ถอดบทเรียนเรื่อง Happy Workplace & Nutrition


1.ถอดบทเรียนจากอาจารย์พิเศษ

1.1 Happy work place

Naive Practice

  • Recall ความรู้ที่มีอยู่ คือ Happy workplace คือการที่คนอยู่กับองค์กรอย่างมีความสุข เมื่อมีความสุขก็ส่งผลให้มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนโดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ให้องค์กรมีความพร้อมที่จะพัฒนาต่ออย่างยั่งยืน ซึ่งหัวใจหลักสำคัญของ Happy workplace คือตัวบุคคล
  • Recap ความรู้ใหม่ที่ได้รับ คือ
  1. MPS model โดยแบ่งเป็น M(Meaning) - การให้คุณค่า, P(Pleasure) - สิ่งที่สร้างความสนุก, S(Strength) - จุดแข็ง นำมาทำเป็นภาพวงกลมสามวงกลมซ้อนกันหรือแผนภาพเวนน์ ออยเลอร์ ซึ่งจุดตัดตรงกลางของทั้ง3วงกลมก็คือความสุข
  2. วงล้อชีวิต(Wheel of life) ประกอบไปด้วย Work, Salary, Self development, Relationship, Health, Spirit, Sharing ซึ่งมีส่วนช่วยในการบาลานซ์ชีวิตให้ไม่ให้สำคัญกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป และสิ่งไหนควรจะตระหนักให้มากขึ้น
  3. Happiness pain point หรือจุดที่ทำให้ความสุขของเราเจ็บปวด  หมายถึงจุดที่ไม่ชอบ ไม่สบายใจที่จะทำ เป็นสิ่งที่ทำให้การทำสิ่งต่างๆในชีวิตยากขึ้น ซึ่งก็จะมีวิธีแก้ไข pain piont ตามองค์ประกอบนี้คือ 1. Past 2. Action 3. Important 4. No(failure)
  4. การยกตัวอย่างคลิปบริษัทแม่น้ำ ทำให้เห็นถึงHappy workplace ชัดเจนมากขึ้น เห็นถึงความสุขของคนที่ทำงาน ความสุขของเพื่อนร่วมงาน การสนับสนุนกันและการให้เกียรติกันของคนในองค์กร

 

Purposeful Practice

  • spotlight ชอบทักษะการสอนที่เป็น Self-experienced Teaching  คือการที่ใช้ประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านมากับการอยู่ในworkplace สอนนักศึกษาให้เห็นภาพ
  • Explain ให้ความคิดบวกเรื่อง การเผชิญโลกการทำงานอย่างไรให้มีไม่ทุกข์และให้ราบรื่นไปพร้อมๆกับเรื่องอื่นของชีวิต
  • Appreciation ขอบคุณที่ทำให้รู้ถึงวิธีการควบคุมสิ่งต่างๆมากมายในชีวิตให้สมดุลและมีความสุข


 

Deliberate Practice(D.E.S.C)

  • Describe สิ่งที่ไม่เข้าใจคือการเปลี่ยนแปลงระดับองค์กร ส่งผลให้คนทำงานซึ่งเป็นส่วนเล็กขององค์กรเกิด happy workplace ได้อย่างไร
  • Express สาเหตุที่ทำให้ไม่เข้าใจเพราะการเปลี่ยนแปลงที่อาจารย์นำเสนอในชั้นเรียนเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับองค์กร ไม่ใช่บุคคนที่ทำงานซึ่งเป็นส่วนเล็กขององค์กร
  • Specify ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจาก https://happy8workplace.thaihealth.or.th/about/what-is-it  ทำให้รู้ว่าองค์กรเน้นการจัดการ “คน” เป็นหลัก โดยใช้ความสุขพื้นฐานแปดประการ (Happy 8) เป็นแนวทางในการบริหารจัดการชีวิตคนในองค์กรให้มีความสุขอย่างยั่งยืน(Lasting happiness)
  • Consequence สะท้อนความรู้ความเข้าใจแบบ How to Upskill 21 วัน จากการค้นคว้าเอกสารอ้างอิงเพื่อที่อนาคตจะได้นำมาประยุกต์ใช้ happy workplace ให้กลายเป็น happy university ของตนเองได้

 

1.2 Nutrition

Naive practice

  • Recall  ความรู้ที่มีอยู่ คือ ถ้าเรามี nutrition ที่ดี จะทำให้การทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตดีตาม ซึ่งการที่เราจะมี nutrition ที่ดีได้นั้น เราควรที่จะรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสมตามช่วงวัย การเลือกรับประทานที่ดี ก็จะส่งผลให้สุขภาพกายดี ยิ่งไปกว่านั้นก็จะทำให้สุขภาพใจดีขึ้นด้วย
  • Recap ความรู้ใหม่ที่ได้รับ คือ การที่จะพัฒนาให้คนในชุมชนมี nutrition ที่ดีได้ อาจจะไม่ใช่แค่การไปประกาศหรือให้ความรู้ตามสถานที่ต่างๆ แต่ต้องเป็นการแซกซึมตนเองลงไปกับวัฒนธรรม ความเชื่อตามที่นั้นๆด้วย เช่นตัวอย่างคลิป “Iron Fish” ที่นักโภชการต้องการที่จะเสริมธาตุเหล็กให้แก่คนในพื้นที่ซึ่งคนในพื้นที่เชื่อว่าปลาคือสัญลักษณ์แห่งความโชคดี นักโภชนาการจึงได้ประยุกต์นำเหล็กไปดัดแปลงเป็นรูปปลาตามแม่น้ำ แล้วให้ผู้คนนำเอาปลาไปต้มเสมือนปลาจริง ตามวัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ซึ่งส่งผลดีให้คนในชุมชนมีธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น แล้วคนที่นำปลาไปต้มก็หวังว่าจะได้โชคดี รวมไปถึงความรู้เรื่องการทำโครงการโภชนาการกับกลุ่มคนตะเข็บชายแดนของอาจารย์พิเศษ ที่ได้พูดถึงจุดเริ่มต้นของการทำโครงการนี้ สิ่งที่คนชายขอบจะได้รับจากนักโภชนาการซึ่งคือโภชนาการที่ดีขึ้น สุขภาพดีขึ้น รวมถึงความท้าทาย และผลลัพธ์ของโครงการ

 

Purposeful Practice

  • Spotlight ชอบรูปแบบการสอนที่สลับไปมา 3 คน และชอบการเล่าเรื่องโครงการที่อาจารย์ทำ
  • Explain ให้ความคิดบวกเรื่องการทำโครงการที่มีการลงชุมชนคนชายขอบ
  • Appreciation ขอบคุณที่ทำให้รู้ว่าการทำโครงการหนึ่งโครงการไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ต้องใช้ความมุ่งมั่นความพยายามอย่างมาก นอกจากนี้ยังขอบคุณที่แสดงให้เห็นถึงการเห็นประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง ไม่หวังผลตอบแทน เห็นว่าสิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และควรค่าที่จะทำ

 

Deliberate Practice(D.E.S.C)

  • Describe ไม่เข้าใจและสงสัยว่านักโภชนาการมีส่วนช่วยต่อผู้คนชายขอบอย่างไรบ้าง
  • Express เพราะอาจารย์สอนแบบเป็นภาพรวมของโครงการ กล่าวถึงจุดเริ่มต้น สิ่งที่คนชายขอบจะได้รับจากนักโภชนาการซึ่งคือโภชนาการที่ดีขึ้น สุขภาพดีขึ้น รวมถึงความท้าทาย และผลลัพธ์ของโครงการ ซึ่งไม่ได้แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดการช่วยเหลือที่ชัดเจน
  • Specify ศึกษาเพิ่มเติมจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/download/241295/165687/855167 เพื่อให้เห็นรายละเอียดการทำงานของนักโภชนาการต่อผู้คนชายขอบมากขึ้น

Consequence สะท้อนความรู้ความเข้าใจแบบ How to upskill 21 วัน ด้วยการหาข้อมูลอ้างอิง ค้นคว้าเอกสารเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้รู้เรื่องการทำงานของนักโภชนาการมากขึ้น

 

2.การปรับใช้ Happy workplace กับ Nutrition ให้มีความเชื่อมโยงกับโครงการ

          เริ่มด้วยจากตัวโครงการ โดยโครงการกลุ่มของพวกเราเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยสื่อดิจิทัลและกิจกรรมบำบัดในเด็กปฐมวัย ดังนั้นการมี Happy workplace จะช่วยเสริมในเรื่องของการทำกิจกรรมของเด็กร่วมกับผู้ใหญ่ จะทำอย่างไรให้ช่วงที่ทำกิจกรรมร่วมกัน เกิดความสุขและ quality time ที่ดี ในส่วนของเรื่อง Nutrition นั้นเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญกับตัวโครงการมาก เพราะโครงการเจาะกลุ่มเป้าหมายไปที่เด็ก 3-5 ปี ซึ่งเด็กจะเกิดความสุขหรือ quality time ในการทำกิจกรรมการฝึกษะสื่อสารไม่ได้เลยหากขาดโภชการที่ดี เด็กควรที่จะได้รับสารอาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัย ปฏิบัติตามเกณฑ์ธงโภชนาการ กินอาหารให้ครบ5หมู่ เพื่อการเจริญเติบโตที่ดี เพื่อที่ว่าเด็กจะได้มีความสุขและพร้อมที่จะทำกิจกรรมกับครอบครัวอย่างเต็มที่ต่อไป

 

Technics for addressing risk

  • Avoid - หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลที่ผิดผ่านสื่อหรือแพลทฟอร์มต่างๆ, หากในอนาคต โครงการได้มีโอกาสต่อยอด ควรหลีกเลี่ยงการมองข้ามปัญหาเมื่อมีผู้ปกครองสอบถามหรือต้องการความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารของลูก
  • Modify - ปรับเปลี่ยนและพัฒนาโครงการให้มีความเข้าถึงง่ายขึ้น สามารถเข้าถึงได้ทุกช่วงวัย
  • Transfer -  ช่วยส่งเสริม ส่งต่อความรู้ และจุดประสงค์ของโครงการแก่ผู้ปกครองทั่วไปอย่างเหมาะสม
  • Retain - นำเสนอความรู้และทำการส่งเสริมผ่านเว็บเพจอย่างสม่ำเสมอ
  • Exploit - ผู้คนสามารถที่จะเข้าถึงสื่อที่นำเสนอออกไปได้
หมายเลขบันทึก: 710351เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2022 17:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2022 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท