นายกรัฐมนตรีเป็นตัวแทนของประมุขประเทศ


นายกรัฐมนตรีเป็นตัวแทนของประมุขประเทศประมุขจึงต้องเป็นผู้เลือก

1 คนตั้ง เรียกว่า  แต่งตั้ง

หลายคนตั้ง เรียกว่า เลือกตั้ง

ผมขอชี้แจงที่มาของ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการที่ผมได้เรียนมา ซึ่งในปัจจุบันนักการเมืองและนักวิชาการ ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อพระประมุขของประเทศอย่างไม่น่าเชื่อ  คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ นักวิชาการ และนักการเมืองจะเห็นผิดเป็นถูก จะด้วยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม เป็นการโกงพระราชอำนาจของในหลวง และเป็นการหลอกลวงประชาชน ให้เข้าใจในสิ่งที่ผิด คิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง จึงเป็นการมิบังควร ต่อเบื้องยุคลบาท เป็นอย่างยิ่ง

ผมจะขออธิบายให้ทราบทั่วกันว่า 
ตามหลักวิชาการเมืองการปกครอง 
ที่เป็นความจริงและเป็นหลักวิชาการที่ถูกหลักวิชาเป็นเช่นไร

ผมขอชี้แจงที่มาของ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ถูกต้องตามหลักวิชาก่อน ดังนี้

ตามหลักวิชารัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศรัฐเดียว (Unitary State) หรือ ประเทศหลายรัฐ (Multi-state)

ไม่ว่าจะมี รูปการปกครอง เป็น ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) หรือ ระบบประธานาธิบดี (Presidential System) หรือ ระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System)

ไม่ว่าจะมี สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ
สถาบันประธานาธิบดี เป็นประมุขแห่งรัฐ

ไม่ว่าจะมีการถ่วงดุล กันในลักษณะ 
รวมอำนาจ (Fusion of Power) หรือ 
แยกอำนาจ (Separation of Power)

และไม่ว่าจะมี หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Government) 
แบบเผด็จการ (Dictatorship) หรือ
แบบคอมมิวนิสต์ (Communist Government) ก็ตาม

หลักความสัมพันธ์ระหว่างประมุขของประเทศ กับ ประมุขของการปกครอง หรือ “ประมุขของประเทศ” กับ “นายกรัฐมนตรี” เป็นอย่างเดียวกัน และเหมือนกันทั้งสิ้นทุกประเทศ ครับ

หมายความว่า “ประมุขของการปกครอง
หรือ “นายกรัฐมนตรี” จะขึ้นต่อ “ประมุขของประเทศ” หรือ “พระมหากษัตริย์” อย่างไม่มีเงื่อนไข ตามหลักวิชาว่าด้วย “การจัดตั้งของรัฐ” (State Organization)

กล่าวคือองค์การรัฐจะดำรงอยู่ได้ จะต้องมีการ “รวมศูนย์” (Centralization)

การรวมศูนย์ จึงเป็นหัวใจสำคัญขององค์การจัดตั้งทั้งปวง เรียกว่า “ลัทธิรวมศูนย์” หรือ Centralism ครับ

พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของประเทศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีก็เป็นผู้แทนของประมุข ของประเทศในทางการจัดตั้ง และเป็นผู้แทนของ “สถาบันพระมหากษัตริย์” ที่เป็นสถาบันแห่ง “ทศพิธราชธรรม” และธรรมนั้นย่อมสอดคล้องกับผลประโยชน์ของปวงชนเสมอไป 

ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงเป็นตัวแทนประมุขของประเทศในแง่ “อำนาจอธิปไตย” และเป็นตัวแทนสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ถือหลักการผลประโยชน์ของปวงชน (ทศพิธราชธรรม) จึงเป็นลักษณะเป็น “ธรรมาธิปไตย”

แต่ถ้าเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ไม่ได้เป็น “ประมุขของประเทศ” อีกต่อไป สถาบันอื่นมาเป็นประมุขของประเทศแทน และถือหลักการตามนโยบายรักษาผล ประโยชน์ของคนส่วนน้อยที่ตนเป็นผู้แทน

รัฐต้องมีประมุขเป็น ผู้ถือดุล 
ถ้าประมุขแห่งรัฐเสียดุลอำนาจลงเมื่อใด 
รัฐนั้นก็จะกลายเป็น "รัฐล้มเหลว" (failed state)

ไพบูลย์ สถาปนาวิสุทธิ์
ผู้อำนวยการ
สถาบันการศึกษาเพื่อการสร้างประชาธิปไตย

หมายเลขบันทึก: 714505เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2023 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2023 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท