นักกิจกรรมบำบัดกับการดูแลผู้ป่วยขั้นประคับประคอง(Palliative Care) และผู้ป่วยระยะสุดท้าย(End of Life)


Palliative and End-of-Life Care สำหรับผู้สูงอายุ

การดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care คืออะไร ?

การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care)  หมายถึง การดูแลทางการแพทย์การพยาบาลทุกชนิด รวมถึงการดูแลทางด้านจิตใจ สังคม ตามความต้องการของผู้ป่วย   ตลอดจนการดูแล  ครอบครัวผู้ป่วยจากความโศกเศร้า  เนื่องจากต้องสูญเสียผู้ป่วยไป  เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข  มีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  มีความสุขสบายทั้งทางร่างกายและจิตใจ  สามารถจากไปอย่างสงบ  สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

​​เป็นการรักษาแบบองค์รวมที่เน้นการจัดการความไม่สุขสบายทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณอย่างลึกซึ้ง แปรเปลี่ยนความไม่สุขสบายที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตให้กลายเป็นช่วงเวลาที่สวยงามและดีขึ้นตามความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวที่ดูแลอย่างแท้จริง

อ้างอิง: คู่มือสำหรับประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) https://www.rama.mahidol.ac.th/palliative/sites/default/files/public/Pallative%20care.pdf

 

Palliative care vs. end of life care 

  • Palliative care คือแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคคุกคามต่อชีวิต สามารถให้ดูแลผู้ป่วยได้ตั้งแต่ เริ่มต้นวินิจฉัย 
  • End of Life Care คือ การดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายที่ถูกวินิจฉัยว่ามเวลาที่เหลืออยู่ 3-6 เดือน

อ้างอิง : Training of the Trainers in Palliative Care

https://www.karunruk.org/wp-content/uploads/2021/08/Module-1-Palliative-care-concept-and-assessment.pdf

 

เป้าหมายของ Palliative Care

  1. ส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี (Quality of life) จนวาระสุดท้ายของชีวิต 
  2. ครอบครัวสามารถมีความสัมพันธ์ที่ดีในวาระสุดท้าย สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุข มีความสุขสบายทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถจากไปอย่างสงบสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
  3. ทำให้สังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าการดูแลรักษาแบบประคับประคอง
  4. ผู้รับบริการได้เตรียมตัวและทำในสิ่งที่อยากทำ
  5. มีโอกาสทำตามความเชื่อด้านจิตวิญญาณ
  6. มีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดสถานที่และวิธีการดูแล
  7. หลีกเลี่ยงการยืดระยะเวลาเสียชีวิตอย่างไม่สะสม และการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์
  8. ได้รับการดูแลจากทีมสหวิชาชีพสายสุขภาพที่เข้าใจและให้ความไว้วางใจ
  9. สามารถควบคุมอาการปวด หรืออาการทุกข์ทรมานอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ้างอิง : การดูแลแบบประคับประคอง Palliative care คืออะไร? 

https://baojai.co/whai-is-palliative-care/

 

Palliative Care ดูแลผู้รับบริการกลุ่มไหนบ้าง ?

Palliative Care จะใช้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงที่อาจรักษาไม่หายขาด มีแนวโน้มที่อาการจะทรุดลงหรือเสียชีวิตจากโรค เช่น โรคหัวใจล้มเหลวรุนแรง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคปอดเรื้อรังบางชนิด โรคตับระยะท้าย ไตวายที่ไม่ได้ล้างไต โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเลือดและไขกระดูก และโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทที่ไม่หายขาด อย่างพาร์กินสัน และอัลไซเมอร์ระยะท้าย 

ทั้งนี้ การดูแลแบบประคับประคองจะคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยและญาติด้วย ซึ่งจะตัดสินใจรายละเอียดในการดูแลร่วมกับทีมแพทย์

Palliative Care สามารถเริ่มดูแลตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรค ซึ่งแตกต่างจาก Hospice Care หรือการบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้ายที่เริ่มดูแลผู้ป่วยหลังจากแพทย์หยุดการรักษา เนื่องจากเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายและทราบระยะเวลาชัดเจนแล้วว่าผู้ป่วยใกล้จะเสียชีวิต

 

Palliative Care ดูแลผู้ป่วยอย่างไร ?

Palliative Care จะดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ซึ่งครอบคลุมด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ด้านร่างกาย โดยดูแลอาการทางกายที่พบในผู้ป่วย เช่น อาการเจ็บปวด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร 
  • ด้านสภาวะอารมณ์ เช่น วิตกกังวล ความเครียด ซึมเศร้า ความกลัวของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งดูแลความเศร้าเสียใจของครอบครัวเมื่อถึงวาระสุดท้ายของผู้ป่วย โดยอาจให้ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย
  • ด้านจิตวิญญาณ คือ การดูแลผู้ป่วยตามความเชื่อ การใช้ชีวิต ศาสนา เพื่อให้ผู้ป่วยมีจิตใจสงบ มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
  • ด้านสังคม เช่น ดูแลและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์ พื่อลดความเครียดในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งช่วยจัดหาผู้ดูแลและสิ่งอำนวยความสะดวกในการดูแลผู้ป่วย
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจอาการของโรคและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา
  • การวางแผนการดูแลล่วงหน้า และทำหนังสือแสดงเจตนา (Living Will) ซึ่งเป็นหนังสือแสดงความปรารถนาและเป้าหมายของผู้ป่วยเพื่อให้คนในครอบครัวหรือคนที่เกี่ยวข้องเข้าใจถึงการวิธีการรักษาและการดูแลในช่วงระยะท้าย ๆ ของชีวิต
  • ด้านอื่น ๆ เช่น ติดต่อผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงินเพื่อดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมทั้งที่ปรึกษาในการจัดทำเอกสารทางกฎหมาย เช่น เอกสารประกันชีวิต หนังสือมอบอำนาจ

อ้างอิง: Palliative Care การดูแลแบบประคับประคองเพื่อผู้ป่วยและครอบครัว https://www.pobpad.com/palliative-care-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84

 

บทบาทนักกิจกรรมบำบัดกับงาน Palliative and End-of-Life Care สำหรับผู้สูงอายุ

  1. ให้ความรู้ผู้ดูเเลเกี่ยวกับความเป็นไปของโรค อาการของโรค 
  2. วางเเผนการบำบัดรักษาให้สอดคล้องผู้รับบริการ
  3. ปรับสภาพเเวดล้อมให้เหมาะสม ให้เอื้อต่อการ การทำกิจวัตรประจำวันและ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต
  4. การสัมภาษณ์เพิ่มเติม เพื่อค้นหาความต้องการที่ผู้รับบริการอยากทำในช่วงสุดท้ายของชีวิต  กิจกรรมใดที่ผู้รับบริการให้ความสำคัญและความหมาย
  5. เเนะนำวิธีลดอาการเจ็บปวด
  6. การเเนะนำวิธีในการดูเเลผู้รับบริการกับผู้ดูเเล อาทิเช่นการพลิกตะแคงบนเตียงการเคลื่อนย้ายตัว การแนะนำอาหารเป็นต้น
  7. เเนะนำอุปกรณ์ช่วยต่างๆ เพื่อสงวนพลังที่สิ้นเปลืองไปในขณะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต
  8. ประเมินความเจ็บปวดและหาสาเหตุของความเจ็บปวด  เพื่อนำไปสู่การวางแผนในรักษา บำบัดฟื้นฟูต่อไป ช่วยให้ผู้รับบริการมีชีวิตช่วงระยะสุดท้ายโดยไม่เจ็บปวดทรมานก่อนเสียชีวิต 
  9. ประเมินด้านจิตใจเพื่อคัดกรองปัญหาที่จะนำไปสู่โรคทางจิตเวช ความเศร้า ความผิดหวังและความเครียดจากโรคที่เกิดขึ้นทั้งในตัวผู้รับบริการ และตัวผู้ดูแลเพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่และรวมไปถึงเกิดความเครียดกับทั้งตัวผู้ดูแล

โดยสรุป นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าและมีความหมาย  เพื่อให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดี(Quality of life) และจากไปอย่างสงบ

ตัวอย่างเคส

ข้อมูลเคส ตาม Biopsychosocial

Bio : ผู้ป่วยหญิง อายุ 65 ปี เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพร่มาต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง เนื่องจากหยุดเคมีบำบัด ท้องโตขาบวม เริ่มมีปัญหาการเดิน เคลื่อนไหวลำบาก มีปัญหา Functional mobility มี Lymphedema จากภาวะมะเร็งในช่องท้อง 

psychological : อาจมีภาวะซึมเศร้า หงุดหงิด เนื่องจากการที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้วยังมี อาการแย่ลง ทำกิจกรรมได้ลดลงอีก (ต้องสัมภาษณ์เพิ่มเติม) 

social : ทีมสหวิชาชีพ ผู้ดูแล ญาติ สภาพบ้าน (ต้องสัมภาษณ์เพิ่มเติม) 

Palliative performance scale (PPS)  : คาด 60-70

บทบาททางกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้รับบริการเคสนี้

  • แนะนำอุปกรณ์ช่วยสำหรับการเคลื่อนไหวและการเคลื่อนย้ายตัวในการทำกิจกรรม เช่น walker หรือ รถเข็น 
  • สอนให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะอาการตนเอง และ progression ของโรค 
  • แนะนำให้ผู้ป่วยยกขาที่บวมให้สูง เพื่อช่วยให้น้ำเหลืองไหลกลับสู่ร่างกาย
  • ให้ความรู้ผู้ป่วยเรื่องการพลิกตัวบนเตียง 1-2 ครั้ง/ชั่วโมง เพื่อป้องกันแผลกดทับ 
  • ปรับสภาพบ้านให้มีความเหมาะสม เช่น ห้องน้ำมีราวจับ พื้นมีแผ่นกันลื่น แสงสว่างเพียงพอ ข้าวของเครื่องใช้จัดวางให้ถูกตำแหน่ง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีการสอบถามเกี่ยวกับสภาพบ้าน ณ ปัจจุบัน
  • แนะนำให้มีการนวด และการใช้ผ้าพันยืด(Spacialized Bandaging) ที่กระชับพอดี สวมใส่ตลอดทั้งวัน ถอดเฉพาะตอนอาบน้ำ เพื่อลดอาการบวมและกระตุ้นให้น้ำเหลืองไหลกลับสู่ร่างกาย 
  • สอนผู้ป่วยและผู้ดูแลเกี่ยวกับวิธีการช่วยผ่อนคลาย เช่น ฝึกการหายใจเข้า-ออกอย่างเป็นจังหวะ 
  • ฝึกการจัดท่าในการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมขณะทำกิจวัตรประจำวันเพื่อช่วยสงวนพลังงาน (Energy Conservation)

 

 

ผู้จัดทำ นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปี 3 

6423004 นายไตรภพ วนาพิรุณ

6423010 นายพีระยุทธ สะอาดเอี่ยม

6423018 น.ส.ฐิติกานต์ บัวเบา

6423022 น.ส.บุญรดา นาคพยนต์

6423031 น.ส.สุภลักษณ์ สว่างเทียนชัย

หมายเลขบันทึก: 715999เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2023 00:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2023 00:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท