วิถีชีวิตชนบท​ ในประเทศลาว


*"วิถีชีวิตชนบท​ ในประเทศลาว"

แบ่งปันน้ำใจสู่เมืองลาว EP40:บ้านเผ่าขมุ ตำข้าวครกมอง วิถีชีวิตดั้งเดิม  ไม่มีห้องน้ำขี้เยี่ยวในป่า - YouTube

  *ประชากรและชาวลาวในแต่ละท้องถิ่นของประเทศลาว
     -ประเทศลาวมีประชากรอยู่ประมาณ ๖.๔ ล้านคนซึ่งประกอบด้วยชนชาติต่างๆที่มีมากถึง ๖๘ ชาติพันธุ์ ซึ่งแต่ละชาติพันธุ์จะมีภาษาพูดและวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกันไปบ้างบางส่วน แต่ก็มีการใช้ภาษาลาวเป็นภาษากลาง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ๆตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้
    -๑. ลาวลุ่ม หมายถึง ชนชาติลาวที่อาศัยอยู่ที่ราบลุ่ม ได้แก่  ภูไท ไทเหนือ ไทดำ ไทขาว ไทแดง ไทพวน ไทลื้อ ฯลฯ  โดยมีประมาณร้อยละ ๖๘ ของประชากรทั้งหมด ลาวลุ่มส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ และมีการใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลไท โดยส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำนา ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ และจะอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ
    -๒. ลาวเทิง หมายถึง ชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูงประกอบด้วย ขมุ ข่า แจะ ละแนด สีดา ผู้เทิงไฟ เขลา ปันลุ แซ กะแสง ส่วย ตะโอย ละแว ละเวน อาลัก กะตาง เทิงน้ำ เทิงบก เทิงโคก อินทรี ยาเหียน กายัก ชะนุ ตาเลี่ยง ละแง  ฯลฯ โดยมีประมาณร้อยละ ๒๒ ของประชากรลาวทั้งหมด โดยมีการใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมร และโดยส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำไร่และเลี้ยงสัตว์ และมีประชากรอาศัยอยู่ทางใต้ของประเทศ
    -๓. ลาวสูง หมายถึง ชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง ประกอบด้วยชนเผ่าม้งและอื่นๆ เช่น ม้งลาย ม้งขาว ม้งดำ เย้า โซโล ฮ้อ รุนี มูเซอ ผู้น้อย กุย ก่อ แลนแตน  ฯลฯ โดยมีประมาณร้อยละ ๙ ของประชากรลาวทั้งประเทศ และมีการใช้ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต และส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำไร่ หาของป่าและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสุกรและม้า และจะมีการอาศัยอยู่ในเขตของภาคเหนือของประเทศ
    -นอกจากนี้ยังมีชาวลาวเชื้อสายเวียดนามและเชื้อสายจีน รวมทั้งชาวต่างชาติอื่นๆที่อาศัยอยู่ในประเทศลาวอีกประมาณร้อยละ ๔  ของประชากรทั้งหมดในประเทศ

 *ภาษาประจำชาติของประเทศลาว และการนับเลข
    -ภาษาประจำชาติของประเทศลาว คือ ภาษาลาว โดยใช้ตัวอักษรลาวที่มีพัฒนาการมาจากอักษรไทน้อยหรือลาวโบราณซึ่งประกอบด้วย

    -พยัญชนะ ๓๓  รูป  ๒๑ เสียง และสระ ๒๘ รูป  ๒๗ เสียง  

    -ระบบการเขียนในภาษาลาวจะเริ่มเขียนจากซ้ายไปขวา ไม่ค่อยมีความซับซ้อน จึงทำให้เข้าใจได้ง่าย แม้ว่าภาษาลาวจะเป็นภาษาประจำชาติ แต่ก็มีการใช้ภาษาไทย อังกฤษ และฝรั่งเศสกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงการประกอบธุรกิจการค้าและนอกจากภาษาที่ใช้แล้วยังมีการนับเลข การนับเลขของประเทศลาวจะมีการนับเหมือนประเทศไทย 

   -แต่จำนวน ๒๐ ของประเทศลาวจะอ่านออกเสียงว่า “ซาว” ซึ่งเหมือนกับภาษาถิ่นเหนือของประเทศไทย และ"ตัวเลขหนึ่งพันล้าน"จะอ่านออกเสียงว่า “ตื้อ” ซึ่งหมายความว่า “พันล้าน”

*การนับถือศาสนาของชาวลาว
   -ชาวลาวประมาณร้อยละ ๗๕ ของประชากรลาวทั้งหมดในประเทศจะมีการนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติลาว 

  -และมีส่วนน้อยแถบภูเขาสูงประมาณร้อยละ ๑๖-๑๗ ที่นับถือผี ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมตามแต่ละท้องถิ่น ส่วนที่เหลือจะมีการนับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม ถึงแม้รัฐบาลลาวจะให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่พุทธศาสนาแบบเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือกันก็เป็นเสมือนแบบแผนแห่งวัฒนธรรมลาว ทั้งในด้านภาษา  ศิลปะ  วรรณคดี  รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน

(สถาปัตยกรรมในประเทศลาว)

  -สถาปัตยกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับศาสนาอีกด้วย สถาปัตยกรรมของประเทศลาวจะสะท้อนถึงประวัติศาสตร์จากการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และมีการผสมผสานกับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของประเทศไทยและเขมร  สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนา คือ “พระธาตุหลวง” เป็นศาสนสนสถานที่สำคัญและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวลาวซึ่งตั้งอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติดังปรากฏเป็นภาพประธานในตราแผ่นดินสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าฐาธิราช เป็นเจดีย์ที่โดดเด่นที่สุดในล้านช้างซึ่งเรียกอีกชื่อหนี่งว่า “เจดีย์โลกะจุฬามณี”  องค์พระธาตุสูง ๔๕ เมตร ลักษณะคล้ายดอกบัวตูม อันหมายถึง สัญลักษณ์แห่งคำสอนของพระพุทธเจ้า

  -สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส คือ หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสามเสนไทย แขวงเวียงจันทน์ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล ใช้เป็นสถานที่จัดงานด้านศิลปะการแสดงและงานสำคัญของทางการลาว

 


( หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว )

   -วรรณคดีของประเทศลาวที่สำคัญ คือ พระรามชาดก เป็นวรรณคดีลาวซึ่งมีการแต่งแบบ หนังสือเทศน์ เมื่อราว พ.ศ. ๒๓๙๓ ( ตรงกับรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ) โครงเรื่องหลักตรงกับ รามเกียรติ์ ส่วนรายละเอียดก็มีผิดเพี้ยนไปบ้างตามผู้แต่งสร้างสรรค์ขึ้นเองจากจินตนาการ เรื่องเล่า หรือนิทานท้องถิ่น ซึ่งทำได้อย่างกลมกลืน โดยได้รับจากฉากในอินเดียใต้ให้เป็นท้องถิ่นลาว ชื่อตัวละครจนถึงภูมิประเทศ แทนที่จะเป็นชมพูทวีป ( อินเดีย ) ก็กลายมาเป็นของสองฝั่งโขงแทน

*วิถีชีวิตชนบท​ ในประเทศลาว

คำสำคัญ (Tags): #"สปป. ลาว"
หมายเลขบันทึก: 710599เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2022 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2022 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท