สลายโรงเรียนขนาดเล็ก: ส่งเสริมโรงเรียนเอกชน


 ผมดูคนแก่ทุลักทุเลมาส่งหลาน ยายเป็นมะเร็งเต้านมจูงหลานสองคนที่กำพร้า  เด็กพิเศษกล้ามเนื้อพิการ คนอายุ 60และ 70 มาส่งลูกหลาน

นักเรียนในโรงเรียนของผมล้วนคนยากจน ไม่มีค่ารถ ค่าเรียนพิเศษ กำพร้าพ่อแม่เพราะแยกทางกัน เพราะตายด้วยโรคเอดส์

แม่แต่งงานกับฝรั่งไปอยู่เมืองนอก

นโยบายยุบรวมให้ไปเรียนต่างโรงเรียน ทำให้ผมปวดหัวและสงสาร เด็กเหล่านี้ เพราะไม่มีหลักประกันอะไรว่าใครจะรับผิดชอบเขา

พวกเขาเป็นเด็กส่วนน้อยในหมู่บ้านชานเมือง ที่ยากจน

การไปเรียนต่างหมู่บ้านไม่มีหลักประกันเรื่องรถรับส่ง ไม่มีหลักประกันความปลอดภัย  ความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ เหมือนกับประเทศญี่ปุ่นหรืออเมริกา โรงเรียนในหมู่บ้านค่อย ๆ ทยอยปิดไป คนในหมู่บ้านต้องดิ้นรน มากขึ้น

หากมีหลักประกันที่ชัดเจนในระบบราชการไทยคงไม่มีปัญหา   แต่นี้เคว้งคว้างไปกับนโยบายรายวัน งบประมาณที่ได้กลายเป็นแบ่งปันให้กับโรงเรียนใหญ่ ๆ และมีพลังกว่า ที่เรียกว่าโรงเรียนแม่เหล็ก โรงเรียนคุณภาพฯลฯ

ในปี 2566 นี้ มีนโยบายให้ครูธุรการมารวมที่เขต ลดอำนาจทางการเงินของผู้บริหารที่นักเรียนต่ำกว่า 60 คน เพิ่มภาระให้โรงเรียนและลดความคล่องตัวตามแนวทางโรงเรียนคือนิติบุคคลปัญหายิ่งรุนแรง เพราะโรงเรียนดูแลตนเองไม่ได้ โรงเรียนมีแนวโน้มยุบเพิ่ม

คนพอดิ้นรนได้ก็ไปเอกชน และโรงเรียนอปท.ส่วนคนจนคงหาที่ไปยากเสียแล้ว

รัฐบาลจะแก้ปัญหาการศึกษาด้วยการส่งเสริมการศึกษาเอกชนให้เข้มแข็ง

โรงเรียนก็คงเป็นแค่ที่มั่วสุมวัยรุ่นและพวกติดยา

ชาวนา กรรมกร หาทางออกยากขึ้น

ทั้งอาชีพและการศึกษา

หมายเลขบันทึก: 716414เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2023 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2023 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท