ประสบการณ์การเรียนในรายวิชาการรับฟังเพื่อการบำบัด


ถ้าเราเป็นตัวกระตุ้นให้เพื่อนเครียดเพราะเพื่อนคิดว่าเราเรียนเก่งกว่า แต่เพื่อนต้องการให้เราช่วยจัดการความกังวลทางการเงิน เราจะทำอย่างไร?

สิ่งที่เราจะเตรียมความพร้อมก่อนการให้คำปรึกษาเพื่อนคืออะไร 

สิ่งที่ต้องเตรียม คือ ใจของเราต้องมีความต้องการรับฟังเพื่อน  หูของเราที่ตั้งใจฟังเสียงของเพื่อน และสมองที่จดจำและสะท้อนความรู้สึกของเพื่อนออกมา และสุดท้ายคือเตรียมความรู้สึกของเราที่ต้องเข้มแข็งแต่มีความเอาใจใส่เพื่อน เข้าใจสิ่งแวดล้อมและบริบทของตัวเพื่อนเอง

 

จะใช้เทคนิคใดบ้างที่เคยเรียนรู้มา

  • เทคนิค 7 types of listening skill โดยเฉพาะในเรื่องของ Empathetic (Therapeutic) รวมไปถึงการใช้ลักษณะการใช้เสียงที่เหมาะสมกับอารมณ์ของเพื่อน
  • เทคนิค HURRIER ในการคิดอย่างเป็นระบบในการเข้าใจเพื่อนและสะท้อนความรู้สึกได้

 

จะมีกระบวนการอย่างไรที่เราช่วยเพื่อนให้มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจได้ และมีทักษะแก้ไขปัญหาชีวิตได้อย่างยั่งยืน

กระบวนการ Practical solution เพื่อให้เพื่อนรู้สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและหาทางแก้ไขร่วมกัน ดังที่พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจสี่ช่วยให้พ้นทุกข์ได้นั่นเอง และกระบวนการใช้เทคนิค สุจิปุลิ เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพและนำไปแก้ไขทักษะปัญหาชีวิตได้ เช่น หากเพื่อนมีปัญหาด้านการเงิน เพื่อนต้องรู้ก่อนว่าการที่เกิดปัญหานั้นมาจากสาเหตุอะไร และแก้ไขที่ต้นเหตุได้ รวมถึงอาจจะใช้เทคนิคเปลี่ยนแปลงตนเองภายใน 21 วันเพื่อสร้างนิสัยทางการเงินที่ดี

 

สิ่งที่ได้จากการเรียนรายวิชาการรับฟังเพื่อการบำบัด

ได้เรียนรู้และฝึกการฟังอย่างไม่คิดแทนคนอื่น เรียนรู้การใช้น้ำเสียง ท่าทาง อารมณ์เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกสบายใจเมื่อได้มาปรึกษากับเรา ผ่อนคลายอารมณ์ ความเครียดต่างๆ เรียนรู้การใช้คำพูดเชิงบำบัดและระมัดระวังความคิดและคำพูดของตนเองมากขึ้น สุดท้าย คือ เทคนิคต่างๆและประสบการณ์ดีๆในบรรยากาศน่าเรียนรู้ที่ช่วยให้เราได้พัฒนาการฟังมากขึ้นในตลอดเวลาที่เรียน

 

เทคนิคใดที่ทำให้เราได้เกิดทักษะการรับฟังได้ดีขึ้นมากที่สุดในสามอันดับแรก 

  1. เทคนิคสุจิปุลิ:    ทำให้เราเข้าใจคนอื่นและรู้ถึงสาเหตุ ความต้องการ อารมณ์ของผู้พูดได้
  2. เทคนิคการฟังด้วยใจ ใช้หูตาใจ รับฟัง:    ได้เอาใจเขามาใส่ใจเรา จับอารมณ์บวกร่วมกันและคิดอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา
  3. เทคนิค HURRIER:   ได้คิดอย่างเป็นระบบเมื่อได้เกิดการฟังและได้สะท้อนหรือตอบรับความรู้สึกของผู้พูดออกไป

 

การพัฒนาตนเองในการฟังที่ดีขึ้น

ส่วนตัวมองว่าการฟังชนิด Biased and Sympathetic Listening skills ดีมากขึ้น เนื่องจากเราได้รับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลายมาก ส่งผลให้เรารู้สึกว่าการที่เราไม่เลือกรับฟังอะไรบางอย่างมันจะส่งผลเสียต่อเราในอนาคตและการจับอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่นให้เป็นจะช่วยให้เราเข้าใจคนอื่นได้มากขึ้น และจากการเรียนในรายวิชานี้เราก็ได้เรียรู้เทคนิคในการตั้งใจฟังอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้มีทักษะที่ดีขึ้น

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์ผู้สอนทุกท่านและเพื่อนในคลาสทุกๆคนที่คอยทำให้ชั้นเรียนของเรากลายเป็นวันศุกร์ตอนเช้าที่ผ่อนคลายและเรียนรู้ไปพร้อมๆกันนะคะ

นางสาวบุญรดา นาคพยนต์ รหัส 6423022

นักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 2 

หมายเลขบันทึก: 710755เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2022 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2022 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท