การสอนคำศัพท์ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching)


                       แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนการอบรมการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
คําชี้แจง  ข้อสอบปรนัย จํานวน 20 ข้อ ให้กากบาท X ข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
คำสั่ง       ขอให้ท่านเลือกคำตอบที่ท่านคิดว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1.ข้อใดคือกิจกรรมก่อนการฟัง (Pre listening) 
ก. กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับข้อความที่ฟัง 
ข. กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติฟังข้อความ 
ค. กิจกรรมให้ผู้เรียนฝึกใช้ภาษา 
ง. กิจกรรมที่เป็นการตรวจสอบความรู้
    2. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ของภาษาอังกฤษ 
ก. สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีทั้งหมด 4 สาระ 
ข. สาระที่ 3 สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 
ค. ในแต่ละสาระการเรียนรู้จะมีมาตรฐานและตัวชี้วัด 
ง. ถูกทุกข้อ 
    3. ข้อใดไม่ใช่คำสั่งง่าย ๆ จากเรื่องที่ฟังในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 
ก. Please stand up/sit down. 
ข. Listen to me please. 
ค. Please listen to the radio. 
ง. Please don’t make a loud noise. 
    4. ข้อใดไม่ใช่การปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และ คำแนะนำที่ฟังและอ่าน 
ก. Look over there. 
ข. Pease read your book 
ค. I want a pen, please 
ง. Draw circles in the paper 
    5. ประโยคที่กล่าวว่า I love mother ตรงกับข้อใด 
ก. พูดแสดงความคิดเห็น 
ข. พูดให้ข้อมูลตนเอง 
ค. พูดแสดงความรู้สึก 
ง. ถูกทุกข้อ 
    6. ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรนับจำนวนได้ตั้งแต่เท่าไร 
ก. 1 – 100 
ข. 1 – 1000 
ค. 1 – 10000  
ง. 1 – 100000
    7. คำศัพท์กลุ่มใดอยู่ระดับ A1 
ก. Apple Ant 
ข. Cake Candle 
ค. Vet Value 
ง. Rainbow Rich 
   8. คำหรือกลุ่มคำเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควรอยู่ในวงคำศัพท์กี่คำ 
ก. 100 – 150 คำ 
ข. 150 – 200 คำ
ค. 200 – 250 คำ  
ง. 250 – 300 คำ 
    9. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับคำศัพท์ 
ก. นักเรียนควรได้เรียนวงคำศัพท์พื้นฐานตามระดับชั้น 
ข. คำศัพท์สามารถตรวจสอบได้ว่าอยู่ในระดับใดตามกรอบ CEFR 
ค. การเรียนการสอนของครูควรคำนึงถึงคำศัพท์ตามกรอบ CEFR 
ง. ถูกทุกข้อ 
    10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับคำศัพท์ที่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ควรได้เรียน 
ก. หมวดหมู่ร่างกาย เช่น คำว่า nose ear 
ข. หมวดหมู่ห้องต่าง ๆ เช่น คำว่า toilet restroom 
ค. หมวดหมู่ครอบครัว เช่น parent uncle 
ง. ถูกทุกข้อ 
    11. หมวดหมู่ของคำศัพท์เหล่านี้คือ one first 
ก. หมวดหมู่คำศัพท์จำนวน 
ข. หมวดหมู่คำศัพท์ตัวเลข 
ค. หมวดหมู่คำศัพท์จำนวนและลำดับที่ 
ง. หมวดหมู่คำศัพท์ตัวเลข และลำดับที่ 
    12. ข้อใดตรงกับการอ่านแบบ Skimming 
ก. การอ่านแบบผสมคำ 
ข. การอ่านแบบข้ามคำ 
ค. การอ่านแบบกวาดสายตา 
ง. การอ่านแบบสำรวจ

    13. กิจกรรมการฟังในข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น 
         ก. What town does Jim live in? Listen and find out.
         ข. Listen to the story and choose the best title for it.
         ค. Listen to the description of the boy and the girl and draw pictures for them.
         ง. Listen carefully, and mark each sentence with an arrow going up and down.
14. กิจกรรมการเขียนในข้อใดเป็นการเขียนแบบชี้แนะ (guided writing) 
         ก. การเติมคำในช่องว่าง (gap filling)
         ข. การเรียงคำให้เป็นประโยค (re-ordering word)
         ค. การเขียนตามคำบอกที่เรียกว่า (dicto-comp)
         ง. การกำหนดหัวเรื่องให้ (assigned topic) 
15. ในการสอนโดยใช้เพลงและบทพูดเข้าจังหวะควรใช้การประเมินผลแบบใดเหมาะสมที่สุด
รูปแบบการประเมินที่หลากหลายตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
ประเมินผลรวม (Summative Assessment)
ประเมินผลย่อย ระหว่างเรียน  (Formative Assessment) 
ประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Assessment) 
    16. ปัจจัยเร่งที่ทำให้ภาคการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
การพัฒนาซอฟต์แวร์การเรียนการสอนที่เหมาะสม
การแพร่ระบาดของโรค COVID-19
แนวคิดความเท่าเทียมกันของระบบการศึกษา
ความสะดวกและความรวดเร็ว
    17. ข้อใดเป็นสิ่งที่ตัวชีวัดในหลักสูตรไม่ได้กำหนดไว้
         ก. ขอบเขตของเนื้อหาและการวัดประเมินผล
         ข. วิธีการสอนและรูปแบบการวัดประเมินผล
         ค. การบูรณาการทักษะและขอบเขตของเนื้อหา
         ง. รายละเอียดของทักษะและวิธีการสอน
    18.  เครื่องมือในการวัดผลของผู้เรียนในยุคดิจิทัลทุกชนิดเหมาะสำหรับวัดผลความสามารถของเด็กด้านใด
ก.Cognitive Domain 
ข.Affective Domain
ค.Psychomotor Domain
ง.เหมาะสมทุกด้าน
    19. ประเด็นสำคัญของเรียนการสอนแบบ Teach Like Finland คืออะไร
เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ไม่เน้นการให้งานหรือการบ้าน
ให้ความสำคัญในการจัดการปัจจัยแวดล้อมการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ
เน้นวิธีการเรียนการสอนมากกว่าผลลัพธ์
เน้นผลลัพธ์มากกว่าวิธีการเรียนการสอน
20. ข้อใดไม่ใช่แนวทางในการนำกรอบ  CEFR ไปใช้ในการพัฒนาครู  
         ก. เป็นเครื่องมือในกำรประเมินตนเอง 
         ข. จัดทำฐานข้อมูลครูตามระดับความสามารถ  
         ค. ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรของครู  
         ง. ใช้เพื่อประเมินหลักสูตรการพัฒนาและกระบวนการพัฒนาครู  

 

 

 

 

 

 

 

 


เฉลย     1. ก   2. ข    3. ง      4. ค      5. ค      6. ข     7. ก     8. ข     9. ง    10. ก   
     11. ค   12. ข  13. ง   14.ค    15.ก    16.ข    17. ง    18. ก    19. ข    20. ค    


หน่วยการอบรมที่ 1
เรื่อง การสอนคำศัพท์ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร (Teaching Vocabulary through Communicative Teaching Approach) รูปแบบ PPP (presentation, practice and production)

    1. การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching)
1) คำจำกัดความ
          ไฮมส์ (Hymes) ได้ใช้คําว่าความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (communicative competence) หมายถึง ความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ หรือปะทะสังสรรค์ทางด้าน สังคม (socialinteraction) ซึ่งความสามารถทางด้านภาษาที่สําคัญที่สุดคือความสามารถ ที่จะพูด หรือเข้าใจ คําพูดที่อาจไม่ถูกหลักไวยากรณ์แต่มีความหมายเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่คําพูดนั้นถูกนํามาใช้การสอนภาษาแบบสื่อสาร  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อสาร (อ้างถึงใน Widdowson. 1981)  
              ธูปทองได้กล่าวว่าเป็นการสอนภาษาที่เน้นหน้าที่ของภาษาและการสื่อความหมาย กล่าวคือผู้เรียนสามารถใช้ภาษาที่เรียนในการสื่อสารได้ซึ่งอาจจะใช้ไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่สามารถสื่อความได้ และเหมาะสมกับสถานการณ์โดยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะทางภาษามาใช้เพื่อการสื่อสารได้ (กว้างสวาสดิ์, 2544)
           บริติชเคาซิล (2563) ได้กล่าวว่าการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารขึ้นอยู่กับความคิดที่ว่าการเรียนรู้ภาษาประสบความสำเร็จนั้นมาจากการสื่อสารความหมายที่แท้จริงเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสื่อสารในสถานการณ์จริงจะใช้วิธีการตามธรรมชาติของพวกเขาในการเรียนรู้ภาษาและสิ่งนี้จะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้การใช้ภาษา (British Council, 2020)
         จากคํานิยามดังกล่าวสรุปได้ว่า การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหมายถึงกระบวนการสอนที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ภาษาด้วยการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ด้วยภาษาที่เจ้าของภาษาใช้จริงซึ่งอาจไม่ถูกต้องตามหลักภาษาทั้งหมดแต่สามารถสื่อความได้ ใช้ภาษาได้ถูกต้องตามสถานการณ์ มีวิธีการเรียนรู้ภาษาที่เป็นธรรมชาติเพื่อจะนําไปประยุกต์ใช้ในการดํารงชีวิตประจําวันต่อไป


2) หลักการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
         สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2553) ได้สรุปแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารไว้ดังต่อไปนี้
ต้องให้ผู้เรียนรู้ว่าทําอะไร เพื่ออะไร ต้องให้ผู้เรียนทราบถึง ความมุ่งหมายของ
การเรียนและการฝึกใช้ภาษาซึ่งจะให้การเรียนภาษาเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียนให้ผู้เรียนรู้สึกว่าเมื่อเรียนแล้วสามารถทำอะไรเพิ่มขึ้นได้ในชีวิตจริง สามารถสื่อสารได้ตามที่ตนต้องการ เช่น ในการอ่าน เมื่อเรียนแล้วผู้เรียนสามารถอ่านคําแนะนําวิธีใช้อุปกรณ์บางอย่างได้ หรือในการพูด ผู้เรียนแนะนำตนเองและสอบถามข้อมูลของผู้อื่นได้เป็นต้น
จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Skills) การใช้ภาษาเพื่อ
การสื่อสารต้องหลายทักษะรวมๆ กันไป และในบางครั้งต้องมีกิริยาท่าทางประกอบดังนั้น ผู้เรียนภาษาก็ควรจะได้ทําพฤติกรรมเช่นเดียวกับในชีวิตจริง
ต้องให้ผู้เรียนได้ฝึกทํากิจกรรมด้านการสื่อสาร (Communicative 
Competence) เหมือนในชีวิตประจําวันให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนนําไปใช้จริง ผู้เรียนต้อง ได้เรียนรู้ความหมายของสํานวนภาษาในรูปแบบต่าง ๆในการทํากิจกรรมการใช้ภาษา ควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกใช้ข้อความที่เหมาะสมกับบทบาทและสถานการณ์ด้วยนั้น
ต้องให้ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษาให้มากๆ ทํากิจกรรมการใช้ภาษาในสถานการณ์
ต่างๆ ที่หลากหลายรูปแบบให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วย
ฝึกให้ผู้เรียนใช้ภาษาในกรอบของความรู้ทางหลักภาษา (Grammatical 
Competence) นอกจากนี้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารสิ่งที่ควรใช้ความสําคัญเป็นอันดับแรกคือเรื่องความคล่องในการใช้ภาษา (Fluency) ซึ่งภาษาที่ใช้อาจไม่ถูกต้องนักแต่สื่อความหมายได้ และเน้นการใช้ภาษาต่างสถานการณ์ (Function)    
6. ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สนองต่อความสนใจของผู้เรียน
7. ชี้แนะนำทางให้ผู้เรียนพร้อมให้คำแนะนำระหว่างที่ดำเนินกิจกรรม พร้อมกับดู
ความก้าวหน้าของผู้เรียนไปด้วย
อ้างถึง TESOL (2017) หัวใจสำคัญของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร มี 4 ข้อที่ควรได้รับความสนใจเป็นพิเศษ มีดังนี้
ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
การเรียนรู้ภาษาเกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญทั้งทักษะและความรู้
ผู้เรียนต้องพิจารณาอย่างจริงจังถึงผลกระทบของความรู้สึกที่มีต่อการเรียนภาษา
เรียนชื่นชอบแนวทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน


สรุปได้ว่า
             การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนภาษาที่เน้น
การจัดประสบการณ์ให้นักเรียนได้ใช้ภาษาในสถานการณ์จริงมีการฝึกฝนการใช้ภาษา ใช้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ ในสถานการณ์ต่างๆเน้นที่ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษาก่อน

    2. การสอนคำศัพท์ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร (Teaching Vocabulary through Communicative Teaching Approach) รูปแบบ PPP (presentation, practice and production)
        ก่อนการสอนภาษาเป้าหมายในแต่ละบทเรียนจะมีการสอนคำศัพท์ก่อนด้วยเทคนิคที่หลากหลายการสอนคำศัพท์ในแต่ละวิธีจะมีลำดับขั้นตอน  ในงานวิจัยเล่มนี้ได้ใช้ขั้นตอนการสอนคำศัพท์ที่อ้างอิงถึง British Council (2060) โดยใช้การสอนแบบ PPP คือ presentation, practice and production เพื่อการสอนคำศัพท์เพื่อการสื่อสาร ดังนี้
1) ขั้นเตรียมความพร้อมหรือขั้นนําเข้าสู่บทเรียน (Warm up) เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนเนื้อหาใหม่
2) ขั้นการนําเสนอ (Presentation)เป็นการนำเสนอภาษาที่เป็นเป้าหมายให้แก่ผู้เรียนทั้งนี้เป็นตัวอย่างภาษาที่ใช้ในชีวิตจริง สิ่งที่จะต้องนำอันดับแรกคือความหมาย (meaning) การเขียนคำศัพท์ (form) และ การออกเสียง (pronunciation) โดยสองประการหลังคือการเขียนและการออกเสียงอาจจะสลับกันได้ โดยในการนำเสนอความหมาย(meaning) อาจนำเสนอผ่านรูปภาพ การให้คำจำกัดความ แสดงท่าทาง เป็นต้น ครูจะต้องนำเสนอความหมายให้นักเรียนเข้าใจได้ดีที่สุด เขียนศัพท์และออกเสียงได้ถูกต้อง ในการสอนแต่ละครั้งควรจะสอนไม่เกิน 7- 10 คำต่อครั้ง
3) ขั้นฝึก (Practice) เป็นการฝึกตัวภาษาที่ครูผู้สอนนําเสนอ ในขั้นนำเสนอ (Presentation) ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาใหม่ที่ได้เรียนโดยในขั้นนี้จะเน้นที่ความถูกต้อง (Accuracy)
4) ขั้นนําไปใช้ (Production)ต้องออกแบบกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาใหม่ที่ได้เรียนในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาที่ได้เรียนรู้มาแล้วโดยอิสระและมีความคิดสร้างสรรค์ซึ่งกิจกรรมในขั้นนี้จะเน้นที่ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา (Fluency) ครูจะไม่ไปแก้ไขข้อผิดพลาดในขณะที่นักเรียนกำลังทำกิจกรรม
5) ขั้นสรุป (Wrap up) เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้สรุปสาระสําคัญของบทเรียน กิจกรรมที่
จัดขึ้น
        กล่าวโดยสรุปการสอนคำศัพท์เพื่อการสื่อสารที่ใช้รูปแบบการสอนแบบ PPP (presentation,practice and production) สิ่งที่จะต้องสอนเป็นอันดับแรกคือความหมาย (meaning) การเขียนคำศัพท์ (form) และการออกเสียง (pronunciation) ตามลำดับ โดยที่การเขียนคำศัพท์ (form) และการออกเสียง (pronunciation) สามารถสอนสลับก่อนหลังได้ 
** Assignment 1 งานชิ้นที่ 1 **
Quiz (แบบทดสอบ)
https://forms.gle/RvDFBSBC4DqRZ48w9

 

 

แบบทดสอบก่อนและหลังท้ายอบรมหน่วยการเรียนรู้ที่ 1
คําชี้แจง  ข้อสอบปรนัย จํานวน 10 ข้อ ให้กากบาท X ข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 
    1. ข้อใดคือการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 
ก. Communication Language Teaching 
ข. Communicative Language Teaching 
ค. Community Language Teaching 
ง. Professional Learning Community
    2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักการจัดการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 
ก. ฝึกสมรรถภาพด้านการสื่อสาร 
ข. การจัดกิจกรรมต้องให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ 
ค. ผู้เรียนต้องได้รับการฝึกฝน 
ง. ถูกทุกข้อ
    3. ขั้นการใช้ภาษา (Production)
    ก. เป็นขั้นที่ครูจะให้ข้อมูลทางภาษา 
ข. เป็นขั้นที่ครูเริ่มเรียนเนื้อหาใหม่ 
ค. เป็นขั้นที่ครูให้นักเรียนน าสิ่งที่ฝึกมาใช้ในสถานการณ์ 
ง. เป็นขั้นที่สรุปสิ่งที่ได้เรียนมาแล้ว 
   4. กิจกรรม ขั้น Production กิจกรรมใดเหมาะสมที่สุด 
ก. Question
    ข. Drill 
ค. Time Line 
ง. Debate 
    5. ข้อใดคือกิจกรรมก่อนการฟัง (Pre listening) 
ก. กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับข้อความที่ฟัง 
ข. กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติฟังข้อความ 
ค. กิจกรรมให้ผู้เรียนฝึกใช้ภาษา 
ง. กิจกรรมที่เป็นการตรวจสอบความรู้
    6. การสอนแบบ PPP ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด
    ก. pre review practice product
    ข. process practice produce
    ค. prepare process production
    ง. presentation practice production
    7. ข้อใดไม่ใช่ความสามารถในการสื่อสาร 
ก. ความสามารถด้านไวยากรณ์ 
ข. ความสามารถด้านสังคม 
ค. ความสามารถด้านภาษาเพื่อการสื่อควาหมายด้านการฟัง และอ่าน 
ง. ความสามารถด้านการใช้กลวิธีการสื่อความหมาย
    8. ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของขั้นนำเข้าสู่บทเรียนในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 
ก. เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุก 
ข. เพื่อให้นักเรียนเกิดความพร้อม 
ค. เพื่อให้เกิดความอยากรู้ 
ง. เพื่อนักเรียนได้ฝึกใช้ภาษา
    9. ข้อใดคือกิจกรรมก่อนการฟัง (Pre listening) 
ก. กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับข้อความที่ฟัง 
ข. กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติฟังข้อความ 
ค. กิจกรรมให้ผู้เรียนฝึกใช้ภาษา 
ง. กิจกรรมที่เป็นการตรวจสอบความรู้ 
    10. ข้อใดตรงกับการอ่านแบบ Skimming 
ก. การอ่านแบบผสมคำ 
ข. การอ่านแบบข้ามคำ 
ค. การอ่านแบบกวาดสายตา 
ง. การอ่านแบบสำรวจ

 

 

เฉลย 1. ข 2. ง 3. ค  4.ง  5. ก  6. ง  7. ค  8. ง  9. ก  10. ข


หน่วยการอบรมที่ 2
เรื่อง การสอนคำศัพท์สู่ประโยคสู่คำถาม (Vocabulary to sentence to question) และจากประโยคสู่คำถามและการบูรณาการทักษะฟังพูดอ่านเขียน สู่การสอนภาษาอังกฤษ

1. Teaching Vocabulary
1.1 ในวีดีโอนี้เป็นการสอนคำศัพท์ใหม่ให้แก่นักเรียนระดับชั้นอนุบาลที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในช่วงการสอนคำศัพท์ใหม่ให้แก่นักเรียนของเราได้ค่ะ จะเห็นได้ว่านักเรียนเรียนผ่านการได้ยิน การเห็นและท่าทาง เป็นการใช้ประสาทสัมผัสที่หลากหลายในการส่งเสริมการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างเร็วและจดจำคำศัพท์ได้นาน พร้อมนี้บรรยากาศการเรียนเป็นไปอย่างอบอุ่นปลอดภัย บรรยากาศที่เป็นบวก คุณครูมีเมตตาและใจดี และคุณครูยังมีกิจกรรมที่ใช้ทวนย้ำคำศัพท์เพื่อให้นักเรียนจดจำคำศัพท์ได้อย่างหลากหลาย

คลิกที่ลิงค์ youtube ด้านล่างได้เลยค่ะ
https://youtu.be/0fUlS_aGQ1I

1.2 ก่อนทำกิจกรรม สอนเนื้อหาสนทนา หรืออ่านเรื่องราวในชั้นเรียน การสอนคำศัพท์ก่อนจะเป็นประโยชน์เสมอสำหรับผู้เรียน วิธีนี้จะช่วยให้พวกเขามีโอกาสระบุคำต่างๆ แล้วนำไปใส่ในบริบทและจดจำคำเหล่านั้นได้ (Reading Rockets, 2021) ในการสอนคำศัพท์
    1) ไม่ควรสอนเกิน 7-10 คำ 
    2) โดยการสอนความหมาย (meaning), การออกเสียง (pronunciation) และการเขียน 
(form) หรือ จะสลับลำดับการออกเสียงและการเขียนได้ แต่ความหมายจะต้องมาก่อน
    3) ในการสอนความหมาย (meaning) เราจะไม่สอนโดยใช้บัตรคำ แต่จะใช้เทคนิค 
อื่นๆ เช่น รูปภาพ ฯลฯ แล้วทวนจนแน่ใจว่านักเรียนจำได้ ในเด็กเล็กก็จะมีเทคนิคการสอนที่ต่างจากเด็กโต ดังจะเห็นได้จากที่นำเสนอในวีดีโอ ที่ 1 และ 2 จะมีทั้งวีดีโอที่สอนและวีดีโอที่ทวนคำศัพท์ (Learning new words และ revision of words)
         4) ในการสอนการออกเสียง ครูออกเสียงให้ฟังหรือเปิดดิคชั่นนารีออนไลน์ ฯลฯ แล้วให้นักเรียนออกเสียงตาม ดังจะเห็นได้จากวีดีโอที่สาธิตโดย ศน. ปิยธิดา นามวิจิตร  (ในเด็กเล็กเราก็จะสอนอีกแบบ ในเด็กที่โตขึ้นเราจะสอนการออกเสียงคำศัพท์เป็นสามระดับ 
- ให้เด็กออกเสียงพร้อมกันทั้งห้อง
- จากนั้นให้ออกเสียงเป็นกลุ่ม  หรือเป็นแถว เป็นฝ่าย ฯลฯ 
- สุ่มเลือกนักเรียนบางคน

จากงานวิจัยผู้เรียนจะต้องมีกิจกรรม (หรือเกมส์)ที่ใช้ทวนคำศัพท์ประมาณ 7 ครั้ง
จึงจะจำคำศัพท์ใหม่ได้ ทั้งความหมาย การออกเสียง และการเขียน โดยเราเรียกว่า recycle vocabulary เช่น กิจกรรม slap the board, hot seat เป็นต้น  แต่ในชีวิตจริงเราอาจจะทำได้ไม่ครบทั้ง 7 กิจกรรม แต่ขอให้ทำกิจกรรมที่หลากหลายจนมั่นใจว่านักเรียนจำคำศัพท์ได้ ดังจะเห็นได้จากวีดีโอการทวนคำศัพท์
การสอนคำศัพท์และการทวนคำศัพท์ในเด็กเล็ก
    Video 1 https://youtu.be/0fUlS_aGQ1I
    Video 2 https://youtu.be/diFqsHkMksw
การนำเสนอคำศัพท์สาธิต โดย ศน. ปิยธิดา นามวิจิตร  
    Video 1 https://youtu.be/IC2kQUg5zc0
    Video 2 https://youtu.be/Rv3Fw10PgJk
    Video 3 https://youtu.be/wCKUz4d7GLQ
   Ideas for using flashcards จาก Macmillan Spain การสอนคำศัพท์โดยใช้ Flashcard โดยใช้เทคนิคที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน เช่น 
        - Flash แสดงให้ดูอย่างรวดเร็ว เปิดรูปเร็วๆ ให้นักเรียนทายว่าเป็นรูป อะไร
        - Slowly, slowly หาอะไรมาปิดรูปภาพไว้และเปิดทีละนิดให้นักเรียนลุ้น
        - ใช้กิจกรรม What’s missing? โดยติดรูปภาพคำศัพท์ที่เราจะสอนบนกระดาน ไม่เกิน 7-10 รูป นักเรียนเห็นภาพ (meaning) ออกเสียงคำศัพท์ให้นักเรียนฟังและพูดตาม เมื่อมั่นใจแล้วว่านักเรียนจำคำศัพท์ได้และออกเสียงได้ถูกต้อง จึงพานักเรียนทำกิจกรรม Wha’ts missing? ให้นักเรียนหลับตา คุณครูดึงคำศัพท์ออกแล้วทายว่ารูปภาพที่หายไปคืออะไร
        - Magic eyes ให้นักเรียนออกเสียงคำศัพท์เป็นจังหวะทุกคำ จนมั่นใจว่านักเรียนจำได้ แล้วดึงคำศัพท์ออกทีละภาพ แล้วก็ท่องคำศัพท์ทุกคำรวมทั้งคำศัพท์ที่ดึงเอารูปภาพออกทำจนดึงรูปภาพออกทั้งหมด
        - Lip reading ติดรูปภาพบนกระดาน ดึงความสนใจจากนักเรียนพร้อมกับบอกว่า ทุกคนมองบนกระดานและมองปากครูนะคะ จากนั้นครูพูดคำศัพท์หนึ่งคำบนกระดานโดยไม่ออกเสียง ให้นักเรียนทายปากครูว่าครูพูดคำศัพท์อะไร 
        - Flashcard Riddles ใช้ภาษาคำพูดที่นักเรียนคุ้นเคยพูดใบ้เป็นปริศนาคำศัพท์เพื่อให้นักเรียนทายว่า คำศัพท์คืออะไร
        - Flashcard groups แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม 3-5 คน  มอบรูปคำศัพท์ให้กลุ่มละรูป เช่น group 1 You’re giraffes., group 2 You’re ostriches., group 3 You’re whales., and so on. และให้คำสั่งแต่ละกลุ่ม เช่น Touch your nose, tigers., Wave your hand, ostriches., Put your hands on your heads, elephants., ในการทำกิจกรรมสำคัญมากที่จะให้คำสั่งก่อน แล้วค่อยให้รูปภาพ
        - Hands on heads แบ่งนักเรียนให้ห้องออกเป็น 2 กลุ่ม ติดคำศัพท์บนกระดานแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เช่นกัน คุณครูพูดคำศัพท์ เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มได้ยินคำศัพท์ของกลุ่มตัวเอง จะทำปฏิกิริยา Put your hands on your heads (วางมือบนศรีษะ) เมื่อทำกิจกรรมไปแล้วนักเรียนมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น คุณครูอาจพูดคำศัพท์เร็วมากขึ้น
        - Flashcard chain ให้นักเรียนยืนหรือนั่งเป็นวงกลมกับคุณครู เตรียมบัตรคำที่เราจะสอนให้พร้อม คุณครูยื่นคำศัพท์ให้นักเรียนที่อยู่ด้านซ้ายมือแล้วถามด้วยคำถามที่เกี่ยวเนื่องกับคำศัพท์ เช่น Do you like zebra? นักเรียนอาจจะตอบว่า Yes, I do. หรือ No, I don’t. จากนั้นนักเรียนที่อยู่ทางซ้ายมือถามเพื่อนนักเรียนคนที่อยู่ด้านซ้ายมือด้วยคำถามเดิม เมื่อนักเรียนถามและส่งบัตรคำไปได้ 3 คนแล้ว คุณครูหยิบบัตรคำศัพท์ใหม่ส่งให้นักเรียนที่อยู่ด้านซ้ายมือเหมือนเดิมแล้วถามว่า  Do you like tiger? นักเรียน อาจตอบว่า Yes, I do. หรือ No, I don’t. แล้วนักเรียนก็ส่งบัตรคำให้นักเรียนคนต่อไปที่อยู่ด้านซ้ายมือแล้วถามด้วยคำถามเดิม เมื่อนักเรียนถามและส่งบัตรคำศัพท์ไปได้สัก 3 คนแล้ว คุณครูก็ส่งบัตรคำใหม่ให้นักเรียนที่อยู่ด้านซ้ายมือแล้วถามด้วยคำถามเช่นเดิม นักเรียนตอบแล้วก็ส่งคำศัพท์แล้วถามนักเรียนคนต่อไปเช่นเดิม ทำเช่นนี้ซ้ำๆ จนบัตรคำหมด
10. Kim’s game คุณครูติดคำศัพท์บนกระดาน อธิบายให้นักเรียนฟังว่าให้นักเรียนจำคำศัพท์บนกระดานให้ได้ภายในเวลา 1 นาที และวางปากกา จากนั้นคุณครูแกะคำศัพท์บนกระดานออกให้หมด ให้นักเรียนทำกิจกรรมคู่ช่วยกันเขียนคำศัพท์ให้มากที่สุดเท่าที่นักเรียนจะจำได้ และจากนั้นเช็คคำตอบร่วมกัน
Ideas for using flashcards จาก Macmillan Spain
https://youtu.be/X9KebTgfLJI

**Assignment 2 **
        คุณครูศึกษาหัวข้อ Teaching vocabulary และ Vocabulary to sentence to question and teaching speaking ใน google classroom นี้ และจากแหล่งอื่นๆ ให้คุณครูเลือก 1 หัวข้อ พร้อมส่งแผนการสอนหน้าเดียวและอัดคลิปวีดีโอการสอนคำศัพท์ในห้องเรียนหรือสอนออนไลน์ไม่เกิน 5 นาที ส่ง


2. Vocabulary to sentence to question and teaching speaking
        การสอนคำศัพท์บางแห่งก็ใช้คำว่า present new vocabulary หรือบางแห่งใช้ introducing new vocabulary หรือใช้คำว่า teach เลยก็ได้นะคะในวีดีโอชุดนี้เป็นการอบรมคุณครูเพื่อสอนภาษาอังกฤษ
   -   ในวีดีโอที่ 1 นี้วิทยากรสอนความหมายโดยใช้ flashcards ในห้องเรียนจริงๆ เราต้องสอนให้ครบทั้ง ความหมาย การออกเสียง และการเขียน
   -   ในวีดีโอที่ 2 คุณครูนำคำศัพท์ลงสู่ประโยค It's a.../ It's an....ซึ่งในชีวิตจริงเราเรียนการพูดประโยค
บอกเล่าก่อน เช่น ฉันชื่อ.....ก่อนจะเรียนประโยคคำถาม  และวิทยากรได้ใช้ท่าทางประกอบเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างเพื่อส่งเสริมการจำและเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุก ได้มีท่าทางประกอบ ในห้องเรียนจริงๆ นักเรียนควรจะได้จับคู่และแลกเปลี่ยนกันพูดประโยค สลับไปมา เช่น 
        A: It's a ruler.
        B: It's an eraser.
   โดยคุณครูเดินดูนักเรียนจับคู่พูดกันทั้งห้อง เมื่อแน่ใจว่านักเรียนพูดประโยคได้แล้ว ลำดับ
ต่อไป เป็นการสอนคำถาม 
ในวีดีโอ ที่ 3 นี้ วิทยากรสอนคำถาม What's this? เมื่อให้ผู้เข้าอบรมพูดตาม
ทั้งห้องแล้ว จนมั่นใจว่าพูดได้จึงแบ่งให้ผู้เข้าอบรมออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งถามและฝ่ายหนึ่งตอบจนมั่่นใจว่าถามและตอบได้คล่อง จึงขออาสาสมัครมาจับคู่สนทนาให้ทุกคนดูหน้าชั้น หลังจากนั้นจึงให้ผู้เข้ารับการอบรมฝึกการสนทนาเป็นคู่ โดยวิทยากรเดินดูทุกคู่เพื่อให้มั่่นใจว่าทุกคนในห้องสามารถพูดและตอบได้ เป็นวีดีโอสาธิตการสอนซึ่งดีและมีประโยชน์มาก ค่ะคุณครูสามารถนำมาปรับใช้ในห้องได้เลยค่ะ คลิกลิงค์ได้เลยค่ะ
https://youtu.be/JhVVGZ8yy9g Introducing new vocabulary to young learner 1
https://youtu.be/BNJJpSYqR-s Introducing sentence to young learners 2
https://youtu.be/fgmUI6pVzH8 Introducing question to younger learners 3
          การนิเทศการสอนโดยการสาธิตการสอน (Supervision by demonstration) การนิเทศการสอนโดยการสาธิตนี้เป็นการสาธิตการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching Approach : CLT) ในการการนำคำศัพท์ที่ใช้สาธิตการสอนให้คุณครูดูในครั้งที่แล้ว มาลงสู่ประโยค (sentence) และคำถาม (question) ครูผู้สอนจบวิชาเอกอื่น สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ครูไม่ครบชั้น ศึกษานิเทศก์จึงได้สาธิตการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้คุณครูดู  *ในห้องเรียนจริงๆ อาจใช้เวลาประมาณ 3 คาบรวมการสอนคำศัพท์ที่นักเรียนจะต้องได้ความหมาย การออกเสียงและการเขียน   คำศัพท์ * การสาธิตการสอนชั่วโมงนี้ต่อจากครั้งที่แล้วที่ได้สาธิตการสอนคำศัพท์ไปแล้ว คาบนี้
1. เป็นการนำคำศัพท์ลงสู่ประโยค (sentence) 
2. เมื่อนักเรียนได้ฝึกฟังครูแล้วนักเรียนก็ได้ฝึกพูดประโยคทั้งห้องและเป็นคู่จนคล่อง 
ครูจึงพานักเรียนอ่านประโยคบนกระดาน โดยใช้ phonics ช่วย และนำไปสู่การเขียนประโยค ซึ่งครูเดินดูทุกคนเขียนว่าเขียนถูกต้องไหม ซึ่งจะเห็นได้ว่านักเรียนได้เรียนทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียนครบใน 1 คาบเรียนหรือใน 1 หัวข้อที่สอนและเรียนเรื่องเดียวกันทั้งหมดใน 4 ทักษะ 
3. หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอคำถาม (question) เมื่อนักเรียนได้ประโยคแล้ว 
ทักษะที่ใช้คือ ฟังครูหรือถ้ามีซีดี หรือวีดีโอ ใช้ได้หมด แล้วนักเรียนหัดพูดถามตอบ ทั้งห้อง แบ่งเป็น A, B และจับคู่สนทนา จากนั้นครูนำไปสู่ทักษะการอ่าน และการเขียนตามลำดับ คลิกลิงค์ได้เลยค่ะ
   https://youtu.be/cnZXvssD-t4 
    Teaching speaking 1
        ในวีดีโอนี้ หลังจากเมื่อสอนคำศัพท์แล้ว นักเรียนจำความหมายได้ ออกเสียงและเขียนคำศัพท์ได้ถูกต้องแล้ว ในวีดีโอนี้ก็จะเอาคำศัพท์มาลงสู่ภาษาเป้าหมาย (target language) หรือบางแห่งใช้คำว่า ภาษาใหม่ (new language) เนื้อหาในวีดีโอ คุณครูจะนำเสนอภาษาเป้าหมายโดยใช้ puppet ซึ่งช่วยให้นักเรียนสนใจบทสนทนาที่คุณครูกำลังนำเสนอเป็นอย่างดี
โดยบทสนทนาคือ
   A  : What is your favorite color?
   B  : Blue, what about you?
   A  : I like red.
        เมื่อคุณครูนำเสนอภาษาเป้าหมายแล้ว ก่อนที่จะให้นักเรียนจับคู่สนทนากันทั้งห้องก็ขออาสาสมัคร มาทำให้เพื่อนๆ ดูเราเรียกว่าการสาธิต (demo) วิธีนี้คุณครูไม่ต้องอธิบายมาก นักเรียนทุกคนเห็นและเข้าใจว่าจะต้องทำอย่างไร จากนั้นคุณครูก็ให้นักเรียนฝึกการสนทนาเป็นคู่และคุณครูก็เดินดูทั้งห้องตอนที่นักเรียนฝึกสนทนากันเพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนทุกคนสามารถถามและตอบได้ ใครออกเสียงไม่ถูกก็ช่วย เป็นต้น
คลิกลิงค์ได้เลยค่ะ
     https://youtu.be/di2oVPYTizY

    Teaching speaking 2
    ในการสอนการพูด คืออะไร? สอนการพูดอย่างไร? ปัจจุบัน ครูสอนภาษาศาสตร์และภาษาอังกฤษจำนวนมากเห็นพ้องต้องกันว่านักเรียนได้เรียนรู้ พูดภาษาที่สองโดย "การโต้ตอบ" การเรียนการสอนและการเรียนรู้ร่วมกันทำได้ดีที่สุดสำหรับเป้าหมายนี้ คือ การสื่อสาร การสอนภาษาขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในชีวิตจริงที่ต้องมีการสื่อสาร โดยโดยใช้วิธีนี้ในชั้นเรียน นักเรียนจะได้มีโอกาสสื่อสาร ซึ่งกันและกันในภาษาเป้าหมาย กล่าวโดยสรุป ครูสอนภาษาอังกฤษ (ELT) ควรสร้างสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่นักเรียนมีชีวิตจริง การสื่อสาร กิจกรรมที่แท้จริง และงานที่มีความหมายที่ส่งเสริมการพูด สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อนักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อบรรลุเป้าหมายหรือเพื่อทำภารกิจให้สำเร็จ
        วีดีโอสาธิตการสอนนี้ ต่อเนื่องมากจากวีดีในการสอนคำศัพท์เพื่อนำคำศัพท์มาลงสู่บทสนทนาซึ่งก็คือการพูด เมื่อสอนคำศัพท์แล้ว มั่นใจว่านักเรียนจำคำความหมายได้ ออกเสียงได้ถูกต้องและเขียนได้ถูกต้อง เป็นการนำคำศัพท์ลงไปสู่บริบท (context) เราจะไม่แยกการสอนออกเป็นส่วนๆ คนละเรื่องราว เราจะสอนเป็นองค์รวม ดังตัวอย่าง ทั้ง 2 วีดีโอ
   1. คุณครูสอนคำศัพท์แล้ว เป็นการนำศัพท์ไปสู่บทสนทนา โดยใช้ puppets และให้นักเรียนฝึกฝนทั้งห้องก่อน และแบ่งเป็น 2 ฝ่าย
   2.  และเมื่อมั่นใจว่านักเรียนจำได้แล้วก็ขออาสาสมัครมาสนทนาให้นักเรียนทั้งห้องดูที่
หน้าชั้น
   3. หลังจากนั้นคุณครูให้นักเรียนฝึกการสนทนาเป็นคู่ๆ โดยคุณครูจะเดินดูอย่างใกล้ชิดทุกคน เพื่อดูว่านักเรียนได้ฝึกฝนการสนทนาไหม สนทนาได้ถูกต้องไหม คุณครูแก้ไขการออกเสียง ฯลฯ  
        4. คุณครูให้ feedback เป็นคำชมให้กำลังใจ ฯลฯ และอาจจะมีการสอนบางอย่างใหม่ที่นักเรียนส่วนใหญ่ทำผิด เช่น ไม่ออกเสียง s โดยที่ไม่ระบุชื่อว่าใครออกเสียงผิด เป็นต้น
คลิกลิงค์ได้เลยค่ะ
https://youtu.be/f-P7CFSps0U

**Assignment 3**
      คุณครูศึกษาหัวข้อ Teaching vocabulary และ Vocabulary to sentence to question and teaching speaking ใน google classroom นี้ และจากแหล่งอื่นๆ ให้คุณครูเลือก 1 หัวข้อ พร้อมส่งแผนการสอนหน้าเดียวและอัดคลิปวีดีโอการสอนคำศัพท์ในห้องเรียนหรือสอนออนไลน์ไม่เกิน 5 นาที ส่ง


แบบทดสอบก่อนและหลังท้ายการอบรม หน่วยที่ 2
เรื่อง  การสอนคำศัพท์สู่ประโยคสู่คำถาม (Vocabulary to sentence to question)
และจากประโยคสู่คำถามและการบูรณาการทักษะฟังพูดอ่านเขียน สู่การสอนภาษาอังกฤษ

คําชี้แจง  ข้อสอบปรนัย จํานวน 10 ข้อ ให้กากบาท X ข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 
คำสั่ง       ขอให้ท่านเลือกคำตอบที่ท่านคิดว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
    ก. การสอนภาษาแบบแยกทักษะปัจจุบันไม่ได้ใช้ในการสอนแล้ว
    ข. การสอนภาษาแบบแยกทักษะเป็นการพัฒนาทักษะทางภาษาในระดับสูง
    ค. การสอนแบบบูรณาการทักษะเน้นการพัฒนาทักษะทางภาษาแบบองค์รวม
    ง. การสอนแบบบูรณาการทักษะเน้นการสอนที่บูรณาการทุกทักษะ
2. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับการสอนแบบบูรณาการทักษะไม่ถูกต้อง
    ก. ต้องยึดทักษะหนึ่งเป็นแกน / หลัก
    ข. การบูรณาการกิจกรรมต้องคำนึงเวลาที่ใช้ในการสอน
    ค. วิธีสอนบางวิธีมีกิจกรรมในลักษณะของการบูรณาการทักษะ
    ง. การออกแบบกิจกรรมควรยึดเฉพาะกิจกรรมที่ผู้เรียนใช้ในชีวิตจริงเท่านั้น
3. ข้อใดเป็นสิ่งที่ตัวชีวัดในหลักสูตรไม่ได้กำหนดไว้
    ก. ขอบเขตของเนื้อหาและการวัดประเมินผล
    ข. วิธีการสอนและรูปแบบการวัดประเมินผล
    ค. การบูรณาการทักษะและขอบเขตของเนื้อหา
    ง. รายละเอียดของทักษะและวิธีการสอน
4. สิ่งใดคือเหตุผลเชิงประจักษ์ของการจัดการสอนภาษาในลักษณะของการบูรณาการ
   ก. สอดคล้องกับธรรมชาติในการใช้ภาษา
   ข. สอดคล้องกับแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
   ค. ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงประสิทธิผลของการสอนภาษาแบบบูรณาการทักษะ
   ง. สร้างความสัมพันธ์ของภาษาในลักษณะของการเชื่อมโยงและเสริมสร้างการเรียนรู้
5. กิจกรรมการฟังในข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น 
    ก. What town does Jim live in? Listen and find out.
    ข. Listen to the story and choose the best title for it.
    ค. Listen to the description of the boy and the girl and draw pictures for them.
    ง. Listen carefully, and mark each sentence with an arrow going up and down.

6. ข้อใดไม่ใช่ข้อค้นพบจากงานวิจัยเกียวกับความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการอ่านและการเขียน
    ก. ผู้ที่อ่านมากจะเขียนได้คล่องกว่าผู้ที่อ่านน้อย
    ข. ความสามารถในการอ่านมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเขียน
    ค. ผู้ที่มีความสามารถในการอ่านสูงจะสามารคไวยากรณ์ที่ซับซ้อนได้มากกว่าที่มีความสามารถในการอ่านต่ำ
    ง. การศึกษารูปแบบการเขียนในบทอ่านช่วยพัฒนาความสามารถในการเขียนมากกว่า           การสอนหลัก
7. กิจกรรมการเขียนใดที่แตกต่างไปจากกิจกรรมการเขียนอื่น ๆ  
    ก. การเขียนสรุปความ
    ข. การเขียนแสดงความรู้สึกสั้น ๆ 
    ค. การเขียนโน๊ตย่อ
    ง. การเขียนความเรียง
8. ในการสอนเขียนครูควรสอนสิ่งใด
    ก. คำศัพท์ โครงสร้างทางไวยากรณ์ ขั้นตอนในการเขียน และกลไกในการเขียน
    ข. คำศัพท์ โครงสร้างทางไวยากรณ์ โครงสร้างของงานเขียน และการวางแผนการเขียน
    ค. คำศัพท์ โครงสร้างทางไวยากรณ์ ขั้นตอนการเขียนและกลไกในการเขียน
    ง. คำศัพท์ โครงสร้างทางไวยากรณ์ โครงสร้างของงานเขียน และกลไกในการเขียน
9. กิจกรรมการเขียนในข้อใดเป็นการเขียนแบบชี้แนะ (guided writing) 
    ก. การเติมคำในช่องว่าง (gap filling)
    ข. การเรียงคำให้เป็นประโยค (re-ordering word)
    ค. การเขียนตามคำบอกที่เรียกว่า (dicto-comp)
    ง. การกำหนดหัวเรื่องให้ (assigned topic) 
10. ข้อใดเป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์งานเขียนตามแนวทฤษฏีการสอนแบบอรรถฐาน (genre - based approach)
    ก. ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา ส่วนสรุป
    ข. วัตถุประสงค์ โครงสร้างการเรียบเรียงเนื้อความ ลักษณะของภาษาที่ใช้
    ค. คำศัพท์ โครงสร้างทางไวยากรณ์ของประโยค การเรียบเรียงเนื้อหา
    ง. การวางแผนการเขียน การปฏิบัติการเขียน และการปรับปรุงแก้ไข


เฉลย 1. ค 2. ง 3. ง  4. ค  5. ง  6. ก  7. ง  8. ง  9. ค  10. ข

หน่วยการอบรมที่ 3
เรื่อง การใช้บทพูดเข้าจังหวะในการสอนภาษาอังกฤษ (Chants to teach English)
และการสอนออนไลน์ด้วยแพลทฟอร์มต่าง ๆ
1. Chants to teach English ใช้บทพูดเข้าจังหวะในการสอนภาษาอังกฤษ        
    ความหมาย 
    แกรแฮม (Graham. 1979) ได้อธิบายไว้ว่า Chant มีลักษณะเป็นบทสนทนาสั้นๆ ใช้คํา หรือข้อความ  สั้น ๆ ประกอบจังหวะดนตรีที่มีจังหวะเน้นหนัก ชัดเจน เร้าใจ เตือนใจ 
เฉลิมกิจ (2545) ได้ให้คําแปลของ Chant ไว้ว่า การพูดเข้าจังหวะที่มี ลักษณะเหมือนเพลงหรือเหมือนกับโคลงซึ่งมีจังหวะชัดเจน กล่าวโดย
สรุปได้ว่า กิจกรรมประกอบจังหวะ ได้แก่ เพลงและบทพูดเข้าจังหวะ  โดยเพลง หมายถึง คําประพันธ์หรือบทร้อยกรองที่มีทํานองดนตรีไว้เพื่อขับร้องหรือบรรเลงและบทพูดเข้าจังหวะ หมายถึง บทพูดหรือข้อความ สั้น ๆ เหมือนโคลงประกอบดนตรีที่มีจังหวะชัดเจน

    ประโยชน์ของการใช้เพลงประกอบการเรียนการสอน
    กริฟฟ (Griffee. 1992)  ได้กล่าวถึงประโยชน์ของเพลงในการสอนภาษาไว้ว่า                             
    1. เพลงช่วยสร้างบรรยากาศในห้องเรียน (Classroom Atmosphere) เพลงทำให้นักเรียนรู้สึก       ผ่อนคลายและสร้างสรรค์บรรยากาศที่สนุกสนานในห้องเรียน 
    2. เพลงเป็นตัวช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษา (Language input) คําพูดกับจังหวะมี 
ความสัมพันธ์กันอย่างยิ่งดังนั้นประสาทการรับรู้เกี่ยวกับจังหวะจึงเป็นพื้นฐานและบันไดขั้นต้นในการเรียนรู้ภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงป๊อบ (Pop songs) เป็นตัวอย่างภาษาพูดอย่างดีเช่น การลดเสียง ของคําที่ลงทายด้วย ing 
    3. เพลงเป็นตัวเรียนรู้วัฒนธรรม  (Cultural input) เพลงจะสะท้อนถงสถานที่ถิ่น เกิด
ของเพลงอันเต็มไปด้วยข้อมูลทางสังคม เมื่อนําเพลงมาใช้ในห้องเรียนจึงเปรียบเสมือนนาความรู้ ทางวัฒนธรรมเข้า   ห้องเรียนด้วย 
    4. เพลงเป็นตํารา (Songs as a text) เพลงสามารถใช้เป็นตําราเช่นเดียวกันกับ
โคลง กลอน เรื่องสั้น นวนิยาย หรือสื่อเอกสารจริงอื่น ๆ 
    5. เพลงเป็นอุปกรณ์เสริม  (Songs and music as supplements) เพลงสามารถ
ใช้เป็นอุปกรณ์เสริมตําราเรียนหรอเป็นตำราโดยตัวของมันเองในสถานการณ์ การสอนหลายอย่าง เช่น 
         5.1 ใช้เพลงหลังการเรียนตามปกติ 
5.2 ใช้เพลงในการเปลี่ยนเนื้อหาบทเรียนใหม่ 
5.3 ใช้เพลงในโอกาสและวาระพิเศษ เช่น วันคริสต์มาส เป็นต้น 
    6. เพลงช่วยในการสอนบทสนทนา  (Teaching conversation) ครูสามารถใช้เพลงใน การนาการสนทนาหรือการอภิปรายได้
   7. เพลงช่วยในการสอนคำศัพท์ (Teaching vocabulary)  เพลงสามารถใช้ในการสอนคําศัพท์ได้เป็นอย่างดี 
   8. เพลงช่วยในการทบทวนโครงสร้างทางไวยากรณ์  (Teaching or reviewing grammatical structure) เพลงนำเสนอนบทที่เป็นธรรมชาติสำหรับโครงสร้างทางไวยากรณ์ทั่วไป เช่น เรื่อง กาลและบุพบท 
   9. เพลงช่วยในการสอนการออกเสียง  (Teaching pronunciation) เพลงอันประกอบด้วย ระดับเสียงจังหวะและการเน้นคํา เหมาะแก่การสอนและฝึกทกษะทางภาษาได้หลายทักษะ 
10. เพลงช่วยเพิ่มความคงทนในการจำ (Teaching memory) เพลงช่วยให้เกิดความคง ทนในการจํา มีความกระตือรือในการเรียนและไม่เบื่อหน่ายในการฝึกซ้ำ ๆ  
11. เพลงช่วยสร้างความสนใจให้นักเรียน (Students’ interest) เพลงมีอิทธิพลต่อเรานับตั้งแต่เริ่มหัดพูดจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ ครูสามารถสร้างความสนใจได้ด้วยเพลง

    แนวสอนโดยการใช้เพลงและบทพูดเข้าจังหวะประกอบการเรียนการสอน      
ในการสอนโดยการใช้เพลงประกอบบทเรียนนั้น ครูสามารถใช้เพลงหรือบทพูดเข้าจังหวะได้ ในทุกขั้นตอนของบทเรียน เช้น ใช้ในช่วงเริ่มต้นบทเรียนเพื่อเป็นสัญญาแสดงการเปลี่ยนจากวิชาที่เรียนก่อนหน้านี้มาเป็น วิชาภาษาอังกฤษ หรืออาจใช้ในระหว่างกลางบทเรียนเพื่อเป็นการหยุดพักก่อนเริ่มกิจกรรมใหม่ ซึ่งต้องใช้สมาธิมากขึ้นหรืออาจใช้ในตอนท้ายของบทเรียนเพื่อเป็นการจบบทเรียน 
ฟิลลิปส (Phillips. 2002 : 145 -146) ได้กล่าวถึงแนวทางโดยทั่วไปสำหรับสําหรับการใช้เพลง ประกอบการเรียนการสอนไว้ว่า 
    1. เปิดเทปเพลงหรือครูร้องเพลงนั้น 1-2 ครั้ง โดยให้เด็กๆ ฟังเพียงอย่างเดียวทั้งนี้เพื่อให้เด็กซึมซับและคุ้นเคยกับท่วงทํานอง และจังหวะของเพลง 
    2. เปิดเทปเพลงหรือครูร้องเพลงนั้นอีกครั้งหนึ่ง  ขณะเดียวกันให้เด็ก ๆ ปรบมือมือให้เข้ากับ
จังหวะ เพลง และ/หรือฮัมทํานองเพลง 
    3. ให้เด็กแสดงท่าทางไปพร้อมๆ กับครู 
    4. ถามความหมายของเพลงจากท่าทาง อธิบายสิ่งที่เด็กไม่เข้าใจ  
    5. เปิดเพลงอีกครั้ง เด็ก ๆ ร่วมกันแสดงท่าทางร้องตามหากต้องการ 
สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์ (2536 : 265) ได้อธิบายถึงแนวการสอนโดยใชเพลง 
ประกอบการสอนไว้ดังนี้ 
    1. ใช้เพลงนําเข้าสู่บทเรียน สรุปการสอน หรือทบทวนบทเรียน 
    2. ครูร้องเพลงหรือเปิดเทปให้นักเรียนร้องตาม 
    3. ถ้าต้องการท่าทางประกอบ ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงท่าทางประกอบ       
    4. หากนักเรียนมีความสามารถด้านดนตรี ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ แสดง 
ความสามารถ 
     5. เพิ่มเติมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่น อภิปราย ตอบคำถาม เขียนเรื่องหรือกิจกรรม
อื่น ๆ เพื่อเป็นการสรุป  
    6. ประเมินผลการใช้เพลง 
6.1 สังเกตการณ์แสดงออกการร้องเพลงในการร่วมกิจกรรม 
6.2 ทดสอบความเข้าใจจากบทเพลงด้วยการทำแบบทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม  
การสอนโดยใช้กิจกรรมบทพูดเข้าจังหวะ (Chants) เพื่อการฝึกออกเสียงจังหวะ และรูปแบบ การลงเสียงเน้นหนัก  (Stress)  ในภาษาอังกฤษ ในบางกรณีจะมีการฝึกโครงสร้างประโยคร่วมด้วย  ฟิลลิปส (Phillips.   2002 : 145 -146) ได้กล่าวถึงแนวทางโดยทั่วๆไปในการสอนดังนี้  
    1. ครูพูดโคลงและสาธิตแสดงท่าทาง 
    2. สังเกตว่าเด็ก ๆ เดาความหมายได้หรือไม่      
    3. ฝึกให้เด็กทั้งชั้นพูด โดยให้รักษาจังหวะในการออกเสียงและตั้งใจฟังการออกเสียงที่เป็นปัญหาของนักเรียน  
    4. สอนให้เด็กๆ  แสดงท่าทางและให้ทํา ท่าทางขณะที่ครูพูดโคลง สำหรับขั้นตอนนี้หากเด็กไม่ได้พูดคำโคลงทุกคนก็ไม่เป็นไร  
    5. เขียนโคลงบางตอนหรือทั้งหมดบนกระดานและอธิบายคำศัพท์ยากหรืออาจจะบอกคำแปลถ้าครูคิดว่าจำเป็น 
    6. ให้เด็กดูคําศัพท์ทั่งหมดบนกระดานอีกครั้งแล้วจึงลบคำศัพท์ออกไปหนึ่ง หรือสองคํา (ครูอาจใชภาพแทนคําศัพทเหล่านั้น)  ให้เด็กท่องโคลงและอ่านคำศัพท์ที่ลบออกไปด้วยจากนั้นลบคำศัพท์อื่น ๆ ออกอีกและให้เด็กท่องโคลงอีกครั้ง ทำต่อไปเช่นนี้จนกระทั่งเด็กสามารถอ่านโคลงทั้งหมดได้ทั้งๆ ที่ไม่มีคำศัพท์ปรากฎให้เห็นบนกระดาน      
    7. เด็กๆ พูดโคลงและแสดงท่าทางประกอบ 
    8. เด็ก ๆ อาจทำกิจกรรมเสริม โดยใช้คํา ที่อยู่ในโคลงมาวาดภาพประกอบ แล้วรวบรวมทําเป็นหนังสือเล่มเล็ก 
    9. เด็กๆ ทํากิจกรรมเสริมโดยเปลี่ยนคํา ที่อยู่ในโคลงกลอน หรือการพูดเข้าจังหวะ เพื่อสร้าง ผลงานในแบบฉบับของตนเอง

Chant พูดง่าย ๆ คือบทพูดเข้าจังหวะ  ที่ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลาย เป็นการพูดชุดคำศัพท์ วลี หรือประโยคซ้ำๆ ในรูปแบบร้องเพลงเหมาะสำหรับฝึกคำศัพท์ การออกเสียง ประโยค และแม้แต่การสร้างประโยคพื้นฐาน ครูยังสามารถใส่ท่าทางที่มีความหมายสำหรับการเคลื่อนไหวเพื่อให้ทั้งชั้นเรียนเคลื่อนไหวและพูดพร้อมกันได้
    ในการนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับบทเรียนสําหรับเด็กในวัยประถมศึกษานั้น มีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายวิชาเรียน ได้รับความรู้จากวิชาที่เรียน จากบทเรียน คละเคล้าไปกับการเล่นโดยไม่รู้ตัว และช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ความจําของเด็กได้ดีขึ้น อีกทั้งเพลงยังช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ลดความตึงเครียดในบทเรียนทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษสูงขึ้นด้วย  (พรรณนที โชติพงศ์ , 2552) ในคลิปวีดีโอเป็นการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กเล็กที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนระดับประถมศึกษาได้นะคะ ป.1-3 วิชาภาษาอังกฤษเรายังไม่มีการเขียน เน้นการฟังการพูด มีการประเมินที่หลากลายตามสภาพจริง พอเริ่ม ป. 4 เราค่อยเพิ่มการสอนการเขียนเข้าไป ซึ่งวีดีโอเหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์กับการสอนภาษาอังกฤษในห้องเรียนของเราได้เป็นอย่างดี

คลิกลิงค์ได้เลยค่ะ
https://youtu.be/-9g2v6E9wtg 
https://youtu.be/ezh2N9ZFkcM 
https://youtu.be/Dl8g2pZ82ME

**Assignment 4 **
คุณครูแต่ง chant เพื่อสอนนักเรียนแล้วส่ง จะเป็น word หรือโปรแกรมใดๆ ก็ได้ หรือเป็น video  ที่คุณครูอัดบทพูด เช่น 
   Apple, banana, mango (repeat)
   I like apples, I like bananas. I like mangoes.

 

 

 


2. การสอนออนไลน์ด้วยแพลทฟอร์มต่างๆ
    แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์  (Online Learning Platform) คือ ระบบบริการออนไลน์ที่เอื้อให้ผู้เรียน ผู้สอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล เครื่องมือ และทรัพยากรต่างๆ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การเรียนรู้มิได้จำกัดอยู่ในระบบห้องเรียนแบบเดิมๆ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการและพัฒนาการเรียนการสอน รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)
         พัฒนาการของการเรียนออนไลน์เริ่มปรากฏชัดในยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age) หรือในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 (ระหว่างปี พ.ศ. 2533 – 2542) การพัฒนาฮาร์ดแวร์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือซอฟต์แวร์ เช่น CD-ROM หรือ PDF และระบบจัดการเรียนรู้ LMS (Learning Management System) เอื้อให้การจัดการเรียนการสอนสะดวกและประหยัดขึ้น ส่งผลให้การเรียนออนไลน์ค่อยๆ เป็นที่นิยม
         คำว่า ‘e-Learning’ ได้ถูกบัญญัติขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2542 โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา  เอลเลียต เมซี ในงานสัมมนา Tech Learn ณ เมืองออร์แลนโด ประเทศสหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกันนั้น Jones International University (JIU) ได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยออนไลน์แบบเต็มตัวแห่งแรกของโลก
         หนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นของแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ ได้แก่ Khan Academy ที่ก่อตั้งโดยซัลมาน ข่าน ในปี 2551 โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ซัลมานช่วยสอนวิชาเลขให้กับญาติทางอินเทอร์เน็ต ต่อมาเขาได้เผยแพร่วิดีโอการสอนของตนลงบนเว็บไซต์ Youtube ซึ่งได้การตอบรับที่ดี ครูบางคนนำบทเรียนวีดิทัศน์ของเขาไปใช้เป็นสื่อการสอน ก่อนที่ข่านจะตัดสินใจลาออกจากงานประจำเพื่อมาทำแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์แบบเต็มตัว โดย Khan Academy ดำเนินการในลักษณะขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ให้บริการบทเรียนวีดิทัศน์ฟรีกว่า 6,000 บทเรียนแก่ผู้เรียน ทั่วโลก
         Khan Academy เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่พลิกโฉมหน้าวงการศึกษา ในแง่ของการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนในจำนวนมหาศาล ด้วยตัวเลขสูงกว่า 15 ล้านคน-ต่อ-เดือน

 

 

 

ที่มา : https://www.thekommon.co/online-learning-platform-lifelonglearningfocus/
ที่มา : https://www.thekommon.co/online-learning-platform-lifelonglearningfocus/

ยูเนสโกคาดการณ์ว่าในปี 2568 นักเรียนทั่วโลกจำนวน 98 ล้านคนจะถูกกีดกันออกจากการศึกษาระดับสูง เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีที่นั่งไม่พอรองรับ หรือนักเรียนไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอที่จะจ่ายค่าเล่าเรียน นอกจากนี้ในยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างยุ่งเหยิง (Age of Disruption) มีความวิตกกังวลว่า แนวทางการศึกษาในปัจจุบันจะไม่สามารถตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคตได้ ซึ่งเป็นช่องทางให้แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์เข้ามาเติมเต็มอุปสงค์ต่อการศึกษา พร้อมด้วยศักยภาพหลายๆ ด้าน ได้แก่ การจัดการสอนทางไกลให้กับนักเรียนจำนวนมากในราคาที่ถูกลง การอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนให้สามารถเข้าเรียนจากที่ไหนก็ได้ และมีการจัดการเรียนที่ยืดหยุ่น อีกทั้งแพลตฟอร์มเหล่านี้ยังสามารถนำเสนอหลักสูตรใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
         ในแวดวงการศึกษา มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกามีส่วนสำคัญในการบุกเบิกระบบการเรียนออนไลน์ โดยเฉพาะ MOOC (Massive Open Online Course) หรือบริการบทเรียนออนไลน์แบบเปิดที่ให้บริการฟรีเป็นส่วนใหญ่ ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี 2549 ซึ่งยังมีผู้ใช้งานในแวดวงจำกัด ต่อมามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดก็เริ่มให้บริการ MOOC ในปี 2554 ทำให้เป็นที่รู้จักและมีผู้ใช้กว้างขวางมากขึ้น ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและ MIT ที่ได้ร่วมกันก่อตั้งแพลตฟอร์ม edX  ในปี 2555 ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยทั่วโลกกว่า 900 แห่งที่เปิดหลักสูตรเรียนออนไลน์ให้แก่นักศึกษาจำนวน 180 ล้านคน โดยแบ่งเป็นหลักสูตรปกติ 16,300 หลักสูตร และหลักสูตรระยะสั้น (Micro-credentials) 1,180 หลักสูตร
         MOOC มีส่วนสำคัญในการกระจายโอกาสทางการศึกษา ทำให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ผ่านระบบออนไลน์ เป็นการจัดการศึกษาที่สามารถเพิ่มอัตราการเข้าถึงความรู้ที่มีคุณภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำลง จุดแข็งที่ทำให้ MOOC แตกต่างจากแพลตฟอร์มประเภทอื่นๆ ก็คือ ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา การรับรองวิทยฐานะ และเป็นระบบที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสามารถเรียนจบตามเป้าหมาย เนื่องจาก MOOC ได้มหาวิทยาลัยชั้นนำมาเป็นผู้ผลิตเนื้อหา มีเงื่อนไขที่ผู้เรียนจะต้องลงเรียนให้ครบ เมื่อเรียนจบแล้วผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตรที่สามารถนำไปใช้ในการสมัครงาน หรือต่อยอดเพิ่มระดับคุณวุฒิการทำงานกับนายจ้างได้

 

 

 

ที่มา : https://www.thekommon.co/online-learning-platform-
lifelonglearningfocus/

การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ทั้งในแง่ของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการที่ประชากรวัยเรียนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคน Gen Z (ผู้ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2539-2553) ที่เกิดมาพร้อมกับสมาร์ทโฟน แวดล้อมด้วยเทคโนโลยี และใกล้ชิดกับสื่อสังคม มีอิทธิพลต่อรูปแบบการเรียนรู้ เกิดเทรนด์ใหม่ๆ เช่น การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Learning) การเรียนรู้แบบทีละเล็กละน้อยผ่านคอนเทนต์สั้นๆ (Micro-Learning) การเรียนผ่านสื่อวีดิทัศน์ (Video-Based Learning) และการเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยเกม (Gamification) เป็นต้น
         ในแวดวงการศึกษาต่างประเทศ มีการส่งเสริมให้นักเรียนใช้อุปกรณ์ไอทีเพื่อการเรียนรู้ มีแนวปฏิบัติต่างๆ เช่น โรงเรียนในยุโรปใช้แนวทาง BYOD (Bring Your Own Device) อนุญาตให้นักเรียนนำสมาร์ทโฟนหรือ   แท็บเล็ตมาใช้ในห้องเรียนได้ หรือในทวีปแอฟริกา มหาวิทยาลัย MIT ทำโครงการ OLPC (One Laptop Per Child) กระจายแล็ปท็อปให้แก่เด็กนักเรียนและครูจำนวน 2 ล้านคนใน 42 ประเทศ ขณะที่ในประเทศไทย ในปี 2550 มีการริเริ่มโครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน จัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ในพื้นที่ห่างไกลเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้าน ICT และสืบค้นสารสนเทศ และในปี 2555 เคยมีโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย หรือ OTPC (One Tablet Per Child)  โดยการแจกแท็บเล็ตให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คนละเครื่อง
         ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่ผนวกการเรียนแบบเผชิญหน้าและการเรียนออนไลน์เข้าด้วยกัน การเรียนรู้แบบผสมผสานในอุดมคติก็คือการดึงเอาจุดเด่นของการเรียนแบบดั้งเดิมและการเรียนออนไลน์มาผนวกกัน เพื่อยกระดับประสบการณ์การเรียนรู้ โดยมีผลวิจัยที่ยืนยันว่านักเรียนในหลักสูตรการเรียนแบบผสมผสานมีผลการเรียนดีกว่านักเรียนในหลักสูตรการเรียนแบบเผชิญหน้า นอกจากนี้ คนรุ่นใหม่รู้สึกสบายใจกับการเรียนรู้แบบผสมผสานมากกว่า และช่วยให้พวกเขาเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการเรียนแบบเผชิญหน้าหรือการเรียนออนไลน์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์มีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น รายงานของยูเนสโก ในปี 2563 ระบุว่า มีนักเรียนกว่า 1,600 ล้านคน หรือจำนวน 90% จากทั่วโลก และครูกว่า 63 ล้านคน ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงเรียน จึงมีการนำแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์มาใช้งานเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และทำให้หลายๆ แพลตฟอร์มมียอดการใช้งานเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ตัวอย่างเช่น Zoom แพลตฟอร์มที่สร้างชื่อจากบริการ Video Conference และ Webinar มีอัตราการใช้งานเพิ่มขึ้น 67% ในระหว่างเดือน ม.ค. – มี.ค. 2563 โดยมีโรงเรียน 90,000 แห่งใน 20 ประเทศที่ใช้ Zoom เพื่อสนับสนุนการเรียนทางไกล ในประเทศอินเดีย แพลตฟอร์ม BYJU ให้บริการคอร์สสอนสดฟรีบนแอป Think and Learn และพบว่ามีจำนวนนักเรียนใหม่เพิ่มขึ้นถึง 200% และในประเทศจีน แพลตฟอร์ม Tencent Classroom มีส่วนในการจัดการสอนออนไลน์ครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ ให้กับนักเรียนจำนวน 730,000 คน หรือ 81% ของนักเรียนทั้งหมดในเมืองอู่ฮั่น ในระหว่างการล็อกดาวน์
ภาคเอกชนเป็นอีกหนึ่งตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ตลาดการเรียนออนไลน์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 2000 หลายๆ องค์กรได้เริ่มหันมาใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ในการฝึกอบรมพนักงาน รายงานของ Elearning! Magazine ในปี 2556 ระบุว่า 40% ขององค์กรระดับโลกจำนวน 500 แห่งใช้ e-Learning เพื่อฝึกอบรมพนักงาน ในประเทศสหรัฐอเมริกามีองค์กรเอกชนจำนวน 77% ใช้ e-Learning ในปี 2560 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 98% ในปี 2563
         ในฝั่งองค์กรนั้น 72% เชื่อว่า e-Learning ช่วยให้บริษัทมีแต้มต่อทางธุรกิจและตามทันความเปลี่ยนแปลง 42% เชื่อว่า e-Learning ทำให้บริษัทมีรายรับเพิ่มขึ้น บริษัทสารสนเทศชั้นนำ IBM เผยข้อมูลสถิติที่น่าทึ่งว่า ในการลงทุน e-Learning ทุกๆ 1 ดอลลาร์สหรัฐ บริษัทจะได้ผลิตภาพคืนกลับมาคิดเป็นมูลค่า 30 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือ 30 เท่าตัว) เพราะ e-Learning ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้คล่องแคล่วขึ้น และนำทักษะมาประยุกต์ใช้ได้อย่างฉับไว แม้แต่ IBM เองก็ยังประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้ถึง 200 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่หันมาใช้ e-Learning โดยบริษัทสามารถลดต้นทุนต่างๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอุปกรณ์ และค่าจ้างครูผู้ฝึกอบรม
         ในฝั่งคนทำงาน e-Learning เป็นช่องทางที่ช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าทางอาชีพ แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามอัธยาศัย และจัดแบ่งตารางการเรียนโดยไม่กระทบกับหน้าที่การงาน สถิติแสดงชัดว่าผู้ใหญ่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติม โดย 73% ระบุว่าตนเป็น Lifelong Learner หรือผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 63% ระบุว่าตนเป็น Professional Learner หรือผู้เรียนที่ทำงานไปด้วย คนทำงาน 75% เรียนรู้ผ่านบทเรียนวิดีโอ และ 68% เชื่อมั่นในแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ที่  ตนเลือก
         นอกจากนี้ยังมีสถิติต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้ e-Learning เพื่อการฝึกอบรมในองค์กร ได้แก่ e-Learning ช่วยให้พนักงานประหยัดเวลาเรียนลงไปได้ 40-60% เมื่อเทียบกับการเรียนในห้องเรียนแบบเดิมๆ ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาได้ดีขึ้น 25-60% (เทียบกับการเรียนแบบตัวต่อตัวที่อัตรา 8-10%) และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้มากกว่าเดิม 5 เท่าโดยใช้เวลาเท่าเดิม
         ปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนในการเร่งการเติบโตของตลาด e-Learning ในภาคเอกชน ได้แก่ การเข้ามามีอิทธิพลของกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ SMAC (Social – สื่อสังคม, Mobile – อุปกรณ์เคลื่อนที่, Analytics – การวิเคราะห์, Cloud – การประมวลผลแบบคลาวด์) และการที่คน Gen Y (ผู้ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2523-2538) เข้าทำงานในองค์กรเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่เคยชินกับเทคโนโลยี องค์กรต่างๆ จึงต้องมีการปรับตัวโดยนำเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันทางสังคม (Social Learning) มาใช้งานเพิ่มขึ้นในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรับสมัคร การฝึกอบรม ไปจนถึงการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพสูง
         สำหรับภาพรวมความเคลื่อนไหวในประเทศไทยนั้น แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์เริ่มปรากฏโฉมในช่วงปี 2556-2557 ไล่หลังการถือกำเนิดของแพลตฟอร์มชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเช่น Udacity, Coursera และ edX เพียงไม่กี่ปี
         ในฝั่งของภาคเอกชน มีแนวทางการผลิตเนื้อหาที่ค่อนข้างหลากหลาย โดยแพลตฟอร์มจำนวนมากจะเน้นเรื่องการพัฒนาทักษะของกลุ่มวัยทำงาน อาทิ  Conicle, SkillLane, Skooldio, YourNextU นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มประเภทอื่นๆ ได้แก่ แพลตฟอร์มที่เน้นเนื้อหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น Taamkru แพลตฟอร์มที่เน้นเนื้อหาความรู้สำหรับนักเรียนมัธยม เช่น OpenDurian, StartDee แพลตฟอร์มสำหรับครูอาจารย์ เช่น insKru, Starfish Labz แพลตฟอร์มที่เน้นเรื่องทักษะภาษา เช่น Globish และแพลตฟอร์มที่เน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัล เช่น DQ World
        ทางฝั่งภาครัฐ มี TCU หรือโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย เป็นผู้บุกเบิกแพลตฟอร์ม Thai MOOC ขึ้นในปี 2556 เป็นแหล่งเรียนรู้แบบตลาดวิชาออนไลน์ที่ได้สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำมาช่วยกันพัฒนาหลักสูตร และเป็นต้นแบบให้แก่ CHULA MOOC ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CMU MOOC ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Gen Next Academy ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มอื่นๆ ของหน่วยงานภาครัฐ อาทิ แพลตฟอร์มของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ที่นำเสนอบทเรียนวีดิทัศน์เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพ และแพลตฟอร์ม Digital Skill ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ที่เน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัล
        อีกย่างก้าวที่น่าจับตามองของภาครัฐ ได้แก่ การพัฒนาระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ (National Digital Learning Platform) ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา พ.ศ. 2562 แม้ว่าช่วงเริ่มต้นจะเดินหน้าไปได้ไม่มากนัก แต่ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 กลายเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้ภาครัฐตื่นตัวในการผลักดันแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ โดยระหว่างที่มีการปิดโรงเรียนในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการจัดการเรียนผ่าน 3 ช่องทางหลักได้แก่ On Air (การเรียนผ่านทีวีดิจิทัล) On Demand (การเรียนในระบบทางไกลผ่านดาวเทียม) และ Online (การเรียนแบบออนไลน์)
         ในช่องทางการเรียนแบบออนไลน์ ได้นำแพลตฟอร์มของภาคเอกชนที่มีอยู่แล้วมาใช้ เช่น Google Classroom และ Microsoft Teams และมีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม DEEP (Digital Education Excellence Platform) ที่ตั้งเป้าว่าจะเป็นอีกหนึ่งกลไกเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาไทย ให้ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21


ที่มา : https://www.thekommon.co/online-learning-platform-lifelonglearningfocus

 

ที่มา : https://www.thekommon.co/online-learning-platform-lifelonglearningfocus

 


ที่มา : https://www.thekommon.co/online-learning-platform-lifelonglearningfocus

    แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการทำนายว่าตลาด e-Learning ของโลก จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 8% มูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นจาก 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2562 ไปเป็น 3.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2569 การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปี 2563 จะยิ่งเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้ภาคการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้เรียนหรือผู้สอน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการดำเนินงาน และเสริมเนื้อหาใหม่ๆ ให้กับการเรียนรู้ผ่านระบบดิจิทัล
         นอกจากนี้ มีแนวโน้มว่าการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) จะกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) โดยมีผลวิจัยจากประเทศอังกฤษระบุว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 2563 – 2573 มหาวิทยาลัยต่างๆ ของอังกฤษจะใช้หลักสูตรการเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นหลัก คือเป็น ‘การเรียนแบบเผชิญหน้า’ และ ‘การเรียนออนไลน์’ ในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง ดังนั้น หากแนวทางนี้แพร่กระจายไปในขอบเขตทั่วโลก คาดว่าแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์จะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น และจะมีการพัฒนาแพลตฟอร์ม ทั้งในเชิงคอนเทนต์ เทคโนโลยี หรือรูปแบบการนำเสนอ เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

    6. เทรนด์แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์
Mobile Learning (การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ) มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นมาตรฐานในแวดวง e-Learning สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่สมาร์ทโฟนสามารถเชื่อมต่อกับทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ช่วยให้ผู้เรียนมีความคล่องตัวมากขึ้น สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกหนแห่ง นำไปสู่การพัฒนาแพลตฟอร์ม แบบ Mobile-First ที่เน้นการออกแบบหน้าตาและการใช้งานโดยให้ความสำคัญกับสมาร์ทโฟนเป็นลำดับแรก
Micro Learning (การเรียนรู้แบบทีละเล็กละน้อยผ่านคอนเทนต์สั้นๆ) แพลตฟอร์มที่พัฒนาโดยภาคเอกชนจะมีการนำเสนอคอนเทนต์เพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ ให้สั้นกระชับ เพื่อตอบโจทย์คนทำงานที่มีเวลาจำกัด โดยแบ่งซอยเนื้อหาการเรียนรู้ออกเป็นตอนๆ ใช้เวลาในการเรียนแต่ละครั้งไม่เกิน 2-7 นาที เนื้อหาที่ย่อยง่ายและกระชับเอื้อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ผู้พัฒนายังสามารถนำเสนอคอนเทนต์ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น วิดีโอ เกม ควิซ พอดแคสต์
Social Learning (การเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์) จะมีการใช้แพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ ผ่านทางเครื่องมือต่างๆ เช่น กระดานเสวนา (forum) การแช็ต ระบบแชร์ไฟล์ ไปจนถึงการสร้างกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning Circle) 
LXP – Learning Experience Platform (แพลตฟอร์มสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้) มีแนวโน้มที่วงการ e-Learning จะปรับเปลี่ยนจากการใช้ระบบการจัดการเรียนรู้ดั้งเดิมอย่าง LMS (Learning Management System) ไปสู่ระบบใหม่คือ LXP ที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้โดยยึด ‘ผู้เรียน’ เป็นตัวตั้ง (learner-driven) แพลตฟอร์ม LXP จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่สรรหาคอนเทนต์ให้ผู้เรียน (content aggregator) สร้างเส้นทางการเรียน (learning pathway) และติดตามกิจกรรมหรือความคืบหน้าในการเรียน นอกจากนี้ LXP ยังส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้ใช้ มีเครื่องมือช่วยผู้สอนในการวางแผนการสอน การแนะนำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามอัธยาศัยและตั้งเป้าหมายการเรียนให้เหมาะกับระดับความสามารถของตน ไปจนถึงเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียนคนอื่นๆ
AI (ปัญญาประดิษฐ์) จะมีการนำ AI เข้ามาใช้ในแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์มากขึ้น AI จะมีบทบาทเป็นผู้ช่วยในการจัดการเรียน อาทิ ช่วยลดภาระของครูในการจัดการบทเรียน เนื้อหา และการตรวจแบบฝึกหัด หรือช่วยจับคู่ผู้สอนกับผู้เรียนที่เหมาะสม ดังเช่น แพลตฟอร์ม VIPKid ของประเทศจีน ที่จับคู่นักเรียนกับครูเจ้าของภาษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา และการใช้ AI Chatbot (ระบบหุ่นยนต์ตอบกลับอัตโนมัติ) เพื่อตอบคำถามพื้นๆ หรือแนะนำข้อมูลความรู้ บทความวิชาการ ให้แก่ผู้เรียน
Gamification (การเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยเกม) จะมีการนำเกมมาใช้เป็นกุศโลบายเพื่อดึงดูดความสนใจผู้เรียน การนำคอนเทนต์ความรู้มาถ่ายทอดในรูปของเกมจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนาน ลดแรงกดดัน และเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำเนื้อหา ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ในเกาหลีใต้สองแห่งได้นำเกมออนไลน์ Minecraft4 มาใช้เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้สำหรับเด็กๆ ในช่วงที่พิพิธภัณฑ์ต้องปิดให้บริการเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
Immersive Learning (การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง) เทคโนโลยีโลกเสมือนเช่น VR/AR/MR5 จะถูกนำมาใช้ในแพลตฟอร์มต่างๆ มากขึ้น VR จะช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง การได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้สึกเพลิดเพลินไปกับการเรียนรู้ และจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น VR สามารถนำมาใช้ในการทดลองวิทยาศาสตร์เสมือนจริง การเรียนรู้ทักษะที่มีต้นทุนสูง เช่น การบิน หรือการโต้ตอบต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ พายุ อีกทั้งยังสามารถเปิดมิติใหม่ในการเรียนรู้ เช่น การใช้ระบบ 360° VR Video หรือวิดีโอ 360 องศา ในการเรียนรู้ทางการแพทย์ และการใช้ AR เพื่อการเรียนรู้ของคนตาบอด
Video Learning (การเรียนผ่านสื่อวีดิทัศน์) เป็นเทรนด์ที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง แพลตฟอร์มวิดีโออย่างเช่น YouTube เป็นเว็บสังคมที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และคาดการณ์ว่าในปี 2565 ปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 82% จะถูกขับเคลื่อนด้วยวิดีโอคอนเทนต์ การใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อถ่ายทอดความรู้หรือทักษะมีแนวโน้มที่จะถูกปรับเนื้อหาให้สั้นลง และตอบโจทย์เฉพาะบุคคลมากขึ้น มีการนำเสนอแผนภาพข้อมูล (Data Visualization) เพื่อช่วยเสริมในการอธิบายเนื้อหา และจะมีการผนวกเทคโนโลยีต่างๆ เช่น Interactive หรือ VR เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
**Assignment 5 **
คุณครูเลือกแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เหมาะสมกับตัวเองฝึกใช้ในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เด็กนักเรียน  

แบบทดสอบก่อนและหลังท้ายการอบรม หน่วยที่ 3
เรื่อง การใช้บทพูดเข้าจังหวะในการสอนภาษาอังกฤษ (Chants to teach English) และ                   
      การสอนออนไลน์ด้วยแพลทฟอร์มต่าง ๆ

คําชี้แจง  ข้อสอบปรนัย จํานวน 10 ข้อ ให้กากบาท X ข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 
คำสั่ง       ขอให้ท่านเลือกคำตอบที่ท่านคิดว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1.ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการใช้เพลงประกอบการเรียนการสอน
สร้างบรรยากาศและเป็นตัวช่วยในการเรียนรู้ภาษา
ช่วยในการสอนบทสนทนาให้ดีขึ้น
ช่วยในการสอนคำศัพท์และโครงสร้างทางไวยากรณ์
สร้างความมั่นใจให้กับครูในการสอน
แนวสอนโดยการใช้เพลงและบทพูดเข้าจังหวะควรใช้เพลงในขั้นตอนใดในการเรียนการสอน      
ขั้นนำ    ข. ขั้นสอน    ค. ขั้นสรุป    ง. ใช้ได้ในทุกขั้นตอน
ในการสอนโดยใช้เพลงและบทพูดเข้าจังหวะควรใช้การประเมินผลแบบใดเหมาะสมที่สุด
รูปแบบการประเมินที่หลากหลายตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
ประเมินผลรวม (Summative Assessment)
ประเมินผลย่อย ระหว่างเรียน  (Formative Assessment) 
ประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Assessment) 
ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยการเร่งการเติบโตของตลาด E-learning
อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น
การเติบโตของภาคการศึกษาระดับพื้นฐาน
การเติบโตของดิจิทัลคอนเทนต์
มีการส่งเสริมผ่านโครงการต่าง ๆ ของรัฐ
MOOC (Massive Open Online Course) หรือบริการบทเรียนออนไลน์แบบเปิด มีจุดแข็งที่ทำให้ MOOC แตกต่างจากแพลตฟอร์มประเภทอื่นๆ คือ ข้อใด
ผู้เรียนเข้าถึงบทเรียนได้ง่าย
มีมาตรฐานในการสอนที่ชัดเจน
ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา การรับรองวิทยฐานะ และเป็นระบบที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสามารถเรียนจบตามเป้าหมาย
คุณภาพของการจัดการเรียนการสอน
ควรให้คำนิยามคำว่า ประชากรวัยเรียน Gen Z อย่างไรจึงจะเหมาะสม
ประชากรที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี
ประชากรที่มีวัยทำงานเยอะกว่าวัยอื่น ๆ 
ประชากรที่อยู่ในวัยเรียนส่วนมาก
ประชากรที่เกิดมาพร้อมกับสมาร์ทโฟน แวดล้อมด้วยเทคโนโลยี และใกล้ชิดกับสื่อสังคม
จุดเปลี่ยนสำคัญในการนำแพลตฟอร์มมาใช้ในการเรียนออนไลน์ได้แก่ข้อใด
การพัฒนาซอฟต์แวร์การเรียนการสอนที่เหมาะสม
การแพร่ระบาดของโรค COVID-19
แนวคิดความเท่าเทียมกันของระบบการศึกษา
ความสะดวกและความรวดเร็ว
ในปี 2556 แพลตฟอร์มออนไลน์ใดที่มีกลุ่มเป้าหมายในวัยมัธยมศึกษา
OpenDurian
Thai Mooc
Taamkru
Globlis
แพลตฟอร์ม Inskru มีลักษณะการให้บริหารแบบใด
เป็นชุมชนออนไลน์สำหรับครูและผู้ปกครอง
เน้นการติวสอบเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย
เป็นคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด
เปิดพื้นที่ให้ครูได้แลกเปลี่ยนแนวคิด เทคนิดและสื่อกาเรียนการสอนเ
ปัจจัยเร่งที่ทำให้ภาคการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
การพัฒนาซอฟต์แวร์การเรียนการสอนที่เหมาะสม
การแพร่ระบาดของโรค COVID-19
แนวคิดความเท่าเทียมกันของระบบการศึกษา
ความสะดวกและความรวดเร็ว

 

เฉลย 1.ง  2.ง  3.ก   4.ข   5.ค   6.ง   7.ข   8.ก   9.ง   10.ข

 


หน่วยการอบรมที่ 4
เรื่อง แพลตฟอร์การวัดและประเมินผลการเรียน   การสอนออนไลน์และการสอนแบบ
Teach Like Finland : สอน ฟิน เรียนสนุก สไตล์ฟินแลนด์

1. แพลตฟอร์มการวัดและประเมินผลในการเรียนการสอนออนไลน์
การจัดการเรียนการสอนหนึ่ง ๆ ควรมีการตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียน ผู้สอน และกระบวนการสอนเป็นระยะ ๆ (formative evaluation) เพื่อพิจารณาตรวจสอบว่า ผู้เรียนมีคุณสมบัติหรือเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนตรงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ กระบวนการวัดและประเมินผลนี้ จะพยายามทำให้ได้ข้อมูลจากการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และตัดสินใจว่า การสอนดังกล่าวนั้นบรรลุผลหรือไม่ (Summative Evaluation) การนำผลการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ในการจัดลำดับ และพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป การเรียนการสอนหากไม่มีการวัดและประเมินผลแล้ว ผู้สอนก็ไม่ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ไม่ทราบว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวมีประสิทธิภาพหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ หากต้องการพัฒนาปรับปรุงแก้ไข จะปรับปรุงพัฒนาตรงจุดไหน อย่างไร เป็นต้น
         การวัดผลเป็นกระบวนการหรือวิธีการในการกำหนดตัวเลขให้กับคุณลักษณะต่าง ๆ ของคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆ อย่างมีกฎเกณฑ์ คือ จะต้องดำเนินการอย่างมีขั้นตอน เป็นระเบียบแบบแผน โดยมีเครื่องมือ ช่วยวัด ซึ่งจะทำให้ตัวเลขใช้แทนลักษณะของสิ่งที่เราต้องการ การประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการใช้เทคนิคประเมินผลหลากหลายวิธี ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม สามารถวัดหรือสังเกตเห็น
ได้ด้วยความรู้ ความเข้าใจทักษะ กระบวนการและด้านจิตใจ
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้หรือภาระงานการปฏิบัติในลักษณะผลผลิตหรือผลงาน ผล
การกระทำหรือพฤติกรรมและกระบวนการ เช่น การทดลอง เป็นต้น

 

 

 

 


เลือกวิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผล

 

ภาพสื่อความหมายโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันในการวัดและประเมินผล
ที่มา : ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล (2565)
         การเลือกเครื่องมือในการวัดผลของผู้เรียนในยุคดิจิทัล โดยใช้แอปพลิเคชันในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ที่สร้างความท้าทายให้กับผู้เรียนและผู้สอน เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดและประเมินผล ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ของผู้เรียน ให้มีความทันสมัยและตอบสนองพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคดิจิทัล แอปพลิเคชันที่นับเป็นสุดยอดในการประเมินผลการเรียนรู้ในปัจจุบัน ที่สามารถตอบสนองการวัดผลการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ ได้แก่
Plickers
              ผู้สอนสามารถใช้เป็นเครื่องมือการประเมินผู้เรียน โดยโหลดแอปพลิเคชัน Plickers และกระดาษคำตอบ สามารถโหลดได้ในเว็บ (www.plickers.com) และพิมพ์ออกมา ตัวใบคำตอบของแต่ละคนจะหน้าตาไม่เหมือนกัน ลักษณะหน้าตาเหมือน QR Code สามารถพลิกได้ 4 ด้านเพื่อเปลี่ยนคำตอบ A-B-C-D เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาอย่างเรียบง่ายมาก โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นจะต้องมีมือถือ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ จึงทำให้ Plickers เป็นเครื่องมือที่เข้าถึงนักเรียนได้ทุกพื้นที่
Kahoot!
              เป็นโปรแกรมที่ใช้ตอบคำถาม คำตอบทางออนไลน์ พร้อมสรุปผลคะแนน คนที่ได้คะแนนมากที่สุด เรียงลำดับ และรายบุคคล ด้วยการเล่นผ่านระบบออนไลน์ที่นักเรียนจะต้องเล่นผ่านคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือแท็บเลต เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ เพื่อระบุชื่อคนเล่น เก็บคะแนนหรือแข่งขันกัน ซึ่งครูสามารถตั้งคำถามและเฉลยคำตอบเพื่อให้นักเรียนเล่นเกมแข่งขันกันได้

Socrative
              เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยสร้างแบบทดสอบเพื่อประเมินผลนักเรียนแบบออนไลน์ สามารถแสดงผลการสอบได้ทันที รองรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สามารถใส่ภาพประกอบคำอธิบายต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนพิมพ์คำตอบ จุดเด่นที่สำคัญคือ ผู้เรียนสามารถทำข้อสอบผ่านอุปกรณ์หลากหลายแพลตฟอร์ม (Platform) ที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตได้ เช่น มือถือสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และเครื่องคอมพิวเตอร์
Zipgrade
              เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจคำตอบประเภทปรนัยที่สามารถแสดงผลได้ทันที โดยใช้ร่วมกับกระดาษที่ทางแอปพลิเคชันนี้ได้ทำขึ้น สำหรับใช้ในการประเมินผลต่าง ๆ โดยการใช้สมาร์ตโฟนหรือแท็บเลตสแกนเพื่อตรวจคำตอบ สามารถรองรับคำตอบที่ใช้ปากกาสีแดง สีน้ำเงินและดินสอสีดำได้ มีความรวดเร็วแม่นยำในการประมวลผล ไม่เกิน 5 นาทีต่อ 1 แผ่น สามารถบอกค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุดต่ำสุดของคะแนนสอบ และค่าสถิติของตัวข้อสอบได้ 
quizizz
              เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้าง แบบทดสอบออนไลน์ (e-Testing) ผู้เรียนทำแบบทดสอบผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อระบบ Internet ผู้เรียนทราบผลการสอบทันที และผู้สอน ได้รับรายงาน (Report) ผลการสอบและบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เหมาะกับการนำมาประยุกต์ใช้กับ การทำข้อสอบก่อนเรียน หลังเรียนเพื่อวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือจัดกิจกรรมการสอบแบบเกมเพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเรียนได้
       แอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถวัดด้านพุทธิพิสัยที่แสดงพฤติกรรมด้านความสามารถทางสติปัญญาของบุคคล ลักษณะการวัดจึงเป็นการวัดทางอ้อมจากพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้ถูกวัดภายใต้เครื่องมือวัดหรือสถานการณ์ที่ผู้สอบกำหนด ซึ่งมีการจำแนกความสามารถออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้
            1) ความรู้ความจำ คือความสามารถในการระลึกได้ถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เคยมีประสบการณ์มาก่อนจะด้วยวิธีการใดก็ตาม เช่น จากการเรียนรู้ในห้องเรียน การอ่านหนังสือ การบอกเล่าต่อ ๆ กันมา เป็นต้น
            2) ความเข้าใจ คือความสามารถในการผสมผสานความรู้ความจำ แล้วขยายความคิดของตนเองออกไปอย่างสมเหตุสมผลสามารถอธิบายความโดยใช้ความคิดและคำพูดของตนเอง ดังนั้นความเข้าใจจึงเป็นความรู้ขั้นสติปัญญา (cognition) เนื่องจากต้องนำเอาความรู้จากขั้นความรู้ความจำ มาผสมผสานร่วมด้วย
            3) การนำไปใช้ คือความสามารถนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนรู้มาแล้วไปใช้ที่แปลกใหม่ หรือสถานการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนแต่อาจใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกับที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน
           4) การวิเคราะห์ คือความสามารถแยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย ๆ ได้ ทำให้สามารถมองเห็นความสัมพันธ์กันของส่วนย่อยได้อย่างชัดเจน สามารถค้นหาความจริงต่าง ๆ ที่ซ่อนแฝงอยู่ในเนื่องเรื่อง  นั้น ๆ ได้
           5) การสังเคราะห์ คือการนำองค์ประกอบย่อย ๆ ต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไปมารวมเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันเพื่อให้เห็นถึงโครงสร้างที่ชัดเจน แปลกไปจากเดิม
           6) การประเมินค่า คือความสามารถในการตัดสินเกี่ยวกับคุณค่าของเนื้อหาและวิธีการ
ต่าง ๆ โดยสรุปอย่างมีหลักเกณฑ์ว่า เหมาะสม มีคุณค่า ดีเลว เพียงไร เป็นต้น
      การใช้แอปพลิเคชันในการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้นอกจากจะเกิดประโยชน์การวัดผลในห้องเรียน ยังช่วยให้สถาบันการศึกษาประหยัด ค่าใช้จ่ายจากการเตรียมสอบ และเป็นการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเกิดประโยชน์ ช่วยให้ผู้สอนลดเวลาในการทำข้อสอบและจัดชุดทดสอบ อีกทั้งจะทราบจุดบกพร่องการเรียนของนักเรียนแต่ละคนในแต่ละเนื้อหา ว่านักเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหาการเรียนเรื่องใด เพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไข กระบวนการจัดการเรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น ในด้านของผู้เรียนเอง ก็จะได้ทราบข้อมูลและประเมินตนเองได้ว่าไม่เข้าใจเนื้อหาตรงส่วนใดเพื่อจะได้กลับไปทบทวน และทำความเข้าใจในเนื้อหานั้นอีกครั้งหนึ่ง เสมือนการสร้างแรงจูงใจในการเรียน และให้ผู้เรียน ต้องเตรียมพร้อมในการเรียนอยู่เสมอ

2. แนวคิดการเรียนการสอนแบบ Teach Like Finland : สอน ฟิน เรียนสนุก สไตล์ฟินแลนด์
ทำไม "ฟินแลนด์" ถึงเป็นโรงเรียนที่สนุกที่สุดในโลก? และทำไมฟินแลนด์ ถึงเป็นประเทศที่ เด็กเก่งติดอันดับโลก?
ไม่กี่ปีมานี้ จู่ๆ ชื่อของ "ฟินแลนด์"  ก็กลายเป็นประเทศที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เมื่อระบบการศึกษาจากดินแดนเล็กๆ ที่มีอากาศหนาวสุดขั้วและมีประชากรเพียงแค่ห้าล้านกว่าคนนี้ กลับทำให้โลกต้องประหลาดใจกับความสามารถการเรียนรู้ ของนักเรียน ที่พิสูจน์แล้วด้วยผลคะแนน วัดความรู้ความสามารถระดับนานาชาติได้ที่เป็นอันดับต้นๆของโลกติดต่อกันหลายปี
เมื่อการศึกษาคือตัวชี้วัด "ความพัฒนาแล้ว" ของแต่ละประเทศ ทำให้ สปอตไลท์จากแวดวงคนที่สนใจเรื่องการศึกษาจึงฉายส่องไปยังฟินแลนด์ พร้อมๆ กับการตั้งคำถามที่ว่า อะไรคือ "กุญแจความสำเร็จ" ที่ทำให้เด็กๆ ฟินแลนด์ประสบความสำเร็จกับการเรียนรู้ได้เช่นนี้
แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจไม่รู้ คือ  เชื่อหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วนักเรียนชั้น ประถมศึกษาฟินแลนด์ใช้เวลาในห้องเรียนเพียง 626 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น! นับว่าน้อยกว่านักเรียนอื่นๆ ในหลายประเทศทั่วโลกทีเดียว รวมถึงประเทศไทย ที่วันๆ ลูกหลานบ้านเราถูกบังคับให้ต้องก้มหน้าก้มตาเรียนปีละกว่า 1,200 ชั่วโมง แต่ความรู้ความสามารถเด็กไทยกลับตกไปอยู่ อันดับเกือบรั้งท้ายโลก
ดังนั้นเพื่อเจาะลึกการสอนแบบฟินแลนด์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) จึงร่วมกับสำนักพิมพ์ bookscape ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เชิญคุณครูฟินแลนด์ตัวจริงเสียงจริง นีน่า นอร์ดมาน (Nina Nordman) ผู้มีประสบการณ์สอนกว่า 20 ปี ทั้งในฟินแลนด์และในสิงคโปร์มาเป็นวิทยากรพิเศษ ช่วยบอกเล่า เรื่องราว และเทคนิคการสอนฟินๆ สไตล์ฟินแลนด์ ผ่านกิจกรรมเวิร์คช็อปให้กับผู้ที่สนใจกว่า 60 ชีวิตเมื่อไม่นานมานี้
Teach Like Finland
อนึ่งกิจกรรม "สอนฟิน เรียนสนุก" คือ การต่อยอดผลงานแปลเล่มใหม่ของสำนักพิมพ์บุ๊คสเคป ในชื่อ Teach Like Finland:  สอนฟิน เรียนสนุก สไตล์ฟินแลนด์ โดย ผู้เขียน Timothy D. Walker ครูชาวอเมริกัน ที่ย้ายไปทำงานที่ฟินแลนด์ และประทับใจกับระบบการศึกษาในประเทศนี้
Teach Like Finland: สอนฟิน  เรียนสนุก สไตล์ฟินแลนด์ เป็นหนังสือ ที่ยังได้รับคำแนะนำจาก นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็กและผู้สนใจในระบบ การศึกษาว่า "เป็นเล่มหนึ่งที่ครูไทยควรอ่าน เพื่อให้รู้ว่ามีประเทศและโรงเรียนที่อีกซีกโลกหนึ่งเปลี่ยนแปลงตนเองได้ การเปลี่ยนแปลงนี้มิได้หมายถึงนวัตกรรมการศึกษาที่ทันสมัยแปลกใหม่พิสดาร ที่แท้แล้ววิธีเรียนวิธีสอนของฟินแลนด์มิได้มหัศจรรย์มากจนเกินไป พวกเขามีการสอนหนังสือและมีการบ้าน แต่ก็มีนวัตกรรมการสอนที่ไร้รูปแบบด้วย"
ซึ่งหากได้ลองสำรวจดูเนื้อหาที่ หนังสือเล่มนี้ จะพบว่า การเรียนฟินแลนด์คือการให้ความสำคัญในการจัดการปัจจัยแวดล้อมการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ นั่นเอง  และข้อเท็จจริงนี้ นีน่ากำลังคอนเฟิร์ม ให้เราฟัง
Dare to Dream
"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" ใครก็ๆ คงรู้จักวลีสุดฮิตที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เอ่ยไว้ และระบบการศึกษาของฟินแลนด์ กำลังสะท้อนให้เห็นว่า ไอน์สไตน์ไม่ได้กล่าววลีนี้แบบลอยๆ
จากประสบการณ์ของนีน่าในฐานะครู เธอบอกว่า ระบบการเรียนฟินแลนด์เป็นการ เรียนแบบที่ให้เด็กๆ "Dare to Dream" หรือให้ความสำคัญกับอิสระทางความคิดและจินตนาการของเด็กเป็นหัวใจหลัก  โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย
เด็กฟินแลนด์จะมีอิสระกว่าในโลก การเรียนรู้ มีจินตนาการและมีความฝัน เพราะเชื่อว่าจะเป็นรากฐานสำคัญในการ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
แน่นอนว่า คนเป็น "ครู" และโรงเรียน ต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ เพื่อ ส่งเสริมให้เด็กๆ พยายามค้นหาความฝัน หรือสิ่งที่ชอบ ซึ่งนำไปสู่การมีพัฒนาการ ที่เหมาะกับช่วงวัย
นีน่ายกตัวอย่างว่า ไม่ว่าเด็กจะฝันอยากเป็นหรืออยากทำอะไรก็ได้ ครูต้องมีหน้าที่ซัพพอร์ตจินตนาการของพวกเขา ให้มากที่สุด
"ไม่ว่าเด็กๆ จะฝันอะไร แม้แต่ฝันว่า อยากเจอยูนิคอร์น ครูก็ต้องช่วยสร้างบรรยากาศ หรือหาทางเนรมิตห้องเรียนให้เกิดขึ้นกับสิ่งที่พวกเขาคิดในจินตนาการพวกเขามากที่สุดให้ได้"
การมีพื้นฐานแนวคิดดังกล่าว จึงทำให้ รูปแบบการเรียนของฟินแลนด์เน้นที่การ "เล่น" เป็นหลัก เพื่อช่วยฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก และสมองจินตนาการ ซึ่งส่งเสริมพัฒนาการ ได้มากกว่าการนั่งท่องจำในห้องเรียน
"แต่ในระบบการเรียนในเอเชียมีโครงสร้างที่มีกรอบมากกว่า" นีน่าให้ความเห็น
ในฐานะครูผู้มีประสบการณ์การสอนกว่ายี่สิบปีทั้งในฟินแลนด์และสิงคโปร์ "นีน่า" เปรียบเทียบถึงรูปแบบการเรียนที่แตกต่างระหว่างเอเชียและฟินแลนด์ให้ฟังว่า ที่ฟินแลนด์จะเริ่มสอนเด็กให้อ่านหนังสือที่อายุ 7 ขวบขึ้นไป ขณะที่ไทย  รวมถึงหลายประเทศในเอเชียเริ่มการเรียนตั้งแต่ วัย 3-5 ขวบ และบางรายต้อง เรียนอย่างหนักทั้งในห้องเรียนและ เรียนพิเศษ ซึ่งวิธีการนี้เป็นการบล็อก ความคิดจินตนาการเด็ก
เธอยืนยันว่า ความเชื่อของพ่อแม่เอเชียที่ลูกต้องเรียนรู้ไวๆ ไม่ใช่ความคิด ที่ถูกต้อง เพราะพัฒนาการเด็กในวัยนี้ ไม่เหมาะกับการอ่าน หรือมานั่งจดจำ ตัวหนังสือเลยสักนิด ที่สำคัญมีเด็กเอเชียไม่น้อยที่น่าสงสารเพราะต้องโดนคำสั่งและการบังคับให้เรียนมาตั้งแต่เด็ก
"จากประสบการณ์ของดิฉันเอง  คุณแม่ไม่ได้ส่งไปเรียนชั้นอนุบาลด้วยซ้ำ ดิฉันได้เข้าโรงเรียนครั้งแรกตอนอายุ 7 ขวบ ในชั้นเกรด 1 และได้เรียนภาษาอังกฤษตอนเกรด 3 ปัจจุบันดิฉันสามารถพูดได้  3 ภาษา และประสบความสำเร็จในการงานที่รัก ดิฉันโตมาในระบบนี้" นีน่าเล่า
เธอวิเคราะห์ว่าเด็กเอเชียควรได้รับ เปิดโอกาสให้เด็กได้มีอิสระทางความคิด มากขึ้น เพราะเมื่อเขาสามารถกล้าที่จะฝัน และมีอิสระได้ทำในสิ่งที่ต้องการหรือมีความสนใจ เด็กจะพยายามฝ่าฟันให้ฝันที่เขา ต้องการเป็นจริง การทำให้เด็กมีความฝัน จึงทำให้เด็กมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า
"ปัจจุบันดิฉันอยู่ในสิงคโปร์ แต่ในฐานะของแม่ เป็นเรื่องลำบากใจสำหรับดิฉันมากที่จะส่งลูกตัวเองวัย 4 ขวบไปเรียนสารพัด ทั้งวิชาการ เปียโน ฯลฯ เหมือนพ่อแม่ที่นี่ทำกัน" เธอเล่าติดตลก
การเรียน = ความเสมอภาค
อีกความได้เปรียบที่ฟินแลนด์คือ  ในฟินแลนด์ทุกคนมีโอกาสเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา เนื่องจาก ภาครัฐสนับสนุนทุนการเรียนไปถึงระดับปริญญาตรี
แต่สำหรับในเอเชียเธอยอมรับว่าเรื่องนี้ยังคงมีความเหลื่อมล้ำ แม้แต่ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีโอกาสทางการศึกษา มากขึ้น โดยเด็กชั้นประถมวัยได้เรียนฟรี แต่ทุกคนก็ต้องมีเงินสำหรับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงนอกจากนี้ ด้วยข้อจำกัดบางอย่าง  ทั้งด้านเศรษฐกิจ ทำให้เด็กเอเชียส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีโอกาสได้เรียนสิ่งที่ตนเองอยากเรียนแท้จริง เช่น การเรียนศิลปะ เพราะพวกเขาต้องเลือกสายวิชาชีพที่สร้างรายได้สูง หรือเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
"ในความเป็นจริง การที่คนเราจะประสบความสำเร็จ อาจไม่ใช่แค่ด้านวิชาการอย่างเดียว แต่เป็นศิลปะก็ได้  แต่เอเชียยังมีค่านิยมแบบนี้อยู่ไม่น้อย"  นีน่าเอ่ย
แม้การแก้ปัญหาการศึกษาไทยเป็นเรื่องใหญ่ที่ "ระดับโครงสร้าง" และไม่ได้ปรับเปลี่ยนกันง่ายๆ แต่คงไม่ผิดใช่ไหม  ถ้าเราจะมองหาระบบการศึกษาในฝันที่เราอยากได้และอยากมี? 
ที่มา :  https://www.thaihealth.or.th/?p=237348

 

แบบทดสอบก่อนและหลังท้ายการอบรม หน่วยที่ 4
เรื่อง แพลตฟอร์การวัดและประเมินผลการเรียน การสอนออนไลน์และการสอนแบบ
Teach Like Finland : สอน ฟิน เรียนสนุก สไตล์ฟินแลนด์
คําชี้แจง  ข้อสอบปรนัย จํานวน 10 ข้อ ให้กากบาท X ข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 
คำสั่ง       ขอให้ท่านเลือกคำตอบที่ท่านคิดว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

การประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียน ผู้สอน และกระบวน  การสอนเป็นระยะ ๆ ได้แก่การประเมินผลแบบใด
รูปแบบการประเมินที่หลากหลายตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
ประเมินผลรวม (Summative Assessment)
ประเมินผลย่อย ระหว่างเรียน  (Formative Assessment) 
ประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Assessment) 
กระบวนการวัดและประเมินผลที่พยายามทำให้ได้ข้อมูลจากการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และตัดสินใจว่า การสอนดังกล่าวนั้นบรรลุผลหรือไม่ได้แก่การประเมินผลแบบใด
รูปแบบการประเมินที่หลากหลายตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
ประเมินผลรวม (Summative Assessment)
ประเมินผลย่อย ระหว่างเรียน  (Formative Assessment) 
ประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Assessment) 
การประเมินการแสดงออกถึงกระบวนการทำงานผ่านการปฏิบัติ เพื่อค้นหาศักยภาพหรือคุณลักษณะที่แท้จริงของผู้เรียน ได้แก่การประเมินผลแบบใด
รูปแบบการประเมินที่หลากหลายตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
ประเมินผลรวม (Summative Assessment)
ประเมินผลย่อย ระหว่างเรียน  (Formative Assessment) 
ประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Assessment) 
เครื่องมือในการวัดผลของผู้เรียนในยุคดิจิทัลชนิด  Kahoot! มีลักษณะเป็นอย่างไร
ผู้สอนสามารถใช้เป็นเครื่องมือการประเมินผู้เรียน โดยโหลดแอปพลิเคชัน และกระดาษคำตอบ
เป็นโปรแกรมที่ใช้ตอบคำถาม คำตอบทางออนไลน์ พร้อมสรุปผลคะแนน คนที่ได้คะแนนมากที่สุด เรียงลำดับ และรายบุคคล
เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยสร้างแบบทดสอบเพื่อประเมินผลนักเรียนแบบออนไลน์ สามารถแสดงผลการสอบได้ทันที รองรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจคำตอบประเภทปรนัยที่สามารถแสดงผลได้ทันที โดยใช้ร่วมกับกระดาษที่ทางแอปพลิเคชันนี้ได้ทำขึ้น
เครื่องมือในการวัดผลของผู้เรียนในยุคดิจิทัลชนิด  Zipgrade มีลักษณะเป็นอย่างไร
ผู้สอนสามารถใช้เป็นเครื่องมือการประเมินผู้เรียน โดยโหลดแอปพลิเคชัน และกระดาษคำตอบ
เป็นโปรแกรมที่ใช้ตอบคำถาม คำตอบทางออนไลน์ พร้อมสรุปผลคะแนน คนที่ได้คะแนน
มากที่สุด เรียงลำดับ และรายบุคคล
เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยสร้างแบบทดสอบเพื่อประเมินผลนักเรียนแบบออนไลน์ สามารถแสดงผล
การสอบได้ทันที รองรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจคำตอบประเภทปรนัยที่สามารถแสดงผลได้ทันที โดยใช้ร่วมกับกระดาษที่ทางแอปพลิเคชันนี้ได้ทำขึ้น
เครื่องมือในการวัดผลของผู้เรียนในยุคดิจิทัลทุกชนิดเหมาะสำหรับวัดผลความสามารถของเด็กด้านใด
Cognitive Domain 
Affective Domain
Psychomotor Domain
เหมาะสมทุกด้าน
ข้อใดต่อไปนี้สอดคล้องกับข้อความที่กำหนดให้ “สามารถแยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย ๆ ได้ ทำให้สามารถมองเห็นความสัมพันธ์กันของส่วนย่อยได้อย่างชัดเจน สามารถค้นหาความจริงต่าง ๆ    ที่ซ่อนแฝงอยู่ในเนื่องเรื่อง  นั้น ๆ ได้” 
วัดความรู้ความจำ
วัดความเข้าใจ
วัดการนำไปใช้
วัดการวิเคราะห์
ข้อใดต่อไปนี้สอดคล้องกับข้อความที่กำหนดให้ “ความสามารถในการตัดสินเกี่ยวกับคุณค่าของเนื้อหาและวิธีการต่าง ๆ” 
วัดการประเมินค่า
วัดความเข้าใจ
วัดการสังเคราะห์
วัดการวิเคราะห์
ประเด็นสำคัญของเรียนการสอนแบบ Teach Like Finland คืออะไร
เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ไม่เน้นการให้งานหรือการบ้าน
ให้ความสำคัญในการจัดการปัจจัยแวดล้อมการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ
เน้นวิธีการเรียนการสอนมากกว่าผลลัพธ์
เน้นผลลัพธ์มากกว่าวิธีการเรียนการสอน
คำกล่าวใดต่อไปนี้ไม่ใช่แนวคิดเกี่ยวกับการสอนแบบ Teach Like Finland
จินตาการสำคัญกว่าความรู้
การเรียนคือความเสมอภาค
เน้นการกระทำมากกว่าการเรียนรู้
ส่งเสริมให้เด็กๆ พยายามค้นหาความฝัน หรือสิ่งที่ชอบ ซึ่งนำไปสู่การมีพัฒนาการ ที่เหมาะกับช่วงวัย

เฉลย 1.ค  2.ข  3.ก   4.ข   5.ง   6.ก   7.ง   8.ก   9.ข   10.ค

 

 

หน่วยการอบรมที่ 5
เรื่อง การสอบ CEFR
CEFR ในภาพรวม
Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) คือมาตรฐานสากลที่ใช้อธิบายระดับความเชี่ยวชาญทางภาษา CEFR ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในทวีปยุโรป และมีการยอมรับเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก EF SET เป็นมาตรฐานการทดสอบภาษาอังกฤษเดียวที่วัดระดับทักษะทั้งหมดได้อย่างแม่นยำ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับชำนาญ โดยอ้างอิงตามกรอบ CEFR แบบทดสอบภาษาอังกฤษที่ได้รับมาตรฐานอื่น ๆ สามารถประเมินระดับความเชี่ยวชาญได้บ้าง แต่ไม่ใช่ระดับทั้งหมดของ CEFR
CEFR คืออะไร
        CEFR คือ การสอบที่ใช้วัดระดับความสามารถทางภาษkอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ   ข้อสอบนี้เป็นแนวทางในการอธิบายว่าคุณสามารถพูดและเข้าใจภาษาต่างชาติได้ดีระดับใด โดยมีเกณฑ์การวัดะดับภาษามากมายที่มีวัตถุประสงค์คล้ายกัน ได้แก่ American Council on the Teaching of Foreign Languages Proficiency Guidelines (ACTFL) ,Canadian Language Benchmarks (CLB) และ Interagency Language Roundtable scale (ILR) อย่างไรก็ตาม CEFR ไม่ได้ยึดติดกับแบบทดสอบภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นพิเศษ
        CEFR คือมาตรฐานยุโรปและได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้กับภาษายุโรปใดก็ตาม ดังนั้นจึงสามารถใช้ในการอธิบายทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะภาษาเยอรมัน หรือทักษะภาษาเอสโตเนียของคุณ (หากว่าคุณมีทักษะเหล่านี้)
ความสามารถทางภาษาของแต่ละระดับ
A1 : สามารถใช้ประโยคง่ายๆในชีวิตประจำวัน อ่านบทความสั้นๆ และพูดประโยค
สั้นๆ ใช้คำที่คุ้นเคย หรือเนื้อหาที่ได้เตรียมมาแล้วเท่านั้น
A2 : สามารถแนะนำตัวเอง ครอบครัว การทำงานในอดีตและปัจจุบันในประโยค
สั้นๆ สื่อสารแสดงความต้องการอย่างง่ายๆ และสามารถพูดและเขียนในหัวข้อที่สั้นและง่ายได้
B1 : สามารถเข้าใจใจความสำคัญและหัวข้อทั่วๆไปที่ตนเองสนใจ ทั้งการฟัง พูด 
อ่าน เขียน สามารถสื่อสารแบบลงรายละเอียดในเรื่องทั่วๆไปได้ชัดเจนมากขึ้น
B2 : สามารถที่จะเข้าใจใจความสำคัญของเนื้อหาที่มีความซับซ้อน เข้าใจและ
สามารถใช้คำศัพท์ได้มากขึ้นและหลากหลายขึ้น สามารถสื่อสารและนำเสนอได้อย่างคล่องแคล่ว
C1 : สามารถเข้าใจเนื้อหาที่ยาว จับใจความ วิเคราะห์และตีความได้ เข้าใจและ
สามารถสื่อสารในประโยคยาวๆ ที่ท้าทายได้อย่างคล่องแคล่วง่ายดาย
C2 : สามารถเข้าใจโดยการฟังและการอ่านอย่างง่ายดาย พูดได้คล่องแคล่วมั่นใจ
เหมือนเจ้าของภาษา เข้าใจโครงสร้างไวยกรณ์ที่ซับซ้อนในบทความ วรรณกรรม หรือรายงานทางวิชาการต่างๆ

จุดกำเนิดของ CEFR
                CEFR ได้รับการตั้งขึ้นโดยสภายุโรปในปี 1990 ให้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้สอนภาษาทุกประเทศในยุโรป สภายุโรปต้องการปรับปรุงแนวทางสำหรับลูกจ้างและสถาบันการศึกษาที่ต้องการประเมินความเชี่ยวชาญทางภาษาของผู้สมัคร เกณฑ์ที่กำหนดนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการสอนและการประเมิน
            CEFR ไม่ได้เชื่อมโยงหรือยึดตามแบบทดสอบใดแบบทดสอบหนึ่งเป็นพิเศษ หากแต่เป็นการกำหนดทักษะที่สามารถทำได้โดยการใช้ภาษาต่างประเทศที่ระดับความเชี่ยวชาญใด ๆ ยกตัวอย่างเช่น หนึ่งในทักษะที่ระดับ B1 สามารถทำได้คือ “สามารถเชื่อมโยงเกี่ยวกับหัวข้อที่คุ้นเคยหรือความสนใจของตัวบุคคล” ผู้ที่สอนภาษาต่างประเทศสามารถใช้รายการทักษะที่ต้องทำได้เหล่านี้ในการประเมินและออกแบบบทเรียนเพื่อค้นหาช่องโหว่ของความรู้ทางภาษาสำหรับผู้เรียน
ความสำคัญของ CEFR
              กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) จะถูกใช้เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนในการปฏิรูปการศึกษาไทย ของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งในการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอนการทดสอบ การวัดผล การพัฒนาครูรวมถึงการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีทิศทางในการดำเนินการที่เป็นเอกภาพ มีเป้าหมายการเรียนรู้และการพัฒนาที่เทียบเคียงได้กับมาตรฐานสากล ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับ 2 กลุ่มหลัก คือ สถานศึกษา  (ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา) และ ผู้รับใบอนุญาตวิชาชีพครู ทั้งนี้ ก็เพื่อเพื่อยกระดับการความสามารถและความเข้าใจในการใช้ภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
CEFR มีบทบาทอะไรกับสถานศึกษา นักเรียน และนักศึกษา?
             “กระทรวงศึกษาธิการ” มีนโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาตน อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะตามที่กำหนด 
              เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้กำหนดแนวปฏิบัติในการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามนโยบายในแต่ละด้าน เพื่อให้หน่วยงานทุกสังกัดที่จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษานำไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย
สถานศึกษาต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง?
        รายงานการประชุมปฏิบัติการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาอังกฤษ (CEFR)
       1. นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ มี 6 ข้อ คือ
- ใช้กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ได้แก่ The 
Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย ออกแบบหลักสูตร พัฒนาการเรียนการสอน การทดสอบ วัดผล พัฒนาครู กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
        - ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้โดยเน้นการสื่อสาร(Communicative Language Teaching: CLT) ปรับจากการเน้นไวยากรณ์เป็นเน้นการสื่อสารเริ่มจาก ฟัง พูด อ่าน เขียน
- ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานหลัก
ส่งเสริมการยกระดับความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษ คือขยายโครงการพิเศษการจัดการเรียนการสอน EP/ MEP/ IP/EBE พัฒนาห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Enrichment Class) เพื่อการสื่อสารทางสังคม และด้านวิชาการและการพัฒนาห้องเรียน การสนทนาภาษาอังกฤษเน้นฟังพูดเพื่ออาชีพอย่างน้อย 2 ชั่วโมง (ขยายโอกาส) จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความสามารถภาษาอังกฤษ คือการจัดค่ายวิชาการ 2-4 สัปดาห์ช่วงปิดภาคเรียน เพิ่มชั่วโมงเรียนอย่างต่อเนื่อง ครึ่งวัน ทั้งวัน จัดสภาพแวดล้อมกิจกรรมในโรงเรียน สอนภาษาอังกฤษมีวิชาเลือกให้ผู้เรียน
- ยกระดับความสามารถการจัดการเรียนการเรียนการสอนของครูให้สอดคล้องกับ
วิธีการเรียนรู้ที่เน้นการสื่อสาร (CLT) เป็นไปตามกรอบหลักของ CEFR ประเมินความรู้พื้นฐานของครู ฝึกอบรมครู
- ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความ
สอดคล้องของระดับคุณภาพเรียน กับ CEFR กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาระดับความสามารถทางภาษาของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้
- ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (ป.6) ระดับความสามมารถทางภาษาขั้น
เริ่มต้น ระดับตามกรอบ CEFR ระดับ A1
        - ผู้สำเร็จการศึกษาระดับการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) ระดับความสามารถทางภาษาขั้นเริ่มต้น ระดับตามกรอบ CEFR ระดับ A2
- ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.6/ปวช.) ระดับความสามมารถทางภาษาขั้นต้น 
ระดับตามกรอบ CEFR ระดับ B1
         CEFR ไม่ได้จัดการสอบเองโดยตรง แต่เป็นการเทียบคะแนนสอบจากการสอบวัดระดับทักษะภาษาอื่น ๆ อย่าง IELTS, TOEFL(iBT), TOEIC (4 ทักษะ)
การวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษสำหรับครูและนักเรียนไทย จะเทียบกับ 4 ระดับคือ A1 – B2 โดยเกณฑ์การวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษ CEFR สำหรับครูและนักเรียนมีดังนี้ 
   CEFR กับวิทยฐานะ
                นำผลไปลดระยะเวลาการทำวิทยฐานะ ได้ถึง 1 ปี จะเหลือเพียง 3 ปี จาก 4 ปี ตามเงื่อนไขของ ก.ค.ศ. ที่กําหนดเงื่อนไขการลดระยะเวลา ในการดํารงตําแหน่งหรือการดํารงวิทยฐานะของผู้ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ สายงานการสอน ในข้อ 1.1 ว่า เป็นผู้มีความสามารถทางภาษาต่างประเทศ สูงกว่าระดับ B1 หรือ สําหรับครูผู้สอน ในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ต้องมีระดับผลการทดสอบความสามารถทางภาษา สูงกว่าระดับ B2 โดยให้ เทียบกับเกณฑ์ผลการทดสอบ Common European Framework of Reference for Language (CEFR) ตามหลักเกณฑ์การเทียบเคียงผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และ ประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู
Assignment 6

ขอให้คุณครูได้ทบทวนเนื้อหาภาษาอังกฤษจากแหล่งต่างๆ หรือตาม youtube, ลิงค์ ที่แนบมาพร้อมนี้ และทำแบบทดสอบวัดระดับของตนเอง พร้อมกรอกข้อมูลของท่านและ ผลการสอบลงใน google form ข้อมูลการสอบ CEFR ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ สพป.ขอนแก่น 2
คลิกลิงค์ได้เลยค่ะ
https://www.efset.org/th/ef-set-50/
https://www.train-test.com/product/oxford-test-of-english/
https://www.bkkenglish.com/placement-test/
http://www.e4thai.com/e4e/index.php?option=com_content&view=article&id=4166 :test-your-own-english-level-with-cefr&catid=62&Itemid=118

เมื่อศึกษาและฝึกฝนการทำข้อสอบ CEFR แล้วขอให้คุณครูกรอกผลการทดสอบลงใน ลิงค์นี้ พร้อมแคปหน้าจอผลการสอบที่ได้คะแนนสูงที่สุดส่งในไลน์หรือ email ให้ศึกษานิเทศก์ค่ะ
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSf1Pw9kHwxXSLmvggH_buubQzhcQ5FJ3jLhMCY6bytm5Sh1aw/viewform

Email ศึกษานิเทศก์ [email protected]
Line ID: 030715sakura


แบบทดสอบก่อนและหลังท้ายการอบรม หน่วยที่ 5
เรื่อง การสอบ CEFR
คําชี้แจง  ข้อสอบปรนัย จํานวน 10 ข้อ ให้กากบาท X ข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 
1. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ CEFR 
    ก. กรอบอ้ำงอิงควำมสำมำรถทำงภำษำของอเมริกำ 
    ข. กรอบอ้ำงอิงควำมสำมำรถทำงภำษำของสหภำพยุโรป 
    ค. เกณฑ์กำรประเมินควำมสำมำรถทำงภำษำ 
    ง. เกณฑ์การประเมินความสามารทางภาษาที่เป็นมาตรฐานโลก 
2. ระดับความสามารถทางภาษาของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (ป.6) คือ 
    ก. A1         ข. A2         ค. B1         ง. B2 
3. ระดับความสามารถทางภาษาของผู้สำเร็จการศึกษา ระดับประถมศึกษา (ม.3) คือ 
    ก. A1         ข. A2         ค. B1         ง. B2 
4. กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแนวทางในดำเนินการตามข้อใด 
    ก. ใช้เป็นกรอบแนวคิดหลักในการกำหนดเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษ 
    ข. ใช้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  
    ค. ใช้ในการเรียนการสอนและการวัดผล 
    ง. ถูกทุกข้อ 
5. ข้อใดไม่ใช่แนวทางในการนำกรอบ  CEFR ไปใช้ในการพัฒนาครู  
    ก. เป็นเครื่องมือในกำรประเมินตนเอง 
    ข. จัดทำฐานข้อมูลครูตามระดับความสามารถ  
    ค. ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรของครู  
    ง. ใช้เพื่อประเมินหลักสูตรการพัฒนาและกระบวนการพัฒนาครู  
6. กรอบ CEFR แบ่งเป็นกี่ระดับ 
   ก. 3 ระดับ     ข. 4 ระดับ     ค. 5 ระดับ     ง. 6 ระดับ 
7. ผู้เรียนสามารถใช้และเข้ำใจประโยคง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับใด 
    ก. A1     ข. A2         ค. B1         ง. B2 
8. สามารถกรอกข้อมูลของตนเองในแบบฟอร์มของโรงแรมได้อยู่ในระดับใด 
    ก. A1     ข. A2         ค. B1         ง. B2 
9. ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาในระดับดีพูดและเขียนได้ถูกต้องและคล่องแคล่ว 
    ก. A1     ข. A2         ค. B1         ง. B2

10. สามารถแนะนำตัวเองและผู้อื่น สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับบุคคลอื่น เช่น เขาอยู่ที่ไหน รู้จักใครบ้างมีอะไรบ้าง    
    อยู่ระดับใด 
    ก. A1         ข. A2             ค. B1             ง.C


เฉลย 1. ข 2. ก 3. ข 4. ง 5. ค 6. ง 7. ก 8. ก 9. ง 10.ก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 714321เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2023 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2023 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท