กิจกรรมบำบัดและDiversional therapy


                    สวัสดีค่ะ หลาย ๆ ท่านอาจรู้จักกับวิชาชีพ “กิจกรรมบำบัด” กันบ้างแล้ว นั่นคือการนำกิจกรรมมาเป็นสื่อในการบำบัด รักษา ฟื้นฟูให้แก่ผู้รับบริการเพื่อสามารถดำรงชีวิตด้วยตนเองหรือพึ่งพิงผู้ดูแลน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ การทำกิจกรรมอันเป็นคุณค่าแห่งชีวิต(meaningful activities) โดยมีผู้รับบริการ  เป็นศูนย์กลางในการบำบัดรักษา นักกิจกรรมบำบัดจึงมีความสำคัญในการประเมิน รวบรวมข้อมูลในทุกด้าน  ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมของผู้รับบริการเพื่อวางแผนการบำบัดรักษาแก่ผู้รับบริการ

          ในวันนี้ดิฉันจึงอยากมาแบ่งปันการพัฒนาทักษะการบำบัดฟื้นฟูร่วมกับการฟื้นคืนสุขภาวะ
ทางจิตสังคม ทั้งการจัดการตนเอง อารมณ์ สังคม บทบาทที่เหมาะสมต่อระดับการรู้คิด เพื่อนำไปฝึกทักษะทางสังคม การสื่อสารความคิดเชิงบำบัดอย่างสร้างสรรค์ และพลวัตรกลุ่มเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม

          Diversional Therapy คือ การสร้างความตระหนักและสนับสนุนกิจกรรมสันทนาการ (purposeful recreational) การพักผ่อน (leisure) และกิจกรรมที่มีความหมายต่อผู้รับบริการ (pleasure activities) 
โดยคำนึงถึงผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (client-centered practice) นักกิจกรรมบำบัดต้องส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem) จัดสิ่งแวดล้อมให้มีความเอื้ออำนวยต่อผู้รับบริการ เช่น ครอบครัว บริเวณที่อยู่อาศัย (supportive environment) และเพื่อให้มีสุขภาวะที่ดี (well-being)

           ทั้งนี้การใช้Diversional therapyเป็นสิ่งที่ผู้รับบริการต้องใช้ทั้งทักษะและความรู้ในการทำกิจกรรม เช่น การดูแลสัตว์เลี้ยง กีฬา การออกกำลังกาย การทำงานศิลปะ งานประดิษฐ์ ดนตรี เป็นต้น โดยนักกิจกรรมบำบัดจะต้องมีทักษะอ่อนโยน (Soft skills) เพื่อสร้างสัมพันธภาพด้วยการสื่อสารจิตสังคมด้วยภาษากาย การสบตา การใช้น้ำเสียง การสังเกตรูปแบบกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจเพื่อเบี่ยงเบนจิตต่อความเจ็บปวดของร่างกาย (Diversional activities) ด้วยกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น งานอดิเรกที่ชอบ การผ่อนคลายสุขภาพ หรือแก้ปัญหาเล็กน้อย

          และดิฉันได้นำDiversional therapyจัดกิจกรรมแก่ผู้รับบริการเพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้กับทุกท่านโดยให้ลองอ่านไปพร้อมกัน โดยมีข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้รับบริการ ดังนี้

ผู้รับบริการเพศชาย อายุ 54 ปี(ประวัติ49ปี) รู้สึกปกติ เข้าสถานพักพิงเพราะการส่งตัวจากโรงพยาบาลเพราะล้ม และไม่ได้ติดต่อกับใครอีก มีงานที่ทำในสถานพักพิง คือทำงานแยกพลาสติก บอกเล่าว่ามีความขี้ลืม มีการกินยาทุกวัน คือ ยาโรคความดัน เบาหวาน ไขมัน มีอาการเวียนศีรษะในบางครั้ง กีฬาที่ชอบคือเปตอง เดิมมีอาชีพช่างแอร์ ชอบฟังเพลง ดนตรีในศูนย์ มีความต้องการอยากกลับบ้าน สามารถเข้าใจคำถามและตอบได้อย่างมั่นใจ สามารถซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ แต่ไม่มีโอกาสได้ทำในศูนย์ ต้องการทำงานหารายได้ที่โรงสีของครอบครัว สามารถอธิบายอุปกรณ์       ขั้นตอนและระยะเวลาในการติดตั้งแอร์และการเตรียมตัวเมื่อกลับบ้านได้อย่างละเอียด ผู้ดูแลเล่าว่ามีประวัติเคยเข้าโรงพยาบาลจิตเวช แต่ปัจจุบันไม่มีอาการทางจิต   ไม่สามารถติดต่อญาติได้ ไม่มีบัตรประชาชน ไม่ได้เรียนหนังสือ แต่สามารถเป็นหลักในกลุ่มทำงานแยกพลาสติกของศูนย์ สามารถเคลื่อนไหวและทำงานได้ดี

 

ดิฉันจึงเลือกกิจกรรมพับถุงกระดาษ โดยเริ่มจากการให้รูปภาพขั้นตอนแก่ผู้รับบริการ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีหลายขั้นตอนต้องสังเกตและพับตามรูปภาพสาธิต และมีการใช้ทักษะเดิม รวมถึงเป็นกิจกรรมที่จัดตามความสนใจแก่ผู้รับบริการ

วัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ โดยจัดเตรียมจากห้องกิจกรรมบำบัด ได้แก่ 

1. กระดาษสีความหนา 100 แกรม 

2. ไม้บรรทัด 

3. กาวแท่ง 

พื้นที่/สภาพแวดล้อม : โต๊ะอะลูมิเนียมยาว 1.5 เมตร กว้าง 1 เมตร

ขั้นตอนการทำกิจกรรม :

1. เตรียมกระดาษ A4 วางแนวนอน พับเข้าหากันแล้วทากาวปิดขอบ

2. พับขอบด้านล่างขึ้นไป3/4 เพื่อทำเป็นก้นถุง

3. พับก้นถุงขึ้น แล้วทากาวที่ก้นถุง และพับขอบทั้ง 2 ฝั่ง (รีดด้วยไม้บรรทัดให้เรียบ)

4. รอกาวแห้ง กางถุงออกแล้วพับเข้าตามรอยด้านข้างที่รีดไว้จะได้เป็นทรงถุง

ขอบคุณที่มาขั้นตอนจาก: https://happyschoolbreak.com/diy-pagper-bag/

 

ข้อควรระวัง : การใช้กาวในผู้รับบริการที่มีบาดแผลบริเวณมือ 

คุณสมบัติเฉพาะ : ผู้รับบริการที่สามารถอ่านขั้นตอนได้ หากอ่านไม่ได้ต้องดูขั้นตอนจากในภาพ

กระบวนการใช้ Diversional activity

Stage 1 The Opening of the session

นักกิจกรรมบำบัดแนะนำตนเอง อธิบายกิจกรรมให้ผู้รับบริการเข้าใจ โดยให้มีบรรยากาศอบอุ่นและเป็นมิตร เพื่อให้ผู้รับบริการผ่อนคลาย สร้างสัมพันธภาพที่ดี กระตุ้นด้วยการใช้เสียง คำพูด เพื่อปลุกปฏิกิริยาตอบสนอง

Stage 2 Activities Emphasizing Bodily Response

ก่อนเข้าสู่กิจกรรมพับถุงกระดาษ ได้มีการเคลื่อนไหวพื้นฐานง่าย ๆ คือ การยืดเหยียดบริเวณกล้ามเนื้อรยางค์บน ลดอาการปวดตึงบริเวณคอ ไหล่ แขน อก และตั้งสมาธิผ่อนลมหายใจเข้า-ออก ก่อนทำกิจกรรม

Stage 3 Activities Proportioning Perceptual Integration

ให้ผู้รับบริการใช้ทักษะด้านความจำในการคำศัพท์ก่อนหน้าเป็นการกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ และbilateral activity ในการลองพับกระดาษเข้าหากัน

Stage 4 Cognitive Stimulation and Functioning

ให้ผู้รับบริการลองพับถุงกระดาษตามขั้นตอนโดยใช้ทักษะในการรู้คิดความเข้าใจขั้นตอนในรูปภาพตามลำดับด้วยตนเอง และการทำตามการสาธิตของผู้บำบัด และใช้bilateral coordinationในการพับกระดาษและทากาว ผู้บำบัดกระตุ้นโดยใช้ทั้งphysical prompt และ verbal promtp

Stage 5 Closing the session

ผู้บำบัดสอบถามความพึงพอใจจากการทำกิจกรรมพับถุงกระดาษ ความยากง่ายของกิจกรรม การปรับใช้อุปกรณ์ในแต่ละขั้นตอน และผลจากการสังเกตจากการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ

 

จากการทำกิจกรรมพับถุงกระดาษ ผู้รับบริการทดลองทำตามรูปภาพสาธิตขั้นตอนที่ผู้บำบัดให้ แต่ไม่สามารถทำตามได้ ผู้บำบัดจึงสาธิตทีละขั้นตอน บางขั้นตอนชี้ภาพให้ดูและลองทำตามเองได้บ้าง ไม่ค่อยขอความช่วยเหลือ มักทำด้วยตนเองก่อน ทำเสร็จผู้รับบริการพูดคุยว่าใช้กาวแป้งเปียกจะติดทนกว่า 

 

ขอบคุณสำหรับทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้ หวังว่าจะมีความเข้าใจในDiversional therapyในทางกิจกรรมบำบัดมากยิ่งขึ้น และสามารถลองนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ โดยทุกท่านสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กับดิฉันได้ในคอมเมนท์นะคะ ขอบคุณค่ะ

6323005 ภัทรวรรณ ทิพย์สูตร  นักศึกษากิจกรรมบำบัดปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 709443เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท