วัฒนธรรมไทย


แนวคิดวัฒนธรรมไทย

            วัฒนธรรมไทย คือ วิถีชีวิตของคนไทยในสังคมไทย ซึ่งเป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามและการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมไทยสามารถรู้ เข้าใจ ชาบชึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติกันมาในสังคมไทย ได้แก่ 

            ๑.ภาษาและวัฒนธรรม หมายถึง ภาษาไทยที่ใช้ในการพูดและการเขียนรวมทั้งงานประพันธ์ที่สรรค์สร้างที่มีการบันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

            ๒.มารยาท หมายถึง การประพฤติปฏิบัติระหว่างบุคคลต่อบุคคลที่สังคมยอมรับ ได้แก่  มารยาททางกาย และมารยาททางวาจา

            ๓.การแต่งกาย หมายถึง เครื่องนุ่งห่มที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย

            ๔.ประเพณีและพิธีทางศาสนา หมายถึง กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันพระ วันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น

            ๕.ศิลปกรรม  หมายถึง งานศิลปหัตถกรรม จิตกรรม สถาปัตถกรรม และ ประติมากรรม

            ๖.การแสดงและการละเล่น หมายถึง การละเล่นและของเล่นคนไทย ดนตรีไทย เพลงไทยปรพเภทต่างๆ และศิลปะการแสดงของไทย

วัฒนธรรมไทยด้านการแต่งกาย

            วัฒนธรรมไทยด้านการแต่งกาย ตั้งแต่อดีตมานั้น คนไทยมีเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายที่ใช้ผ้าไทยซึ่งทำมาจากผ้าไหม ผ้าทอมือต่างๆ นำมาทำเป็นผ้าสไบสำหรับผู้หญิงไทย  ส่วนผู้ชายก็มีการแต่งกายที่นิยมสำหรับชาวบ้านก็คงหนีไม้พ่นผ้าขาวม้าซึ่งนิยมใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันก็มีอยู่

            ตัวอย่าง  ในสมัยอยุธยาตอยปลายนั้นหญิงไทยจะนุ่งโจงกระเบนสวนเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงโจง สวมเสื้อคอปิด ผ่าอกแขนยาว โดยปกติจะไม่นิยมใส่เสื้อ

            ซึ่งในปัจจุบันนี้เราหาแทบจะไม่ได้แล้วสำหรับการแต่งกายแบบนี้ เนื่องจากคนไทยสมัยปัจจุบันนิยมแต่งกายตามนิยม ตามชาวยุโรปซึ่งทำให้การแต่งกายแบบอดีตเริ่มเลื่อนหายไปมาก

วัฒนธรรมไทย ด้านภาษา

            ประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเองมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากประเทศไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใดในโลก  ทำให้เรามีภาษาไทยใช้มาจนถึงปัจจุบัน และในประเทศไทยก็มีภาษาทางการ คือ ภาษากลาง ซึ่งคนในประเทศไม่ว่าจะอยู่ในภาคไหนก็สามารถสื่อสารกันได้ด้วยภาษากลางนั่นเองเพราะในประเทศไทยเรามีถึง ๔ ภาคหลักและในแต่ละภาคก็ใช้ภาษาที่แตกต่างกันไปบ้างดังนั้นเพื่อให้คนไทยสามารถสื่อสารตรงกันได้เราจึงมีภาษากลางเกิดขึ้นนั่นเอง

วัฒนธรรม ด้านอาหาร

            วัฒนธรรมที่มีความสำคัญกับคนไทยไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมด้านการแต่งกายและวัฒนธรรมด้านภาษา คือ วัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยนั้นก็มีมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะอาหารการกิน ที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วเราก็เรียกว่า วัฒนธรรมอาหารไทย  ซึ่งอาหารไทยนั้นมีมากมายที่ขึ้นชื่อของไทย และโด่งดังไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง ผัดไทย เป็นต้นอาหารถือว่าเป็นวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งของไทย ที่คนไทยควรให้ความสำคัญ และ ถือว่าอาหารไทยก็ไม่แพ้อาหารของชนชาติใดในโลก

วัฒนธรรม ด้านศิลปกรรม

            ถือเป็นภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ โดยเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงามก่อให้เกิดความสุขทางใจ ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา และเป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์  ได้แก่ ผลงานที่ปรากฏตามวัดวาอารามต่างๆ เรือนไทยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ ศิลปกรรมไทยที่สำคัญได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม  นาฏศิลป์  ดุริยางคศิลป์ วรรณกรรม  ฯ

 

 

โปรดประเมินความพึงพอใจ จากการอ่านเรื่อง โดยกดที่นี้ 

 

*********************************

หมายเลขบันทึก: 716354เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2023 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2023 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท