ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ : ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์การ


ในท่ามกลางสภาวการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการขององค์การต่าง ๆ โดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สภาพการที่เกิดขึ้นส่งผลให้การบริหารจัดการขององค์การต้องเผชิญกับปัจจัยที่มีผลกระทบทั้งจากปัจจัยทั้งภายในและปัจจัยภายนอก การที่องค์การจะสามารถดำเนินการตามภารกิจต่อไปได้ จึงต้องมีความพร้อมทั้งในด้านทรัพยากร ปัจจัยทางการบริหาร และกลยุทธ์การบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งการมีผู้นำมีความรู้ความสามารถ  

องค์ประกอบสำคัญสำหรับการนำพาองค์การให้สามารถดำเนินภารกิจให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การมีผู้นำที่มีความเป็นเลิศ มีความรู้ความสามารถ มีรูปแบบความคิดที่ดี  มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีภาวะความเป็นผู้นำสูง และที่สำคัญการมีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ขององค์การให้ประสบความสำเร็จได้ดีด้วย 

ในทางวิชาการได้มีการศึกษาและอธิบายให้ความหมายเกี่ยวกับลักษณะของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ไว้ในหลายประการ อาทิ เช่น ผู้นำเชิงกลยุทธ์เป็นผู้นำที่มุ่งเน้นเป้าหมาย มีความสามารถคาดการณ์ มีความคิดกว้างไกล มีความสามารถในการประเมินและกำหนดทิศทาง รวมทั้ง การให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวนการกำหนดทิศทาง การสร้างทางเลือกและการนำไปสู่การปฏิบัติ ทำให้องค์การประสบความสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ด้วยกระบวนการการทำงานที่เกิดจากการติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอกองค์การ การคาดการณ์อนาคตในระยะสั้น ระยะยาว และการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อมุ่งไปสู่อนาคตที่พึงประสงค์ขององค์การ

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของความเป็นผู้นำที่จะนำองค์การไปสู่ความสำเร็จ โดยที่บทบาทของผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนหรือนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ ยังจะต้องอาศัยความมีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติเป็นองค์ประกอบสำคัญประกอบด้วย

สำหรับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ตามการศึกษาของนักวิชาการต่าง ๆ สามารถสรุปออกมาเป็นองค์ประกอบสำคัญใน 4 ด้าน ได้แก่ 

1. ด้านการวางแผน (Planning) 

2. ด้านการจัดองค์การ (Organizing) 

3. ด้านการนำ (Leading) 

4. ด้านการควบคุม (Controlling)

ทั้งนี้ องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategy Leadership) ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน (Planning) ด้านการจัดองค์การ (Organizing) ด้านการนำ (Leading) และด้านการควบคุม (Controlling) ดังกล่าว นอกจากจะเป็นตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ และกรอบแนวทางการทำหน้าที่ของผู้นำองค์การแล้ว ยังจะเป็นรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้เชิงกลยุทธ์อีกด้วย. 

หมายเลขบันทึก: 714918เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2023 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2023 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท