Supported Employment กับกิจกรรมบำบัด


Supported Employment

Brief case

        ผู้รับบริการชื่อมอ (นามสมมติ) เพศหญิง อายุ 59 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีอาการทางจิตเวช มีการเดินที่ช้าเล็กน้อย ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่ที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมาประมาณ 4 ปี มีหน้าที่ช่วยดูแลคนอื่น ๆ ในหอ 3 และคนอื่น ๆ ในศูนย์ อาชีพเดิมเคยเปิดร้านอาหารกับแฟน มีหน้าที่ย่างกุ้งเผา ไม่มีความต้องการที่จะออกจากศูนย์เพื่อที่จะไปทำงาน 

กิจกรรมที่ 1 Warm Up ยืดเหยียดร่างกาย:

          ผู้รับบริการสามารถทำตามท่าทางที่ผู้นำทำได้ โดยอาจจะมีความสับสนด้านซ้ายหรือขวาบ้างเล็กน้อย สามารถเคลื่อนไหวได้สุดช่วง มีการพูดนับเลขเสียงดังฟังชัดตามที่ผู้นำกิจกรรมบอก

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมทำอาหาร :

          ผู้บำบัดจัดกิจกรรมกลุ่มทำอาหาร ซึ่งคือการทำยำวุ้นเส้นเป็นกลุ่ม 4 คน โดยในกิจกรรมทำอาหารในช่วงแรกจะมีการถามเร็วตอบเร็ว ผผู้รับบริการสามารถตอบวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการทำยำวุ้นเส้นได้ มีการพูดคุยกับสมาชิกในกลุ่มเพื่อที่จะตกลงกันว่าจะใส่วัตถุดิบอะไรบ้าง รสชาติอย่างไร ผู้รับบริการมักจะเสนอตัวในการทำหน้าที่ต่างๆ เช่น - การล้างผักและการหั่นผัก ผู้รับบริการสามารถหั่นได้อย่างถูกต้อง สวยงาม มีความละเอียดตามลักษณะของผักที่ต้องใช้ ทั้งมะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี – การลวกวัตถุดิบ – การใส่วัตถุดิบตอนจะคนรวมกัน -การล้างอุปกรณ์การทำยำหลังทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว โดยผู้บำบัดอาจจะต้องมีการชี้แนะในบางครั้งให้ผู้รับบริการพูดคุยและสอบถามสมาชิกในกลุ่มคนอื่น ๆ ว่าต้องใส่วัตถุดิบเท่าไหร่ เพียงพอไหม เป็นต้น แต่เมื่อผู้บำบัดทำการชี้แนะแล้ว ผู้รับบริการก็มีการสอบถามและพูดคุยกับสมาชิกในกลุ่มตลอดการทำกิจกรรมได้ด้วยตนเอง และในการทำกิจกรรมนี้ผู้รับบริการมีความสนใจตลอดการทำกิจกรรม มีความกระตือรือร้นและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีการพูดคุยกับสมาชิกคนอื่นๆ ที่อาจจะอยู่คนละหอพักกันด้วยท่าทีที่มีความสุข ยิ้มแย้ม และมีความชื่นชอบในอาหารที่ตนเองได้มีส่วนร่วมในการทำ พูดให้ผู้บำบัดฟังด้วยตนเองว่ารสชาติอร่อย

ปัญหาที่พบ

  • ผู้รับบริการไม่มีความมั่นใจในตนเองว่าตนเองนั้นสามารถนำกิจกรรมกลุ่มได้
  • ผู้รับบริการอาจมีการหลงลืมที่จะต้องสอบถามความคิดเห็นของคนอื่นๆ หรือมีการเสนอตัวที่จะทำบางขั้นตอนทั้งหมดจนลืมที่จะแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกกลุ่มคนอื่น ๆ ได้มีหน้าที่ร่วมกันในขณะทำกิจกรรมในบางครั้ง

Work skills ที่เลือกพัฒนาให้กับผู้รับบริการ

  • IADLs: Meal Preparation and cleanup เนื่องจากผู้รับบริการไม่มีความต้องการที่จะทำงานอะไร แต่จากการสัมภาษณ์นั้น ผู้รับบริการเคยเปิดร้านอาหารมาก่อน จึงใช้กิจกรรมทำยำวุ้นเส้นที่มีขั้นตอนไม่มาก และสามารถทำได้ง่ายมาเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างคุณค่าในตนเอง เพราะได้มีส่วนร่วมในการทำ ได้รู้ว่าตนเองนั้นก็สามารถจำขั้นตอน วัตถุดิบ และทำได้ออกมาเป็นที่พึงพอใจ
  • Communication: เนื่องจากผู้รับบริการมีทักษะทางสังคมทีดีอยู่แล้วจากการมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลคนอื่น ๆ ผู้บำบัดจึงจัดทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ผู้รับบริการได้มีทักษะการเข้าสังคมรูปแบบอื่น ที่ไม่ใช่การที่ต้องช่วยเหลือผู้อื่นเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้อื่นเพื่อที่จะทำกิจกรรมการทำยำวุ้นเส้นออกมาให้สำเร็จ
  • Social skill: เนื่องจากทักษะทางสังคมเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ๆ มีประสิทธภาพที่ดีมากขึ้นเพราะต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การพูดคุยเพื่อแก้ไขปัญหา การควบคุมความคิดและอารมณ์ของตนเองเมื่อคนอื่นพูดหรือทำให้ตนเองไม่พอใจ การทำอาหารเป็นกลุ่มก็จะได้ฝึกทักษะเพิ่มเติม
  • Planning and organization: เนื่องจากการที่จะออกไปทำอาชีพด้านนอกหรือการที่จะใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ทักษะการวางแผนและการจัดการ ถือเป็นทักษะสำคัญที่จะทำการทำกิจกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำอาหารก็ต้องใช้ทักษะการวางแผนว่าต้องทำอะไรก่อนหรือหลัง ต้องใช้วัตถุดิบอะไร อย่างละเท่าไหร่
  • Problem solving: เนื่องจากทักษะการแก้ปัญหาในการทำกิจกรรม เพราะทุกกิจกรรม บางครั้งก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้ การมีทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้ความคิดอย่างเหมาะสมก็จะช่วยให้ทุกอย่างสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ ในการทำอาหาร ก็จะเกิดปัญฆาบางอย่างเช่นน้ำยำไม่พอ ก็ต้องหาทางแก้ไขเพื่อที่จะได้มีน้ำยำที่เพียงพอต่อการรับประทาน เป็นต้น

กระบวนการพัฒนา work skills

            มีการทำกิจกรรมกลุ่มทำอาหาร คือการทำยำวุ้นเส้น ที่สามารถต่อยอดไปในการทำอาชีพได้ และสามารถประยุกต์โดยการเปลี่ยนวัตถุดิบบางชนิดก็จะสามารถทำให้มีเมนูที่หลากหลาย เปลี่ยนจากยำวุ้นเส้นเป็น ยำมาม่า ยำหมูยอ เป็นต้น โดยกิจกรรมกลุ่มทำอาหารจะช่วยส่งเสริมและคงความสามารถของผู้รับบริการ เนื่องจากผู้รับบริการใกล้เข้าสู่วัยสูงอายุ และไม่มีโรคประจำตัว การส่งเสริมและคงความสามารถในด้านต่างๆ ไว้ ก็จะช่วยให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองแบบ independent โดยกิจกรรมนี้จะช่วยเรื่องทักษะทางกาย เพราะต้องมีการเดินไปล้างผัก ล้างจาน ทักษะเรื่อง eye-hand coordination และ Fine Motor ในการที่ผู้รับบริการต้องทำการหั่นผักหลายชนิด ที่มีความละเอียด ทักษะการจำอย่าง Short term memory, Working memory ในการจดจำขั้นตอนการทำยำที่ผู้บำบัดได้บอก รู้ถึงวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการทำยำ และทำออกมาได้ตามขั้นตอน ทักษะด้าน Social participation ในการทีต้องสื่อสารกับสมาชิกในกลุ่มคนอื่นๆ ได้แลกเปลี่ยน ออกความคิดเห็น ถึงความต้องการว่าจะใส่วุตถุดิบอะไรบ้าง อย่างละเท่าไหร่ การปรุงน้ำยำรสชาตินั้น มีความพึงพอใจหรือยัง และหลังทำกิจกรรม ผู้รับบริการสามารถตอบถึงความยาก-ง่ายในการทำกิจกรรมนี้ และบอกว่าสามารถนำไปทำด้วยตนเองได้

ขอบคุณค่ะ :)

นักศึกษากิจกรรมบำบัด ปี 3 มหาวิทยาลัยมหิดล รหัส 6323026 พิมพ์ณดา รุ่งสิริวัฒนะชัย เลขที่ 21

หมายเลขบันทึก: 710261เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท