ซึมเศร้าทำให้มีปัญหาเรื่องการนอน หรือ มีปัญหาเรื่องการนอนทำให้เป็นซึมเศร้า ?


ซึมเศร้าทำให้มีปัญหาเรื่องการนอน หรือ มีปัญหาเรื่องการนอนทำให้เป็นซึมเศร้า ?

ซึมเศร้าและการนอนเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
 

หลายๆ คนอาจพอรู้มาบ้างว่า…ปัญหาเรื่องการนอนเนี่ย เป็นหนึ่งในอาการของโรคซึมเศร้า ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ หรือ การนอนมากเกินไป

บางคนอาจมีปัญหาเรื่องการนอน บางคนอาจซึมเศร้า หรือทั้งซึมเศร้าทั้งเรื่องนอน!

แต่อะไรล่ะ..คือชนวนที่ทำให้เรามีปัญหา ? การนอนหรือเป็นซึมเศร้ากันแน่?

วันนี้ Agnos จะพามาหาคำตอบกับคำถามที่ว่า..ซึมเศร้าทำให้มีปัญหาเรื่องการนอน หรือ มีปัญหาเรื่องการนอนทำให้เป็นซึมเศร้า และซึมเศร้าและนอนเกี่ยวข้องกันยังไง ?

อันดับแรกเรามาทบทวนกันก่อนว่า…อาการของโรคซึมเศร้าหลักๆเนี่ย…มีอะไรบ้าง ?
 

อาการของโรคซึมเศร้า
 

  • เศร้า เบื่อ หงุดหงิด
  • รู้สึกไร้ค่า
  • มีความผิดปกติในการกินอาหาร เช่น กินมากหรือน้อยไป
  • เหนื่อย เพลีย ไม่มีแรง
  • เลิกทำสิ่งที่ตัวเองชอบ หรืองานอดิเรก
  • ไม่มีสมาธิ ความจำแย่ลง
  • คิดทำร้ายตัวเอง
  • มีปัญหาทางด้านการนอน เช่น นอนไม่หลับหรือนอนมากไป
     

การนอนและซึมเศร้า
 

การนอนและซึมเศร้า เป็นสองอย่างที่เราอาจคาดเดาไว้แล้วว่า มันต้องเกี่ยวข้องกันแน่ๆ เพราะบางทีเรื่องเศร้าและเรื่องที่ทำให้เครียดในชีวิตประจำวัน ก็เครียดและเศร้าซะจนเรานอนไม่หลับ หรืออยากจะหลับไม่ตื่นเลยทีเดียว !  
 

ปัญหาการนอนมีอะไรบ้าง ?

ปัญหาเรื่องการนอนสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบหลักๆได้แก่

  • ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia)
  • ภาวะง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia)
  • โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea – OSA)
     

ถึงแม้ว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจมีทั้งอาการนอนไม่หลับและนอนมากผิดปกติ แต่กว่า 75% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในผู้ใหญ่จะมีภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia)
 

อะไรเกิดก่อนกันล่ะ ปัญหาการนอน หรือ ซึมเศร้า ?

จริงๆแล้ว ทั้งปัญหาการนอนและความเศร้าก็สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาได้ทั้งนั้น
 

หากเรามีปัญหาในการนอนหลับ อาจส่งผลกระทบต่อการจัดการและควบคุมอารมณ์ รวมถึงความเหนื่อย ความอ่อนเพลียของร่างกายอีกด้วย และแน่นอนว่าหากเรามีภาวะซึมเศร้า ไม่ว่าจะเกิดจากความผิดปกติในสมองหรือจากปัจจัยอื่นๆ รอบตัว เช่นความเครียด ก็จะส่งผลต่อการนอนหลับของเรานั่นเอง

นอกจากนี้ ผู้ที่อาการนอนไม่หลับเสี่ยงโรคซึมเศร้ามากกว่าคนปกติทั่วไปถึง 10 เท่า
 

ควรสังเกตอาการตัวเองอยู่สม่ำเสมอ

นอนไม่หลับบ้างเป็นครั้งคราว อาจเป็นเรื่องปกติทั่วไปในยุคสมัยนี้ แต่หากเรามีปัญหาเกี่ยวกับการนอน มากกว่า 3 วันต่ออาทิตย์ เป็นเวลามากกว่า 1 เดือน อาจส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย จิตใจ รวมถึงอารมณ์ของเราด้วย
 

เพราะฉะนั้นหากใครมีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไปตามระยะเวลาข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อน หรือโรคทางกายและจิตใจอื่นๆ
 

หากใครยังไม่มั่นใจกับอาการที่เราเป็นอื่นๆควบคู่ไปด้วย สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Agnos เพื่อทำการวิเคราะห์อาการเบื้องต้นได้ ฟรี ! 24 ชม. ด้วย AI ปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกพัฒนาโดยแพทย์และวิศวกรชั้นนำ !

ความผิดปกติในการนอนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของเรามากกว่าที่เราคิดเพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว !
 

รักษาได้ ป้องกันได้ หากเราหมั่นสังเกตอาการตัวเอง และหากใครยังไม่ชัวร์ว่าเรามีอาการหรือโรคดั่งกล่าวมั้ย อย่าเราตัวช่วยอย่าง Agnos แอปพลิเคชัน ใช้งานง่าย สะดวก สามารถวิเคราะห์อาการเบื้องต้นได้ ทุกที่ ทุกเวลา !
 

 
 
หมายเลขบันทึก: 711296เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2023 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2023 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท