ยักษ์คุ คุกเข่า


ยักษ์คุ คุกเข่า

 นายอานนท์ ภาคมาลี (หมออนามัย ข้าราชการบำนาญ  คนหาปลา)

 

           อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ จากเสียงเพลงที่กำลังโด่งดัง เพลงคำสัญญาที่ชานุมาน นักร้อง ร้องโดยน้องแอ้ม ชลธิชา  แต่งโดยครูสลา คุณาวุฒิ  ตำนานยักษ์คุ คุกเข่า เล่าขานสืบทอดกันมาในอดีต ตามความเชื่อบวกนิยายปรัมปรา ระบุว่า มีพญายักษ์ตนหนึ่งชื่อพญายักษ์ธรรมคุปต์ลงมาปกป้องพระพุทธศาสนาและพื้นแผ่นดินแห่งนี้ ให้อยู่รอดปลอดภัยพิบัติต่างในครั้งพุทธกาล

พญายักษ์ได้แสดงท่านั่ง หันหน้าไปทางตระวันออก แล้วก้มลงกราบพระธาตุเฮือนหิน ซึ่งอยู่ตรงข้ามแมน้ำโขงกับแขวงเขตสะหวันนะเขต(สปป.ลาว) รอยคุกเข่าและนั่งปรากฏว่าเป็นบึงเล็กๆ ชาวบ้านได้ตั้งชื่อชุมชนแห่งนี้ว่าบ้านยักษ์คุ คำว่าคุแปลว่า คุกเข่า วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ แรกของเดิอนเมษายน ของทุกปี ชาวบ้านจะร่วมจัดงานประเพณีแห่ยักษ์คุ ชานุมาน ทุกคนร่วมใจกันออกมาจัดขบวนกันแห่รูปปั้นพญายักษ์ พร้อมพิธีฟ้อนรำสวยงาม แต่สิ่งแปลกตาก็คือ คนมี่เข้าร่วมงานจะต้องแพนต์แต่งหน้าเป็นยักษ์หรือใส่หน้ากากยักษ์ อันเป็นประเพณีที่ไม่เหมือนใคร จนกลายเป็นอัตลักษณ์ประจำถิ่นจนถึงทุกวันนี้

       ด้านจุดแข็งของชุมชนนี้  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ร่วมกับอุคสาหกรรมท่องเที่ยว/สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวต่าง ในกลุ่มโขง ชี มูล ประกอบด้วย จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร และอำนาจเจริญ เข้าไปสนับสนุนเทศกาลแห่ยักษ์คุ อย่างจริงจัง กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย ขบวนแห่ยักษ์คุ ที่ยิ่งใหญ่ อลังการ การแสดงแสง สี เสียง ตระการคา กิจกรรมพาแลง และการแสดงศิลปะ วัฒนธรรมของอำเภอต่างๆมากมาย เพื่อช่วยส่งเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว และธำรงไว้ซึ่ง ประเพณีตำนานแห่ยักษ์คุ หนึ่งเดียวในโลก ให้คงอยู่คู่ชุมชนต่อไป

       ตามตำนานที่เล่าสืบกันมา ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง เขตประเทศลาว (สปปล.) ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอชานุมาน (หลังเก่า) มีปราสาทหินและมียักษ์ตนหนึ่ง มานั่งลงกราบไว้บริเวณใกล้ฝั่งเขตไทย รอยคุณเข่า และรอยนั่ง ปรากฏเป็นบึงเล็กๆอยู่ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อชุมชนว่า บ่านยักษ์คุ คุ แปลว่า คุกเข่า  ประมาณ 90 ปีที่ผ่านมาทางราชการของลาวใต้ ได้ส่งนักศึกษา เข้าศึกษาวิชาการในไทย เมื่อจบก็กลับประเทศ ในขณะนั้นเป็นเวลาที่ฝรั่งเศส เข้ามายึดครองประเทศลาว บุคคลนี้จึงเกิดความเบื่อหน่ายไม่พอใจฝรั่งเศส จึงสร้างบ้านเรือนที่บ้านยักษ์คุ และขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และได้บรรดาศักดิ์ เป็นพระประจญจาตุรงค์ และตั้งชื่อชุมชนว่า เมืองชานุมานมณฑล ขึ้นตรงต่อมณฑลอุบลราชธานี ตำบลชานุมาน มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 15 หมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านชานุมาน หมู่ 2 บ้านนาสีดา หมู่ 3 บ้านโนนกุง หมู่ 4 บ้านหินสิว  หมู่ที่ 5 บ้านยักษ์ หมู่ 6 บ้านนาสีดาน้อย หมู่ 7 บ้านบ้านนิคมสงเคราะห์ 3 หมู่ 8 บ้านสีสมบูรณ์  หมู่ 9 บ้านนิคมสงเคราะห์ 2 หมู่ 10 บ้านนิคมสงเคราะห์ 1 หมู่ 11 บ้านนิคมสงเคราะห์ 4  หมู่ 12 บ้านนิคมสงเคราะห์ 5  หมู่ 13 บ้านนิคมสงเคราะห์ 6  หมู่ 14 บ้านโนนสำราญ หมู่ 15 บ้านโนนโพธิ์

     ภูมิปัญญายักษ์/ตำนานยักษ์คุ

ตำนานยักษ์คุ เป็นเรื่องเล่าสืบกันมา จากหลายแหล่งที่มา ส่วนมากจะมีความคล้ายคลึงกัน อาจมีรายละเอียดของเรื่องราว ที่แตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีรากฐานจากลักษณะพื้นที่และสถานที่สำคัญของอำเภอชานุมาน ตำนานยักษ์คุ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขง โดยมี

ตำนานบ้านยักษ์คุ (ดั้งเดิม) ตามตำนานยักษ์คุที่บอกเล่าสืบทอดกันมาปากต่อปากจากผู้เฒ่าผู้แก่ในพื้นที่อำเภอชานุมาน มีรายละเอียดเรื่องราวดังต่อไปนี้ ณ ริมแม่น้ำโขง เขตสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอชานุมาน (หลังเก่า) มีประสาทหอนและมียักษ์ มานั่งคุกเข่ากราบไหว้ประสารทหิน บริเวณใกล้ฝั่งประเทศไทย รอยคุกเข่าและรอยนั่งปรากฏเป็นบึงเล็กๆอยู่ ชาวบ้านตั้งชื่อชุมชนว่า ยักษ์คุ โดยคำว่าคุ ในภาษาอิสานแปลว่าคุกเข่า ตำนานเมืองยักษ์คุ ชานุมานส่วนที่ 1 ตำนานยักษ์คุ สำนวนนี้สรุปได้ว่า ยักษ์ธรรมคุปต์พนมมือก้มลงกราบไปยังปราสาทเฮือนหิน 3 ครั้ง ด้วยความศรัทธาและสำนึกในพุทธคุณ เข่าทั้งสองและอัณฑะของยักษ์ธรรมคุปต์ จึงทิ่มลงไปในหินและพื้นดิน ทำเกิดเป็นร่องหลุมขนาดใหญ่ 3 หลุม ซึ่งปัจจุบันยังปรากฏอยู่ ร่องรอยเป็นหลักฐานในพื้นที่อำเภอชานุมานดั้งนี้

  1. ร่องรอยข้างซ้าย ปรากฏหลุมบริเวณหินไม่ลึกนัก และมีรูปร่างคล้ายคลึงกับอ่าง ขนาดกว้างผู้คนจึงเรียกบริเวณนั้นว่า แก่งต่างหล่าว ปัจจุบันกลายเป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่ ที่มีน้ำตลอดทั้งปี อยู่ในบริเวณพื้นที่ทำนาของนายคำปุน ทองจันดี และแม่วารี ทองจันดี บ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลชานุมาน โดยเจ้าของพื้นที่ ตั้งใจรักษาพื้นที่ในตำนาน
  2. รอยเข่าข้างขวา ปรากฏเป็นรอยหลุมลึก ณ บริเวณนาแมง ปัจจุบันเป็นบ่อน้ำส่วนใหญ่ ปัจจุบัน ถูกดินถมทับไปเพื่อปรับเป็นพื้นที่ทำนา ยังคงเหลือพื้นที่ บริเวณหลุมที่เป็นบ่อน้ำบางส่วน เจ้าของพื้นที่คือยายกอบ นาแมง อยู่ในเขตพื้นที่โนนสำราญ ตำบลชานุมาน
  3. รอยอัณฑะของยักษ์คุ (หลุมตรงกลาง) ณ บริเวณหนองใหญ่ ปัจจุบันหลุมดังกล่าว ถูกดินถมทับไปแล้ว พื้นปรับพื้นที่ใช้สอย เจ้าของพื้นที่คือนางนิ่มนวล นะเรืองคำ อยู่ในบริเวณบ้านยักษ์คุ ตำบลชานุมาน และส่วนแขนยักษ์คุที่กราบไป ส่วนหัว เกาะกลางน้ำโขง ที่ชาวบ้านเรียกดอนชะโนด ซึ่งปรากฏเป็นร่องรอยน้ำ ณ บริเวณหัวดอน

ตำนานเมือง ยักษ์คุ ชานุมาน 

 ตำนานยักษ์คุ สำนวนนี้มีความเชื่อโยงกับวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ สถานที่สำคัญของชานุมานและความสัมพันธ์สองฝั่งโขง ไทย – ลาวโดยมีเรื่องราวดังนี้

ในกาลครั้งหนึ่งพระลักษมณ์ – พระราม พานางสีดาเดินดงไปกลางป่า มียักษ์ที่ชื่อทศกัณฐ์ มาลักพาตัวนางสีดาไป ครั้งแรกขังไว้ริมแม่น้ำโขง นางสีดาร้องไห้คิดถึงพระราม บริเวณนั้นจึงเรียกว่าท่าสีดา หรือบ้านนาสีดา หรือบ้านนาสีดาในปัจจุบันยักษ์ทศกัณฐ์กลัวพระรามจะได้ยิน จึงพานางสีดาข้ามแม่น้ำโขง ไปขังไว้ที่ปราสาทเฮือนหิน(ฝั่งตรงข้ามบ้านท่ายักษ์คุ ) ตำบลชานุมาน อำเภออำนาจเจริญ ปัจจุบันเรียกบ้าเฮือนหิน แขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อพระลักษมณ์และรามไล่ตามทัน จึงเข้าสู้รบกับทศกัณฐ์ ม้าของพระรามกระโดดเตะปราสาทเฮือนหินจนพัง ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ในขณะที่สู้รบกันนั้น นางสีดาได้หนีมาอยู่เกาะกลางแม่น้ำโขง แล้วปะแป้งแต่งหน้ารอพระราม จึงเรียกเกาะนี้ว่าดอนสีนวดหรือดอนชะโนด ในที่สุดเมื่อทศกัณฐ์ยอมแพ้ จึงร้องขอชีวิตโดยคุกเข่าไปที่ ปราสาทเฮือนหิน บริเวณที่คุกเข่าจึงเรียกว่า ท่ายักษ์คุกเข่า หรือท่ายักษ์คุ จนกระทั่งเป็นที่มาของคำว่าชานุมาร บริเวณยักษ์คุกเข่ากลายเป็นหนองน้ำ ขนาดใหญ่สามแห่งให้เห็นจนกระทั่งปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังมีตำนานเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับอำเภอชานุมาน สำนวนอื่น ซึ่งมีเนื้อหาสาระเชื่อมโยงกับแม่น้ำโขง ซึ่งส่วนใหญ่ ผ่านหลายจังหวัดและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถานที่ต่างๆมากนักโดยมุ่งเน้นให้เกิดความสนุกสนาน และความบันเทิงนั่นคือตำนานยักษ์บักสะลีคี ผู้ให้กำเนิดแม่น้ำโขง

        โดยสรุป ยักษ์คุมีตำนานที่มีหลายสำนวน โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับยักษ์คุกเข่า(ยักษ์คุ) สักการะพระธาตุเฮือนหิน (ปราสาทหิน) บริเวณตลิ่งแม่น้ำโขง ฝั่งสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งรอยที่ยักษ์คุกเข่านั้นเป็นแอ่งน้ำของชุมชนฝั่งไทยในปัจจุบัน ซึ่งทุกเรื่องเป็นการอธิบาย ถึงพื้นที่ต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำโขงและอำเภอชานุมาน ในลักษณะการเชื่อมโยงวิถีชีวิต วัฒนะธรรมและความสัมพันธ์ไทย – ลาว โดยผูกเรื่องเข้ากับวรรณกรรม เรื่องรามเกียรติ์ สำนวนลาวสองฝั่งโขง ตลอดจนคติธรรม เรื่องในพระพุทธศาสนา ด้วยเช่นกัน ปัจจุบันชาวบ้านได้สืบสานจนกลายเป็นประเพณีท้องถิ่น ด้วยการจัดงานบุญเดือน 4 เพื่อสักการะเฮือนหินและเทศการแห่ยักษ์คุของทุกปี

 

 

หมายเลขบันทึก: 711076เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2023 07:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2023 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท