“เลื่อนนัด”


เรื่องเล่า เคล้า Mindset

“เลื่อนนัด”

คุณแม่มีโรคประจำตัวคือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง  เป็นๆหายๆ ทุก ๆ 2 ถึง 3 เดือน และเมื่อมีอาการจะรุนแรงแลtจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะทันทีเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด เราจึงปรึกษากับคุณหมอและวางแผนมียาเตรียมไว้ที่บ้านเสมอ   เมื่อคุณแม่มีอาการให้ทานยาทันที 1 Dose  อาการจะทุเลาและหายใน 1 สัปดาห์

รอบล่าสุด  วันจันทร์ พบว่า คุณแม่น่าจะมีอาการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะอีกแล้ว   เราให้ทานยาฆ่าเชื้อทันที  1 Dose  ผ่านไป 1 สัปดาห์อาการดีขึ้นบ้าง แต่คุณแม่รู้สึกว่าไม่หายขาด และมียาเหลืออีก 1 Dose  สามารถทานได้ทันที  แต่ครั้งนี้เราคิดต่อว่า ยังไม่ควรให้คุณแม่ทานยา เราน่าจะพาคุณแม่ไปตรวจเพื่อให้มั่นใจว่ามีอาการติดเชื้อจริงและยังไม่หายขาด   และเพื่อไปฟังผล Lap เพิ่มเติมที่ยังไม่ทราบผล จากการตรวจคราวที่แล้วด้วย  เพราะผล Lap นี้จะบอกว่ายาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่ให้ผลการรักษาที่ครอบคลุมหรือไม่   (ตอนนั้น เรา Focus ที่คุณแม่ที่จะได้ผลประโยชน์จากการไม่กินยาปฏิชีวนะที่ไม่ครอบคลุมกับเชื้อโรคซึ่งจะมีโอกาสดื้อยาได้  และกรณีการแพ้เพนนิซิลินจะหายาฆาเชื้อได้ยาก และต้องหาDose ยาจะแรงขึ้นไปเรื่อยๆ   เป็นการไม่ด่วนตัดสินใจที่เราจะได้ผลประโยชน์คือ การทุเลาอาการด้วยการให้ทานยา ไม่ต้องพาคุณแม่ไปร.พ.  ลดการบ่นของคุณแม่ และเราสบายหู )

เที่ยงวันเสาร์ เราโทรไปขอคิวตรวจ

จนท.ทำนัด :  สวัสดีค่ะ ติดต่อเรื่องอะไรคะ

ฉัน : ขอเลื่อนนัดจาก  16 ก.ค. ไปตรวจวันนี้ 25 มิ.ย. 66 วันนี้คุณแม่ไม่สบายค่ะ รอไม่ได้ค่ะ

จนท. ทำนัด : ชออภัยค่ะ บ่ายวันนี้คิวเต็มแล้วเพราะมีคิวยกยอดสมทบมาจากช่วงเช้า  เพราะคุณหมอไม่ได้เข้าช่วงเช้า  ขอนัดเป็น อีก 2 วันได้ไหมคะ

( ในใจฉัน เริ่มเดือด  เพราะอาการของคุณแม่ต้องได้รับยาเฉพาะโรคที่ไม่สามารถซื้อได้จากร้านค้าทั่วไป  ต้องมีใบสั่งแพทย์และจ่ายโดยร.พ. เท่านั้น  ฉันเป็นผู้ป่วยประจำที่นี่ คุณแม่มีอาการ  คุณแม่ฉันสำคัญ  ฉันต้องได้รับการบริการทันที ฉันไม่รอ  >>> ความคิดหลุดเข้ากล่อง  Inward Mindset = Better  Than )

ฉัน : น่าจะรอไม่ได้ค่ะ  คุณแม่เจ็บปวดมาก  ต้องได้ตรวจวันนี้  แพทย์ท่านอื่นก็ได้ค่ะ       ( น้ำเสียงเริ่มแข็งกร้าว ดุดันขึ้น   สติ เกือบหลุด แต่ยั้งทัน ที่ไม่ใช้เสียงห้วนขึ้น )

จนท .ทำนัด :  ผู้ป่วยมีอาการอย่างไรบ้างคะ

ฉัน : คุณแม่มีอาการ……………………………………..

จนท.ทำนัด :  คนไข้มาติดต่อที่เวชระเบียนตอน  15.00 น. นะคะ  ลงคิว Walk  In แล้ว  และต้องรอตรวจค่อนข้างนาน เรามีคิวก่อนหน้าจำนวนมากนะคะ อาจะถึง 2 ช.ม.

ฉัน :  รับทราบค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ก่อนพบแพทย์ จะต้องเก็บปัสสาวะส่งตรวจ บ่อยครั้งที่จะเก็บไม่ได้ ใช้เวลานานและ สร้างความหงุดหงิดทั้งคุณแม่ และตัวฉันเอง  และมักจะมีคำพูดในเชิงตำหนิ  กล่าวโทษ ทำให้เสียเวลาเข้าห้องน้ำหลายครั้ง ( 2-3 ครั้งในเวลา ครึ่งชั่วโมง)  เก็บไม่ได้สักที (เป็นความหงุดหงิด ไม่ได้ดั่งใจ ซึ่งจริงๆแล้ว  หากเรามีสติ ยั้งคิด ไม่มีอารมณ์ร่วม  เพียงแค่รับรู้ว่า อ๋อ ตอนนี้ยังเก็บไม่ได้  รอไปก่อน ดื่มน้ำเพิ่ม และพูดให้กำลังใจคุณแม่ จะดีกว่าการพูดตำหนิ  ในภายหลังฉันภายมักจะเสียใจเสมอว่า คุณแม่เองก็ไม่สามารถบังคับปัสสาวะได้เอง ควบคุมไม่ได้ การพูดตำหนิ จะทำให้คุณแม่เครียดและเสียสุขภาพใจ  >>>  พยายามฝึกอยู่ค่ะ)

คราวนี้ ฉันเตรียมสงบคำพูด และวางแผนให้คุณแม่ดื่มน้ำให้มากพอก่อนการเดินทาง  และเมื่อไปถึง ร.พ. เข้าเก็บปัสสวาวะเพียงครั้งเดียวก็สำเร็จ อย่างใจเย็น รอ ไม่มีคำพูดตำหนิใดๆออกมาเลย การพบแพทย์ราบรื่นดี  ฟังผล Lab  มีทั้งเรื่องดี และเรื่องไม่ดี

 

เรื่องไม่ดี คือ  ติดเชื้อซ้ำอีก และมีอาการรุนแรงเพราะเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยติดมาก่อน

เรื่องที่ดี คือ  ผลการเพาะเชื้อครั้งที่แล้ว  พบว่า เชื้อตัวนี้ Sensitive กับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นที่ Dose รุนแรงน้อยกว่า ทำให้มีทางเลือกใหม่ในการใช้ยาที่ Dose ต่ำกว่าเดิม ทำให้ผลข้างเคียงจากยาน้อยลง คุณแม่จะรู้สึกสบายตัวขึ้น  ไม่ผะอืดผะอม

ครั้งนี้  หลังจากตรวจเสร็จ  คุณแม่บอกว่าฟังคุณหมอพูดไม่ทัน ไม่เข้าใจ

ฉัน ซึ่งปกติจะไม่ค่อยธิบายผล  Lap ให้คุณแม่ฟังเท่าไรนัก   คราวนี้เปลี่ยนวิธีการใหม่คือ ตั้งใจอธิบายอย่างละเอียด  ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย  อธิบายอย่างช้าๆ ให้โอกาสคุณแม่ถามจนเข้าใจ อย่างใจเย็น (ก่อนหน้านี้อธิบายอย่างเร็ว เพราะในเอกสารมีแต่ภาษาอังกฤษ และตัองการตัดบท)

 

เช้านี้  สอบถามอาการว่า แม่นอนหลับดีไหม  กินยารอบนี้ เป็นอย่างไรบ้าง  คุณแม่ตอบว่า นอนหลับดีกว่าตอนกินยาเดิม  ไม่ผะอืดผะอม  อาการอักเสบทุเลาลงมาก

 

ผลที่ได้ : การรออย่างมีสติ  ยั้งคิด ยั้งปาก ไม่ใช้คำพูดที่บั่นทอนความสัมพันธ์ เคารพในความเป็นบุคคลของคุณแม่ที่มีสิทธิ์ได้รับข้อมูลอย่างเต็มที่  ส่งผ่านความรัก เมตตา ด้วยกิจกรรมการดูแล ช่วยเหลือ และการพูดด้วยภาษที่เข้าใจง่าย  ซักถาม และรับฟังเสียงสะท้อนกลับจากคุณแม่อย่างตั้งใจ มีสติรู้ตัว  ครบถ้วน

คำสำคัญ (Tags): #mindsets#สุขภาพ#แม่
หมายเลขบันทึก: 713332เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2023 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2023 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท