รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท


ชื่อเรื่อง  รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท

ชื่อผู้รายงาน  นายพิทักษ์  โสตแก้ว ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา

                    วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

ปีที่รายงาน  2565

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

         การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานตามโครงการ โดยทำการประเมินกับประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 26 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 246 คนนักเรียน จำนวน 246 คน รวมทั้งสิ้น 528 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท เกี่ยวกับ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท เกี่ยวกับด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต และฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท เกี่ยวกับด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา บรรยายสรุปในเชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป


ผลการประเมิน พบว่า

1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ได้แก่ ความเหมาะสมของกิจกรรมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท รองลงมา ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ได้แก่ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ รองลงมา งบประมาณที่ใช้มีความเหมาะสม และวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ 

    3.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ได้แก่ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท มีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน รองลงมา แผนและปฏิทินการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรมมีความชัดเจนและเหมาะสม และโรงเรียนได้มีการนิเทศติดตามตามผลการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท

    3.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ได้แก่ ผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอย  พระยุคลบาท รองลงมา โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท ให้ผู้ปกครองได้รับทราบ และผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท 

    3.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ได้แก่ นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท รองลงมา นักเรียนเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท และนักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้   สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท

4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ

    4.1 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน

         ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาทมีส่วนช่วยให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเห็นหรือพฤติกรรมของนักเรียนไปในทางที่ดีขึ้น รองลงมา โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาทช่วยพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียน และโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาททำให้นักเรียนมีวินัยในตนเอง

         ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่า อยู่ในระดับมากทุกกิจกรรม เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ กิจกรรมฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมา กิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมบ้านวิถีเศรษฐกิจพอเพียง (บูรณาการการเรียนรู้สู่ครัวเรือน)

    4.2 ด้านความพึงพอใจต่อผลผลิตของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท

         ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกิจกรรมมีการปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี และการมีคุณธรรมนำความรู้ รองลงมา นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากกิจกรรมต่างๆ โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบที่หลากหลาย และโรงเรียนเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

         ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นนโยบายในการจัดการเรียนการสอน รองลงมา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกิจกรรมมีการปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี และการมีคุณธรรมนำความรู้ และโรงเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการนับเป็นอีกวิธีหนึ่งในการสืบสานงานพระราชดำริ


 

หมายเลขบันทึก: 711824เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2023 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2023 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท