OT with Palliative Care


Palliative and End of life care 

Palliative care and End of life คือการดูแลและประคับประคองผู้ป่วย การเพิ่มคุณภาพชีวิตและบำบัด เยียวยา บรรเทาความทุกข์ ทางกาย ใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ของผู้ป่วย และครอบครัว ตั้งแต่ช่วงระยะเริ่มต้นการเจ็บป่วย จนเสียชีวิต 

Stage ของการดูแล 

Stage Supportive care  Palliative Care Hospice Care
No evidence of disease      
Early stage disease /    
Advanced disease / /  
Bereavement   / /

 

เมื่อใดต้องให้ Palliative care แก่คนไข้? 

  1. Surprise question : คือการผู้บำบัดไม่รู้สึกแปลกใจกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับผู้รับบริการ จากประสบการณ์ ความชำนาญของผู้บำบัด เช่น จะรู้ว่าผู้รับบริการจะเสียชีวิตในอีก 1 ปี แล้วไม่รู้สึกแปลกใจเพราะเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง เช่นนี้ สามารถให้ palliative care ผู้รับบริการได้เลย
  2. ข้อบ่งชี้ทางคลินิก เช่น การทำ Self-care เองไม่ได้, ตัวโรค
  3. จากความต้องการ และทางเลือกของผู้ป่วย 

การให้ Palliative care 

  1. Holistic คือ การดูแลแบบองค์รวม ทั้ง กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้รับบริการ
  2. Symptoms controlled คือ การบรรเทาอาการ หรือ ควบคุมอาการที่เขาเป็น 
  3. Advance care planning คือ ตั้งเป้าหมาย และวางแผนการรักษาร่วมกัน 
  4. Peaceful death คือ ให้คำแนะนำ หรือ ช่วยให้ผู้รับบริการจากไปอย่างสงบ 
  5. Grief and bereavement คือ การดูแลสภาพจิตใจ ครอบครัวของผู้รับบริการหลังจากผู้รับบริการเสียชีวิตไป ประมาณ 1 ปี

 

บทบาทของวิชาชีพกิจกรรมบำบัด

   บุคคลที่มีภาวะจำกัดการดำรงชีวิต (Life Limiting Conditions)​ หรือคุกคามต่อชีวิต (Life Threatening Conditions)​ จะมีความยากลำบากในการทำกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากการเคลื่อนไหว ประสาทสัมผัส อารมณ์ ความรู้ความเข้าใจ ทักษะการสื่อสารลดลง

   กิจกรรมบำบัดช่วยให้ผู้รับบริการบรรเทาความเจ็บปวด และส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีความหมายและมีเป้าหมายต่อผู้รับบริการ โดยพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและบริบท เช่น การฝึกอบรมผู้ดูแล, การเข้าถึงอุปกรณ์หรือสถานที่ การเข้าร่วมทางสังคม  เป็นต้น ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น ความทนทานลดลง ความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น ที่อาจจำกัดความสามารถและความพึงพอใจในการทำกิจกรรมที่ต้องการ

   กิจกรรมบำบัดร่วมมือกับผู้รับบริการและครอบครัวตลอดกระบวนการกิจกรรมบำบัดเพื่อตั้งเป้าหมายร่วมกัน 

Kaye (2006) ชี้ให้เห็นใน Notes on Symptom Control in Hospice and Palliative Care “Loss of independence and role can result in social death prior to biological death. Occupational therapy can help a person to adopt new and appropriate functions and roles and to maintain self-esteem.” (p. 214)

​กิจกรรมบำบัดสามารถช่วยให้บุคคลคงบทบาทและสร้างบทบาทใหม่ๆ ที่เหมาะสมได้ และรักษาความภาคภูมิใจในตนเอง

 

บทบาทนักกิจกรรมบำบัดกับงาน Palliative and End-of-life Care

  1. การประเมินสภาพจิตใจของผู้รับบริการและครอบครัว
  2. ส่งเสริมความต้องการในช่วงปลายชีวิตของผู้รับบริการ
  3. ลดความเจ็บปวดจากอาการป่วยให้ผู้รับบริการ
  4. ให้คำแนะนำในการดูแลผู้รับบริการแก่ญาติและครอบครัว
  5. ดูแลผู้รับบริการให้จากไปอย่างสงบและลดความกังวล
  6. ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ 
  7. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น แผลกดทับ
  8. ดูแลสภาพจิตใจของผู้รับบริการและผู้ดูแล

 

ตัวอย่างกรณีศึกษา

ผู้ป่วยชายอายุ 67 ปี ได้รับการวินิจฉัยเป็น มะเร็งปอดระยะแพร่กระจาย ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยเวลาทำกิจกรรม ยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้บ้าง แต่ต้องอาศัยออกซิเจนเป็นครั้งคราว มียาที่ได้รับอยู่คือมอร์ฟินน้ำเพื่อบรรเทาอาการเหนื่อยหอบ ผู้ป่วยกำลังจะออกจากโรงพยาบาลกลับบ้าน 

การประเมิน

  • สภาพแวดล้อมในบ้าน ที่อยู่อาศัย
  • ความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต
  • ความต้องการของผู้รับบริการ
  • ความเข้าใจสภาพร่างกายของตน
  • สภาพจิตใจของผู้รับบริการและผู้ดูแล

การให้การบริการ

  • ให้ผู้รับบริการและผู้ดูแลรู้จักการ Monitor อาการ ของตนเอง ว่าเวลาไหนควรพัก
  • สอนเทคนิค Energy conservation สงวนพลังงาน เช่น การวางแผนการทำกิจกรรมในแต่ละวัน, ความหนักแต่ละกิจกรรม, นำสิ่งของที่ต้องการจะใช้มาไว้ใกล้ตัว, ย้ายมาอยู่ชั้น 1 ของบ้าน ไม่ต้องขึ้นบันได
  • สอนเทคนิคการหายใจที่ถูกต้อง เช่น การหายใจเข้าออกช้าๆ
  • แนะนำการปรับสภาพแวดล้อม เช่น การหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ควันบุหรี่หรือควันพิษ, มีที่นั่งพักทุกห้องในบ้าน, ออกซิเจนเตรียมพร้อม
  • Mobility aids อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนย้าย เอื้อมกำ

 

โดยพวกเราขอส่งกำลังใจให้กับคุณหมอไทเพจ สู้ดิวะ

คุณหมอไทนั้นเป็นผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะที่ 4 ได้ออกมาแชร์เรื่องราว และอาการป่วยของตัวเอง ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก Krittai Tanasombatkul และหนังสือ "สู้ดิวะ" ได้มาเล่าเรื่องราวผ่านตัวหนังสือถึงชีวิตและการเดินทางสู้กับโรคมะเร็งระยะที่ 4

โดยรายงานล่าสุดจากทางเพจได้มีการแชร์เรื่องราวดังนี้

ข้อความจากแอดมินเพจ

สวัสดีทุกท่านครับ

หลังจากที่หนังสือสู้ดิวะ ได้วางขายได้ระยะหนึ่งมีผู้อ่านหลายท่านส่งกำลังใจพร้อมข้อคิดที่ได้จากการอ่านหนังสือมาทาง inbox page 

แต่ตอนนี้คุณหมออาการไม่ค่อยดีนักครับ มะเร็งมีการลุกลามไปทั่วร่างกาย ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเก่า จริงๆคุณหมอวางแผนที่จะไปร่วมงานแจกลายเซ็นที่งานหนังสือ มีการเตรียมการไว้แล้ว แต่เกิดเหตุที่ต้องเข้ารับการรักษาด่วน ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปไหว

วันนี้ผมจะมีโอกาสได้เจอคุณหมอครับ จึงอยากให้โพสนี้เป็นโพสที่รวบรวมสิ่งที่แต่ละท่านได้รับจากการอ่านหนังสือ ‘สู้ดิวะ’ รวมถึงกำลังใจและพลังบวกที่ทุกท่านต้องการส่งต่อให้กับคุณหมอ 

สามารถคอมเมนท์ไว้ใต้โพสนี้ได้นะครับ ผมอยากให้คุณหมอได้เห็นว่าหนังสือที่คุณหมอทุ่มเทเขียนได้ทำหน้าที่อย่างที่คุณหมอหวังแล้วจริงๆ

 

พวกเรานักศึกษากิจกรรมบำบัดรุ่นที่ 14 มหาวิทยาลัยมหิดลขอส่งกำลังใจและส่งพลังบวกถึงคุณหมอไทและผู้ป่วยมะเร็งปอดทุกๆคนค่ะ❤️✌🏼✌🏼

หมายเลขบันทึก: 715998เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2023 23:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2023 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท