มหาราช ของชาติลาว


*มหาราชของชาติลาว

-พระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช
-สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชมหาราช
-พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชมหาราช
-สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 5 มหาราช (เจ้าอนุวงศ์)

0000000000000000

*พระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช

Fa Ngum-Vtne1.JPG

   -พระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช (ลาว: ພະເຈົ້າຟ້າງຸ່ມມະຫາລາດ) หรือ สมเด็จพระเจ้าฟ้าหล้าธรณีศรีสัตนาคณหุตมหาราช เอกสารประวัติศาสตร์บ้างออกพระนามเจ้าฟ้างุ่ม เจ้าฝ้างู่ม พระยาฟ้างุ้ม ท้าวฟ้างุ้ม พระยาฟ้า พญาท้าวฟ้างอม เป็นต้น ปฐมมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างและมหากษัตริย์นครเชียงดงเชียงทองหรือเมืองเซ่า (ซวา) องค์ที่ 27 (ครองราชย์ พ.ศ. 1859-1936) ผู้รวบรวมแผ่นดินลาวสองฝั่งโขงให้เป็นปึกแผ่น สืบเชื้อสายจากราชวงศ์ขุนบรมราชาธิราชแห่งนครแถน

  -พระเจ้าฟ้างุ้มได้รับการยกย่องเป็นมหาราชองค์แรกในสมัยล้านช้างของลาว เป็นพระราชโอรสท้าวผีฟ้า และพระราชนัดดาพระยาสุวรรณคำผงกษัตริย์แห่งนครเชียงดงเชียงทอง พระเจ้าศรีสุริโยวงษ์พระยาสุวรรณคำผงกษัตริย์แห่งนครเชียงดงเชียงทอง พระเจ้าศรีสุริโยวงษ์หรือพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์กรุงอินทปัตถ์ (พระนครหลวง) ในอาณาจักรขอมยกพระนางแก้วเก็งยา (แก้วกันยา) ให้เป็นพระอัครมเหสี ทรงบทบาทสำคัญในการอัญเชิญพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แบบอินทปัตถนครหรือแบบกัมพูชาสมัยพระนคร มาเผยแผ่ในราชอาณาจักรล้านช้าง 

  -ทรงขยายอิทธิพลเหนือดินแดนต่าง ๆ คือ ล้านนา อยุธยา (ล้านเพีย) สิบสองพันนา สิบสองจุไท เชียงตุง ศรีโคตรบูร ไดเวียด และจามปา ให้ยอมอ่อนน้อมและส่งราชบรรณาการพร้อมพระราชธิดามาถวาย ล้านช้างในรัชสมัยของพระองค์ได้แผ่แสนยานุภาพเหนือแว้นแคว้นต่าง ๆ ในอุษาคเนย์ ถือเป็นยุคยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรวรรดิหรืออาณาจักรล้านช้าง


*สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช

King Sayasethathirath

 “สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช” .พระอุปภัยพุทธบวรไชยเชษฐาธิราช หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช (ลาว: ໄຊເສດຖາ, ເສດຖາທິຣາດ; คำเมือง: LN-King Chaichettha.png

  -ถือเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชาติลาว ทรงเป็นผู้นำแห่งอาณาจักรล้านช้าง ผู้สถาปนากรุงเวียงจันทน์ให้เป็นศูนย์กลางอารยธรรม และเป็นศูนย์รวมศิลปะวัฒนธรรมต่าง ๆ ของอาณาจักรล้านช้างเข้าไว้ด้วยกัน ประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระองค์เป็นพระญาติหรือพระนัดดาในพระนางจิรประภาเทวีพระมหากษัตรีย์แห่งอาณาจักรล้านนา

 ได้รับแต่งตั้งเป็นกษัตริย์องค์แรกในยุคล้านช้างตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าซึ่งได้รับการสนับสนุนและแต่งตั้งจากบุเรงนอง)เป็นสำคัญซึ่งทั้งช่วยเป็นทัพร่วมตีขนาบยึดเมืองหลวงพระบางจากเจ้าท่าเรือและเสนอชื่อให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงดำรงตำแหน่งกษัตริย์ ภายหลังได้รับแต่งตั้ง เมืองหลวงพระบางได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรุงศรีสัตนาคนหุต" พระองค์จึงขึ้นครองราชสมบัติ นับเป็นมหาราชองค์ที่ 2 ของลาว ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระนามว่า "พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช"

 

พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช : กษัตริย์ลาวที่ครองราชย์ยาวนานที่สุด - YouTube

  -พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช หรือเจ้าสุริยะ พระราชโอรสของเจ้าต่อนคำ ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2156 หลังจากที่พระเชษฐาของพระองค์แย่งชิงราชสมบัติกัน นับแต่พระบัณฑิตโพธิศาละราชสวรรคต พระองค์ได้ซ่องสุมกำลังอยู่ในป่าและได้ยกทัพเข้ามาตีเวียงจันทน์ ใน พ.ศ. 2181 และเป็นฝ่ายที่ยึดครองเวียงจันทน์ได้ และขึ้นครองราชย์ขณะที่พระชนม์ได้ 25 ชันษา

   -หลังจากขึ้นครองราชย์ได้ให้เจ้าชมพู พระเชษฐาไปอยู่เมืองเว้ในประเทศเวียดนาม เจ้าบุญชู พระเชษฐาอีกองค์หนึ่งออกผนวชตลอดชีวิต ส่วนพระโอรสของเจ้าไชยที่เป็นพระเชษฐาคือเจ้าปุให้ไปครองเมืองด่านซ้ายและเจ้าสร้อยให้ไปครองเมืองสะพือ พระองค์ครองราชย์สมบัติจนถึง พ.ศ. 2238 เป็นรัชกาลที่ยาวนานและสงบสุขรัชกาลหนึ่ง ในรัชสมัยของพระองค์มีชาวยุโรปเดินทางเข้ามาถึงล้านช้าง ดังที่ปรากฏในบันทึกของเจอร์ราด วาน วูสตอฟ จากประเทศเนเธอร์แลนด์ และบันทึกของบาทหลวงมาร์นี

-สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 5 มหาราช (เจ้าอนุวงศ์)

Histomatters] *** ศึกเจ้าอนุวงศ์ และการเทครัวชาวลาวล้านช้าง ...

   “เจ้าอนุวงศ์” หรือ เจ้าอนุ ( ເຈົ້າອານຸວົງສ໌, ສົມເດັຈພຣະເຈົ້າ​ອະນຸວົງສ໌) พระมหากษัตริย์ราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ลำดับ 5 หรือองค์สุดท้าย (ปกครองราว พ.ศ. 2348-2371)

   - รับการยกย่องเป็นพระมหาวีรกษัตริย์และมหาราชของประเทศลาว ในฐานะผู้พยายามกอบกู้เอกราชจากการเป็นประเทศราชสยาม นักประวัติศาสตร์ลาวและไทยนิยมออกพระนามพระเจ้าไชยเสฏฐาธิราชที่ 3 หรือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 บางกลุ่มตรวจสอบพระนามตามจารึกโดยละเอียดพบว่าทรงเป็นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 5 เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารพระราชบิดาและพระเจ้าอินทวงศ์พระราชเชษฐาได้ออกพระนามว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เช่นกัน

“พระเจ้าอนุวงศ์” กษัตริย์องค์สุดท้าย และมหาราช ของชาวลาว

 

คำสำคัญ (Tags): #"มหาราช"
หมายเลขบันทึก: 710309เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2022 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2022 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท