 2562 anemia 1 คน ร้อยละ 0.50 พบมีภาวะ iron deficiency anemia จำนวน 62 คน ร้อยละ 15.54 ปี 2562 พบ 6 คน ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กทุกราย

          จากการดำเนินงานคัดกรองภาวะโลหิตจางในกลุ่มวัยเด็ก ได้มีการวางแนวทางปฏิบัติร่วมกับเครือข่ายปฐมภูมิ มีนโยบายให้คลินิกเด็กดีคุณภาพในรพ. และใน รพ.สต. ทุกแห่ง  มีการคัดกรองภาวะโลหิตจาง พร้อมทั้งให้วิตามินเสริมธาตุเหล็ก และติดตามภาวะโภชนาการ พัฒนาการในเด็กทุกราย

 

คำสำคัญ กลุ่มวัยเด็ก, ภาวะโลหิตจาง

สรุปสาระสำคัญ

บทนำและวัตถุประสงค์ : ภาวะโลหิตจางในเด็กนับว่าเป็นปัญหารุนแรงอันจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านสมอง และสติปัญญาของเด็ก  ประเทศไทยพบอุบัติการณ์ ของโลหิตจาง 231.63 ต่อ 100,000 ประชากร (141) โดยจากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน ถึง 12 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey(SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 261 ธาตุเหล็ก(Iron) เป็นธาตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย ถ้าเกิดภาวะขาดธาตุเหล็กจะก่อให้เกิด ผลเสียต่อร่างกายได้แก่ ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อและสมองลดลง ติดเชื้อได้ง่าย ในแด็กจะมีการเจริญเติบโตของร่างกายและการพัฒนาของระบบประสาทช้าลง (Labbe, et al., 1999; แสงโสม สีนะวัฒน์และคณะ, 2547; ดวงทิพย์ ธีระวิทย์, 2558)2  .ภาวะซีด เป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็กตั้งแต่ เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งพันธุกรรมและสาเหตุจากการบริโภคถ้าค้นพบภาวะซีดได้เร็วค้นหาสาเหตุและได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องจะส่งผลดีต่อสมองสติปัญญา และสุขภาพร่างกายเด็ก 3ดังนั้นการคัดกรองเพื่อค้นหาภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง4 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มวัยเด็ก ที่มารับบริการในคลินิกส่งเสริมสุขภาพดีได้รับการคัดกรองภาวะซีด และได้รับการวินิจฉัย รักษาโดยกุมารแพทย์ 

วิธีการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ( Action Reserch ) ประชากร คือ กลุ่มวัยเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี จำนวน 641 คน  กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มวัยเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี  ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอละหานทรายทุกคน  จำนวน 2,448 คน. คัดเลือกโดยเฉพาะเจาะจง Intervention ที่ใช้ในการวิจัย คือ การคัดกรอง CBC เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็น การตรวจและคัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กโดยใช้ค่า CBC และค่า Hct ในการให้การวินิจฉัย รักษา และ ติดตาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกข้อมูลในสมุดสีชมพู     โปรแกรม Hos xp   ตั้งแต่ปี 2558 - 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการศึกษา พบว่า จำนวนเด็กที่ได้รับการคัดกรองพบภาวะโลหิตจางเพิ่มขึ้น ในปี 2558 คัดกรอง 50 คน พบภาวะโลหิตจาง 6 คน ร้อยละ 12  ปี 2559 คัดกรอง 129 คน พบภาวะซีด 10 คน ร้อยละ 7.75  และปี 2560 คัดกรอง 220 คน พบภาวะซีด 85 คน ร้อยละ 38.63  ปี 2561 คัดกรอง 151 คน พบภาวะซีด 24 คน ร้อยละ 15.89 ปี 2562 (ตุลาคม2561-มิถุนายน 2562)  คัดกรอง จำนวน 91 คน พบภาวะซีด จำนวน 28 คน ร้อยละ 30.76 เด็กที่ได้รับการคัดกรองและพบภาวะซีดได้รับการวินิจฉัย เป็น Suspected thalassemia จำนวน 23 คน ร้อยละ 5.76 และรักษาโดยการให้เลือด จำนวน 2 ราย ปี 2562 anemia 1 คน ร้อยละ 0.50 พบมีภาวะ iron deficiency anemia จำนวน 62 คน ร้อยละ 15.54 ปี 2562 พบ 6 คน ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กทุกราย

สรุปและข้อเสนอแนะ การคัดกรองภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี โรงพยาบาลละหานทราย พบว่า การคัดกรองภาวะซีดในกลุ่มวัยเด็ก ต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายปฐมภูมิในการพัฒนารูปแบบและรพ.สต.ร่วมปฏิบัติตามแนวทาง พบว่า เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี มีปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก Irondef จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 15.54    สอดคล้องกับกองโภชนาการศึกษา(2534) ที่ว่า ผลการศึกษาในเด็กอายุ 0-72 เดือน  พบร้อยละ 15 เด็กอายุ 1- 4 ปี ที่มีภาวะโลหิตจาง 5   แต่ไม่สอดคล้องกับ ศิริรัตน์ สุวันทโรจน์และคณะ (2544)ที่ว่า ร้อยละ 28 ของเด็กอายุ 1-4 ปี มีภาวะโลหิตจางซึ่งเกิดจากทั้งการขาดธาตุเหล็กและไม่ใช่การขาดธาตุเหล็ก เป็นปัญหาของภาวะโลหิตจางจัดอยู่ในระดับมีความรุนแรงปานกลางภาวะโลหิตจางที่พบต่ำกว่า ผลการศึกษาที่พบในเด็กอายุ 0-5 ปี ที่กองโภชนาการศึกษาไว้ในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งพบร้อยละ 40.2 ในเด็กชาย และ ร้อยละ 41 ในเด็กหญิง 6  

เอกสารอ้างอิง

  1. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเสริมธาตุเหล็กสำหรับประชาชน ไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2557.
  2. ธนัญญา คู่พิทักษ์ขจร, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ, ปฤษฐพร กิ่งแก้ว, และคณะ. แนวทางการคัดกรอง ภาวะโลหิตจางระดับประชากรในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2556; 7(3): 372-379.
  3. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. กำหนดการดูแลสุขภาพเด็กไทย โดยราชวิทยาลัยกุมาร แพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2557. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. 2557.
  4. มันทนา ประทีปะเสน, เรวดี จงสุวัฒน์, สุจิตต์ สาลีพันธ์, พูนศรี เลิศลักขณวงศ์. รายงานการสำรวจ ภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ.2546. นนทบุรี: กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข2549.
  5. Benoist Bd, McLean E, Egli I, Cogswell M. Worldwide prevalence of anaemia 1993- 2005: WHO global database on anaemia. Geneva: World Health Organization2008.
  6. South East Asian Nutrition Surveys team. South East Asian Nutrition Surveys: Regional overview on nutrition and health trends2012.
  7. World Health Organization. Iron deficiency anaemia: assessment, prevention, and control. A guide for programme managers. Geneva: World Health Organization2001.
หมายเลขบันทึก: 716789เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2023 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2023 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท