ศึกษาพฤติกรรม คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา


บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง ศึกษาพฤติกรรม คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และศึกษาพฤติกรรมคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยจะกำหนดขอบเขตผู้ให้ข้อมูลสำคัญในเรื่อง ศึกษาพฤติกรรม คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา ซึ่งแบ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ ประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Indepth Interview) คือ พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 3 รูป ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น จำนวน 9 คน รวมทั้งหมด 12 รูป/คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงเฉพาะเทศบาลตำบลที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา อำเภอแม่ใจ และประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้วิจัยได้กำหนดผู้เชี่ยวชาญโดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 12 รูป/คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นจำนวน 9 คน กลุ่มพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 3 รูป รวมจำนวน 12 รูป/คน กำหนดเกณฑ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลตามชนิดเทคนิคการวิจัย 2 ชนิด ได้แก่ ข้อมูลการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ทั้งหมดโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยหลักสังเคราะห์เนื้อหาโดยใช้เทคนิค 6 C ได้แก่ Concept (ประเด็น) Classify (การจำแนกกลุ่ม) Category (จัดหมวดหมู่) Content (สาระสำคัญ) Communication (การอธิบาย) และ Conceptualize (การจัดกรอบแนวคิด) และเทคนิคใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเทคนิคกระบวนการวิภาษวิธี (Dialectic Process : DP) มี 4 ลักษณะ คือ ลักษณะยืนยัน ลักษณะปฏิเสธ ลักษณะยอมรับและปฏิเสธ และลักษณะหาข้อสรุปร่วม

บทนำ

                          พฤติกรรมเป็นการแสดงออกของบุคคล ทั้งส่วนที่เป็นพฤติกรรมภายใน และพฤติกรรมภายนอก มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจึงมีการแสดงพฤติกรรมได้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในคือจิตใจ และปัจจัยภายนอก คือสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรม ในส่วนของพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเมือง เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกที่ส่งผลต่อการเมืองการปกครอง หรือส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคมมีความสงบสุข  ดังนั้นพฤติกรรมทางการเมืองจึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาให้กระจ่างชัด เพื่อนำผลการศึกษาเหล่านั้นมาพัฒนาประเทศดังกล่าว เช่น จากการศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของ ฐิตินันท์ เวตติวงศ์ (2531: 66-67) ได้กล่าวว่า “พฤติกรรมและกระบวนการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และพฤติกรรมในการลงคะแนนเสียงของประชาชนในปัจจุบันเป็นภาพสะท้อนของปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของไทยที่ได้สะสมติดต่อกันเป็นเวลานานการซื้อ-ขายเสียงและระบบหัวคะแนน เป็นเพียงปัญหารูปธรรมที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด และมีผลกระทบต่อการปกครองและการบริหารประเทศอย่างชัดเจน”

                 จากพฤติกรรมทางการเมืองดังกล่าว หากวิเคราะห์ให้ลึกลงไปจะพบว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากตัวบุคคลเป็นสำคัญ ทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทั้งผู้มีสิทธิในการเลือกตั้ง จึงส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองโดยตรง และพฤติกรรมดังกล่าวเป็นผลมาจากการขาดคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง

ในสังคมไทยได้มีการสอนคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง      ให้กับนักการปกครองและนักบริหารมาตั้งแต่สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สถาบันพระมหากษัตริย์มาจนถึงสถาบันการปกครอง สถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันครอบครัว โดยกำหนดให้เป็นราชธรรม  การเทศนา  การ อบรมสั่งสอนและการฝึกอบรม

                 พฤติกรรม คือ กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตกระทำ และบุคคลอื่นสามารถสังเกตได้หรือใช้เครื่องมือทดลองได้ เช่น การหัวเราะ การร้องไห้ การกิน การเล่นหรือการนอน ฯลฯ ซึ่งอาการกระทำทั้งหมดนี้ แสดงให้ทราบถึงลักษณะของสิ่งที่เราเรียกว่า พฤติกรรม พฤติกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ พฤติกรรมแบบ molecular ได้แก่ การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อหรือต่อมต่าง ๆ เป็นต้นว่า การกระตุกของหัวเข่าคนไข้ขณะที่นายแพทย์ใช้เครื่องเคาะที่หัวเข่า เป็นต้น และพฤติกรรมแบบ molar คือ พฤติกรรมที่สามารถแสดงความหมายให้ออกมากในรูปของการกระทำ ซึ่งทำให้สิ่งที่กระทำนั้นบรรลุถึงความพอใจและสามารถนำไปสู่ความมุ่งหมายที่ต้องการ หรือเพื่อให้หลีกเลี่ยงจากภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น พฤติกรรมแบบ moral นี้ ได้แก่ การกินอาหารหรือการวิ่งหนีเมื่อจะถูกตี ฯลฯ (โสภา  ชูพิกุลชัย. 2521 : 2)                พฤติกรรมทางการเมือง เป็นการแสดงออกทางการเมือง ซึ่งจะมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ดังนั้นพฤติกรรมทางการเมืองจึงเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง เช่น การเลือกตั้ง ได้แก่ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมในการรณรงค์หาเสียง การเข้ารับสมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น การเข้าร่วมประชาพิจารณ์ การเข้าร่วมต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งณรงค์   สินสวัสดิ์ (2539 : คำนำ) กล่าวว่า พฤติกรรมทางการเมืองของบุคคล เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองในระดับต่าง ๆ การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การช่วยพรรคการเมืองหาเสียง การลงสมัครรับเลือกตั้ง การเดินขบวนหรือแสดงออกซึ่งการคัดค้านรัฐบาล การเลือกพรรคการเมืองที่เห็นว่าดีที่สุด การเลือกอุดมการณ์ทางการเมืองที่เห็นว่าดีที่สุด รวมไปถึงพฤติกรรมาของผู้นำการเมือง เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

            1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา

            2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา

ขอบเขตของการวิจัย

                      คณะผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตในการวิจัย ดังนี้

        1. ขอบเขตด้านเนื้อหา คณะผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของเนื้อหางานวิจัย ตามกรอบแนวคิดด้านพฤติกรรมทางการเมือง การมีคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง ของนักการเมืองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา

      2. ขอบเขตผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตผู้ให้ข้อมูล โดยศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น   ศึกษาเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพะเยาจำนวน 9 เทศบาล โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านการสัมภาษณ์เจาะลึก (Indepth Interview) ได้แก่ พระภิกษุ 3 รูป  ผู้บริหารปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 9 คน คือ นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดเทศบาลตำบล รวมทั้งหมด 12 รูป/คน ที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา และอำเภอแม่ใ จ

                     3. ขอบเขตในด้านเวลา1 ปีงบประมาณ

                     4. ขอบเขตด้านพื้นที่  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา

บทสรุป

1. องค์ประกอบคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา ประกอบด้วย คุณธรรมและจริยธรรมตามแนวคิดของนักปราชญ์ ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกมา ตามหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย การพัฒนาพฤติกรรม (ศีล) การพัฒนาจิตใจ (สมาธิ) และการพัฒนาปัญญา (ปัญญา)        
          2. พฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา         
              1) พฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยานักการเมืองท้องถิ่นมีการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง ประกอบด้วย การเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล ได้แก่ หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หลักความรับผิดชอบและพร้อมรับผิดชอบของนักการเมืองท้องถิ่น หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม มโนธรรม หลักความคุ้มค่า หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น หลักการบริหาร และหลักองค์กรแห่งการเรียนรู้ การเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองในการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมในด้านชุมชน ด้านสุขภาพ สวัสดิการ ด้านการศึกษา ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ด้านสิทธิผู้บริโภค และด้านวัฒนธรรม        
           2) ผลการประเมินคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา

                   (1) ผลการประเมินคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมืองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา ในมิติเจตคติเชิงคุณธรรมและจริยธรรม ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.6) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านเจตคติการเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านเจตคติต่อธรรมาภิบาล ( = 4.7) ด้านการคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ ด้านการให้ความสำคัญกับองค์กร และด้านให้ความสำคัญกับวิธีการแบบประชาธิปไตย ( 4.6)        
                   (2) ผลการประเมินคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมืองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา ในมิติเจตคติเชิงคุณธรรมและจริยธรรม ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.6) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านเจตคติการเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านเจตคติต่อธรรมาภิบาล ( = 4.7) ด้านการคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ ด้านการให้ความสำคัญกับองค์กร และด้านให้ความสำคัญกับวิธีการแบบประชาธิปไตย ( 4.6)        
                   (3) ผลการประเมินคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมืองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา ในมิติพฤติกรรมเชิงคุณธรรมและจริยธรรม ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.7) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านดำรงตนตามวิถีประชาธิปไตย ( = 4.8) ด้านการใช้ธรรมาภิบาลทางการบริหาร และด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยระบบคุณธรรม ( 4.7) ด้านการบริหารองค์กรมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( 4.6) และด้านพฤติกรรมการแสดงออกการเป็นแบบอย่างที่ดี ( 4.5)

 

บรรณานุกรม

 

1. ไทย

          ก. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) 

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามหามกุฎราชวิทยาลัย, 2534.

          ข. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources)

                                ทรงพล ภูมิพัฒน์.  จิตวิทยาสังคม. (กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2541.) หน้า 18-19.   

               ศันสนีย์ ตันติวิท. จิตวิทยาทั่วไป. (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543).หน้า 33-34.

               ณรงค์ สินสวัสดิ์, ดร. การเมืองไทย : การวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา. (กรุงเทพฯ: ออเรียน แทลสกอล่า, 2539.),หน้าคำนำ.

               อ้างในสิทธิพันธ์ พุทธหุน.  ทฤษฎีพัฒนาการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 6.(กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2538) หน้า 150..

              อ้างใน ประหยัด หงษ์ทองคำ.  การปกครองท้องถิ่นไทย.  พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช,  2526) หน้า 56-58..

              พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525.  พิมพ์ครั้งที่ 6.หน้า 216.

              เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรมไทย ฉบับใหม่. กรุงเทพฯ): รวมสาส์น (1977), 2544(. หน้า 205

              กีรติ บุญเจือ. จริยศาสตร์ส าหรับผู้เริ่มเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช 2538 หน้า 79.

บุญมี แท่นแก้ว.  จริยธรรมกับชีวิต.  พิมพ์ครั้งที่ 6.  กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2541.หน้า 1

           ลำดวน ศรีมณี, พ.ต.ท.  จริยธรรมและจริยศาสตร์ตะวันออก.  (กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว, ม.ป.ป.) หน้า 1.

            สถิต วงศ์สวรรค์.  จิตวิทยาสังคม.  (กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น, 2529).หน้า 92.

            พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).  ธรรมนูญชีวิต.  พิมพ์ครั้งที่ 3. (กรุงเทพฯ: Religious Affairs Printing Press, 2541).หน้า 17-30.

 

หมายเลขบันทึก: 713499เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2023 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2023 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท