การซื้อเชื่อ ( عقد السلم )


                                                            การซื้อเชื่อ (عقد السلم )

1.คำนิยาม    การซื้อเชื่อ (عقد السلم ) หมายถึง การซื้อสินค้า ซึ่งผู้ซื้อทราบคุณสมบัติต่างๆ ของสินค้าแล้ว ด้วยการจ่ายราคาของสินค้านั้นให่แก่ผู้ขายในทันที แต่เวลาของการรับมอบสินค้าถูกกำหนดไว้ในภายหลัง

2. ความชอบธรรมของการซื้อเชื่อ  การซื้อเชื่อเป็นสิ่งที่ชอบธรรมด้วยกฎหมาย โดยหมีหลักฐาน ทั้งจากอัล กุรอาน ประมวลกิจปฏิบัติของท่านศาสดา (ซ.ล.) และมติของนักวิชาการรับรอง

หลักฐานจากอัล กุรอาน  มีการอรรถาธิบาย พระราชดำรัสแห่งอัลลอฮ์ ที่ทรงพระราชทานไว้ในเรื่องการกู้ยืมว่า หมายถึง การซื้อเชื่อ อยู่ในบท อัลบากอรอห์พระราชองค์การที่ 282 มีใจความดังนี้ “ ผู้ทรัศธาทั้งหลาย เมื่อพวกท่านทำการกู้ยืมกัน ด้วยหนี้จำนวนหนึ่ง โดยกำหนดเวลาที่แน่นอน ก็จงจดบันทึกหนี้ดังกล่าวไว้ ” และผู้ที่อรรถาธิบายในทำนองนี้ คือ อิบนุอับบาส (ร.ฮ.)

หลักฐานจากประมวลกิจปฏิบัติของศาสดา (ซล.)   ท่านอิบนุอับบาส เล่าว่า เมื่อท่าศาสดา (ซ.ล.) มาถึงมาดีน๊ะห์นั้น ชาวเมือทำการซื้อเชื่อผลไม้กันอยู่ โดยมีการกำหนดเวลาหนึ่งปีบ้าง สองปีบ้าง และสามปีบ้าง ท่าจึงกล่าวเตือนว่า “ ผู้ใดซื้อเชื่อสิ่งใด ก็จงซื้อโดยกำหนดปริมาณให้แน่นอน กำหนดน้ำหนักให้แน่นอน และกำหนดเวลารับมอบให้แน่นอน ” 

หลักฐานจากมติของนักวิชาการ    ท่าอิบนุมุนซิร (ابن منۮر) กล่าว่า นักวิชาการทุกคนเห็นว่า การซื้อเชื่อเป็นสิ่งอนุญาต ให้กระทำได้ เนื่องจากผู้คนจำเป็นต้องทำเช่นนั้น เช่น เจ้าของไร่ผลไม้และพ่อค้า ซึ่งบางครั้งต้องใช้เงินจำนวนหนึ่ง มาลงทุนก่อน ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่อนี้ จึงอนุญาตให้ทำการซื้อเชื่อได้

 อนึ่ง การซื้อเชื่อนี้ เป็นเรื่องที่ได้รับการยกเว้นจากหลักการซื้อขายที่ห้ามซื้อขายสินค้า ซึ่งยังไม่มีตัวตน เนื่อจากการซื้อเชื่อก่อให้เกิดคุณประโยชน์ด้านเศรษฐกิจมากมาย

องค์ประกอบของการซื้อเชื่อ ( ركن السلم )  มี 4 ประการ

1.คู่สัญญา ( العاقدان) เรียกผู้ซื้อว่า (رب السلم) หรือ (مُسْلِمْ) ส่วนผู้ขายเรียกว่า  (مُسلَمْ علَيْه)

2.สินค้า (مٌسْلَمْ فيه)

3. ราคา  (رأسُ مالِ السَلم)

4. คำสัญญา  (إيجاب و قبول)

         - สำหรับคำสัญญานั้น ท่านอีหม่ามชาฟีอี เห็นว่า ต้องใช้คำว่า “ซื้อเชื่อ” เท่านั้นในการทำสัญญา จะใช้คำอื่นแทนคำนี้ไม่ได้ เพราะในประมวลนิติบัญญัติอิสลามปรากฏเพียงคำนี้ เท่านั้น

         - ส่วนอีหม่ามอีสามท่าน เห็นว่าจะใช้คำว่า “ซื้อเชื่อ” หรือซื้อขายธรรมดาก็ได้

เงื่อนไขของการซื้อเชื่อ  (شروط السلم)  มี 6 ประการ

ท่านอีหม่ามทั้งหมด เห็นฟ้องกันว่า เงื่อนไขโดยทั่วไปของการซื้อเชื่อนั้น มี 6 ประการ คือ

1. ต้องเป็นสินค้า ที่ทั้งสองฝ่ายรู้ว่า เป็นสินค้าประเภทใด

2. ต้องเป็นสินค้า ที่ถูกระบุคุณสมบัติ ต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว

3. ต้องกำหนด ปริมาณ ของสินค้าให้แน่ชัด

4. ต้องกำหนด ราคาให้แน่ชัด

5. ต้องกำหนด เวลาส่งสินค้าให้แน่ชัด

6. ต้องระบุ สถานที่รับมอบสินค้าให้แน่ชัด

เงื่อนไขเกี่ยวกับราคา   

    ท่านอีหม่าม ได้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับราคาไว้ ดังนี้ 

 1. ต้องระบุประเภทของสิ่งที่จะใช้เป็นราคางวดของสินค้าให้ชัดเจน เช่น จะใช้เงิน หรือสิ่งอื่นแลกเปลี่ยน

2. ต้องระบุสกุลเงินให้แน่ชัด ในกรณีที่การซื้อเชื่อทำกันในเขตที่ใช้สกุลเงินหลากหลาย

3. ต้องระบุคุณสมบัติของสิ่งของที่ใช้แลกเปลี่ยนให้ชัดเจน เช่น คุณสมบัติอย่างดี ปานกลาง หรือ คุณภาพต่ำ

4. ในความเห็นของนักวิชาการ สายอีหม่ามฮานาฟี ต้องแจ้งปริมาณของที่ใช้แลกเปลี่ยนให้ชัดเจนและจะใช้แค่การส่งสัญญาไม่ได้  ส่วนสายอีหม่ามชาฟีอี และอิบนุฮัมบัลเห็นว่า เงื่อนไขดังกล่าวไม่จำเป็นแต่อย่างใด เพราะเมื่อผู้ขายเห็นจำนวนสิ่งของแล้ว และพอใจก็ไม่จำเป็นต้องทราบปริมาณอีก

5. ต้องจ่ายราคาสิ้นค้า ให้แก่ผู้ขายในทันที ก่อนที่จะแยกจากกัน เพราะเป้าหมายของการซื้อเชื่อ คือ ช่วยให้ผู้ขายมีต้นทุนในการผลิตครบสมบูรณ์ หากยืดเวลาออกไปอีก ก็เท่ากับทำลายเป้าหมายดังกล่าวไป ดังนั้น ในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญากันแล้วและแยกจากกัน โดยที่ผู้ขายยังไม่ได้รับราคาสินค้าจากผู้ซื้อเชื่อ ก็ถือว่าการซื้อเชื่อดังกล่าวเป็นโมฆะไป

         แต่สำหรับท่านอีหม่ามมาลิกแล้ว ท่านเห็นว่า อนุญาตให้ยือเวลาในการจ่ายออกไปได้ไม่เกินสามวัน หลังจากทำสัญญากันแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากการซื้อเชื่อ เป็นการแลกเปลี่ยนประเภทหนึ่ง ซึ่งการยืดเวลาจ่ายออกไปนั้น ไม่ได้ทำให้การซื้อเชื่อนั้นเสียหายแต่อย่างใด

เงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้า

1. ต้องรู้ประเภทของสินค้า เช่น เป็นสินค้าประเภทผลไม้หรือประเภทเครื่องไฟฟ้า เป็นต้น

2. ต้องระบุว่าเป็นสินค้าชนิดใด เช่น ผลไม้สด หรือผลไม้กระป๋อง เครื่องไฟฟ้าจากญี่ปุ่น หรือประเทศไทย เป็นต้น

3. ต้องแจกแจงคุณสมบัติของสินค้าให้ชัดเจนว่า เป็นสินค้าคุณภาพสูงหรือคุณภาพต่ำ

         จากเงื่อนไขทั้งสามข้อนี้ หากผู้ขายบอกแก่ผู้ซื้อว่า ตนจะขายสินค้าตัวใหม่ ที่ยังไม่วางขายในตลาด จึงถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะจะเป็นการกล่าวถึง การขายสินค้าลวงอย่างโจ่งแจ้งเกินไป

4. ต้องแจ้งปริมาณของสินค้าให้แน่นอน ตามปริมาณของสินค้าแต่ละประเภท

5. ระหว่างสินค้า กับสิ่งของ ซึ่งจะใช้เป็นราคา ต้องไม่มีมูลเหตุอันจะก่อให้เกิดดอกเบี้ย ขึ้นได้

           สำหรับสินค้าที่อาจเป็นมูลเหตุ แห่งการเกิดดอกเบี้ยได้นั้น ระบุอยู่ในวจนะของท่านาสดา (ซ.ล.) ที่บอกว่า “ ทองคากับทองคำ เงินกับเงิน ข้าวสาลีกับข้าวสาลี ข้าวบาร์เลกับข้าวบาร์เล ผลอินทผลัมกับ ผลอินทผลัม  และเกลือกับเกลือ เหมือนกันเท่ากัน และมือกับมือ ” ส่วนหากสินค้าต่างประเภทกัน ก็จงขายไปอย่างไรก็ตาม ที่พวกท่านต้องการ เมื่อการขายทำกันแบบมือต่อมือ

           นักวิชาการทุกท่าน (ยกเว้นในสายดาวูดซอฮีรีย์) ต่างเห็นฟ้องกันว่า ท่านศาสดา(ซล.) ไม่ได้ระบุสินค้าทั้ง 6 ประเภทขึ้นมา เพื่อจำกัดไว้แต่เพียงเท่านั้น หากแต่ท่านยังระบุสินค้าทั้ง 6 ขึ้นมาก็เพื่อให้สามารถนำสินค้า อื่นๆ มาอนุมานได้

                อีหม่ามมาลิก จึงถือเอาทองคำและเงินเป็นหลัก เพื่ออนุมานกับสิ่งของมีค่าอื่น ๆ ที่ใช้เป็นตัวตีราคาสินค้าประเภทต่าง ๆ และเห็นว่าท่านศาสดา(ซ.ล.) ระบุข้าวสาลีขึ้นมาก็เพื่อเป็นสัญลักษ์ของสิ่งที่มนุษย์ใช้เป็นอาหาร และสามารถกักตุนไว้ได้ทั้งหมด ส่วนข้าวบาร์เลก็เป็นสัญลักษ์แทนสิ่งที่มนุษย์และสัตย์ช้เป็นอาหาร และสามารถกักตุนไว้ได้ทั้งหมด ส่วนอิทผลัมก็เป็นสัญลักษ์ของอาหารหวานที่สามารถกักตุนได้ และเกลือก็หมายถึงสิ่งที่ใช้ปรุงรสชาติอาหารทั้งหมด 

             ตามทัศนะของอีหม่ามมาลิก จึงไม่อาจซื้อเชื่อข้าวเจ้า โดยใช้ข้าวเหนียวเป็นราคาได้ เพราะทั้งสองอย่างจัดอยู่ในประเภทอาหารของมนุษย์ ที่สามารถเก็บตุนไว้ได้ และถ้าหากมีการซื้อเชื่อกันในทำนองนี้ ถือว่ามีการกินดองเบี้ยเกิดขึ้นแล้ว การแลกเปลี่ยนข้าวเจ้ากับข้าวเหนียว จะทำเฉพาะกีณีการแลกเปลี่ยน และรับสิ่งของกันในทันที,มือต่อมือ และในปริมาณที่เท่ากัน ตามที่ระบุไว้ในฮาดิษเท่านั้น

            ส่วนอีหม่ามชาฟีอี ให้ทัศนะว่า ที่ท่านศาสดา (ซล.) กล่าวถึงทองคำกับเงินนั้น ก็เพื่อเป็นสัญลักษ์ของสิ่งของที่มีค่าทั้งหมด ส่วนอีก 4 ประเภทที่เหลือ เป็นสัญลักษ์ของสิ่งที่เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ ดังนั้น สิ่งของที่จะใช้เป็นราคาในการซื้อเชื่อ หากจัดอยู่ในประเภทเดียวกับสินค้าที่ต้องการซื้อเชื้อ เช่น ชื้อพลอย โดยใช้ทับทิมเป็นราคาก็เป็นอันว่าใช้ไม่ได้ เพราะทั้งพลอยและทับทิม ต่างก็เป็นสิ่งที่มีค่าทั้งสิ้น และการที่สินค้าทั้งสองจัดอยู่ในประเภทสิ่งของมีค่าเหมือนกัน คือสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้เกิดดอกเบี้ย ในการแลกเปลี่ยน

             ทางด้านอีหม่ามฮานาฟี ได้ตีวงของสินค้าอันอาจเป็นมูลเหตุแห่งการกินดอกเบี้ยให้กว้างออกไปอีก โดยท่านเห็นว่า สินค้าที่ท่านศาสดา(ซ.ล.) กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นสัญลักษ์ของสิ่งที่มีหน่วยปริมาณเดียวกัน เช่น ตวงเหมือนกัน ชั่งเหมือนกัน เป็นต้น ตามพระวจนะของท่าน การซื้อปลาสด โดยแลกกับปลาเค็ม จึงเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ เพราะทั้งปลาสดและปลาเค็ม จัดเป็นสิ่งของที่มีหน่วยปริมาณเดียวกัน คือการชั่งเป็นกิโลกรัม

             กล่าวโดยสรุปก็คือ มูลเหตุการณ์เกิดดอกเบี้ยในการแลกเปลี่ยนสินค้านั้น สำหรับอีหม่ามฮานาฟี คือ (1) สินค้าดังกล่าวจัดอยู่ในประเภทเดียวกัน (2) สินค้าดังกล่าวมีหน่วยปริมาณเดียวกัน ส่วนในทัศนะอีหม่ามมาลีกี คือ (1) สินค้าดังกล่าวจัดอยู่ในแร่รัตนชาติเหมือนกัน (2) สินค้าดังกล่าว จัดอยู่ในจำพวกอาหารที่สามารถเก็บกักตุนได้เหมือนกัน  และสำหรับอีหม่ามชาฟีอี คือ (1) ต้องเป็นสิ่งของที่มีราคาเหมือนกัน (2) เป็นอาหารเหมือนกัน หากไม่มีมูลเหตุเหล่านี้อยู่ เช่นซื้อสิ่งของโดยใช้เงินตรา หรือซื้อรถยนต์ โดยใช้เรือเมล์แลกเปลี่ยน ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องดอกเบี้ย

6. สินค้าดังกล่าว ต้องส่งมอบให้แก่ผู้ซื้เชื่อในภายหลัง ทั้งนี้เพราะวจนะของท่านศาสดา(ซ.ล.) ระบุไว้ว่า  “ ผู้ใดซื้อเชื่อสิ่งใด ก็จงซื้อในปริมาณที่แน่นอน ในน้ำหนักที่แน่นอน และภายในเวลาที่แน่นอน ”นอกจากนี้ การซื้อเชื่อถูกบัญญัติขึ้นมา ก็เพื่อผ่อนปรนให้กับผู้ขาย แต่เหตุผลนี้ จะลบเลือนไปหากอนุญาตให้จ่ายสินค้าในทันทีได้ และเมื่อไม่มีเหตุก็ย่อมไม่มีผล 

            แต่สำหรับอีหม่ามชาฟีอี ท่าเห็นว่า ในการซื้อเชื่อนั้น จะจ่ายสินค้ากันในทันที หรือจะจ่ายในภายหลังก็ย่อมทำได้ และการที่ท่านศาสดา(ซ.ล.) ระบุถึง เวลาที่แน่นอนนั้น หมายถึง ให้ทั้งสองฝ่ายรับรู้กำหนดเวลาดังกล่าว มิได้หมายความว่า ให้ยืดเวลาออกไป และประโยชน์ที่จะได้รับจากการศัญญาซื้อขายธรรมดา ในขณะที่สินค้ามีอยู่แล้วก็คือ ทั้งสองฝ่ายสามารถทำสัญญากันได้เลย โดยที่ในขณะทำสัญญานั้น สินค้ามิได้อยู่ในมือของผู้ขาย

             ส่วนระยะเวลาในการรับมอบสินค้านั้น นักนิติศาสตร์สายอีหม่ามฮานาฟี และอิบนิฮัมบัล เห็นว่า อย่างมากต้องหลังจากทำสัญญาแล้วหนึ่งเดือน ส่วนอีหม่ามมาลีกี ร่นระยะเวลาดังกล่าวลงมาเหลือครึ่งเดือน เพราะภายในครึ่งเดือนอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการตลาดได้

              สำหรับเรื่องกำหนดระยะเวลาส่งมอบสินค้านั้น นักนิติศาสตร์ ต่างเห็นฟ้องต้องกันว่า ทั้งสองฝ่ายต้องรับรู้ถึงกำหนดการดังกล่าว แต่ความเห็นในเรื่อวิธีการรับรู้แตกต่างกันออกไป นักนิติศาสตร์สายอีหม่ามฮานาฟี ฮัมบาลี และชาฟีอี เห็นว่า ต้องกำหนดเวลาให้ตรงตัวที่สุด คือบอกวัน –เดือน-ปี ให้แน่นอน ดังนั้นถ้าหากมีการตกลงกันว่า จะรับมอบสินค้าในฤดูเกี่ยวข้าว หรือปลายฤดูฝน ถือว่า การทำสัญญานั้นใช้ไม่ได้ ส่วนนักวิชาการสายอีหม่ามมาลิก เห็นว่า สามารถทำสัญญาโดยกำหนดเวลาเช่นนั้นได้ และถือเอาเวลาโดยเฉลี่ยของฤดูกาลนั้นๆ เป็นเกณฑ์

7. สินค้าที่ต้องการซื้อเชื่อจะต้องมีอยู่ในตลาด นับจากเวลาที่ทำสัญญาจนถึงเวลารับมอบ ในกรณีที่ผู้ซื้อเชื่อ ระบุว่าต้องการสินค้าที่มาจากที่หนึ่งที่ใดเป็นการเฉพาะ และสินค้านั้นอาจขาดตลาดได้ในช่วงของการรับมอบ เช่น ระบุว่าต้องการทุเรียนเมืองนนท์ ในอีกสองเดือนข้างหน้า วึ่งเป็นเวลาที่ทุเรียนเมืองนนท์ จะวาย ถือว่าสัญญานี้ เป็นโมฆะ เพราะผู้ขายไม่อาจมั่นใจว่า จะหาทุเรียนให้แก่ผู้ซื้อเชื่อได้

             ส่วนในกรณีที่เมื่อถึงเวลาส่งมอบสินค้าแล้ว ปรากฏว่าสินค้าเกิดขาดตลาดอย่างกะทันหัน ผู้ซื้อเชื่อมีสิทธิ ที่จะรอต่อไปจนกว่าจะมีสินค้า เข้ามาใหม่ หรือ จะขอยกเลิกสัญญาก็ได้

8. ต้องเป็นสัญญาที่เด็ดขาด ดังนั้น ดังนั้น หากบุคคลหนึ่งซื้อข้าวสารหนึ่งกระสอบ ด้วยราคาหนึ่งพันบาท โดยขอเวลาสามวัน เพื่อพิจารณาข้าวสารหลังจากผู้ขายรับเงินแล้ว ก็แยกย้ายกันไป ถือว่าสัญญาซื้อเชื่อดังกล่าว เป็นโมฆะ เพราะการอนุญาตให้ ผู้ซื้อมีเวลาสำหรับพิจารณาสินค้า เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือหลักการ เมื่อเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือหลักการ ก็ไม่อาจนำสิ่งใดไปอนุมานได้ 

               อีกประการหนึ่ง การอนุญาตให้พิจารณาได้ ก็เพื่อป้องกันการใช้กลโกง เมื่อการซื้อเชื่อเป็นสิ่งที่มีการโกงอยู่แล้ว จึงไม่อยู่ในขอบข่ายของตัวบทที่อนุญาตให้พิจารณาได้ อย่างไรก็ตามอนุญาตให้ผู้ซื้อวางเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าได้

9. จะต้องบอกสถานที่รับมอบสินค้า ในกรณีที่ การนำสินค้าไปยังสถานที่ดังกล่าวต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ส่วนในกรณีที่สินค้านั้น ไม่มีความจำเป็นต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เช่น เพชร, พลอย ความเห็นของอีหม่ามฮานาฟี คือ ไม่จำเป็นจะต้องกำหนด แต่ทั้งสองฝ่าย จะส่งมอบสินค้าที่ไหนก็ได้ เมื่อพบเจอกัน ส่วนอีหม่ามชาฟีอี มีความเห็นว่า ต้องจ่ายกันในสถานที่ ที่ทำสัญญา ถ้าหากไม่ระบุสถานที่ไว้ในสัญญา 

10. สินค้านั้น จะต้องสามารถกำหนดคุณสมบัติได้ เช่น เป็นของที่ใช้ตวง ชั่ง หรือวัดได้ สำหรับสิ่งของที่ใช้นับจำนวน อีหม่ามชาฟีอี เห็นว่าไม่ได้ แต่ต้องใช้การวัด ชั่ง ตวงแทน เช่น จำพวกผลไม้ ต่างๆ 

การซื้อเชื่อสัตว์  ยังมีความเห็นที่ขัดแย้งกันอยู่ ดังต่อไปนี้ 

1. อีหม่ามฮานาฟี เห็นว่า ไม่อนุญาต ให้ซื้อเชื่อกัน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ประเภทใดก็ตาม เพราะมีรายงาน จากอิบนิอับบาส ว่า “ ท่านศาสดา(ซ.ล.) เคยห้ามซื้อเชื่อกันในเรื่อสัตว์ และเนื่องจากการตีราคาของสัตว์แต่ละตัว มีความแตกต่างกัน ซึ่งการแตกต่างนี้ อานำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งกันได้ ” 

2. อีหม่ามอีสามท่าน มีความเห็นว่า การซื้อเชื่อสัตว์ สามารถทำได้ โดยอนุมานจากการยืม เพราะมีรายงานจากท่านอีหม่ามมุสลิม ว่า “ ท่านศาสดา(ซ.ล.) เคยยืมอูฐหนุ่มจากบุคคลผู้หนึ่ง และยังมีรายงานจากท่านอาบูดาวูดว่า ท่านศาสดา (ซ.ล.) เคยใช้อับดุลลอฮ์ อิบนุอุมัร ให้ไปซื้ออูฐเพศผู้ตัวหนึ่ง โดยใช้อูฐสองตัวแลกเปลี่ยน และจะใช้คืนที่หลัง  การกระทำเช่นนี้ ถือว่า เป็นการซื้อเชื่อไม่ใช่การยืม ส่วนฮาดิษที่ห้ามไว้ในเรื่องนี้นั้น ท่านอิบนุสำอานี บอกว่า ยังไม่มีแน่ชัด

                อย่างไรก็ตาม การซื้อเชื่อสัตว์ ก็มีเงื่อนไขว่า จะต้องระบุชนิด อายุ, เพศ, ขนาด, สี,ความกว้างและความยาว โดยประมาณของสัตว์ด้วย    การซื้อเชื่อปลา อนุญาตให้ซื้อเชื่อได้ แต่ จะต้องระบุชนิดของปลา,ปริมาณ และขนาดของปลา โดยมีหลักฐาน ว่า “ ผู้ซื้อเชื่อสิ่งใด ก็จงซื้อโดยกำหนดปริมาณให้แน่นอน กำหนดน้ำหนักให้แน่นอน และกำหนดเวลารับมอบให้แน่นอน

                การซื้อเชื่อเสื้อผ้า ตามทัศนะของอาบูฮานีฟะฮ์แล้ว ถือว่าไม่อนุญาต เนื่องจากเสื้อผา ในแต่ละวัน มีความแตกต่างกันมาก แต่ หากระบุประเภทของเสื้อ หรือระบุยี่ห้อ และระบุขนาด ก็ถือว่าใช้ได้ และหากเป็นผ้าไหม ต้องระบุน้ำหนักด้วย  ส่วนอีหม่ามมาลีกี ท่านมีความเห็นว่า ซื้อเชื่อเสื้อผ้า นั้นกระทำได้เช่นกัน 

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

                                                       บรรณานุกรม

                             ดร. วะฮ์บะฮ์ อัซซุฮัยลีย์ “ นิติบัญญัติอิสลาม และหลักฐาน ” 

                              กองวิจัยอิสลาม ม.อัล อัซฮัร “ ดอกเบี้ยกับปัญหาร่วมสมัย ”

 

                                                  ผู้ถอดความและรวบรวม

                                                        1. นายวิสุทธิ์  บินลาเต๊ะ

                                                        2. นายวิรัตน์  มาลี

                                                        3. นายมูฮํมมัด  ส่าหัส

                                                        4. นายฉลอง  โต๊ะหนูเอียด

                                                        5. นายวสันต์  เหมรัญ

 

                                       “หากท่านไม่สามารถเป็นเจ้าป่า เหมือนพระยาราชสีห์

                                           ท่านก็อย่าได้เป็นจอมเจ้าเลย์ เหมือนสุนัขจิ้งจอก” 

 

หมายเลขบันทึก: 711035เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2022 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2022 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท