กิจกรรมบำบัดกับการพัฒนาWork skills


สวัสดีทุกท่านอีกครั้งนะคะ กลับมาพบกันอีกครั้งหลังจากที่ดิฉันได้ทำกิจกรรมโดยใช้ Diversional therapy ไปใช้ในการทำกิจกรรมให้แก่ผู้รับบริการ วันนี้ดิฉันจะมาบอกเล่าถึงการทำกิจกรรมพัฒนาทักษะการทำงาน หรือ Supported employment

     หลังจากที่ดิฉันได้ไปที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนนทบุรีแล้วได้พบเจอกับผู้รับบริการ คือ คุณแอ(นามสมมติ)และได้ในครั้งก่อนจากการประเมิน Stage management พบว่ามีระดับความตึงเครียดบริเวณหน้าผากและขามากแต่หลังจากมีการให้พักผ่อนคลายความตึงเครียดก็ลดลง ประเมินโดยใช้ Mini cog และ Montreal cognitive assessment(MoCa) พบว่ามีปัญหาเรื่องการจดจำ มีความเสี่ยงมีภาวะสมองเสื่อม(MCI) ผู้รับบริการมีภาวะDelayed subconsciously visual perception ในการจัดกิจกรรมโมบายกระดาษให้กับคุณแอ พบว่าคุณแอยังมีปัญหาในเรื่องของการเหม่อลอยและมีการหลงลืมขั้นตอนอยู่บ้างแต่สามารถทำกิจกรรมโมบายกระดาษได้สำเร็จ สามารถดูตัวอย่างโมบายแล้วทำได้ คิดออกแบบได้ด้วยตนเอง จดจำขั้นตอนได้ มีการหันเหความสนใจระหว่างทำกิจกรรมเล็กน้อย สามารถแก้ไขปัญหาได้เมื่อได้รับการกระตุ้น  ประเมินโดยใช้ MoHo model พบว่าคุณแอมีความสนใจอยากทำกิจกรรมทำอาหารและมีต้องการกลับไปทำงาน คือ การค้าขายของที่สำเพ็ง เมื่อประเมินต่อไปพบว่าคุณแอสามารถบอกได้ว่าจะทำเช่นไรถึงจะกลับไปค้าขายได้ แต่ยังไม่สามารถวางแผนในเชิงลึกได้ เช่น จะทำอย่างไรให้ได้ทำงานหาเงินมาทำทุน เป็นต้น

     Work skill ที่เลือกพัฒนา คือ การรู้คิด(Cognitive) ได้แก่ การคงสมาธิ (Attention) ความจำ(Memory) การจัดการและการวางแผน(Planning and organization) และพัฒนาส่งเสริมเรื่องของการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น(Social skill) เนื่องจากผู้รับบริการมีความต้องการที่จะทำ Work skill คือ การกลับไปค้าขายของที่สำเพ็งเช่นเดิม แต่จากการประเมินผู้รับบริการมีปัญหาในเรื่องของการคงสมาธิ มีอาการเหม่อลอยเป็นปัญหาในการทำกิจกรรม ส่งเสริมเรื่องของการวางแผนเพราะผู้รับบริการมีปัญหาในการวางแผนเล็กน้อย สามารถวางแผนได้ว่าตนเองอยากกลับไปค้าขาย รู้วิธีการค้าขายว่าต้องทำอย่างไรบ้าง แต่มีปัญหาในการวางแผนในเชิงลึก เช่น วางแผนถึงการจัดการเงินหากต้องค้าขายจะทำเช่นไร เป็นต้น และด้านSocial skill ต้องพัฒนาเนื่องจากผู้รับบริการเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากการทำกิจกรรมค้าขายต้องใช้ทักษะในการเข้าร่วมสังคม มีการสื่อสารพูดคุยกับผู้อื่นอยู่ตลอดเวลาและผู้รับบริการยังวางตัวในการเข้าสังคมยังไม่ค่อยได้ ไม่ค่อยพูดสื่อสารกับผู้อื่นเมื่อได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

     กระบวนการพัฒนา Work skill  

   ผู้บำบัดจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการรู้คิด (Cognitive) โดยเริ่มจากการใช้กิจกรรมง่าย ๆ เน้นการคงสมาธิ(Attention) และความจำ(Memory) เช่น การเปิดภาพทายภาพสิ่งของ โดยใช้สิ่งของที่ผู้รับบริการสนใจ คือ เครื่องประดับ ให้จดจำรูปภาพตามตำแหน่งแล้วบอกตำแหน่งให้ถูกต้อง ใช้กิจกรรมที่ต้องมีการวางแผนและจัดการ โดยเริ่มจากให้ผู้รับบริการฝึกการจัดกลุ่มหมวดหมู่สิ่งของ แล้วเพิ่มเป็นให้กิจกรรมโดยอาจใช้กิจกรรมการจัดสวนถาด เนื่องจากผู้รับบริการชอบการปลูกต้นไม้ ให้ผู้รับบริการได้ลองคิด ออกแบบ วางแผนการจัดสวนถาดของตนเองและให้ผู้รับบริการได้ฝึกการทำงานเป็นขั้นตอน โดยนักกิจกรรมบำบัดคอยจัดสถานการณ์ให้ผู้รับบริการได้เผชิญกับปัญหาและได้ลงมือแก้ไขปัญหาด้วยตนเองเพื่อเป็นการฝึกทักษะการวางแผนจัดการ(Planning and organization) จากนั้นเพิ่มความท้าทายโดยการให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับผู้อื่นเพื่อฝึกทักษะการเข้าสังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น(Social skill) จากนั้นฝึกให้ผู้รับบริการได้ฝึกทักษะการทำงานจริงโดยใช้กิจกรรมจำลองการค้าขายของเสมือนจริง จัดสถานการณ์ให้ผู้รับบริการเป็นผู้ค้าขายมีการได้ลองค้าขายจริงกับผู้บำบัดและสมาชิกในกลุ่มก่อน เมื่อจบกิจกรรมผู้บำบัดคอยให้Feedback ให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการและนำปัญหาที่เกิดขึ้นไปวางแผนการรักษาต่อไป

 

นางสาวอรุณี ดอกมะลิ รหัสนักศึกษา 6323032 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 710233เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2022 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท