"หมอลำ สุดยอดศิลปะการแสดง ของชาวอีสาน"


“หมอลำ”

หมอลำ” กลิ่นอายวัฒนธรรมอีสานบ้านเฮา

 

    -"หมอลำ" (อีสาน: หมอลำ; ลาว: ໝໍລຳ) เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำพื้น ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน ลำซิ่ง

   คำว่า "หมอลำ" มาจากคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ 

   -"หมอ" หมายถึง ผู้มีความชำนาญ 

    -"ลำ" หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ ดังนั้น หมอลำ จึงหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองเพลง

   *ประเภทของหมอลำ

    "หมอลำ" นั้นจะมีประเภทของการแสดงซึ่งเป็นที่นิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

   - หมอลำกลอน" เป็นหมอลำที่มีความเก่าแก่มาก และเป็นที่นิยมในอดีต ซึ่งจะมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวโดยจะมีการลำเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ชิงชู้ ชิงทรัพย์ เกี้ยวสาว บาปบุญคุณโทษ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาประเพณีของทางภาคอีสาน วรรณคดี ตำนานต่าง ๆ เป็นต้น และจะมีการพูดผญาแทรกเข้ามาระหว่างการลำด้วยทำให้เกิดความตลกขบขัน ซึ่งเป็นสีสันของการแสดง หมอลำกลอนจะประกอบไปด้วย หมอลำฝ่ายชาย หมอลำฝ่ายหญิง และหมอแคน ส่วนเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการลำ คือ แคน ซึ่งใช้ในการกำกับจังหวะและดูลายในการลำ ปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ มักจะจ้างไปในงานกฐิน และงานผ้าป่า เป็นต้น

โดยหมอลำกลอนที่มีชื่อเสียงของภาคอีสาน มีดังต่อไปนี้

   “ทองมาก จันทะลือ” ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2529

   “เคน ดาเหลา” ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2534

   “ฉวีวรรณ ดำเนิน” ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2536

   “บุญเพ็ง ไฝผิวชัย” ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2540

    “บุญช่วง เด่นดวง” ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2555

    “ทองแปน พันบุปผา” ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2561

    - หมอลำกลอนประยุกต์(หมอลำกลอนซิ่ง)

          “ส้งวาลย์น้อย  ดาวเหนือ”

          “ราตรี  ศีวิไล” ศิลปินมรดกอีสาน

    - หมอลำเพลิน

         “ทองมี  มาลัย”

    - หมอลำแพน

        “ทองมัย  มาลี”

     - หมอลำตังหวาย

         “มลฤดี พรหมจักร”

     - หมอลำภูไท

        “มลฤดี  พรหมจักร”

     - หมอลำหมู่ มีหลายคณะ เช่น

         *คณะระเบียบวาทศิลป์

        *คณะศิลปินภูไท

      *.คณะประถมบันเทิงศิลป์

      -และคณะอื่นๆ

 - ประเภทของทำนองการลำ

       “การแสดงหมอลำ”  ยังมีการลำทำนองต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะการลำ ทำนอง และสังวาส ที่แตกต่างกันไปตามถิ่นต่าง ๆ ในภาคอีสาน มีดังนี้

   -ทำนองแบ่งตามจังหวะการลำ

   -ลำทางสั้น(ลำกลอน-ลำเพลิน-ลำแพน-ลำเต้ย ฯลฯ)

   -ลำทางยาว(ลำลา-ลำล่อง)

    *ทำนองแบ่งตามท้องที่

     - ทำนองขอนแก่น

     - ทำนองกาฬสินธุ์-สารคาม

     - ทำนองอุบล

     - ทำนองเบ็ดเตล็ด

      -ตัวอย่างการหมอลำ ประเภทต่างๆ

    *หมอลำกลอน…….ฉวีวรรณ ดำเนิน

  *หมอลำกลอนประยุกต์(หมอลำซิ่ง) ……สังวาลย์น้อย  ดาวเหนือ

*หมอลำเพลิน - ทองมี มาลัย-ประสาน เวียงสิมา-ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม

  * หมอลำแพน - ทองมัย มาลี

 *ลำภูไท …. มลฤดี พรหมจักร์

   *"ลำล่อง"   พ่อ ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม 

 

คำสำคัญ (Tags): #"หมอลำ"
หมายเลขบันทึก: 710193เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2022 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2022 06:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท