แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ(PSQI)


การนอนหลับ(Sleep) เป็นกิจวัตรอย่างหนึ่งที่ทุกคนนั้นต้องปฏิบัติกันเป็นประจำอยู่ทุกวัน ซึ่งการนอนหลับนี้จะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นและมีพลังงานมากขึ้นหลังจากได้นอนหลับ นอกจากนี้การนอนหลับยังทำให้ฮอร์โมนบางชนิดภายในร่างกายของเรานั้นได้ทำอย่างเต็มที่ส่งผลต่อสุขภาพของเราอีกด้วย ดังนั้นการนอนหลับที่ดีจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้สุขภาพร่างกายของเรานั้นดีขึ้นโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมถอยของร่างกายเป็นอย่างมาก หากผู้สูงอายุมีการนอนหลับที่ดีก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุนั้นมีสุขภาพทั้งกายและจิตใจที่ดียิ่งขึ้นด้วย วันนี้ข้าพเจ้านางสาวณัฐกุล เพื่อนฝูง นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 จึงได้ทำการใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิตส์เบิร์ก(PSQI) ในการประเมินคุณภาพการนอนของผู้สูงอายุและได้ทำการแปลผลการนอนดังต่อไปนี้

20220823152711.pdf

 จากข้อมูลและการแปลผลข้างต้นจะเห็นได้ว่า คุณป้า อ. อายุ 63 ปีนั้น มีผลรวมคะแนน PSQI อยู่ที่ 6 คะแนน แปลผลได้ว่า คุณป้า อ. มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี

20220823152735.pdf

Self-Reflection แบบ SEA จากการสัมภาษณ์ข้างต้น

S (Spotlight) : ข้าพเจ้าค้นพบจุดแข็งของตนเอง คือ ข้าพเจ้าสามารถสร้างสัมพันธภาพกับผู้สูงอายุได้ค่อนข้างดีและสามารถอธิบายคำถามให้แก่ผู้สูงอายุได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย

E (Explain) : ในการสัมภาษณ์ช่วงแรกที่อ่านข้อคำถามให้คุณป้าฟัง คุณป้ามีท่าทางที่ที่ค่อนข้างสับสน นึกภาพตามไม่ค่อยออกแต่เมื่ออธิบายเพิ่มเติมคุณป้าก็สามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้องตามข้อคำถามจากแบบประเมินและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีการสอบถามเพิ่มเติมทุกครั้งที่ท่านเองไม่แน่ใจว่าตนเองนั้นให้คำตอบที่ตรงกับคำถามที่ตนให้หรือไม่ นอกจากนี้การสนทนาระหว่างข้าพเจ้านั้นค่อนข้างเลื่อนไหล ไม่น่าเบื่อ พร้อมกับคุณป้าเองเป็นคนอารมณ์ที่ค่อนข้างดีทำให้การสัมภาษณ์เสมือนเป็นการคุยเล่นกันระหว่างคนในครอบครัวมากกว่าการนั่งสัมภาษณ์ผู้สูงอายุตามแบบสอบถาม และหลังจากที่ได้แปลผลคุณภาพการนอนแล้วทางข้าพเจ้าเองก็ได้แนะนำข้อควรปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มคุณภาพการนอนของคุณป้าอ. ดังนี้

  1. ก่อนเข้านอนให้คุณป้าเข้าห้องน้ำทุกครั้งเพื่อลดการตื่นนอนเพื่อเข้าห้องน้ำ
  2. ให้คุณป้าลองปรับความสูงของหมอน ความอ่อนนุ่มของเตียงและลักษณะท่านอนเพื่อลดอาการปวดเมื่อยขณะนอนหรือหากไม่หายควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุหรือบำบัดรักษาต่อไป

A (Application) : หลังจากสัมภาษณ์ ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้ารู้สึกยินดีและดีใจที่ได้ใช้แบบประเมินนี้เพื่อทำให้ผู้สูงอายุเห็นถึงปัญหาและได้แนะนำวิธีการเพิ่มเติมในการเพิ่มคุณภาพการนอน นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกฝนตัวของข้าพเจ้าเองทำให้ข้าพเจ้ามีทักษะในการสัมภาษณ์และทักษะสร้างสัมพันธภาพที่ดีมากขึ้นอีกด้วย ข้าพเจ้าจะนำทักษะที่ได้จากการฝึกฝนตนเองในครั้งนี้ไปปรับใช้กับการใช้ชีวิตและการเรียนของข้าพเจ้าต่อไป

 

6323011 ณัฐกุล เพื่อนฝูง

หมายเลขบันทึก: 705869เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2022 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2022 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท