Supported employment กับผู้รับบริการทางจิตเวช


       ดิฉันชื่อนางสาวณัฐกุล เพื่อนฝูง นักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 3 ในวันนี้ดิฉันจะมาพูดถึง Supported employment กับผู้รับบริการทางจิตเวช ณ ศูนย์คนไร้ที่พึ่ง จ.นนทบุรี ดังนี้ค่ะ

       ผู้รับบริการเพศชาย อายุ 34 ปี มีประวัติติดสารเสพติด(ยาบ้า)และพฤติกรรมทางเพศ(ข่มขืนน้องสาวแท้ๆ) มีการจับกุมที่บ้านพักของตนเองจากนั้นจึงนำตัวส่งโรงพยาบาลและได้ส่งต่อมาที่สถานคนไร้ที่พึงนนทบุรี โดยมีระยะเวลาในการบำบัดรักษารวมแล้วประมาณ 1 ปี ผู้รับบริการทานยาจิตเวชตอนเช้า 3 เม็ดและตอนเย็น 5 เม็ด รวม 8 เม็ด/วัน ผู้รับบริการมีความรู้สึกคิดถึงบ้าน โดยผู้รับบริการคิดว่าการที่จะออกจากที่นี่นั้นต้องให้ญาติมารับออกไปจากที่นี่เพียงเท่านั้น ผู้รับบริการไม่ได้สนใจทำกิจกรรมใดเป็นพิเศษ แต่เคยเล่นกีฬาฟุตบอลและรู้สึกชอบ มีความต้องการอยากเรียนหนังสือต่อที่ กศน. (การศึกษาสูงสุด ม.3) เนื่องจากอยู่เฉยๆไม่รู้จะทำอะไร หากเรียนจบแล้วออกไปจากที่นี่ได้ก็จะไปบวชเรียน ผู้รับบริการสามารถดูแลตนเองได้ ทำความสะอาดเรือนนอนและซักผ้าได้ ผู้รับบริการมีความสามารถทางกายและการรู้คิดที่ดี แต่ตอบสนองช้า ใช้เวลาในการตอบคำถามนานในครั้งแรกที่เจอและมีสีหน้าที่นิ่ง เรียบเฉย มักมองและจ้องหน้าตลอดระยะเวลาที่พูดคุย

กิจกรรมปากระป๋อง: ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ดี มีอารมณ์ร่วมในกิจกรรม สามารถรอคอยให้ถึงตาเล่นของตนเองได้ มีความพยายามในการเล่นและพยายามปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดในรอบก่อนหน้า สามารถจดจำคะแนนของกระป๋องแต่ละสีได้เป็นอย่างดี

กิจกรรมเตะลูกฟุตบอลล้มขวด: ผู้รับบริการมีท่าทีที่กระฉับกระเฉงมากยิ่งขึ้น มีสีหน้าที่สดใส ทำตามกติกาได้ดี สามารถรอฟังเสียงสัญญาณก่อนเตะลูกบอลได้และสามารถรอคอยจนถึงตาของตนเองได้ มีท่าทางที่ความมั่นใจมากเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ตนเองถนัด

กิจกรรมเล่นดนตรี: ผู้รับบริการได้รับหน้าที่เป็นผู้เคาะจังหวะ มีสีหน้าเรียบนิ่งเฉย แต่สามารถทำกิจกรรมได้จนจบกิจกรรม สามารถแสดงความคิดเห็นได้เมื่อถูกกระตุ้น สามารถเคาะได้ตามจังหวะบ้างเป็นบางครั้ง

 

Work skills อะไรที่เลือกพัฒนาให้กับผู้รับบริการต่อ
สิ่งที่ต้องการพัฒนาให้กับผู้รับบริการ คือ ผู้ดูแลคลังจัดเรียงสินค้า 

ทำไมถึงเลือก Work skills ดังกล่าว

เนื่องจากงานนี้เป็นงานที่ใช้กำลังเป็นหลักและต้องใช้ความรู้ความสามารถในการตรวจเช็คที่ดี ซึ่งผู้รับบริการมีความสามารถทางกายที่ดีและมีการรู้คิดที่ดี อีกทั้งยังคุณสมบัติเหมาะสมในเรื่องของการศึกษาร่วมด้วย ทั้งนี้จึงเห็นว่างานนี้เหมาะสมที่จะนำไปส่งเสริมให้แก่ผู้รับบริการเพื่อให้ผู้บริการฝึกทักษะก่อนกลับออกไปใช้ชีวิตในสังคม รวมทั้งงานนี้ยังช่วยให้ผู้รับบริการได้มีกิจกรรมทางกายช่วยลดความอัดอั้นทางใจผ่านการทำงานทางกายได้อีกด้วย

กระบวนการพัฒนา Work skills ดังกล่าว

  1. แนะนำ แนะแนวเกี่ยวกับงานผู้ดูแลคลังจัดเรียงสินค้าเพิ่มเติม จากนั้นสอบถามความพึงพอใจในการที่จะพัฒนา work skills ดังกล่าว
  2. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อดูคุณสมบัติเพิ่มเติมในการสมัครงานในตำแหน่งผู้ดูแลคลังจัดเรียงสินค้า
  3. พัฒนาทักษะที่ต้องใช้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เช่น การสอบถาม การบอความช่วยเหลือ การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นต้น ผ่านกิจกรรมทั้งกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมรายบุคคลที่ OT จัดขึ้นมา
  4. ฝึกการจัดหมวดหมู่สิ่งของโดยทดลองจากสถานการณ์จำลองที่เสมือนจริง
  5. ฝึกการใช้รถเข็นและแนะนำสัญลักษณ์ต่างๆที่ควรรู้ในการจัดเรียงสินค้าและในโรงงานคลังจัดเก็บสินค้า
  6. ฝึกการตรวจเช็คของว่าของตรงกับสิ่งที่ต้องนำไปจัดเรียงหรือไม่ ผ่านใบตรวจเช็คสินค้าจากสถานการณ์เสมือนจริง
  7. ฝึกการจัดเรียงสินค้าที่เป็นระเบียบ ถูกต้องและปลอดภัยต่อตนเองและสินค้าที่ต้องจัดจากสถานการณ์จำลองที่เสมือนจริง
  8. ฝึกตรวจเช็คความเรียบร้อยซ้ำหลังจากจัดเรียงสินค้าเรียบร้อยแล้ว

 

หมายเลขบันทึก: 710253เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท