ชื่อดอกไม้ในวรรณคดีไทยทั้งหมด (บรรจุในโคลงกลอน)


ดอกกระทกรก

กระพ้อเงาะระงับกระจับบก กระทกรกกระลำพอสมอไข่ ผักหวานตาลดำลำใย มะเฟืองไฟไข่เน่าสะเดานา

ดอกเกี้ยวเกล้า

พระชมการะเกดแก้ว  หอมนายากนา หอมหื่นกลเกศา รวดเร้า พระชลมุลิลา ลานสวาท ชมดอกไม้เกี้ยวเกล้า เพื่อนให้แพงทอง 

ดอกเข็ม

ดอกเข็มขาวพวงนั้นฉันถวาย แต่กลิ่นอายคลายพร้อมไม่หอมหวาน สารภีที่ใส่มาในพาน ของเยาวมาลย์แม่อุบลคนสำคัญ

ดอกชบา

เดินมาสองปรีดาชื่นแช่มแจ่มใส เห็นชบาป่าบานตระการใจ เก็บให้นางชมดมทัด

ดอกจำปา

แก้วกุหลาบจำปาสารภิน จรุงรวยชวยกลิ่นหอมหวาน กลั้วกลิ่นวนิดายุพาพาล ระเหยหานเสียวซ่านสำราญใจ

ดอกบานเย็น

บานเย็นบานสะพรั่งฝั่งสระบัว เหมือนเย็นเช้าเย้ายั่วอยู่กับน้อง มะลิวัลย์พันระกำขึ้นแกมจาก ได้สามวัดกรรมพรากไปจากห้อง

 

ดอกนางแย้ม

พระจันทร์จรแจ่มกระจ่างแจ้ง ส่องแสงช่อชูดูไสว นางแย้มแย้มยิ้มอยู่ริมไพร เหมือนที่ไร่ฝ้ายพิมเจ้าแย้มยิ้ม

ดอกนมแมว

 

ถึงห้วยอีร้าและระย้าล้วนสายหยุด ดอกนั้นสุดที่จะดกดูไสว กะมองกะเม็งนมแมวเป็นแถวไป ล้วนลูกไม้กลางป่าทั้งหว้าพลอง

หางนกยูง ประยงค์ มะลิวัลย์ มะลิลา แก้วกาหลง คัดเค้ กฤษณา จำปาดง มหาหงส์

ประยงค์แย้มแกมสุกรมนมสวรรค์ มะลิวัลย์มะลิลาแก้วกาหลง ทั้งคัดเค้ากฤษณาจำปาดง มหาหงส์หางนกยูงฟุ้งขจร

 

กรรณิการ์

กรรณิการ์ก้านสีแดงสด คิดผ้าแสดติดขลิบนาง เห็นเนื้อเรื่อโรงราง  ห่มสองบ่าอ่าโนเน่

โยทะกา แก้วกาหลง ชงโค ยี่สุ่น ยี่โถ

พระเหลียวแลไม้ดอก ออกช่อแซมแนมผล แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยธกา

ดอกโมก

นางนวลจับต้นอินทนิล นกกระทาจับกระถินขันก้อง เค้าโมงจับโมกเมียงมอง แก้วจับเกดร้องริมทาง

 

ดอกกระดังงา

สามกษัตริย์เที่ยวชมบุปผชาติ ดอกดกเดียรดาษในสวนขวัญ เกดแก้วพิกุลแกมพิกัน จวงจันทร์ลำดวนกระดังงา

ดอกแก้ว

ไม้แก้วกลิ่นแก้วกราย หอมมิวายวังเวงใจ ทุกข์ลืมปลื้มอาไลย ว่ากลิ่นแก้วแล้วเรียมหา

ดอกกาหลง

เต็งแต้วแก้วกาหลง บานบุษบงส่งกลิ่นอาย หอมอยู่ไม่รู้หาย คล้ายกลิ่นผ้าเจ้าตราตรู

ดอกพะยอม

กระลุ่มพูจิกพวงชมพูเทศ สังเกตเหมือนผ้าชมพูพิสมัย พะยอมหอมหวนมายวนใจ เหมือนกลิ่นสไบเจ้ายังติดมา

ดอกกุหลาบ

กุหลาบกลิ่นเฟื่องฟุ้ง เนืองนอง หอมรื่นชื่นชมสอง สังวาส นึกกระทงใส่พานทอง ก่ำเก้า หยิบรอจมูกเจ้า บ่ายหน้าเบือนเสีย

ดอกแก้ว

กล้วยไม้ห้อยต่ำเตี้ย นมตำเลียเรี่ยทางไป หอมหวังวังเวงใจ ว่ากลิ่นแก้วแล้วเรียมเหลียว

คำสำคัญ (Tags): #ดอกไม้#วรรณคดี
หมายเลขบันทึก: 713606เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2023 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2023 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท