หลักวิชาการเมือง เรื่อง การจัดตั้งของรัฐ


หลักวิชาว่าด้วย เรื่อง การจัดตั้งของรัฐ

ประเทศไม่ว่าจะเป็น “แบบรัฐเดียว” (Unitary State) หรือ “แบบหลายรัฐ” (Multi-State) 
ก็ตามต้องเป็น “องค์การจัดตั้ง” 
(Organization) และมีลักษณะเป็น “องค์การรัฐ” (State Organization) และองค์การใดๆ ก็ตามจะเป็นองค์การดำรงอยู่ได้นั้นจะต้องมี “การรวมศูนย์”(Centralization)

การรวมศูนย์จึงถือว่า เป็นหัวใจของหลักการขององค์การจัดตั้งทั้งปวง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
1. ลัทธิรวมศูนย์ (Centralism)
2. ลัทธิรวมศูนย์แบบประชาธิปไตย (Democratic Centralism) 

หลักการจัดตั้งของลัทธิรวมศูนย์ 
มีอยู่ 3 หลัก คือ
(1) องค์กร (Organ) ระดับล่าง
ขึ้นต่อองค์กรระดับบน
(2) บุคคลขึ้นต่อองค์การจัดตั้ง
(3) ทั่วทั้งองค์การขึ้นต่อองค์การนำสูงสุด คือ “ประมุข” หรือ “ประธาน”

หลักการจัดตั้งของลัทธิรวมศูนย์
แบบประชาธิปไตย คือ 
(1) ข้างน้อยขึ้นต่อข้างมาก
(2) องค์กรระดับล่างขึ้นต่อองค์กรระดับบน
(3) บุคคลขึ้นต่อองค์กรจัดตั้ง
(4) ทั่วทั้งองค์กรขึ้นต่อองค์การนำสูงสุดคือ “ประมุข”

ไม่ว่าจะเป็นองค์การอะไรก็ตามเช่น องค์การมวลชน องค์การพรรค หรือองค์การรัฐ ฯลฯ ก็ต้องมีการรวมศูนย์ทั้งสิ้น แต่จะรวมศูนย์อย่างเดียว หรือจะรวมศูนย์แบบประชาธิปไตยก็แล้วแต่ ถ้าไม่มีการ “รวมศูนย์” ก็ไม่เป็น “องค์การ” นี่คือ “หลักวิชา”

ประเทศ หรือ องค์การรัฐ จึงย่อมมี “หลักการจัดตั้ง” ตามหลักวิชา คือประกอบด้วย องค์กร หลายระดับ ตั้งแต่ระดับบนสุดจนถึงระดับล่างสุด องค์กรระดับบนสุดที่สำคัญมี 3 องค์กร เรียกว่า “องค์กรแห่งอำนาจอธิปไตย” หรือ “องค์กรอำนาจรัฐ”

คือ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และ ศาล
สมาชิก รัฐสภาย่อมขึ้นต่อรัฐสภา 
รัฐมนตรีย่อมขึ้นต่อคณะรัฐมนตรี 
ผู้พิพากษาย่อมขึ้นต่อศาล

ข้าราชการ ประจำ ย่อมขึ้นต่อกระทรวง ทบวง กรม

นักการเมืองย่อมขึ้นต่อพรรค (พรรคในที่นี้ หมายถึง พรรค การเมืองตามธรรมชาติ มิใช่เพียงพรรคตามกฎหมาย ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน)

แผนก กอง กรม ทบวง กระทรวง คณะรัฐมนตรี ย่อมมีความสัมพันธ์แบบรวมศูนย์ หรือขึ้นต่อกันตาม “หลักวิชาการจัดตั้งองค์การ”

อำเภอและจังหวัดขึ้นต่อรัฐบาลเพราะเป็นองค์กรตัวแทนรัฐบาล ในภูมิภาค

แต่ละองค์กรย่อมมีหัวหน้าหรือประมุข (Head) โดยเฉพาะองค์กรของรัฐทุกระดับ และขึ้นต่อกันเป็นชั้นๆ ตามระดับขององค์กร

องค์กรอำนาจรัฐระดับบนสุดซึ่งเป็นองค์กรแห่ง “อำนาจอธิปไตย” 
ใช้ “อำนาจนิติบัญญัติ” (รัฐสภา)
“อำนาจบริหาร” (คณะรัฐมนตรี) 
“อำนาจตุลาการ” (ศาล) 
ซึ่งเป็น “อำนาจการปกครอง”
(Administrative Power)

มีประมุขขององค์กรซึ่งเป็น 
“ประมุขการปกครอง” คือ
“ประธานรัฐสภา” เป็นประมุขรัฐสภา 
“นายกรัฐมนตรี” เป็นประมุขของคณะรัฐมนตรี
“ประธานศาลฏีกา” เป็นประมุขของศาล

องค์กรแห่งอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 นี้เป็น “องค์กร” (Organ) “ของรัฐ” 
(Organization)

องค์กร รัฐทั้งหลาย จึง รวมศูนย์เข้าเป็นองค์การรัฐ และประมุขของการปกครองทั้ง 3 องค์กร จึงรวมศูนย์ที่ “ประมุขของรัฐ” (Head of State)

ฉะนั้น ประมุขของการปกครองทั้ง 3 จึงขึ้นต่อ “ประมุขของรัฐ” ตามหลักวิชาการจัดตั้งของรัฐ และรูปธรรมการขึ้นต่อหลักการรวมศูนย์ก็คือ

ประมุขของประเทศ มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอน นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประธานศาลฏีกา ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข

ถ้ารัฐธรรมนูญบัญญัติให้มี เงื่อนไขที่ผิดไปจากหลักวิชาการจัดตั้งของรัฐ รัฐธรรมนูญฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ

เพราะนอกจาก เป็นการละเมิดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์แล้ว ยังเป็นแผนการร้ายในการทำลายสถาบัน 
พระมหากษัตริย์อีกด้วย

เพราะถ้าประมุขของประเทศใด ไม่มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนนี้ ก็ไม่ใช่ ประมุขของประเทศกลายเป็นเจว็ดหรือหุ่นเชิด หรือเป็นประมุขเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น.

หลักวิชากำหนดไว้ว่า 
รัฐต้องมีประมุขเป็น ผู้ถือดุล 
ถ้าประมุขแห่งรัฐเสียดุลอำนาจลงเมื่อใด
รัฐนั้นก็จะกลายเป็น “รัฐล้มเหลว”

อ.วันชัย พรหมภา บรรยาย
ไพบูลย์ สถาปนาวิสุทธิ์  เรีบเรียง

หมายเลขบันทึก: 714503เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2023 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2023 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท