การประเมินคุณภาพการนอนหลับผู้สูงอายุโดย T-PSQI


การประเมินคุณภาพการนอนหลับ

 

 
การนอนหลับ เป็นกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่สำคัญของทุกๆคนและทุกเพศทุกวัย วันนี้ดิฉันอยากเชิญชวนให้ทุกท่านลองมาศึกษาการประเมินคุณภาพการนอนหลับโดยใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิตส์เบิร์กฉบับภาษาไทย(T-PSQI)

 

            ในคาบการเรียนของวิชาผู้สูงอายุที่ผ่านมา นักศึกษากิจกรรมบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่3 ได้เรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับ self-care,rest and sleep ในวัยผู้สูงอายุแล้วนั่น อาจารย์จึงได้มอบหมายงานให้นักศึกษาได้ไปประเมินคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุโดยใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิตส์เบิร์กฉบับภาษาไทย(T-PSQI) ซึ่งดิฉันได้ทำการประเมินผู้สูงอายุ(คุณยาย)ผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้ข้อมูลตามเอกสารที่แนบดังนี้ 20220824001832.pdf

             เมื่อได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แล้ว ดิฉันจึงทำการแปลผลและได้ผลการประเมินตามไฟล์ที่แนบดังนี้ 20220823234704.pdf


             สรุป การแปลผลรวมของ Global PSQI Score จาก 7 Components ซึ่งมีคะแนนรวมทั้งหมดในช่วง 0-21 คะแนน จะแบ่งช่วงการแปลผลเป็น 2 ช่วงดังนี้

  •  0-5 คะแนน = คุณภาพการนอนหลับดี
  • 6-21 คะแนน = คุณภาพการนอนหลับไม่ดี

             ดังนั้นจากการประเมินคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ(คุณยาย)โดยใช้ T-PSQI พบว่าได้ผลคะแนนอยู่ที่ 14 จึงแปลผลได้ว่าผู้สูงอายุท่านนี้มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี

 

 

หลังจากการสัมภาษณ์ ดิฉันได้ทำการ Self-reflection ตัวเอง แบบ SEA ดังนี้

  • S : Spotting 

ขณะที่ดิฉันสัมภาษณ์เพื่อทำการประเมิน ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองสามารถเรียบเรียงคำถามและใช้คำที่ทำให้ผู้สูงอายุเข้าใจง่ายได้ ทำให้การสัมภาษณ์เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง อาจมีเรื่องระดับเสียงที่ต้องคอยปรับให้ดังกว่าปกติเล็กน้อย ในบางหัวข้อเช่น ถามถึงความรู้สึกปวด คุณยายตอบแค่ว่ามีอาการปวดในตอนแรก ดิฉันจึงถามเพิ่มว่าปวดบริเวณไหนและปวดแบบไหน เพื่อเป็นข้อมูลในการแนะนำเพิ่มเติม ในขณะที่สัมภาษณ์ดิฉันจะมีการถามและชวนคุยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้คุณยายได้นึกเหตุการณ์และได้พูดเล่าเรื่องด้วยตัวเองเยอะๆ จากนั้นเมื่อจะสรุปคำตอบดิฉันจะถามทวนอีกรอบเพื่อสรุปประเด็นที่ต้องการ

 

  • E : Explain

เมื่อประเมินเสร็จแล้วและได้แปลผลให้คุณยายฟังว่า คุณยายมีคุณภาพการนอนหลับอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี ซึ่งปัญหาน่าจะมาจากอาการปวดไหล่ที่เป็นอยู่ ทำให้คุณยายมักรู้สึกตอนกลางคืน เมื่อรู้สึกตัวคุณยายจะชอบมาเข้าห้องน้ำ รวมถึงการทานยาแก้เครียดเพื่อให้ช่วยนอนหลับ ก็ส่งผลเช่นกัน ดิฉันจึงได้แนะนำเรื่องการบรรเทาอาการปวดบริเวณไหล่และคลายกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ให้คุณยายประคบร้อนโดยใช้เจลร้อน ก่อนนอนเป็นเวลาประมาณ 15-20 นาที เรื่องการเข้าห้องน้ำตอนกลางคืน ดิฉันแนะนำให้คุณยายดื่มน้ำและเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเข้านอน เพื่อให้ร่างกายปรับตัวไม่รู้สึกปวดปัสสาวะตอนกลางคืน แนะนำเพิ่มเติมคือต้องระวังการเดินจากเตียงไปห้องน้ำ แนะนำให้คุณยายใส่รองเท้าสลิปเปอร์ที่มีกันลื่นและเปิดไฟในห้องให้เรียบร้อยป้องกันการเดินชนสิ่งของ ส่วนภายในห้องน้ำมีแผ่นกันลื่นติดพื้นห้องน้ำและมีราวจับอยู่แล้ว เรื่องการทานยาแก้เครียด ดิฉันได้แนะนำให้คุณยายหากิจกรรมยามว่างเพื่อผ่อนคลายในช่วงกลางวัน เช่น หาเวลาออกกำลังกายเบาๆเช่น เดินรอบบ้าน ยืนแกว่งแขวน และสำรวจกิจกรรมที่คุณยายสนใจ แนะนำให้คุณยายได้แบ่งเวลาจากการทำงานบ้าน มาทำกิจกรรมยามว่างที่ตนสนใจเช่น การฟังธรรมะ การดูรายการโทรทัศน์ รวมถึงการออกกำลังกายเบาๆ และลดการเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน 30 นาที แนะนำคุณยายว่าการทำกิจกรรมยามว่างจะช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายและจิตใจและทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้ เมื่ออธิบายข้างต้นเสร็จดิฉันก็มีการให้กำลังใจคุณยาย เพื่อให้คุณยายมีกำลังใจในการเปลี่ยนแปลงการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อให้คุณภาพการนอนหลับของคุณยายดีขึ้น

 

  • A : Appreciate

การได้ทำการประเมินการนอนหลับในผู้สูงอายุกับคุณยายครั้งนี้ที่ก็เปรียบกับผู้รับบริการของเราคนหนึ่ง ทำให้รู้สึกว่าตัวเองได้นำความรู้ที่เรียนมาในหลายๆวิชา มาประกอบกันเพื่อทำให้การประเมินครั้งนี้สมบูรณ์ที่สุด ดิฉันเองได้เกิดความเข้าใจอย่างหนึ่งว่า สิ่งที่นักกิจกรรมบำบัดอย่างเราต้องการไม่ใช่แค่คำตอบตามแบบแผนในหัวข้อการประเมิน แต่สิ่งที่เราต้องการคือเหตุการณ์จริง ความรู้สึกจริง ที่เราจะได้จากผู้รับบริการ นั่นหมายความว่าเราต้องมีความใส่ใจ เข้าใจ การถามอย่างมีศิลปะ เพราะข้อมูลที่ได้มานั้นเราสามารถนำมาตีความและแนะนำผู้รับบริการเพิ่มเติมได้ รวมถึงอาจทำให้เราทราบปัญหาจริงๆที่แฝงอยู่จากการเล่าหรือการตอบของผู้รับบริการ ยิ่งในผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยของร่างกายและจิตใจ เราจึงต้องเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของพวกเขา ใส่ใจที่จะถามและจับประเด็นให้ได้ มีการพูดคุยเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี ให้กำลังใจเป็นระยะๆ จะทำให้ผู้สูงอายุรวมถึงผู้รับบริการอื่นๆได้รับความรู้สึกดีๆกลับไป ตัวเราในฐานะนักกิจกรรมบำบัดก็จะได้ความรู้สึกดีๆกลับมาเช่นกัน

 

 

ขอบคุณค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #การนอนหลับ
หมายเลขบันทึก: 705901เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2022 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2022 00:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท