กับดักคุณภาพ(2) data & information


data ที่ไม่ครบถ้วน ย่อมทำให้ได้ informationที่คลาดเคลื่อน

การที่จะสรุปข้อมูล ตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆนั้นอย่างมีคุณภาพ ต้องการ ข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอ และเหมาะสมด้วย

วันนี้จะเล่าเรื่องจริงที่ประสบมาให้ฟังเพื่อชี้ให้เห็นถึงตัวอย่างของกับดักคุณภาพ ที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

เมื่อสัก 5-6 ปีก่อน สมัย ร.พ.มอ.เพิ่งจะได้ HA หมาดๆ ได้มีโอกาสไปประชุมเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาระบบคุณภาพโรงพยาบาลในภาคใต้ พบรุ่นน้องซึ่งทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลจังหวัด ได้นำเสนอกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของห้องปฏิบัติการ โดยมีเป้าหมายดังนี้

1. ป้องกันการติดเชื้อ การเกิดอุบัติเหตุถูกเข็มตำ

2. การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานห้องเจาะเลือด

 โดยใช้หลอดเลือดระบบสูญญกาศ กระบอกฉีดยาและเข็มเจาะเลือดชนิดใช้ครั้งเดียว ซึ่งได้นำเสนอว่า นอกจากจะประหยัดเงินมากกว่าการใช้หลอดเลือด กระบอกฉีดยาแบบ reused แล้วยังช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุเข็มตำ หลอดเลือดแตกบาดมืออีกด้วย ทั้งนี้มีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนอ้างอิง ด้านค่าใช้จ่ายวัสดุ อุปกรณ์ จากวารสารทางการแพทย์ และผู้เขียนก็ทำงานที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ด้วย

ขณะนั้นเองเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า การใช้เข็ม กระบอกฉีดยา และหลอดเก็บตัวอย่างเลือด แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้กระบอกฉีดยา และหลอดเก็บตัวอย่างเลือดแบบใช้หลายครั้ง จริงหรือ? ก็เลยขอเอกสารอ้างอิงเพื่อศึกษา

เมื่ออ่านวารสารเรื่องนั้นแล้วพบว่าการใช้กระบอกฉีดยาชนิดใช้ครั้งเดียวประหยัดกว่าการใช้กระบอกฉีดยาชนิดหลายครั้งจริง โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 20,000-150,000 บาทต่อปี 

ก. ข้อมูลที่ถูกนำมาวิเคราะห์ก็เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง มาจากหน่วยงานต้นสังกัดจริง

ข. เป็นข้อมูลที่เป็นเอกสารวิเคราะห์ต้นทุนจริง

 ค. สูตรวิธีคิดคำนวณต้นทุนแบบนี้ก็ใช้เป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่นๆใช้คำนวณต้นทุนด้วย (ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่)

แต่ความเป็นจริงแล้ว ต้นทุนกระบอกฉีดยาชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งถูกกว่าชนิดใช้หลายครั้งจริงหรือ ข้อมูลที่ใช้สรุปต้นทุนนั้นผิดพลาดตรงไหน ผมขอทิ้งไว้เท่านี้ ให้พวกเราหาส่วนที่หายไปของเรื่องนี้จาก วารสารเทคนิคการแพทย์ 24(1):81-86, 2539 มิ.ย. 0125-2682 ใครหาเจอกับดักคุณภาพเรื่องนี้บ้างโปรดแจ้งด้วย

หมายเลขบันทึก: 70562เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2007 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ลองเอาตัวเลข มานั่งดูกันบ้างซิครับ คุณ ringo
เนื่องด้วยขณะนี้บุคลากรประจำสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่องบางท่านมีความคิดที่ผิดแผกไปจากบุคคลอื่นเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลลงในตัวบันทึกข้อมูลที่เรียกว่า Handy Drive หรือ Thump Drive โดยการนำข้อมูลทุกอย่างทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็นเก็บลงไป ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่และงบประมาณ

ดังนั้น จึงขอความกรุณาบุคลากรประจำสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่องทุกท่าน เพื่อให้เป็นที่เข้าใจโดยทั่วกันเกี่ยวกับการแก้ปัญหาตรงจุดนี้ จึงขอแจ้งให้บุคลากรประจำสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่องทราบว่า Handy Drive หรือ Thump Drive เป็นตัวเคลื่อนย้ายข้อมูลไม่ใช่เป็นตัวบันทึกข้อมูลหรือหากต้องการบันทึกข้อมูลสามารถสำรองไว้ได้ใน Handy Drive หรือ Thump Drive หากข้อมูลนั้นมีขนาดไม่ใหญ่หรือไม่เยอะจนเกินไป แต่หากข้อมูลนั้นมีขนาดใหญ่หรือเยอะจนเกินไปให้ใช้แผ่น CD แทนการบันทึกด้วย Handy Drive หรือ Thump Drive

ขอบคุณครับ
คำสั่งข้างต้นจาก หัวหน้างานเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่ตั้งขึ้นโดยผู้บริหารจากความเห็นดังกล่าว ค่อยข้างเป็นความเห็นส่วนตัว ไม่เอื้อต่อการใช้งานตามความเหมาะสมเพราะผู้สั่ง ปกตินั่งทำงานอยู่แต่ในสำนักงานที่มีแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย การWrite CD/DVDจึงเป็นเรื่องง่ายๆแต่ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเคลื่อนย้ายสถานที่ปฏิบัติงานอยู่เป็นประจำ ตั้งแต่โรงแรมหรูจนถึงหมู่บ้านในชนบทที่คอมพิวเตอร์ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลาย บ่อยครั้งที่เราจะเจอ มีคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีเครื่อง Write งานในแผ่นCD ที่เราพกพาไปปรากฏว่า CD แตกเพราะการเคลื่อนย้ายสถานที่ปฏิบัติงาน ซึ่งที่ผ่านมา เมื่อ Handy Drive ข้อมูลเต็ม แต่ข้อมูลที่มีอยู่ก็ไม่สามารถเก็บไว้ที่สำนักงานได้ต้องพกพาติดตัวไปในพื้นที่ที่ไปปฏิบัติงานเพราะงานมักจะเจอสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้นการมีข้อมูล ฐานข้อมูลไว้กับตัวจึงเป็นการรอบคอบที่สุดจึงต้องแก้ไขปัญหาด้วยความที่เราเป็นผู้น้อย ไม่มีอำนาจในการซื้อ Handy Drive  file ที่จะเก็บก็ใหญ่เกินกว่าที่จะเก็บไว้ในดิสเก็ต ในขณะที่งานเร่งด่วน (เราในฐานะผู้ปฏิบัติ ที่เงินเดือนแทบไม่พอในแต่ละเดือน ) จึงจำเป็นต้องอนุมัติ เงินส่วนตัว เพราะเป็นงบประมาณแหล่งเดียวที่เรามีอำนาจอนุมัติ ซื้อ Handy Drive เพื่อมาใช้งานของรัฐ หากเกิดขึ้นไม่บ่อยเราก็พอขอยืมเงินจากผู้มีอุปการคุณมาเสียสละให้หลวงได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อย ลูกเราคงอดข้าวนั่งกินแกลบกันแน่          จึงอยากขอความเห็นจากผู้มีความรู้ด้านนี้ ช่วยให้ความเห็น และเหตุผลของการใช้งานวัสดุอุปกรณ์ ทางคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า  Handy Drive ด้วย เพื่อให้เจ้านายเราเข้าใจและปรับเปลี่ยนคำสั่งให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในการทำงานด้วยเถิดก่อนที่เราจะต้องควักกระเป๋า ซี้อ Handy Drive อันต่อไป ถ้าข้อมูลใดไม่จำเป็นต้องใช้ เราจะเอาติดตัวไปทำไมให้หนัก ซึ่งโดยปกติเราจะ back up ข้อมูลใน Handy Drive ไว้ใน CD เสมอ / ขอบคุณล่วงหน้าค่ะสำหรับทุกท่านที่กรุณาอ่าน และให้ความเห็น

สวัสดีค่ะ พี่ Ringoo

  •  ซีเองค่ะ เจอกันในวันนัดพบ Blogger วันนี้งัยค่ะ จะตามติดอ่านเรื่องราวประกันคุณภาพนะคะ
  • ซี :-)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท