"ตำนาน นายขนมต้ม"


"ตำนาน นายขนมต้ม"

บรรพบุรุษของมวยไทย --- นายขนมต้ม

    “นายขนมต้ม” เป็นนักมวยคาดเชือกชาวกรุงศรีอยุธยา บ้างก็ว่าไม่มีจริง

      -เรื่องราวของนายขนมต้ม ปรากฏครั้งแรกในพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน โดยกล่าวว่า

     -ฝ่ายพระเจ้าอังวะยังอยู่ ณ เมืองย่างกุ้ง ทำการยกฉัตรยอดพระมหาเจดีย์เกษธาตุสำเรจ์แล้วให้มีการฉลอง 

     -มีขุนนางพม่ากราบทูลว่า "คนมวยเมืองไทมีฝีมือดียิ่งนัก 

     -พระองค์ตรัสสั่งให้จัดหามา ได้นายขนมต้มคนหนึ่ง เป็นมวยดีมีฝีมือแต่ครั้งกรุงเก่า เอาตัวมาถวายพระเจ้าอังวะ 

    -พระเจ้าอังวะจึ่งให้จัดพม่าคนมวยเข้ามาเปรียบกับนายขนมต้มได้กันแล้ว ก็ให้ชกกันหน้าพระธินั่ง 

    -แลนายขนมต้มชกพม่าไม่ทันถึ่งยกก็แพ้ แล้วจัดคนอื่นเข้ามาเปรียบชกอิก นายขนมต้มชกพม่าชกมอญแพ้ถึ่งเก้าคนสิบคนสู้ไม่ได้ 

    -พระเจ้าอังวะทอดพระเนตรยกพระหัตถ์ตบพระอุระตรัสสรรเสรีญฝีมือนายขนมต้มว่า “ไทมีพิษอยู่ทั่วตัว แต่มือเปล่าไม่มีอาวุธเลยยังสู้ได้ คนเดียวชณะถึงเก้าคนสิบคนฉนี้ เพราะจ้าวนายไม่ดีจึ่งเสียบ้านเมืองแก่ข้าศึก ถ้าจ้าวนายดีแล้วไหนเลยจะเสียกรุงศรีอยุทธยา” แล้วพระราชทานรางวัลแก่นายขนมต้มโดยสมควร

   “พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน”

   -ส่วน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา" ที่ชำระในสมัยหลัง และเป็นฉบับที่มีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา ก็ยังคงยึดถือเนื้อหาในพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียนเป็นต้นแบบ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นๆ แล้ว ไม่ปรากฏพบเรื่องราวของนายขนมต้มแต่อย่างใด

   -มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว มีการกล่าวเพียงแค่ พระเจ้ามังระปรดฯ ให้บูรณะและการยกยอดฉัตรพระมหาเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ปิดทองพระเจดีย์เท่าน้ำหนักตัวพระองค์ และสร้างฉัตร 7 ชั้น ทำด้วยทองคำฝังอัญมณี 15,038 เม็ดสำหรับประดิษฐานบนยอดพระเจดีย์ พระเจ้ามังระเสด็จไปยกฉัตรด้วยพระองค์เอง ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือนตะเบางก์ จ.ศ. 1136 (17 มีนาคม พ.ศ. 2317) สอดคล้องกับคำให้การชาวอังวะ ที่กล่าวถึงเพียงการยกฉัตรมหาเจดีย์ชเวดากองใน พ.ศ. 2317 และให้ประหารชีวิตพญาทะละ    -ส่วนพงศาวดารมอญพม่าก็มีเนื้อหาไม่แตกต่างกัน และไม่ปรากฏพบเรื่องราวของนายขนมต้มแต่อย่างใด

   *สิ่งสืบทอด

      -ได้เคยมีการจัดให้วันที่ 17 มีนาคม เป็นวันมวยไทย เพื่อเป็นเกียรติประวัติต่อนักมวยไทย 

      -นอกจากนี้ ชาวพระนครศรีอยุธยาได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์นายขนมต้ม ไว้ที่บริเวณสนามกีฬากลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

   *ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

    -พ.ศ. 2529 คมทวน คันธนู กวีซีไรต์ ได้นำเรื่องราวของนายขนมต้มมาเขียนเป็นนวนิยายเรื่อง นายขนมต้ม คนกล้านอกตำนาน 

    -โดยผูกเรื่องให้นายขนมต้มเกิดที่ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรนายเกิด และนางอี่ มีพี่สาวชื่อนางเอื้อย ทั้งพ่อแม่และพี่ถูกพม่าฆ่าตายหมด ต้องไปอยู่กับหลวงตาคง วัดปีกกาตั้งแต่เล็ก และได้เรียนวิชามวยกับชายนิรนาม"

    -สมรักษ์ คำสิงห์ เคยรับบทเป็นนายขนมต้มในละครโทรทัศน์เรื่องนายขนมต้ม  ซึ่งออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2539

 *ประวัตินายขนมต้ม
   -นายขนมต้ม เกิดวันอังคาร เดือนยี่ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๒๙๓ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่บ้านกุ่ม (ปัจจุบันคือ ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) บิดาชื่อนายเกิด มารดาชื่อนางอี่ มีพี่น้อง คนคือ
    ๑.นางเอื้อย ถูกพม่าฆ่าตายเมื่อเล็กๆ
    ๒.นายขนมต้ม
   -นายขนมต้มต้องอยู่วัดตั้งแต่เล็กๆ อายุประมาณ ๑๐ ขวบ พ่อแม่ถูกพม่าฆ่าตายหมด และเริ่มฝึกวิชามวยไทย ตั้งแต่เริ่มแตกหนุ่ม จนในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่า จึงถูกกวาดต้อนไปเมืองพม่า
   -นายขนมต้มได้สร้างชื่อเสียงให้กับกรุงศรีอยุธยาและชาติไทย โดยอาศัยความสามารถในเชิงหมัดมวย ดังข้อความตอนหนึ่งว่า...
  -ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรามีนักมวยไทย คือ นายขนมต้ม ออกไปแสดงฝีไม้ลายมือถึงเมืองพม่า การชกมวยของนายขนมต้มนั้น ทางวงการมวยของเราได้ถือเป็น"วันนักมวย" คือ วันที่ ๑๗ มีนาคม ในพงศาวดารกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าอังวะโปรดให้ปฏิสังขรณ์และก่อเสริมพระเจดีย์เกศธาตุในเมืองร่างกุ้งเป็นการใหญ่นั้น ครั้นงานสำเร็จลงในปี พ.ศ.๒๓๑๗ พอถึงวันฤกษ์งามยามดี คือวันที่ ๑๗ มีนาคม จึงโปรดให้ทำพิธียกฉัตรใหญ่ขึ้นไว้บนยอดเป็นปฐมฤกษ์ แล้วได้ทรงเปิดงานมหกรรมฉลองอย่างมโหฬาร
  -ขุนนางพม่ากราบทูลว่า "นักมวยไทยมีฝีมือดียิ่งนัก" พระเจ้าอังวะจึงตรัสสั่งให้เอาตัว นายขนมต้มนักมวยดีมีฝีมือตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ามาถวาย พระเจ้าอังวะได้ให้จัดมวยพม่าเข้ามาเปรียบ (ชก) กับนายขนมต้ม โดยจัดให้ชกต่อหน้าพระที่นั่ง ปรากฏว่านายขนมต้มชกพม่าไม่ทันถึงยกก็แพ้ถึงเก้าคนสิบคนก็สู้ไม่ได้ พระเจ้าอังวะทอดพระเนตรยกพระหัตถ์ตบพระอุระตรัสสรรเสริญนายขนมต้มว่า "ไทยมีพิษทั่วตัว แม้แต่มือเปล่าไม่มีอาวุธเลย สู้ได้คนเดียวชนะถึงเก้าคนสิบคน" คนไทยนี้มีพิษสงรอบตัว แม้มือเปล่ายังเอาชนะคนได้ถึงเก้าคนสิบคนนี่หากว่ามีเจ้านายดี มีความสามัคคีกัน ไม่ขัดขากันเอง และไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว และโคตรตระกูลแล้ว ไฉนเลยกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่ข้าศึก ดั่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้”
   -ฉะนั้นหลังจากนายขนมต้มได้เอาชนะนักมวยพม่าแล้ว พระเจ้ามังระได้ปูบำเหน็จแก่นายขนมต้มโดยแต่งตั้งเป็นข้ารับใช้ในกรุงอังวะแต่นายขนมต้มกลับปฏิเสธและขอให้พระเจ้ามังระปลดปล่อยตนและเชลยคนไทยทั้งหมดให้เป็นอิสระเพื่อกลับบ้านเกิด พระเจ้ามังระก็ยอมทำตามความประสงค์ ในที่สุดนายขนมต้มและเหล่าเชลยคนไทยก็ได้รับอิสรภาพและกลับไปยังบ้านเกิดก็คือแผ่นดินไทยที่มีกรุงธนบุรีเป็นราชธานีโดยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีนามว่า "ตากสินมหาราช
  -นายขนมต้มก็ได้อาศัยอยู่บ้านเกิดอย่างสงบแต่ไม่ทราบว่าเสียชีวิตไปเมื่อใด
   -สำหรับชาวพระนครศรีอยุธยา ได้สำนึกในบุญคุณของนายขนมต้มและถือเป็นเกียรติศักดิ์คนดีศรีอยุธยา จึงได้พร้อมใจกันสร้าง"อนุสาวรีย์นายขนมต้ม" ไว้ที่บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจและให้ลูกหลานไทยยึดถือเป็นแบบอย่างสืบไป"

คำสำคัญ (Tags): #นายขนมต้ม
หมายเลขบันทึก: 710282เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2022 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2022 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท