Diversional Therapy กิจกรรมสร้างเสริมสุข


Diversional Therapy

Brief case

ผู้รับบริการชื่อมอ (นามสมมติ) เพศหญิง อายุ 59 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีอาการทางจิตเวช ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่ที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมาประมาณ 4 ปี มีหน้าที่ช่วยดูแลคนอื่น ๆ ในหอ 3 และคนอื่น ๆ ในศูนย์ จากการประเมินและสัมภาษณ์ มีรายละเอียดดังนี้

  • การประเมิน BI : 100/100 สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
  • การประเมิน Mini-Cog : 2/5 ไม่สามารถวาดหน้าปัดนาฬิกาได้ โดยวาดตัวเลขเพียงด้านเดียว ผู้รับบริการแจ้งว่า ตนเองจำไม่ได้ ไม่ได้ดูนาฬิกานานแล้ว
  • การประเมิน MOCA : 15/30 มีความเสี่ยงมีภาวะสมองเสื่อม (MCI)
  • การประเมินการเดิน : เดินได้ปกติ โดยไม่มีการเอนของลำตัวขณะเดิน แต่อาจมีการก้าวที่ช้าเล็กน้อย
  • การสอบถามความต้องการ : รู้สึกดีที่อยู่ที่นี่ ไม่ได้มีความต้องการที่จะออกไปทำงาน แต่ตนเองไม่ได้อยากจะเป็นผู้ดูแลคนอื่นตั้งแต่แรก เพราะเหนื่อยที่ต้องดูแลคนอื่นทั้งวันจนไม่มีเวลาพักผ่อน โดยได้รับหน้าที่จากพี่เลี้ยง แต่เมื่อได้ทำไปเรื่อย ๆ ก็รู้สึกดี ตนเองไม่ได้อยากจะทำอะไรเป็นพิเศษ ให้ทำอะไรก็ทำได้หมด
  • การสอบถามความชอบ : ชอบเต้นรำ 
  • ประเมินผ่านการทำกิจกรรม : กิจกรรมพับเหรียญโปรยทาน ผู้รับริการสามารถจำขั้นตอนที่ผู้บำบัดได้สาธิตได้ 4-5 ขั้นตอนจาก 7 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่จำไม่ได้ เมื่อผู้บำบัดใช้การ Prompt เพียงเล็กน้อยก็สามารถทำขั้นตอนต่อไปได้จนสำเร็จ

Diversional activity

Stage 1 : The opening of the session

     ผู้บำบัดทำการแนะนำตนเองด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจน เป็นมิตร พูดคุยเรื่องทั่วไปกับผู้รับบริการก่อนเพื่อเป็นการเพิ่มความผ่อนคลาย สนิทสนมที่จะพูดคุยด้วยกับผู้บำบัด จากนั้นทำการสัมผัสบริเวณข้อมือหรือแขนผู้รับบริการเบาๆ เพื่อผู้บำบัดจะพูดคุยถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่ผู้บำบัดต้องการจะสื่อในวันนี้ และเป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสของผู้รับบริการ

Stage 2 : Activities Emphasizing Bodily Response

     ผู้บำบัดให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมขยับร่างกายตามจังหวะเพลง โดยจะเพิ่มการขยับท่าทางที่เพิ่มความสามารถของ Balance ของร่างกาย และเพื่อช่วยป้องกันการหกล้มขณะที่เดิน

วัตถุประสงค์ : เพื่อคงความสามารถของผู้รับบริการที่มีอยู่ให้ได้นานที่สุดเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว และจากการสัมภาษณ์ ผู้รับบริการมีความสนใจในการเต้นตามจังหวะเพลง เลยเลือกใช้กิจกรรมนี้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย เพิ่มพัฒนาการทางด้านท่าทาง การเคลื่อนไหว และกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว

โดยท่าทางที่จะให้ผู้รับบริการทำ มีดังนี้

*โดยแต่ละท่าควรทำ 8-15 ครั้งต่อเซต โดยพักครั้งละ 1-3 นาที จากนั้นให้ทำซ้ำอีก 2-3 เช็ต*

ท่าที่ 1 ท่าเหยียดเข่า (Knee Extension) : เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิง จากนั้นค่อยๆ เหยียดขา ข้างหนึ่งไปข้างหน้าให้ตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้พร้อมกับตั้งปลายเท้าค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ก่อนจะผ่อนปลายเท้า พร้อมกับลดขากลับสู่ท่าเดิมทำสลับไปมาทั้ง สองข้าง เพื่อยืดเส้น และข้อ

ท่าที่ 2 ท่าเขย่งฝ่าเท้า (Plantar Flexion) : หาเก้าอี้ที่มั่นคง จากนั้นให้ใช้มือทั้งสองจับอุปกรณ์พร้อมกับ ยืนให้หลังตรง ค่อยๆ เขย่งปลายเท้าอย่างช้าๆ สูงสุดเท่าที่จะสูงได้ โดยค้างทิ้งไว้ประมาณ 3 วินาที จึงค่อยลดส้นเท้าลงทำสลับไปมา

ท่าที่ 3 ท่างอเข่า (Knee Flexion) : ยืดหลังให้ตรงเหมือนท่า Planter หรือ ท่าเขย่งฝ่าเท้า จากนั้นค่อยๆงอเข่าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยให้ค้างไว้ 3 วินาที ทำสลับไปมาทั้งสองข้าง

ท่าที่ 4 ท่าเหยียดขา (Side Leg Raise) : ยืนตรงชิดเก้าอี้ จากนั้นให้แยกเท้าประมาณหนึ่งช่วงไหล่ ต่อด้วยค่อยๆ เหยียดขาข้างขวาไปข้างหน้าค้างไว้ประมาณ 3 วินาที จึงค่อยๆ ลดขาลง กลับสู่ท่าเดิม ให้ทำสลับกันทั้งขาซ้าย ขวา

ท่าที่ 5 ท่าเหยียดขาสะโพก (Hip Extension) : ให้ขยับออกมายืนห่างจากเก้าอี้ ประมาณ 1 ฟุต แล้วจึงยกขาขวาไปข้างหลัง โดยที่ขาอยู่ในลักษณะตรง ค้างไว้ประมาณ 3 วินาที จากนั้นค่อยๆ ทำสลับกับขาข้างซ้ายไปมา

ท่าที่ 6 ท่างอสะโพก (Hip Flexion) : ยืนตรงสองมือจับเก้าอี้ไว้เหมือนเดิม จากนั้นให้ค่อยๆ งอเข่าข้างใดข้างหนึ่งมาหาหน้าอก โดยที่เอวยังอยู่ในลักษณะตั้งตรง ค้างไว้สักประมาณ 3 วินาที แล้วค่อยลดหัวเข่าลง ทำสลับไปทั้งสองข้าง

(ขณะทำกิจกรรม : ผู้บำบัดคอยสังเกต vital sign ของผู้รับบริการ ว่ามีท่าทางเหนื่อยหอบหรือไม่ และมีการทรงท่าขณะทำกิจกรรมเป็นอย่างไร เพื่อความปลอดภัยในการทำกิจกรรม)

Stage 3 : Activities Proportioning Perceptual integration

     ผู้บำบัดให้ผู้รับบริการชี้ส่วนของร่างกายตามคำบอก โดยสลับให้ชี้ส่วนของร่างกายทั้งซ้ายและขวา  เพื่อดู Visual-spatial perception ของผู้รับบริการ ว่าสามารถแยกแยะซ้ายขวาได้หรือไม่ หรือมีการละเลยด้านใดด้านหนึ่งหรือไม่ และการรับรู้ทางด้านมิติสัมพันธ์เป็นอย่างไร มีความบกพร่องหรือไม่ 

Stage 4 : Cognitive Stimulation and functioning

     ผู้บำบัดให้ผู้รับบริการทำกิจกรรม พับเหรียญโปรยทานเป็นรูปปลาตะเพียน เนื่องจากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการกล่าวว่า ไม่ได้มีความต้องการที่จะทำอะไรเป็นพิเศษ และผู้บำบัดต้องการที่จะดูความคล่องแคล่วของมือทั้งสองข้างของผู้รับบริการ ดูเรื่อง Memory ว่าสามารถจดจำขั้นตอนที่ผู้บำบัดสาธิตให้ดูได้หรือไม่  และดูเรื่องทักษะการแก้ปัญหาว่าเมื่อเกิดปัญหาแล้ว สามารถแก้ไขได้หรือไม่ อีกเหตุผลหนึ่งที่เลือกกิจกรรมนี้คือ เนื่องจากผู้รับบริการไม่มีความต้องการที่จะออกไปทำงาน ผู้บำบัดจึงลองหางานอดิเรกใหม่ๆ ที่ใช้ต้นทุนไม่มาก มีขั้นตอนที่น้อย มีผลงานออกมาสวยงาม และสามารถมีรายได้เสริมได้ให้ผู้รับบริการได้ลองทำดู 

สังเกตขณะทำกิจรรม : ผู้รับบริการมีท่าทีที่ยิ้มแย้มตลอดการทำ มีหัวเราะเมื่อตนเองลืมบ้างในบางขั้นตอนและขอให้ผู้บำบัดช่วยชี้แนะให้ และเมื่อทำเสร็จแล้ว ผู้รับบริการเล่าว่า ตนเองเคยพับเหรียญโปรยทานมาก่อน แต่ก็นานจนไม่สามารถจำขั้นตอนการพับได้แล้ว และตนเองชอบมากที่ได้ทำกิจกรรมนี้ เพราะออกมาสวยงาม ทำได้ง่ายๆ และต้องการทำเหรียญโปรยทานรูปแบบอื่นๆ ที่มีความยากมากกว่านี้อีก 

PERMA : 

P – ผู้รับบริการยิ้มแย้ม ชอบที่ได้ทำ

E – ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมจนสำเร็จ

R – ผู้รับบริการยิ้มแย้มและหัวเราะเมื่อพูดคุยกับผู้บำบัด

M – ผู้รับบริการจากที่เคยทำกิจกรรมนี้มาก่อนและจำขั้นตอนไม่ได้แล้ว ตอนนี้สามารถกลับมาทำได้อีกครั้ง

A – ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมพับเหรียญโปรยทานออกมาได้สำเร็จ และอยากจะทำอันใหม่ ๆ อีกเพิ่มเติม 

/ภาพผลงานของผู้รับบริการ

ขั้นตอนการพับเหรียญโปรยทานรูปปลาตะเพียน : https://www.youtube.com/watch?v=qvO1o4F8zds 

Stage 5 : Closing the session

     ผู้บำบัดทำการสรุปการทำกิจกรรมในวันนี้กับผู้รับบริการเพื่อเป็นการปิดการทำกิจกรรม และผู้บำบัดทำการประเมินจากการสังเกตขณะทำกิจกรรมที่ผ่านมา พบว่า

  • ผู้รับบริการมีระดับ Allen cognitive Level 4.8-5 
  • ความคล่องแคล่วของมือขณะทำกิจกรรมพบว่าผู้รับบริการมีอาการมือสั่นเล็กน้อยจากการพับเหรียญบางขั้นตอนที่ต้องใช้การแพ่งของสายตา เช่น การสอดริบบิ้นที่มีสีเหมือนกันลอดไปด้านใต้ที่พับเอาไว้ ซึ่งอาจจะทำให้สังเกตได้ยากจึงทำให้ผู้รับบริการมีอาการมือสั่นขณะทำ

---------------------------------------------------<3-------------------------------------------------------------

        จากประสบการณ์ที่ได้ไปสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและได้พบกับคุณมอนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษาอย่างดิฉันรู้สึกดีใจและขอบคุณทุกๆท่านที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ ผู้ดูแล คุณมอ เพื่อน ๆ และคนในสถานคุ้มครองทุกคน ที่ทำให้ดิฉันได้พัฒนาทักษะความสามารถที่ได้เรียนรู้มาจากภาคทฤษฎี ให้ได้เห็นภาพมากขึ้น ได้เห็นจุดแข็งของตนเองและข้อด้อยของตนเองที่ควรปรับปรุงในอนาคตให้เป็นนักศึกษาที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

6323026 พิมพ์ณดา รุ่งสิริวัฒนะชัย เลขที่ 21

 

 

หมายเลขบันทึก: 709435เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท