แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542”


แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542” เพื่อให้ผู้ที่สนใจสอบราชการ อ่านเป็นแนวทางในการสอบและได้ทดสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้แนวทางที่เหมาะสมและครบถ้วน ทั้งนี้เนื้อหาในข้อสอบนี้มีการอธิบายเพิ่มเติมแต่ละคำตอบ และผู้เขียนได้รวบรวมสาระสำคัญของ และความยากของ“พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542” ไว้ในนี้แล้ว

1.พระราชบัญญัตินี้ให้ไว้ ณ. วันใด

ก.วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ข.วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ค.วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ง.วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ตอบ ค.

2.พระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของใคร

ก.รัฐสภา

ข.นิติบัญญัติ

ค.วุฒิสภา

ง.นิติบัญญัติแห่งชาติ

ตอบ ก.

3.พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อใด

ก.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาหกสิบวัน

ค.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเก้าสิบวัน

ง.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ตอบ ก.

4.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ “พนักงานส่วนท้องถิ่น”

ก.องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ข.พนักงานเทศบาล

ค.พนักงานส่วนตำบล

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

5.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”

ก.กรุงเทพมหานคร

ข.บริษัทมหาชน

ค.เมืองพัทยา

ง.เทศบาล

ตอบ ก.

“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลองค์การบริหาร ส่วนตำบลกรุงเทพมหานครเมืองพัทยาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นทืี่มีกฎหมายจัดตั้ง

6.ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ข.รัฐมนตรี

ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ง.นายกรัฐมนตรี

ตอบ ค.

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

7.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “คณะกรรมการข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัด”

ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด

ข.หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัด

ค.ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 5 ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่ง ให้มีคณะกรรมการข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

(2) หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัดจำนวนสามคนจากส่วนราชการใน จังหวัดนั้น ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดว่าเป็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในกรณี จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ผู้ว่าราชการจังหวัดจะประกาศเปลี่ยนแปลงการกำหนดส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อใดก็ได้

(3) ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสี่คน ประกอบด้วย นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด คัดเลือกจำนวนหนึ่งคน ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้แทนข้าราชการองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดซึ่งคัดเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน

(4) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหารและ การจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

8.ใครมีหน้าที่ดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด

ข.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ค.องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ง.) ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ตอบ ก.

9.ใครเป็นเลขานุการคณะกรรมการข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด

ข.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ค.องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ง.) ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ตอบ ข.

  1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ”

ก.มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี บริบูรณ์

ข.ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

ค.ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 6 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทย

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี บริบูรณ์

(3) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ

(4) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(5) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(6) ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(7) ไม่เป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้มีตำแหน่งใดๆในพรรคการเมือง บุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้มีชื่ออยู่ใน

11.กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี

ก.สองปี

ข.สามปี

ค.สี่ปี

ง.หกปี

ตอบ ค.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 7 กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับคัดเลือกอีกได้ ถ้ากรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างโดยเร็ว ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขในมาตรา 5 และให้กรรมการซึ่งได้รับการคัดเลือกมีวาระอยู่ในตำแหน่งเท่ากับระยะเวลา ที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในระหว่างที่ยังมิได้คัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างตามวรรคสองและยังมี กรรมการเหลืออยู่เกินกึ่งหนึ่ง ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้

12.ข้อใดหมายถึงการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระของผู้ทรงคุณวุฒิ

ก.ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 6

ข.เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

ค.ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 9 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(1) ตาย

(2) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ

(3) เป็นบุคคลล้มละลาย

(4) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

(5) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 6

(6) ได้รับโทษคำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

13.ค่าตอบแทนของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และคณะอนุกรรมการต้องคำนึงถึงข้อใด

ก.ปริมาณงาน

ข.รายได้

ค.รายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 12 ค่าตอบแทนของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดการกำหนดค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง ต้องคำนึงถึงปริมาณงาน รายได้และ รายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่ง และสามารถปรับลดหรือเพิ่มขึ้นได้ตามความ เหมาะสมของปริมาณงานและสภาพทางการเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วย

14.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ “อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด”

ก.กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจง ส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ข.กำหนดจำนวนและอัตราประชากรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ

ค.กำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่งอัตราเงินเดือนและวิธีการจ่ายเงินเดือน และ ประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ง.กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่มีความจำเป็นเฉพาะสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น

ตอบ ข.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 13 คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ในเรื่องดังต่อไปนี้

(1) กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่มีความจำเป็นเฉพาะสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น

(2) กำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่งอัตราเงินเดือนและวิธีการจ่ายเงินเดือน และ ประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(3) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์

(4) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การ บริหารส่วนจังหวัด

(5) กำกับดูแล ตรวจสอบ แนะนำชี้แจงส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

15.จากข้อ 14 “อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด” (1) – (5) ต้องได้รับความเห็นชอบจากใคร

ก.ผู้จัดราชการจังหวัด

ข.คณะกรรมการกลาง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ค.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ง.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ตอบ ข.

16.หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลที่คณะกรรมการข้าราชการองค์การ บริหารส่วนจังหวัดกำหนดตามมาตรา 13 ให้ประกาศโดยเปิดเผยที่ทำการองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนั้น และจัดส่งสำเนาให้ใครทราบ

ก.ผู้จัดราชการจังหวัด

ข.คณะกรรมการกลาง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ค.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ง.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ตอบ ข.

มาตรา 14 : ..

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลที่คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนดตามมาตรา 13 ให้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นและจัดส่งสำเนาให้คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดทราบ

17.การออกคำสั่งเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับ โอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจาก ราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ให้เป็น อำนาจของใคร

ก.ผู้จัดราชการจังหวัด

ข.คณะกรรมการกลาง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ค.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ง.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ตอบ ง.

  1. จากข้อ 17 ต้องได้รับความเห็นชอบจากใคร

ก.ผู้จัดราชการจังหวัด

ข.คณะกรรมการกลาง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ค.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ง.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ตอบ ข.

19.เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดแต่ละแห่งเป็นไปโดยมีมาตรฐานที่สอดคล้องกัน ให้มีคณะกรรมการกลางข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วยใครบ้าง

ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ข.ปลัดกระทรวงมหาดไทย

ค.ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

มาตรา 16 : เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดแต่ละแห่งเป็นไปโดยมีมาตรฐานที่สอดคล้องกัน ให้มีคณะกรรมการกลางข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย….

(2) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราาชการพลเรือนผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง และอธิบดีกรมการปกครอง

(3) ผู้แทนองค์การบริหารส่งนจังหวัดจำนวนหกคน ซึ่งคัดเลือกจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสามคน และปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสามคน

(4) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งคัดเลือกจากบุคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการบริหารและการจัดการ หรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่….

20.จากข้อ 19 ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนหกคน ซึ่งคัดเลือกจากใครบ้าง

ก.อธิบดีกรมบัญชีกลาง

ข.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ค.เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ง.อธิบดีกรมการปกครอง

ตอบ ข.

21.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านใด

ก.ด้านการบริหารงานท้องถิ่น

ข.ด้านการบริหารงานบุคคล

ค.ด้านระบบราชการ

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 19 20 และ 21 มาตรา 16 เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดแต่ละแห่งเป็นไปโดยมีมาตรฐานที่สอดคล้องกัน ให้มีคณะกรรมการกลางข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง มหาดไทยซึ่งได้รับมอบหมาย เป็นประธาน

(2) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง และอธิบดีกรมการปกครอง

(3) ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนหกคน ซึ่งคัดเลือกจากนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดจำนวนสามคน และปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสามคน

(4) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหารและ การจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

22.ใครเป็นผู้แต่งตั้งข้าราชการในกรมการปกครองคนหนึ่งซึ่งดำรง ตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีเป็นเลขานุการคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วน จังหวัด

ก.คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้อง

ข.กรรมการผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ค.อธิบดีกรมการปกครอง

ง.ปลัดกระทรวงมหาดไทย

ตอบ ค.

23.กรรมการผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งคัดเลือกจากปลัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี

ก. สองปี

ข. สามปี

ค. สี่ปี

ง. หกปี

ตอบ ค.

24.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด”

ก.กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด

ข.กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ค.กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับอัตราตำแหน่งและมาตรฐานของตำแหน่ง

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 17 คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 5 วรรคสาม

(2) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้น สำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(3) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับอัตราตำแหน่งและมาตรฐานของตำแหน่ง

(4) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับอัตราเงินเดือนและวิธีการจ่ายเงินเดือนและ ประโยชน์ตอบแทนอื่น

(5) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุ และแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน

(6) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย

(7) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ

(8) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์และ การร้องทุกข์

(9) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ วิธีการบริหาร และการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการอันเกี่ยวกับการ บริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(10) ให้ข้อคิดเห็นหรือให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(11) กำกับดูแล แนะนำและชี้แจงส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่ข้าราชการองค์การ บริหารส่วนจังหวัด

(12) ปฏิบัติการอื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

25.ค่าตอบแทนคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปใครกำหนด

ก.พระราชกฤษฎีกา

ข.พระราชบัญญัติ

ค.นิติบัญญัติ

ง.ระเบียบข้าราชการ

ตอบ ก.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 21 ค่าตอบแทนคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

26.เทศบาลที่อยู่ในเขตจังหวัดหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ร่วมกันคณะหนึ่งทำหน้าที่บริหารงานบุคคลสำหรับเทศบาลทุกแห่งที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น ประกอบ ด้วยใครบ้าง

ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด

ข.หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัด

ค.ผู้แทนเทศบาล

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

27.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ผู้แทนเทศบาล”

ก.ประธานสภาเทศบาล

ข.นายกเทศมนตรี

ค.ผู้แทนพนักงานเทศบาล

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 23 เทศบาลที่อยู่ในเขตจังหวัดหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ร่วมกันคณะหนึ่งทำหน้าที่บริหารงานบุคคลสำหรับเทศบาลทุกแห่งที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น ประกอบ ด้วย

(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

(2) หัวหน้าส่วนราชการประจำนวนห้าคนจากส่วนราชการในจังหวัดนั้น ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดว่าเป็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ผู้ว่าราชการจังหวัดจะประกาศเปลี่ยนแปลงการกำหนดส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อใดก็ได้

(3) ผู้แทนเทศบาลจำนวนหกคน ดังนี้

ก.ประธานสภาเทศบาล ซึ่งประธานสภาเทศบาลในเขตจังหวัดนั้นคัดเลือก กันเองจำนวนสองคน

ข.นายกเทศมนตรี ซึ่งนายกเทศมนตรีในเขตจังหวัดนั้นคัดเลือกกันเองจำนวนสองคน

ค.ผู้แทนพนักงานเทศบาล ซึ่งปลัดเทศบาลในเขตจังหวัดนั้นคัดเลือกกันเอง จำนวนสองคน

(4) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหาร และ การจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลของเทศบาล

28.ในการคัดเลือกประธานสภาเทศบาล นายกเทศมนตรี และผู้แทนพนักงาน เทศบาล ให้ใครมีหน้าที่ดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือก

ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด

ข.หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัด

ค.ผู้แทนเทศบาล

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ก.

29.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การบริหารงานบุคคลในเทศบาล”

ก.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลคนหนึ่งในจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการพนักงานเทศบาล

ข.วิธีการคัดเลือกผู้แทนเทศบาลและผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกำหนด

ค.ให้อธิบดีกรมการปกครองแต่งตั้งข้าราชการในกรมการปกครองคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่ารองอธิบดีเป็นเลขานุการคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

30.ใครมีหน้าที่จัดให้มีการคัดเลือกประธานสภาองค์การบริหาร ส่วนตำบล ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด

ข.หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัด

ค.ผู้แทนเทศบาล

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ก.

31.กรรมการผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งคัดเลือกจากใคร

ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด

ข.หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัด

ค.ผู้แทนเทศบาล

ง. ปลัดองค์การบริหาร

ตอบ ง.

32.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนตำบล”

ก.การคัดเลือกผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลและผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลกำหนด

ข.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบลคนหนึ่งในจังหวัด เป็นเลขานุการคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล

ค.ให้อธิบดีกรมการปกครองแต่งตั้งข้าราชการในกรมการปกครองคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่ารองอธิบดีเป็นเลขานุการคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

33.เมืองพัทยาให้มีคณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานเมืองพัทยา ข้อความขั้นต้น ใครเป็นประธาน

ก.ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี

ข.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ค.ผู้ว่าราชการเมืองพัทยา

ง.นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ตอบ ก.

34.มีหน้าที่ดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือกพนักงานเมือง พัทยา เป็นผู้แทนพนักงานเมืองพัทยา

ก.ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี

ข.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ค.ผู้ว่าราชการเมืองพัทยา

ง.นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ตอบ ก.

35.ในการคัดเลือกประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นให้กรรมการ เสนอรายชื่อบุคคลจำนวนฝ่ายละกี่คน

ก. หนึ่งคน

ข.สองคน

ค.สามคน

ง.สี่คน

ตอบ ค.

36.จากข้อ 35.บุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อต้องเป็นผู้ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในด้านใด

ก.ด้านการบริหารงานบุคคล

ข.ด้านระบบราชการ

ค.ด้านการบริหารและ การจัดการหรือด้านกฎหมาย

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

37.ในกรณีที่ได้รายชื่อบุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้ว ให้ใครประกาศแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น

ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย

ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหน

ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด

ตอบ ข.

38.ให้ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

ก. สองปี

ข. สามปี

ค. สี่ปี

ง. หกปี

ตอบ ง.

39.ข้อใดคือ “อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น”

ก.กำหนดมาตรฐานกลางและแนวทางในการรักษาระบบคุณธรรมเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคล

ข.กำหนดแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

ค.ส่งเสริมให้มีการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 33 ให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) กำหนดมาตรฐานกลางและแนวทางในการรักษาระบบคุณธรรมเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตำแหน่งของพนักงาน ส่วนท้องถิ่น รวมตลอดถึงการกำหนดโครงสร้างอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นให้มี สัดส่วนที่เหมาะสมแก่รายได้และการพัฒนาท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ทั้งนี้การกำหนดมาตรฐานกลางและแนวทางจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลโดยเฉพาะเจาะจงที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถ บริหารงานบุคคลตามความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้

(2) กำหนดแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการ กระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น

(3) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกตามมาตรา 16 วรรคสาม มาตรา 24 วรรคสาม และมาตรา 26 วรรคสาม

(4) ส่งเสริมให้มีการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น

(5) ให้คำปรึกษาแนะนำและพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(6) ประสานงานกับคณะรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ คณะกรรมการ กลาง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมให้การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ

(7) ปฏิบัติการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

40.ในการจ่ายเงินเดือน ประโยชน์ตอบแทนอื่น และเงินค่าจ้างของ ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้าง ที่นำมาจากเงินรายได้ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนและ เงินกู้หรือเงินอื่นใดนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งจะกำหนดสูงกว่าร้อยละเท่าไหร่ของเงิน งบประมาณรายจ่ายประจำปี

ก.ร้อยละสามสิบ

ข.ร้อยละสี่สิบ

ค.ร้อยละห้าสิบ

ง.ร้อยละหกสิบ

ตอบ ข.

41.ข้อใดคือหน้าที่ความรับผิดชอบของ “คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย

ก.ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ

ข.ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ ส่วนท้องถิ่น

ค.จัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรม รวมทั้งการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 36 ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่รับผิดชอบงานในราชการ ของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น

(2) ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการ มาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

(3) ประสานงาน ติดตาม และประเมินผลการบริหารงานบุคคลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น

(4) ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ ส่วนท้องถิ่น

(5) จัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรม รวมทั้งการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

(6) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ผลงาน และอุปสรรคในการปฏิบัติ หน้าที่และในการดำเนินงานของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น และ สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

(7) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วน ท้องถิ่นมอบหมาย

42.ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นดำรงตำแหน่งได้กี่วาระ

ก.หนึ่งวาระ (วาระเดียว)

ข.สองวาระ

ค.สามวาระ

ง.สี่วาระ

ตอบ ก.

43.ข้อใดคือการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

ก. เป็นบุคคลล้มละลาย

ข.เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

ค.ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.

อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 32 ให้ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละหกปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(1) ตาย

(2) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้ออก โดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีเนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่อง หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่

(4) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 31 วรรคสอง

(5) เป็นบุคคลล้มละลาย

(6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

(7) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

44.ใครเป็น เป็นเลขานุการคณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยา

ก.คณะกรรมการเมืองพัทยา

ข.ปลัดเมืองพัทยา

ค.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเมืองพัทยา

ง.พนักงานเมืองพัทยา

ตอบ ก.

45.การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามข้อใด

ก.กฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

ข.กฎหมายว่าด้วย การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ค.กฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ง.กฎหมายว่าด้วย การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนตำบล

ตอบ ค.

แนวข้อสอบท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 711020เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2022 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ธันวาคม 2022 08:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท