"ปัญหาแรงงานไทยในไต้หวัน"


*ปัญหาแรงงานไทยในไต้หวัน

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

 -ปัญหาแรงงานไทยในไต้หวัน

 * การดื่มสุรา  ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น เมาสุราก่อเหตุทะเลาะวิวาท  ฆ่ากันตาย  ถูกรถชนเสียชีวิตหรือบาดเจ็บทุพพลภาพ 

การใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย  ปัจจุบันในไต้หวันมีแหล่งธุรกิจบันเทิงต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ผับ ดิสโก้เทค คาราโอเกะ ที่เปิดให้บริการแก่แรงงานต่างชาติ หากไม่มีเงินจ่ายค่าอาหารสามารถผ่อนส่งได้ทีหลัง โดยให้คนงานวางหนังสือเดินทางหรือใบถิ่นที่อยู่ค้ำประกันไว้และจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อเดือน บางรายหนีกลับไทย โดยอ้างว่าหนังสือเดินทางหายและไปขอทำเอกสารประจำตัว CI เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระเงินกู้ 

  * ปัญหาการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่   ในไต้หวันโทรศัพท์เคลื่อนที่ราคาถูก หาซื้อได้สะดวก คนงานจึงมีใช้กันแพร่หลาย  ผลดีคือทำให้ติดต่อกับทางบ้านได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ผลเสียที่ตามมาก็คือ มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1,000 – 5,000 เหรียญไต้หวัน อีกทั้งการติดต่อกับเพื่อนฝูงก็ง่ายขึ้น สามารถนัดหมายกันไปตามที่ต่างๆ ได้สะดวกขึ้น คนงานบางรายขาดความรู้ เมื่อใช้ซิมการ์ดหมดก็ทิ้งไปโดยขาดความระมัดระวัง ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพเก็บไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดกฎหมาย ก่อปัญหาให้กับคนงานตามมา เนื่องจากหลักฐานทะเบียนการซื้อซิมการ์ด ยังเป็นชื่อของคนงาน

 * ปัญหายาเสพติด  ปัจจุบันปัญหาการเสพยาเสพติดในหมู่คนงานไทยในไต้หวันขยายวงเพิ่มขึ้น แก็งค้ายาเสพติดจะชักจูงให้แรงงานเสพยา หากไม่มีเงินก็สามารถซื้อได้ในระบบเงินเชื่อ เมื่อติดหนี้มากขึ้น ก็จะถูกชักนำเข้าสู่กระบวนการเป็นผู้ขาย ทำให้ยาเสพติดแพร่กระจายสู่โรงงานต่างๆง่ายขึ้น แรงงานไทยที่ติดยาเสพติด ต้องถูกนายจ้างส่งกลับก่อนกำหนดเนื่องจากไม่สามารถทำงานได้ บางรายเดินทางไปทำงานและผันตัวเป็นเอเยนต์ผู้ขาย

 * การเล่นการพนัน  ซื้อล๊อตเตอรี่ และหวยใต้ดิน นอกจากจะทำให้คนงานขาดสมาธิในการทำงานแล้ว ยังต้องติดหนี้เป็นจำนวนมากกับเจ้ามือการพนัน ซึ่ง   ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารและสถานบันเทิง 

  * ค้ำประกันเงินกู้ แรงงานไทยลงนามเป็นผู้ค้ำประกันเพื่อกู้เงินให้เพื่อนร่วมงาน หรือแรงงานอื่น ซึ่งหลายคนมีปัญหาต้องชดใช้หนี้แทนเพื่อนซึ่งติดหนี้ และไม่สามารถติดต่อได้ หรือหนีหนี้ ส่งผลให้แรงงานต้องรับภาระทางการเงินอย่างหนัก โดยไม่สามารถทำอะไรได้ เนื่องจากเป็นผู้ยินยอมเป็นผู้ค้ำประกันด้วยตนเอง

   * การขอกลับก่อนครบสัญญาจ้าง แรงงานไทยรุ่นใหม่มักมีความอดทนน้อยกว่ารุ่นพี่ เมื่อเดินทางไปทำงานที่ไต้หวันแล้ว ในเวลาไม่นานมักขอยกเลิกสัญญาจ้างและขอเดินทางกลับประเทศ ทั้งที่สถานประกอบการมีสวัสดิการดี และปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายและข้อตกลงในสัญญาจ้างงาน บางรายเดินทางไปทำงานได้เพียง 1 เดือน ก็ขอกลับด้วยเหตุผล เช่น มีธุระส่วนตัว พ่อแม่เจ็บป่วย กลับไปแต่งงาน เป็นต้น 

  * หลบหนีนายจ้าง  ซึ่งหากไม่กลับเข้าโรงงานเกิน 3 วัน นายจ้างต้องแจ้งเรื่องคนงานหลบหนีตามกฎหมาย เมื่อคนงานต้องการกลับประเทศจะต้องเข้ามอบตัว และเสียค่าปรับระหว่าง 2,000 – 10,000 เหรียญไต้หวัน ทั้งนี้ระหว่างถูกควบคุมตัวเพื่อรอการส่งกลับ คนงานจะต้องรับผิดชอบค่าอาหารและค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าตั๋วเครื่องบินเอง ซึ่งปรากฏว่ามีคนงานหลบหนีจำนวนมากมีปัญหาด้านการเงินที่ไม่มีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าว ทั้งนี้ ไต้หวันอยู่ระหว่างปรับเพิ่มบทลงโทษ ดังนี้ 

1) ผู้พำนักเกินเวลาจะมีโทษปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2,000~10,000 เหรียญไต้หวัน เป็น 30,000-150,000 เหรียญไต้หวัน

2) เพิ่มระยะเวลาห้ามเข้าไต้หวันจาก 3 ปี ถึงสูงสุด 10 ปี


 

คำสำคัญ (Tags): #"ปัญหาแรงงาน"
หมายเลขบันทึก: 715905เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2023 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2023 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท