โครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยสื่อดิจิทัลและกิจกรรมบำบัดในเด็กปฐมวัย


  สื่อดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทต่อกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเด็กทุกช่วงวัย และเด็กปฐมวัยที่เป็นเหมือนวัยหน้าต่างแห่งโอกาส คือ การพัฒนาทางด้านการคิดเชิงบริหารหรือ Excutive function (EF) จะพัฒนาแบบก้าวกระโดดในวัยนี้ จาก “โครงการพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย” ซึ่งมีการเก็บข้อมูลเพื่อหาค่าเกณฑ์มาตรฐานการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย ที่สุ่มตัวอย่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในเด็กอายุ 2-6 ปี จำนวน 2,965 คน ระหว่างเดือน เม.ย.58-ก.ค.59 พบว่า เด็กไทยวัย 2-6 ปีมีคะแนนพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร โดยรวมล่าช้ากว่าเกณฑ์เฉลี่ยเล็กน้อยไปจนถึงล่าช้ามาก

เพราะฉะนั้นการใช้สื่อดิจิทัลโดยไม่ผ่านการจำกัดเวลา และการกำกับดูแลจากผู้ที่มีความรู้ทางด้านสื่อดิจิทัลนั้นสามารถส่งผลทางลบต่อตัวเด็ก ทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าในเรื่องของการสื่อสาร และการเข้าสังคมได้ ร่วมถึงส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์และการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

  จากปัจจัยเรื่องของการเลี้ยงดู การเข้าถึงสื่อดิจิทัล ของแต่ละครอบครัวไม่มีความเหมือนกันและเท่าเทียมกัน รวมถึงปัจจัยที่ไม่สนับสนุนต่อการเรียนรู้นอกห้องเรียนของเด็ก ผ่านการลงมือทำจริง ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของลูกโดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย จากการศึกษาในประเทศไทยพบว่าเด็กปฐมวัยสามารถเข้าถึงสื่อจากโทรศัพท์มือถือสมาร์ท โฟน เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีใช้เวลา 42 นาทีต่อวันอยู่หน้าจอสื่อ ใช้เวลาในการฟังเพลง 23 นาทีต่อวัน และใช้ เวลาในการอ่าน หรือ ฟังเรื่องจากการอ่าน 21 นาทีต่อวัน โดยผู้ปกครองอนุญาตให้เด็กใช้สื่อเพื่อกิจกรรม ความบันเทิง เช่น ดูการ์ตูน เล่นเกม และในหลายครอบครัวมิได้มีการกำหนด กฎกติกาในการใช้สื่อดิจิทัล (Common Sense, 2017) 

  การให้ความรู้ที่ตรงประเด็น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกครอบครัวจึงเป็นความท้าทาย เพราะฉะนั้นแนวทางการให้การศึกษากับผู้ปกครองโดยตรงต้องอาศัย ความรู้พื้นฐาน ผ่านการสอนแบบการบูรณาการณ์องค์ความรู้ผ่านการทำกิจกรรมในการดำเนินชีวิต ให้น่าสนใจและเหมาะกับผู้ปกครองในประเทศไทย

 

  นักกิจกรรมบำบัด ต้องสร้างแหล่งองค์ความรู้ที่เข้าถึงง่ายให้กับผู้ปกครองเด็ก เพื่อใช้เป็นสื่อในการทำความเข้าใจทางด้านพัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมกับช่วงวัย และสามารถให้แนวทางในการเชื่อมโยงปัญหาต่างๆเป็นองค์รวมผ่าน กิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยใช้สื่อดิจิทัล คือ Infographic เผยแพร่ผ่านทาง Facebook Page “กิจกรรมบำบัดในเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาการสื่อสาร” โดยหลักสำคัญที่ จะส่งเสริมพัฒนาการสื่อสารของเด็กผ่านการใช้สื่อดิจิทัล เลยคือ การที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับเด็ก และการสังเกตอย่างใกล้ชิด

 

ซึ่งทำคณะผู้จัดทำได้เพิ่มความน่าสนใจคือ การใช้การสอนผ่านการคิดแบบ STEAM ร่วมกับกิจกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น ออกแบบกิจกรรม “ดูการ์ตูนสร้างสรรค์การจดจำ” เป็นการวางแผนทั้งเวลา เรื่องการ์ตูนที่เด็กสนใจ และการจัดสิ่งแวดล้อมร่วมกับลูก หลังดูเสร็จให้จดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่าน Mind map โดยใช้การตั้งคำถามกับลูกเป็นตัวนำ รวมถึงนำมาวิเคราะห์ตัวของแอปซึ่งเป็นสื่อดิจิทัลผ่าน STEAM ซึ่งพัฒนาต่อยอดต่อไป

ปัจจัยทางด้านบุคคล สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมในการดำเนินชีวิต ที่นักกิจกรรมบำบัดสามารถนำมาวิเคราะห์ให้เห็นภาพได้โดยใช้ PEO Model ,Law, M., Cooper, B. A., Strong, S., Stewart, D., Rigby, P., & Letts, L. (1996) 



 

 “แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของสถานศึกษาระดับปฐมวัยสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”

เป็นแนวทางในการกิจกรรมให้เด็กได้ทำตาม และให้ผู้ปกครองกำกับดูแลลูกให้เรียนผ่านโทรทัศน์ในลักษณะของ Digital TV และมีแหล่งข้อมูลให้สำหรับการเรียนรู้เพิ่มเติมของเด็กให้ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การให้เด็กได้ทำตามผ่านการกำกับดูแลของผู้ปกครอง จึงขาดในด้านของการฝึกการมีส่วนร่วมของตัวเด็กเองกับผู้ปกครอง 

ทางผู้จัดทำจึงนำกิจกรรมในการดำเนินชีวิตที่จับต้องได้ เช่น การดูการ์ตูน เป็นต้น มาเพื่อที่จะส่งเสริมทักษะการสื่อสาร การเรียนรู้ การใช้เวลาร่วมกันในครอบครัวเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์และการสื่อสารได้ต่อไป

 

  จากการพัฒนาไปของสื่อดิจิทัลและเทคโนโลยี ร่วมทั้งการมีปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมในการจำกัดการทำกิจกรรมในการดำเนินชีวิต (Occupational Derprivation) ทางนักกิจกรรมบำบัดจำเป็นต้องอาศัยการทำสื่อความรู้ที่ทันต่อยุคสมัยเผยแพร่ลงตามสื่อออนไลน์ที่มีผู้คนใช้มากมายในประเทศไทยนั้นคือ ระบบบริการทางกิจกรรมบำบัดทางไกล (online or telehealth) และแบบผสมผสาน (hybrid) โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม หรือสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อขยายองค์ความรู้ บูรณาการณ์ร่วมกับหลายภาคส่วน เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถของตัวผู้คน นำไปสู่การปรับประยุกต์ใช้ภายในครอบครัว เกิดเป็น Family centered model ต่อยอดนำไปสู่การทำงานร่วมกันภายในชุมชน และเกิดเป็นการพัฒนาแบบองค์รวมผ่านการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ด้วยตัวเอง

 

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา PTOT262 การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตลอดช่วงวัย                                                                                         

เขียนโดย : 6423024 พีรพัฒน์ ห่านชัย

 

อ้างอิง

 

รายงานผลการวิจัย โครงการผลกระทบของสื่อดิจิทัล ที่มีผลต่อพัฒนาการมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 โดย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สืบค้นจาก คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5312?show=full&locale-attribute=th

 

ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 ต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและรูปแบบการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดที่ตอบสนองต่อยุคชีวิตวิถีใหม่ สืบค้นจาก คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5533?locale-attribute=th

 

ข่าว ปัญหาพัฒนาการเด็กไทย กับแนวทางการพัฒนาที่สอดรับกับทักษะเด็กในศตวรรษที่ 21 เขียนวันที่ 18 มกราคม 2565 โดย thitima สืบค้นวันที่ 3 ตุลาคม 2565 จาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) :  https://www.hsri.or.th/media/news/detail/12472

 

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของสถานศึกษาระดับปฐมวัยสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

หมายเลขบันทึก: 708653เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2022 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ตุลาคม 2022 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท