การพัฒนาวิชาชีพครูตามความสามารถ ตอนที่ 2 Competency-based Teacher Professional Development


                                                การพัฒนาวิชาชีพครูตามความสามารถ

                                 Competency-based Teacher Professional Development

                             ตอนที่ 2 ระบบการฝึกอบรมและประเมินสมรรถนะวิชาชีพครู 

                                                                                                         ดร.ชัชรินทร์  ชวนวัน ข้าราชการบำนาญ 

                                                                              สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา, 2567

                                                        ………………………………………….

                การรู้จักยอมรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และยุคดิจิทัล และการยอมรับว่าระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมไม่เป็นที่ยอมรับว่าจะทำให้ผลลัพธ์ทางการศึกษาดีขึ้นจากเดิมรวมทั้งไม่สามารถรองรับบริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งปวงได้ ดังนั้นการหันมาให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษาด้านต่างๆ ว่าจะส่งผลให้คุณภาพการศึกษาของประเทศมีระดับที่ดีขึ้นจากเดิมได้และรองรับการเปลี่ยนแปลงเป็นความตระหนักที่พึงมีของรัฐบาล นักการเมือง นักการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องทางการศึกษาที่จะต้องแสวงหานโยบายและกลยุทธ์การดำเนินงานการศึกษาเพื่อพิชิตสู่เป้าหมายความสำเร็จให้จงได้ ประเทศอื่นที่เขาตระหนักในสิ่งดังกล่าวจึงสามารถผลักดันให้ระดับคุณภาพการศึกษาของเขาขึ้นมาอยู่ในระดับแนวหน้าเป็นที่ประจักษ์  ผลการศึกษา PISA ที่เราทราบกันดีว่าไม่มีโอกาสที่จะชนะประเทศเพื่อนบ้านได้เป็นมาตั้งแต่มีผู้นำระบบ PISA มาใช้เพื่อประเมินความสามารถของเด็กไทยโดยอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับการวางพื้นฐานระบบความสามารถและระบบการจัดการเรียนรู้ตามความสามารถให้กับผู้เรียนก่อนที่จะนำระบบการประเมินมาใช้  การดำเนินงานที่ผ่านมาจึงส่งผลต่อระดับคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยตามที่เป็นข่าว ดังนั้นจึงน่าจะถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐบาล นักการเมือง นักการศึกษาของประเทศนี้จะตระหนักและให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษาและข้อเสนอสมัยใหม่ “การพัฒนาทางวิชาชีพคุณภาพสูง” ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญเกือบทุกประเด็นในการปรับปรุงการศึกษาการพัฒนาทางวิชาชีพเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้ของครู การเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ และการเปลี่ยนความรู้ไปสู่การปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของการเติบโตของนักเรียน ดังนั้น การนำระบบการจัดการศึกษาตามความสามารถ (Competency Based Education) มาใช้อย่างจริงจังเพื่อนำการศึกษาของประเทศให้เทียบเท่าระดับสากลกับเขาบ้าง ปัจจัยความสำเร็จมันคงไม่ใช่แค่การมุ่งที่การพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้วยการปฏิรูปหลักสูตรและวิธีการสอนเพื่อหวังว่าจะทำให้นักเรียนมีความยั่งยืนเท่านั้น แต่มันควรต้องมีการปฏิรูปการศึกษาด้านอื่นๆ ไปพร้อมๆกันและดำเนินงานอย่างเป็นระบบ นั่นคือ การปฏิรูประบบบริหารจัดการศึกษาขจัดระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากมานานให้ได้ และสิ่งซึ่งยอมรับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีบทบาทขับเคลื่อนการดำเนินงานการศึกษาและผู้เรียนให้มีระดับคุณภาพการศึกษาที่สูงขึ้นได้ นั่นคือ การปฏิรูปครู ให้มีความสามารถระดับวิชาชีพ ด้วยการกำหนด ระบบการพัฒนาวิชาชีพครูตามความสามารถ(Competency Based Teacher ‘s Professional Development System) ขึ้นดำเนินงานส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในวิชาชีพของตนอย่างเป็นระบบและจริงจัง.

 

TEA PRO COM DEV-2.pdf

 

คำสำคัญ (Tags): #Teacher's PRO. Competency Development
หมายเลขบันทึก: 716725เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2023 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2023 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท