PTOT220 ทักษะการรับฟังเพื่อการบำบัด


สิ่งที่เราจะเตรียมความพร้อมก่อนการให้คำปรึกษาเพื่อนคืออะไร 

        ใจและความรู้สึกของตัวเองพร้อมที่จะรับฟังปัญหานั้นหรือไม่ มีอารมณ์ที่มั่นคง ไม่ตัดสินใจปัญหาแทนเพื่อน

  • จะใช้เทคนิคใดบ้างที่เคยเรียนรู้มา 

        1. 7 types listening skill ในหัวข้อ empathetic(therapeutic) คือ การรับฟังอยากเห็นอกเห็นใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา(หูตาใจรับฟัง) และอยากที่จะช่วยเหลือ

       2. สื่อสารเชิงบำบัด เรื่องการใช้คำพูด เพราะคำพูดเป็นสิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่มีผลต่อจิตใจ ดังนั้น เราควรไตร่ตรองเรื่องการใช้คำพูดอย่างละเอียดอ่อนเพื่อไม่ให้เพื่อนรู้สึกแย่หรือคิดลบมากกว่าเดิม เช่น ไม่ได้ ไม่รู้ อย่าทำ แต่ = 👍 เปลี่ยนเป็น ได้สิ ลองทำดู = 👍

  • จะมีกระบวนการอย่างไรที่เราช่วยเพื่อนให้มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจได้ทักษะแก้ไขปัญหาชีวิตได้อย่างยั่งยืน ถ้าเราเป็นตัวกระตุ้นให้เพื่อนเครียดเพราะเพื่อนคิดว่าเราเรียนเก่งกว่า แต่เพื่อนต้องการให้เราช่วยจัดการความกังวลทางการเงิน

        meta model เป็นการตั้งคำถามให้เพื่อนไปเรื่อยๆจนเพื่อนสามารถหาคำตอบหรือวิธีแนวทางในการจัดการกับปัญหานั้นได้ด้วยตนเอง เพราะตัวเองรู้เรื่องของตัวเองดีที่สุด และแน่นอนว่าทุกคนมีความเก่งเป็นของตัวเอง เพียงแต่เราเลือกที่จะยอมรับและเห็นคุณค่าในความสามารถของตัวเราเองหรือไม่ เราคงไปเปลี่ยนความคิดเพื่อนไม่ได้ แต่อย่างน้อยเราสามารถแสดงความจริงใจกับเพื่อน อาจเป็นการใช้ภาษาทางตา ภาษาทางการสัมผัส(hand to hand/hand under hand) ภาษาเสียง และช่วยเหลือเท่าที่ทำได้ 

 

2.  ในวิชานี้ เราได้ฝึกอะไรไปบ้าง และคิดว่าเทคนิคใดที่ทำให้เราได้เกิดทักษะการรับฟังได้ดีขึ้นมากที่สุดในสามอันดับแรก แล้วเราสังเกตเห็นการพัฒนาตนเองในการฟังชนิดใดที่ดีขึ้น และดีขึ้นอย่างไรบ้าง

  1. สุจิปุลิ การเป็นผู้ฟังที่ดี โดย สุ คือ ตั้งใจฟัง, จิ คือ คิดตาม, ปุ คือ ตั้งคำถาม, ลิ คือ ผลของการฟัง(คำตอบ)
  2. คลื่นแสงที่มีผลต่ออารมณ์ ❤️🧡💜 = เครียด 💚💛= อารมณ์ดี 💙 = สื่อได้ทั้งบวกและลบ
  3. Reframe สื่อสารเชิงบำบัด เปลี่ยนคำพูด คิดลบ reframeทันที
  4. หูขวา=อารมณ์ หูซ้าย=ความคิด
  5. การใช้ word tone body
  6. NVC (non verbal communication)
  7. Meta model
  • ทักษะการรับฟังสามอันดับแรก
  1. การใช้หูตาใจรับฟัง
  2. NVC
  3. หูขวา=อารมณ์ หูซ้าย=ความคิด
  • การพัฒนาตนเองในการฟัง

   เมื่อก่อนเวลาเราตั้งใจฟังใครสักคน มีบางครั้งที่เลือกแค่จะฟัง แต่ไม่สนใจและไม่มีความรู้สึกร่วมด้วย แต่เมื่อได้เรียนวิชานี้ทำให้เข้าใจและเรียนรู้ว่าจริงๆแล้วการฟังเป็นอีกทักษะที่เราควรให้ความใส่ใจและเห็นคุณค่ามากกว่านี้ ใช้หูตาใจฟัง ค่อยๆพัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ รวมถึงการสื่อสารแบบ non verbal ที่สามารถสื่อถึงเจตนา การแสดงออกโดยธรรมชาติที่คนอื่นสัมผัสได้โดยที่เราไม่ได้พูดอะไรเลย

 

 

นางสาวพราวพัชระ บริสุทธิ์ธนกุล 6423007

 

คำสำคัญ (Tags): #ทักษะการฟัง
หมายเลขบันทึก: 710756เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2022 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2022 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท