เมื่อ STEM และ STEAM เกิดการ Transform เป็น STEAME พัฒนาทักษะการคิดเชิงออกแบบสู่ความเป็นสากล


                         "การเรียนแบบ STEM อาจจะขาดการสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์เลยทำให้มีการวิเคราะห์ ART เพิ่มเติมเข้าไปใน STEM ทำให้เกิดเป็น STEAM โดยการเรียนผ่านระบบ STEAM จะทำให้นักเรียนรู้จักการรับมือกับความเสี่ยงโดยผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน เรียนรู้จากประสบการณ์ มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหา รู้จัก
การทำงานเป็นทีม และทำงานด้วยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งนำพาไปสู่การเป็นนักประดิษฐ์ นักสร้างสรรค์นวัตกรรม ผู้ให้ความรู้ หรือผู้นำในอนาคต  ….แต่คงจะดีไม่น้อยถ้านักประดิษฐ์และนักสร้างสรรค์นวัตกรรมเหล่านั้น มีความสามารถใช้ภาษาที่สองโดยเฉพาะภาษาอังกฤษในการสื่อสารในโลกสมัยใหม่ เนื่องจากทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประการหนึ่งคือ ความสามารถในการสื่อสารในโลกสมัยใหม่ (Communications, information and media literacy) นั่นคือ ความสามารถในการใช้ภาษาในการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดความคิดด้วยสื่อ และสามารถเตรียมการนำเสนอผลงานได้" และนั่นจึงเป็นที่มา ของการนำ E (English) เข้ามาเติมเต็มจนทำให้เกิดการแปลงร่าง ( Transform) จาก STEM สู่ STEAM เกิดเป็น “ STEAME ” ซึ่งโดยส่วนตัวดิฉันคิดว่าเป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ( Transformative ) ของตัวเองเช่นกัน ตามภาพดังนี้

  •                      STEAME DESIGN PROCESS  เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการบูรณาการแบบข้ามสาขาวิชา ได้แก่  วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์  ศิลปะ และภาษาอังกฤษ กับชีวิตจริง ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดและช่วยสร้างความเชื่อมโยงความรู้โดยบูรณาการกับชีวิตจริง โดยวางแผนการจัดการเรียนรู้ด้วย 6D Model มีกระบวนการ ดังนี้
  •                      1. ระบุปัญหา ( Define)
    •               2. ค้นหาแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ( Discover)
      •        3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ( Distribute)
      •        4. พัฒนา (DEVELOP)
      •        5. ทดสอบและประเมินผล ( Discision)
      •        6. นำเสนอผลลัพท์ 
      • ก่อนที่จะได้ รูปแบบ STEAME DESIGN PROCESS มานี้ดิฉันไม่ลืมหยิบกระบวนการพัฒนานวัตกรรมซึ่งถือเป็นหัวใจของนักเทคโนโลยีทางการศึกษา นั่นคือ ADDIE Model ดังภาพ

                และจากการนำการพัฒนารูปแบบการสอนบูรณาการ STEAME Design Process เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงออกแบบและแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  รายวิชาออกแบบ 2 ภาคเรียนที่ 2/2565 
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
               1.เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนตามแนวคิด STEAME Design Process 
               2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิด STEAME Design Process 
              เครื่องมือที่ใช้ ได้แก้ แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ ตามแนวคิด STEAME Design Process  จำนวน  1 หน่วย และรูปแบบการจัดกิจกรรม STEAME Design Process โดยใช้รูปแบบกิจกรรมว่า “กิจกรรมฟาร์มอัจฉริยะ”ซึ่งได้นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้น ม.5/7 จำนวน 39 คน ดังภาพ

  •      

                             กิจกรรมฟาร์มอัจฉริยะ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้น ม.5/7 จำนวน 39 คน 
                                                    จากกิจกรรม STEAME Design Process

  • และก่อนที่จะเป็นภาพกิจกรรมดังกล่าว ทางทีมงานคุณครู STEAME ได้ร่วมมือกันออกแบบกิจกรรม โดยได้ให้ความรู้และเป็นที่ปรึกษาให้นักเรียนก่อนลงมือทำ 

  

                ภาพการร่วมวางแผนของครูแต่ละสาขาวิชา ( STEAME) ที่ร่วมกันวางแผนออกแบบกิจกรรม

  •                                 แผนภาพการบูรณาการข้ามวิชา(Integrated)
  • โดยออกแบบสถานการณ์กรณี “ฟาร์มอัจฉริยะ”การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ด้วย เทคนิค 5W1H และ กระบวนการออกแบบโครงงาน ด้วยเครื่องมือ Project Cavas ดังภาพ
  •                                      ตัวอย่างสถานการณ์ที่กำหนดให้กับนักเรียนเพื่อตีความปัญหาด้วย 5W1H
  •  
  •                    ตัวอย่าง เครื่องมือออกแบบโครงงานด้วย  Project Canvas
  •                                            ตัวอย่างส่วนหนึ่งของชิ้นงานนักเรียนที่นำเสนองาน

ผลการดำเนินการ/ ประโยชน์ที่ได้รับ 

     1. รูปแบบการสอนตามแนวคิด STEAME Design Process  มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด

    2.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิด STEAME Design Process อยู่ในระดับมากที่สุด
                  สำหรับการ Transformative ของดิฉัน เกิด กระบวนการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด STEAME Design Process ซึ่ง   นักเรียน สามารถบูรณาการความรู้ที่มีอยู่ให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และมี ทักษะการคิดเชิงออกแบบ โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะ คณิตศาสตร์  ภาษาอังกฤษ และออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์ ครู ได้แนวทางการจัดการเรียนการสอนและบูรณาการสอนตามแนวคิด STEAME Design Process เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงออกแบบของนักเรียน นั่นเอง

                  

คำสำคัญ (Tags): #STEAME
หมายเลขบันทึก: 714004เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2023 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2023 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจมากค่ะอยากให้มีตัวอย่างของผลที่เกิดกับนักเรียนจากการวิจัยนี้ค่ะ นักเรียน สามารถบูรณาการความรู้ที่มีอยู่ให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และมี ทักษะการคิดเชิงออกแบบ โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์

จะแนะนำให้ใช้ กระบวนการ ตาม

  รูปแบบการสอนตามแนวคิด STEAME Design Process ในการเรียนการสอนวิขาใดบ้าง ในระดับใดจึงเหมาะสม   
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท