พงษ์ศักดิ์-->Constructivism & Blended Learning
นาย พงษ์ศักดิ์ พงษ์ศักดิ์-->Constructivism & Blended Learning บุญภักดี

เทคโนโลยีการศึกษา(Educational Technology) ไม่ใช่แค่การสร้างสื่อ


ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา(Educational Technology)ไม่ได้หมายถึงแค่สื่อ(Media) ตามที่คนส่วนใหญ่หรือแม้แต่นักเทคโนโลยีการศึกษาเข้าใจกันเท่านั้น ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาตามที่ AECT ได้กำหนดมีทั้งหมด 7 ด้าน 42
วิชา 212991 ดุษฎีสัมมนาเทคโนโลยีการศึกษา(Doctoral Seminar in Educational Technology) ท่านอาจารย์ ดร.สุมาลี ชัยเจริญ ได้ให้ศึกษากรอบการทำวิจัยด้านเทคโนโลยีการศึกษา(Educational Technology) จาก Textbook ชื่อ Handbook of Research on Educational Communications and Technology : A Project of the Association for Educational Communications and Technology : AECT โดย DAVID H. JONASSEN วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ทราบถึงขอบข่ายการวิจัยด้านเทคโนโลยีการศึกษา เวลาที่เราทำ Dissertation  จะได้ทราบว่างานของเราอยู่ในขอบข่ายงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการศึกษาหรือไม่ ถ้าใช่งานของเราจะอยู่ในด้านใดใน 7 ด้านนี้ ซึ่งแต่ละด้านก็ยังแยกย่อยลงไปอีก 

          จากขอบข่ายที่ได้ศึกษาจะเห็นว่าขอบข่ายของเทคโนโลการศึกษา(Educational Technology)ไม่ได้หมายถึงแค่สื่อ(Media) ตามที่คนส่วนใหญ่หรือแม้แต่นักเทคโนโลยีการศึกษาเข้าใจกันเท่านั้น ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาตามที่ AECT ได้กำหนดมีทั้งหมด 7 ด้าน 42 หัวข้อย่อย ใครสนใจด้านใด หัวข้อใด ก็ลองศึกษาเพิ่มเติมหรืออ่านจาก Paper ตัวเต็มดูนะครับ (ถ้าใครยังคิดว่าเทคโนโลยีการศึกษายังคงมีความหมายแค่ สื่อ(Media) แสดงว่ายังอยู่ในยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นะครับ ^_^) ผมก็เลยลอง Search ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Internet  พบในเว็บของ Amazon.com มีรายละเอียดของหนังสือเพิ่มเติมครับ ลองศึกษากันดูนะครับ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่

http://www.boonphakdee.com/Handbook_of_Research_Educational%20_Technology.htm

หมายเลขบันทึก: 70603เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2007 00:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 06:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แล้วคุณ PB สนใจทำวิจัย ด้านไหนคะ....  ตอนนี้ (กำลังเรียนป.เอก สาขา IT คะ)  เผื่อเราจะ Share ความรู้กันได้คะ  ขอบคุณคะ

 

ก็คงจะเป็นแนวของ E-Learning ครับ และสนใจด้าน Blended Learning Environments Design เพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองตามแนวทฤษฎี Constructivism ครับ

หืมมม ดีคะ  การออกแบบสำหรับการจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยได้ด้วยตนเอง  นิวก็ทำด้านนี้เหมือนกันคะ   แต่ของนิวจะเป็นในเชิงระบบมากกว่าคะ   (ออกแบบ  Algorithm)  หนะคะ...แล้วตอนนี้ก็กำลังเขียนวิเคราะห์ระบบด้วย UML อยู่คะ    // แต่..ตอนนี้ยังไม่สรุปเลยคะว่าจะใช้เทคโนโลยีตัวไหนเข้ามาจับคะ  แต่ที่มอง ๆ  ไว้คือ XML คะ  เพราะนิวเล่นด้าน Domain คะ... ....Engin ของนิวจะเป็น ITS คะ

ทั้งนี้การจัดการเรียนให้ผู้เรียน  สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  มันมีปัจจัย 3 ส่วนที่เราต้องศึกษานะคะ  ประกอบด้วย

1. Domain  Model

2.  Pedagogical  Model

3.  Learner  Model

ทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ต้องทำงานสัมพันธ์กันคะ  ส่วนเราจะศึกษาและออกแบบอย่างไรนั้น  เราคงต้องเลือกประเด็นใดประเด็นนึงคะ   (ไม่รู้ว่าคุณ PB สนใจด้านไหนคะ )

ตอนนี้นิวเขียน Paper  ลง  Iner conference แล้วคะ ถ้าสนใจหลังจากที่นิวนำเสนอแล้ว. (นำเสนอประมาณเดือนมีนาคม)....นิวจะส่ง  Paper  มาให้ดูนะคะ..เผื่อสนใจจะได้ช่วย ๆ กันคะ  แหะ ๆ  ...

ยินดีที่ได้รู้จักคะ...

 

ก็สนใจด้าน Pedagogical กับ Learner ครับ ถ้านำเสนอแล้วก็ส่ง Paper มาให้ดูบ้างนะครับ สนใจครับ  ถ้านำเสนอที่ราชภัฎสวนดุสิตก็อาจเจอกันก็ได้ครับตั้งใจว่าจะไปเหมือนกัน(เข้าร่วมเฉยๆ) แต่ถึงเวลาจริงๆจะได้ไปหรือปล่าวก็ไม่รู้ จริงๆแล้วก็ติดตามอ่าน Blog ของคุณนิวมานานพอสมควร ในงานประชุม e-Learning International Conference 2006 ที่ ม.ราม ผมก็เดินผ่านไปผ่านมาแถวๆที่คุณนิวนั่งนั่นแหละครับ ^_^

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่เลยครับ

http://www.questia.com/PM.qst?a=o&d=104857577

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท