การนอนหลับเป็นสิ่งที่สำคัญ ประเมินคุณภาพการนอนหลับผู้สูงอายุในครอบครัวด้วยPSQI


        สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวกมลชนก พิกุล นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ค่ะ หลังจากห่างหายไปนาน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการเรียนวิชาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ซึ่งประเทศไทยก็ได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว วิชาดังกล่าวจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ นั่นก็คือ “ปัญหาการนอน” และในวิชาที่ได้เรียนนั้นก็เกี่ยวกับปัญหาการนอนไม่หลับ ปัญหาในการนอนของผู้สูงอายุ วันนี้ดิฉันจึงจะไปสัมภาษณ์ผู้สูงอายุในครอบครัว พูดคุยเกี่ยวกับการนอนหลับของท่าน และทำการประเมินคุณภาพการนอนหลับด้วยPSQI ซึ่งผู้สูงอายุที่ดิฉันจะทำการสัมภาษณ์และประเมินคุณภาพการนอนหลับ ก็คือ คุณป้าของดิฉันซึ่งอายุ 66 ปีค่ะ โดยแบบบันทึกการประเมินคุณภาพการนอนก็เป็นดังเอกสารที่แนบมาด้านล่างนี้ค่ะ

20220824160747.pdf

และจากแบบประเมินก็สามารถแปลผลคะแนนทั้ง 7 องค์ประกอบ ได้ตามเอกสารด้านล่างนี้ค่ะ

20220824160927.pdf

          โดยการแปลผลจะมีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ และนำคะแนนที่ได้ในแต่ละองค์ประกอบมารวมกัน จะมีช่วงคะแนนระหว่าง 9-21 คะแนน หากมีคะแนนรวมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 คะแนน หมายถึง มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี แต่หากมีคะแนนรวมมากกว่า 5 คะแนน หมายถึง คุณภาพการหนอนหลับไม่ดี ซึ่งคุณป้าของดิฉันมีคะแนนรวมทั้ง 7 องค์ประกอบ เท่ากับ 9 คะแนน จึงแปลผลการประเมินได้ว่า มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี

          หลังจากทำการสัมภาษณ์และประเมินคุณภาพการนอนหลับของคุณป้าแล้ว ก็ได้มีการทบทวนตนเองถึงขณะที่ทำการประเมินและทำ self-reflection แบบ SEA ได้ดังนี้

  • S-Spotting

          ในขณะที่ทำการประเมินนั้น คุณป้าจะมีการอธิบายและเล่าเรื่องอื่นๆที่นอกเหนือจากคำถามในแบบประเมิน ดิฉันได้ทำการรับฟังอย่างตั้งใจ และมีการทวนสิ่งที่คุณป้าพูดพร้อมถามเพื่อให้มั่นใจในเรื่องที่เล่า ทำให้ได้คำตอบที่ชัดเจน และเวลาคุณป้าเล่าหรือตอบมามากกว่าสิ่งที่ถาม แต่เป็นข้อมูลในจ้ออื่นๆ ดิฉันก็จะทำการนำคำตอบไปใส่ในหัวข้อประเมินข้อนั้นๆ เพื่อไม่ให้คุณป้าต้องตอบคำถามซ้ำ และดิฉันจะใช้การพูดคุยถามสารทุกข์สุกดิบ มีการชี้นำไปในข้อคำถามต่างๆ อธิบายเพิ่มเติม ใช้คำที่เข้าใจได้ง่าย มีการชวนคุยเรื่องอื่นๆด้วย เพื่อให้คุณป้าเข้าใจง่าย ผ่อนคลาย ไม่รู้สึกเกร็งหรือเครียด ซึ่งทำให้คุณป้าสามารถวางใจและเล่าเรื่องต่างๆได้อย่างลื่นไหล บอกเล่าถึงปัญหาต่างๆได้ครบถ้วน

  • E-Explain

          บริบทในบทบาทนักศึกษากิจกรรมบำบัด ดิฉันได้มีการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคประจำตัว ว่ามีปัญหาอะไรเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ทำให้หลับได้ยากหรือมีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการนอนหรือไม่ คุณป้าของดิฉันมีโรคประจำตัวหลายโรค ทั้งเบาหวาน ความดัน กรดไหลย้อน และโรคหัวใจ ซึ่งจากตัวโรคจะมีโรคกรดไหลย้อนที่ทำให้รู้สึกแสบร้อน ทำให้นอนไม่หลับ และจากการสัมภาษณ์และทำแบบประเมินข้างต้น คุณป้าจะมีการลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึก ทำให้กลับไปนอนได้ลำบากและนอนไม่เต็มที่ มีอาการปวดหลังเนื่องจากกระดูกทับเส้น เคยพบแพทย์แล้ว แพทย์แนะนำให้ใส่เข็มขัดพยุงหลัง LS Support  ขณะนอนมีความรู้สึกร้อนต้องตื่นมาขยับผ้าห่มหรือนำผ้าห่มออก ก่อนจะหลับต้องใช้เวลาในการเข้านอนนานถึง 60 นาที และยังมีความเครียดจากการคิดเรื่องต่างๆรอบตัว มีความกังวล ทำให้คิดไม่ตกและนอนไม่หลับ

          ดิฉันได้แปลผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับให้คุณป้าฟังว่า ท่านมีคะแนนรวม 9 คะแนน ซึ่งหมายความว่ามีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี และได้สรุปปัญหาที่ทำให้คุณป้ามีปัญหาการนอนพร้อมทั้งให้คำแนะนำและวิธีการเบื้องต้นที่จะช่วยลดปัญหา เช่น อาการกรดไหลย้อน ได้แนะนำให้คุณป้าทานอาหารและยาให้ครบและตรงเวลา ทานอาหารตรงเวลาแบะทานยาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดอาการปวดแสบร้อนได้, แนะนำให้คุณป้าเข้าห้องน้ำขับถ่ายให้เรียบร้อยก่อนนอน เพื่อลดการปวดปัจสาวะหรือลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึก, แนะนำให้คุณป้าหาอะไรฟัง เปิดเพลงหรือวิทยุเพื่อฟังให้รู้สึกผ่อนคลายจะได้หลับง่ายมากขึ้น, แนะนำให้ทำตามคำแนะนำของแพทย์ ให้ใส่ LS support เป็นประจำ เพื่อปรับให้กระดูกเข้าที่มากขึ้น ลดอาการปวดหลัง พร้อมทั้งจัดห้องนอนให้เหมาะสม เบาะที่นอนไม่นุ่มหรือแข็งเกินไป ปรับอุณภูมิให้เหมาะสม 27-28องศา ไม่ให้ร้อนหรือหนาวเกินไป และแนะนำให้ไม่คิดมากเกินไป บางเรื่องก็ไม่ต้องใส่ใจหรือเก็บมาคิดมากจนเกินไป

  • A-Appreciate

          หลังจากที่ได้ทำการสัมภาษณ์และทำแบบประเมินแล้ว ทำให้ดิฉันรู้สึกดีเป็นอย่างมาก ปกติดิฉันได้มีการเยี่ยมเยียนและไปพูดคุยกับคุณป้าอยู่เสมอ แต่ไม่เคยได้พูดคุยอย่างจริงตังพร้อมกับให้คำแนะนำ เมื่อทำการสัมภาษณ์ ทำให้ได้มีโอกาสพูดคุยในหัวข้อต่างๆ ได้รู้รายละเอียดมากขึ้น และได้ให้คำแนะนำอย่างจริงจังกับคุณป้า ได้ให้กำลังใจ แสดงความห่วงใย จึงทำให้รู้สึกดีใจที่ได้พูดคุยกัน แบ่งปันความรู้สึก รู้สึกภูมิใจที่สามารถแนะนำได้ และเข้าถึงบทบาทของตนเอง ทั้งในบทบาทของหลานสาวและนักศึกษากิจกรรมบำบัดมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 705933เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2022 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2022 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท