Diversional therapy กับผู้ป่วยโรคจิตเภท (schizophrenia)


ผู้รับบริการ เพศชาย อายุ 69 ปี Dx. Schizophrenia with auditory hallucination

     จากการประเมินจากการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรมต่างๆได้ดี แต่ไม่มีความคล่องแคล่วและสายตาพร่ามัว เนื่องจากมีความเสื่อมของร่างกายตามอายุ แต่จะมีการได้ยินเสียงหลอนเป็นบางครั้ง (auditory hallucination)และมีความหลงผิด (delusion) มักจะพูดสิ่งที่ตนเองนึกคิดออกมา โดยเฉพาะเวลาทำกิจกรรมที่ตนเองไม่ชอบหรือสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ ผู้รับบริการไม่มีความสนใจในการทำกิจกรรมและไม่รู้ว่าตนเองอยากทำอะไร (Low motivation) และมีกิจวัตรประจำวันเดิมๆซ้ำๆทุกวัน

     ขณะทำกิจกรรมเล่นเกมการ์ดจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองได้ เมื่อมีความสับสนในขั้นตอนก็จะลองเล่นไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการสอบถามผู้บำบัด แต่เมื่อได้ทำกิจกรรมเล่นหมากฮอส ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการเคยทำก็จะมีความสนใจและตั้งใจทำ แต่ก็จะมีการตัดสินใจที่พลาดบางครั้ง

Diversional activity : กิจกรรมระบายสีกระถางต้นไม้

     จากที่ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยเป็น schizophrenia มีอาการหลงผิด(delusion)และได้ยินเสียงหลอน(auditory hallucination) และมีพฤติกรรมที่มักจะพูดสิ่งที่ตนเองนึกคิดออกมา จึงต้องส่งเสริมกิจกรรมที่ผู้รับบริการมีความสนใจหรือกิจกรรมที่ผู้รับบริการเคยทำ เพื่อส่งเสริมการเบี่ยงเบนความคิดของผู้รับบริการให้มีความสนใจและจดจ่อในการทำกิจกรรมมากขึ้น ลดการหลงผิดทางความคิดและเพิ่มการผ่อนคลายจากความคิดลบของตนเอง

กระบวนการทำกิจกรรม

   •ระยะเวลาที่ใช้  15 นาที

   •อุปกรณ์

          1.กระถางต้นไม้ดินที่ลงสีขาวแล้ว

          2.สีโปสเตอร์

          3.พู่กัน

          4.จานสี

          5.แก้วน้ำ

    •ขั้นตอนการทำกิจกรรม

          1.แนะนำกลุ่มและตนเอง อธิบายกิจกรรม วัตถุประสงค์และวิธีการระบายสี รวมทั้งแสดงตัวอย่างงานที่สำเร็จแล้วให้ดู มีการสอบถามผู้รับบริการว่า เคยทำมาก่อนไหม และให้ผู้รับบริการเล่าให้ฟัง รวมทั้งสอบถามหากผู้รับบริการต้องการสีอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในจานสี ต้องทำอย่างไร

          2. ให้ผู้รับบริการลงมือระบายสี โดยผู้บำบัดสังเกตขณะทำกิจกรรมทั้งสีหน้า ท่าทาง รูปแบบการระบายสี และการแก้ปัญหา

          3. ให้ผู้รับบริการอธิบายสิ่งที่ตนระบายบนกระถางตนไม้ สอบถามความรู้สึก สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม

    
  
   จากการสังเกตขณะทำกิจกรรม ผู้รับบริการไม่มีการสื่อสารหรือพูดคุยกับผู้ที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อผู้ร่วมกิจกรรมมีการสอบถาม ผู้รับบริการก็จะนิ่งเฉย ไม่สนใจ และการระบายสีเป็นการระบายไปเรื่อยๆ ต้องการสีไหนก็จะจุ่มสีนั้นเลยโดยไม่มีการล้างสีที่ติดกับพู่กันอยู่ออกก่อน ซึ่งผู้รับบริการไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทำให้มีสีที่ไม่ต้องการอยู่บริเวณนั้น

     หลังจากการทำกิจกรรมผู้รับบริการมีความรู้สึกเพลิน สดชื่น ผ่อนคลาย พอใจกับผลงานของตนเอง เมื่อให้อธิบายผลงานผู้รับบริการอธิบายว่า ‘มองให้เป็นศิลปะ‘ ผู้รับบริการมีความต้องการที่จะทำอีกครั้ง และอยากนำกระถางต้นไม้ที่ตนระบายไปขาย แต่เมื่อสอบถามว่าระหว่างการสวดมนต์กับการระบายสี คำตอบก็ยังเป็นการสวดมนต์

Diversional activity : กิจกรรมสวดมนต์ตามวิดีโอ

     เนื่องจากกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการมีกิจกรรมการสวดมนต์ ผู้บำบัดเล็งเห็นว่าการสวดมนต์ของผู้รับบริการนั้นเป็นบทสวดที่มีอยู่จริงหรือไม่ หรือเป็นบทสวดที่ผู้รับบริการสวดขึ้นมาเองตามความคิดของตน กิจกรรมนี้จะทำให้ผู้รับบริการมีความตั้งใจและสนใจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะเป็นส่งเสริมการลดความหลงผิดที่เกิดขึ้นในความคิดและมีการเบี่ยงเบนความคิดของผู้รับบริการให้มีความสนใจบทสวดที่ตนฟังอยู่ได้มากขึ้น และยังเพิ่มการผ่อนคลายจากความคิดลบของตนเอง

กระบวนการทำกิจกรรม

   •ระยะเวลาที่ใช้  10 นาที

   •อุปกรณ์

          1.โทรศัพท์หรืออุปกรณ์ที่สามารถเปิดคลิปเสียงได้

    •ขั้นตอนการทำกิจกรรม

          1.แนะนำกิจกรรม วัตถุประสงค์ วิธีการให้ผู้รับบริการฟัง

         2. เปิดคลิปและให้ผู้รับบริการสวดมนต์ตาม (ผู้บำบัดอาจสวดไปพร้อมกันด้วย พร้อมสังเกตผู้รับบริการขณะทำกิจกรรม)

         3.สอบถามความพึงพอใจ ความรู้สึกขณะทำกิจกรรม

 

รพีพร พันธุ์ศรี

นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่3

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

     

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 709409เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท