Diversional Activity



    Diversional Therapy for Psychiatric Adults

 

           

 

                   Case : คุณเทพ(นามสมมติ) เพศ : ชาย อายุ : 45 ปี โรคจิตเวชF20(เดิมมีอาการโมโหร้าย มีประวัติเคยเสพ   
          สารระเหย) ประสบอุบัติเหตุรถชนต้องผ่าตัดบริเวณต้นขาด้านซ้ายมีการดามเหล็กถึงปัจจุบัน และมีประวัติเข้าโรง       พยาบาลด้วยอาการโรคหลอดเลือดในสมองตีบจากการหมดสติกะทันหัน จากการสังเกตขณะสัมภาษณ์ในปัจจุบันพบว่า มีสีหน้ายิ้มแย้มขณะพูดคุย มีการแสดงอารมณ์และพฤติกรรมที่เหมาะสม สามารถโต้ตอบสื่อสารได้รู้เรื่อง ช่วยเหลือตนเองได้ ปัจจุบันกำลังเรียนกศน.

 

                   General appearance

                  เพศชาย รูปร่างสมส่วน  มีบาดแผลคล้ายรอยไหม้ที่ปลายนิ้วโป้งด้านหน้าของมือข้างขวา และมีรอยแผลผุพองตามมือทั้ง2ข้าง มีรอยแผลผ่าตัดที่ต้นขาด้านซ้ายด้านนอก แต่งกายเรียบร้อย

 

                  จากการประเมิน Mini-Cognitive พบว่ามีปัญหาด้าน Delayed recall memory และประเมินการทรงตัวในท่าทางต่างๆพบว่า ในช่วงแรกที่เริ่มการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่า ผู้รับบริการจะมีอาการเซและรู้สึกอ่อนแรงที่ขาด้านซ้ายแต่เมื่อเคลื่อนไหวไปสักพักอาการดังกล่าวจะหายไป พฤติกรรมที่แสดงออกคือจะมีอาการวอกแวกบ้างเมื่อมีคนเดินผ่านโดยดิฉันได้มีการสัมภาษณ์เพิ่มเติมในเรื่องของกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจพบว่าชอบทำกิจกรรมการเล่นกีต้าร์,ตีกลองยาว,เตะตะกร้อ และสนใจเรื่องสีไม้เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เรียนกศน.

                  หลังจากที่ดิฉันได้สัมภาษณ์และประเมินเบื้องต้น จึงได้นำปัญหาที่เกี่ยวกับ Delay recall memory เป็นที่ตั้งในการจัดกิจกรรมเพื่อบำบัดรักษาและให้การรักษาแบบบุคคล(PERMA) โดยใช้ Diversional Activity คือกิจกรรมวาดภาพสีไม้และเขียนองค์ประกอบของภาพและความรู้สึกตนเองไว้ด้านหลังกระดาษ

                  เหตุผลที่ดิฉันเลือกกิจกรรมการวาดภาพสีไม้ให้ผู้รับบริการท่านนี้คือ ความสนใจของผู้รับบริการที่รับรู้ว่าตนเองใช้สีไม้ได้ดี อาการแทรกซ้อนจากการทานยาจิตเวชที่ทำให้ผู้รับบริการมีอาการวอกแวก,ความรู้สึกตึงบริเวณโหนกแก้มเพราะฤทธิ์ของยาทางจิต,ความรู้สึกตึงบริเวณอก เพราะตระหนักรู้ว่าแต่ก่อนตนเองเป็นคนนิสัยไม่ดี รวมถึงการทำงานของสมองที่ถูกทำลายไปทำให้ส่งผลต่อเรื่อง recall memory เป็นหลัก ดิฉันจึงเลือกกิจกรรมที่เน้นไปที่การผ่อนคลายเพื่อให้ผู้รับบริการละทิ้งความรู้สึกที่ก่อกวนจิตใจและกลับมาจดจ่อกับงานตรงหน้า การใช้สีไม้ เป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการในการทำกิจกรรม อีกทั้งกิจกรรมดังกล่าวยังช่วยให้ผู้รับบริการรู้จักการวางแผนวาดภาพ,การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงการกระตุ้น recall memory และสะท้อนความคิดของตนเองเพื่อการตระหนักรู้ในตนเองอีกด้วย

                      กระบวนการและขั้นตอนการทำกิจกรรมทาง Diversional Activity

  1. ดิฉันเริ่มทักทาย พูดคุยและถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ สอบถามเป็นไปอาการทางกายและจิตใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง กิจวัตรประจำวันทั่วไปวันนี้ทำอะไรไปบ้าง เป็นต้น โดยใช้น้ำเสียงที่อบอุ่นและเข้าหาอย่างเป็นมิตรเหมือนครั้งแรกที่เจอกันเพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกปลอดภัยและเปิดใจก่อนทำกิจกรรมร่วมกัน
  2. ดิฉันเริ่มพูดแนะนำกิจกรรมและวัตถุประสงค์ให้ผู้รับบริการฟังหลังจากนั้นจะจึงให้ผู้รับบริการลองเดิน ไปที่ม้านั่งอีกฝั่งเพื่อดูอาการและการเคลื่อนไหวของขาข้างซ้าย รวมถึงเป็นการกระตุ้นการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เมื่อถึงม้านั่งแล้วดิฉันมีการสอบถามถึงอาการเหนื่อย เพื่อเตรียมความพร้อมผู้รับบริการก่อนเริ่มทำกิจกรรม
  3. ดิฉันเตรียมอุปกรณ์ดังนี้ สีไม้ 12 สี มีทั้งแหลมและทู่ปนกัน,ชุดสีน้ำ,กระดาษร้อยปอนด์ขนาด A5 2 แผ่น( 1แผ่นให้ผู้รับบริการ อีก1 แผ่นให้ผู้บำบัด เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกัน) โดยมีขั้นตอนการทำกิจกรรมดังนี้

           - วาดภาพโดยใช้สีไม้ ในหัวข้อ ภาพอิสระในความทรงจำ

           - เมื่อวาดเสร็จแล้วให้ผู้รับบริการจดจำองค์ประกอบในภาพ   1 นาที

           - เมื่อครบแล้วให้กลับด้านกระดาษเป็นด้านหลังและเขียนองค์ประกอบของภาพที่ตนเองวาด

           - เมื่อผู้รับบริการเขียนครบแล้วตามที่ตนเองนึกได้ แล้วดิฉันพบว่ายังไม่ครบจึงให้ผู้รับบริการกลับด้านไปดูอีก    รอบโดยให้เวลา 40 วินาที

           - เมื่อครบแล้ว จึงให้ผู้รับบริการเขียนความรู้สึกของตนเองที่ได้ทำกิจกรรมนี้ลงไปในกระดาษด้านหลัง

             

              ดิฉันเริ่มกิจกรรมโดยการเกริ่นหัวข้อภาพที่จะวาด เป็นภาพอิสระในความทรงจำ และเวลาผู้รับบริการเลือกว่าอยากใช้สีอะไรระหว่างสีไม้และสีน้ำ ผู้รับบริการเลือกสีไม้ จากนั้นให้เวลานึกภาพก่อนลงมือทำพร้อมกัน เมื่อผู้รับบริการพร้อมจึงหยิบสีเขียวออกมาค่อยๆวาดภาพต้นมะพร้าวทั้งต้น ดิฉันจึงกระตุ้นถามว่า”ต้นมะพร้าวของคุณเทพทำไมเป็นสีเขียวหมดเลยหรือคะ” ซึ่งผู้รับบริการก็ตอบว่า “จำของเพื่อนมา” ดิฉันได้มีการกระตุ้นความคิดของผู้รับบริการเพิ่มเติมเพราะว่าผู้รับบริการวาดภาพต้นมะพร้าวแค่ต้นเดียว เมื่อผู้รับบริการมีความเข้าใจจึงวาดองค์ประกอบต่างๆเพิ่มเติมลงไป

       

               

                หลังจากที่ดิฉันและผู้รับบริการวาดภาพเสร็จแล้วนั้น ดิฉันจึงชวนผู้รับบริการเล่าถึงความเป็นมาของภาพ และแลกเปลี่ยนความรู้สึกรวมถึงคุณค่าทางใจที่เกิดขึ้นตามหลักการของ PERMA และจึงจบการทำกิจกรรมวาดภาพสีไม้ดังกล่าว

                จากการทำกิจกรรมวาดภาพสีไม้จากภาพอิสระในความทรงจำพบว่า ผู้รับบริการมีการวางแผนการวาดภาพได้ องค์ประกอบภาพส่วนใหญ่รับรู้ถึงตำแหน่งของภาพตามหลักความเป็นจริง เช่น พระอาทิตย์อยู่บนภูเขา,นกบินอยู่บนท้องฟ้า และ ดอกบัวอยู่ในสระน้ำ 

                 ผู้รับบริการสามารถรับรู้และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสม เมื่อระบายสีลงไปแล้วสีหักบริเวณส่วนปลายเล็กน้อย มีการพึมพำกับตนเองว่าสีหักแต่เมื่อดูแล้วพบว่ายังใช้ระบายต่อได้ ก็ลงมือทำต่อจนเสร็จในงานส่วนนั้น มีการรับรู้มารยาทการใช้ของร่วมกับผู้อื่น มีการถามว่า “สามารถหยิบได้เลยใช่ไหม” ตอนจะเปลี่ยนสีครั้งแรก ในตอนที่ผู้รับบริการต้องเขียนองค์ประกอบและความรู้สึกลงไป เขามีอาการไม่มั่นใจและพูดว่า ”ผมเขียนหนังสือไม่ได้” เป็นการตระหนักรู้ในความสามารถของตนเอง ผู้บำบัดจึงให้แรงเสริมทางบวกเพื่อสร้างความสบายใจแก่ผู้รับบริการบอกให้ผู้รับบริการลองเขียนก่อน ไม่ต้องกังวล ก็พบว่าสามารถเขียนได้ แต่มีปัญหาการสะกดคำ ดิฉันมีการช่วยโดยใช้น้ำเสียงตามคำที่ผู้รับบริการกำลังเขียน ผู้รับบริการจึงกล้าเขียนและทำสำเร็จตามระดับความสามารถของตนเอง

           

                 เมื่อถามความรู้สึก ผู้รับบริการบอกว่ารู้สึกสบายใจ หัวโล่งดี กิจกรรมระบายสีแบบนี้เคยทำเมื่อนานมากๆแล้ว รู้สึกมั่นใจที่ได้ใช้สีไม้เพราะตนเองใช้สีไม้เรียนกศน.อยู่ ถ้าเป็นสีน้ำงานต้องเละแน่ๆ

                 สุดท้าย ดิฉันได้มีการพูดสรุปภาพรวมกิจกรรมและ reflection ความรู้สึกของผู้รับบริการที่ได้ทำกิจกรรมครั้งนี้ร่วมกันและกล่าวชื่นชมในผลงานและความตั้งใจเพื่อให้ผู้รับบริการตระหนักรู้ถึงความสามารถของตน

 

 

 

 

ขอบคุณค่ะ

6323017 ชนิสรา คงวิวัฒนากุล

 

 

คำสำคัญ (Tags): #Diversional activity#occupational therapy
หมายเลขบันทึก: 709416เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท