การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖


การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ 

                   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖                         

                                                                                                              กาญจนา เปรมภิรักษา 

                     ดร.ผู้บริหารการศึกษา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖

Corresponding author: [email protected]

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ ๒) พัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ  ๓) ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนที่ ๑ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประเมินกรอบแนวคิด โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์  ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษา ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบบันทึกการเก็บรวบรวมข้อมูลการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)  ขั้นตอนที่ ๓ ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา จำนวน ๑๒ คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบบันทึกการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบประเมินแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)   

ผลการวิจัย พบว่า

            1. การบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ ประกอบด้วย วิถีใหม่ ๔ ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโอกาส (Opportunity) 2) ด้านคุณภาพ (Quality) 3) ด้านประสิทธิภาพ (Performance) 4) ด้านความปลอดภัย (Safety) วิถีคุณธรรม ๕ ด้าน ได้แก่ 1) พอเพียง 2) กตัญญู 3) ซื่อสัตย์สุจริต 4) ความรับผิดชอบ และ 5) อุดมการณ์ และ วิถีคุณภาพ ๓ ด้าน ได้แก่ 1) คุณภาพด้านนักเรียน ๒) คุณภาพด้านบริการจัดการ ๓) คุณภาพด้านครู 

            2. รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ เรียกว่า NM6Qs Model ประกอบด้วย ๕ ส่วน ส่วนที่ ๑ องค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาส่วนที่ ๒ นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ ส่วนที่ ๓ องค์ประกอบย่อย ๗ ด้าน   ส่วนที่ ๔ ระบบการตรวจสอบความสำเร็จ ส่วนที่๕ ผลผลิตวิถีคุณภาพ ประกอบด้วย ๓ ด้าน 

         3. ผลการประเมินหลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า NM6Qs Model มีความเหมาะ ่ ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยูในระดับมากที่สุด

    

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ , การบริหารคุณภาพการศึกษา ,แนวคิดวิถีใหม่วิถีคุณธรรมวิถีคุณภาพ

Abstract

The objectives of this research were 1) to study the elements of quality education administration through the concept of new normal in moral and quality of education, 2) to develop the model of education administration through the concept of new normal in moral and quality of education and 3) to tryout and evaluate the model of quality education administration through the concept of new normal in moral and quality of education. The samples of research in phrase 1 consisted of 5 experts for interviewing and 7 experts for evaluating the conceptual framework and the documents analysis and interviewing form were used in this phrase. The samples of research in phrase 2 consisted of 9 experts for focusing group discussion and content analysis form were used in this phrase, and the samples of research in phrase 3 consisted of 12 education administrators, school directors and the confederates who involved in education management, and data information form, rating scale in 5 level were used in this phrase. Statistics used were percentage, mean, standard deviation and content analysis. 

The research results were as follows: 

1.The elements of quality education administration through the concept of new normal in moral and quality of education consisted of 1) opportunity 2) quality 3) performance and 4) safety. The elements of new normal in moral consisted of1) sufficiency 2) grateful 3) honesty 4) responsibility and 5) ideology  and the elements of new normal in quality of education consisted of 1) students’ quality 2) quality in management and  3) teachers’ quality. 

2.The model of quality education administration through the concept of new 

normal in moral and quality of education called “NM6Qs Model” that consisted of  5 main parts :- 1)  the elements of quality education administration model development, 2) Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 6’ policy and focus point, 3) the 7 sub - elements , 4) the success of inspection system and 5) the outcome of new normal in quality of education that consisted of 3 parts.

3.The results of implementation and trying out of the model of quality education 

administration found that the “NM6Qs Model” was at the highest level and the possibilities was also at the highest level.

Keywords: Development of model, Quality management in education, Ideology of new normal in moral and quality of education

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

          การปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 โครงสร้างการบริหารการศึกษาของรัฐ ปรับเปลี่ยนจากเดิมเป็นการบริหาร ราชการส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีการยุบเลิกหน่วยงานทั้งในส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะหน่วยงานบริหารราชการของส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและภูมิภาค และส่วนราชการภูมิภาคที่ปรับเปลี่ยนเป็นเขตพื้นที่การศึกษา ที่นับเป็นรูปแบบการบริหารจัดการ การศึกษาที่เกิดขึ้นครั้งแรกของประเทศไทย โดยมุ่งหวังว่า การบริหารจัดการศึกษาแบบพื้นที่การศึกษา จะมีความเป็นเอกภาพโดยเฉพาะด้านนโยบายที่หลากหลายการปฏิบัติ และสามารถ แก้ปัญหาความซ้ำซ้อนและลดขั้นตอนการบริหารจัดการศึกษาที่มีอยู่เดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพดังปรากฏในบทบัญญัติ มาตรา 9 (2) กำหนดให้มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่ การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมาตรา 89 ให้กระทรวงศึกษาธิการ กระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่ การศึกษาโดยตรง ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการกระจาย อำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยยึดหลักการด้านความพร้อมและความเหมาะสม ความสอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ความเอกภาพด้านมาตรฐานและนโยบายความเป็นอิสระและความคล่องตัว ในการบริหารและการจัดการ ต่อมาปี พ.ศ.2559 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค มีคำสั่ง ในข้อ 4 ให้ยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและ กฎหมายว่าด้วยระเบียบการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และให้โอนอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษา แห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาไปเป็นอำนาจหน้าที่ของ กศจ. ของจังหวัดนั้น ๆ และข้อ 5 ให้ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และให้โอนอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของ กศจ. ของจังหวัดนั้น ๆ 

ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศการกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 183 เขต โดยมีสถานศึกษาในสังกัด จำนวน 30,405 แห่ง ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตาม อำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีอำนาจหน้าที่ คือ 1) จัดทำนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา แผนพัฒนา การศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น 2) วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุน ทั่วไปของสถานศึกษา และหน่วยงานในเขตพื้นที่ และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา และแจ้ง การจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทั้งกำกับ ตรวจสอบ ติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว 3) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตร ร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 4) กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและในเขตพื้นที่การศึกษา 5) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ด้านการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 6) ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากร บุคคล เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 7) จัดระบบประกัน คุณภาพการศึกษา และประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 8) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษา เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถานบันอื่นที่จัดการศึกษารูปแบบที่ หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา 9) ดำเนินการ และ ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและ พัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 10) ประสาน ส่งเสริม การดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานด้านการศึกษา 11) ประสานการปฏิบัติราชการ ทั่วไปกับองค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งมีการแบ่งส่วน ราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นใหม่ เพื่อให้การดำเนินการแบ่งส่วนราชการภายใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปด้วยความเหมาะสมกับภารกิจ ปริมาณ และคุณภาพการจัด การศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา มีทั้งหมดจำนวน 9 กลุ่มงาน ประกอบด้วย 1) กลุ่มอำนวยการ 2) กลุ่มนโยบายและแผน 3) กลุ่ม ส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ 5) กลุ่มบริหารงานบุคคล 6) กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากร ทางการศึกษา 7) กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา 8) กลุ่มส่งเสริมการจัด การศึกษา และ 9) หน่วยตรวจสอบภายในอย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนโครงสร้างต่าง ๆ ภายในกระทรวงศึกษาธิการนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งเป็นองค์กรทางการศึกษาที่รองรับการกระจายอำนาจการบริหาร การศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเชื่อมโยงนโยบายทางการศึกษาของรัฐและกระทรวงให้เกิด การนําไปสู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นองค์กรผู้นําทางการศึกษาและผู้นําแห่งการเรียนรู้ที่มีศักยภาพ คุณภาพ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และสามารถอำนวยความสะดวก ในการวางแผน วิจัย สนับสนุนส่งเสริม และติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา บุคคล และหน่วยงานหรือสถาบันที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาปฐมวัยได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญของ การจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบและครบวงจร เพื่อให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2560 ตามมาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการ ในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากลรัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA) โดยการสร้างกลยุทธ์เป็นแรงผลักดันให้ หน่วยงานภาครัฐเกิดการพัฒนาองค์กรและการบริการภาครัฐแก่ประชาชน คือ การมอบรางวัลให้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่มีผลงานเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ที่มุ่งมั่นพัฒนาการปฏิบัติราชการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรางวัลจะเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วย ขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบราชการและการบริหารงานภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการ นําการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA) ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ เป็นกรอบในการบริหารจัดการองค์การไปใช้ใน การประเมินองค์การด้วยตนเองที่ครอบคลุมภาพรวมในทุกมิติ เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหาร จัดการให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นให้หน่วยงานราชการปรับปรุงองค์การอย่างรอบด้าน และอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั้ง 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) การนําองค์การ 2) การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ 3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 6) การจัดการกระบวนการ และ 7) ผลลัพธ์การดำเนินการ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบรรลุตามเป้าหมายทางด้าน ผู้นําทางการศึกษา ควรมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการที่ดี ยึดการสร้างความเข้มแข็งด้วยการพัฒนาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การกระจายอำนาจและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้อง มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศ การศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพการศึกษา เพื่อนําไปสู่การบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศ

          เพื่อให้เกิดการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผลสมเจตนารมณ์ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และแนวคิด ดังกล่าว ข้าพเจ้าใช้หลักการจัดการศึกษาใน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖  ประกอบด้วยหลักการ ดังนี้ 1) หลักการความเป็นเอกภาพการจัดการศึกษา เป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงเอกภาพทั้ง ด้านนโยบายและการบริหารการศึกษา และมีความหลากหลายในทางปฏิบัติภายในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา 2) หลักการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา เป็นการจัดการศึกษาที่มีการกระจายอำนาจของรัฐและหรือหน่วยงานในส่วนกลางให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงาน และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 3) หลักความยืดหยุ่นของการบริหาร เป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงความยืดหยุ่นและความมีอิสระในการบริหารจัดการศึกษาทั้งด้านการวางแผน การจัดองค์การการบริหารกลุ่มงานต่างๆ 4) หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล เป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงความ รับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ 5) หลักการมีส่วนร่วม เป็นการจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ประชาชน บุคคล ภาย-นอก และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีส่วนร่วมในการจัด การศึกษาทั้งการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 6) หลักการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งผลผลิต และผลลัพธ์ของการจัดการศึกษาทั้งด้านประสิทธิผล และประสิทธิภาพ 7) หลักการบริหารจัดการที่ดี เป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงองค์ประกอบ ด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ การมีส่วนร่วม คุณธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และความ คุ้มค่า 8) หลักความเป็นวิชาชีพ เป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงการจัดการศึกษา แบบมืออาชีพ ที่ผู้บริหารทั้งในระดับเขตพื้นที่และสถานศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ผู้บริหาร เป็นเครื่องมือกำกับคุณภาพการบริหารการศึกษา 9) หลักการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงการประกันคุณภาพเพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่าผู้เรียนและประชาชนได้รับการบริการทางการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ 10) หลักการระดมทรัพยากรมาใช้เพื่อการศึกษา เป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึง ศักยภาพและคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นและระดมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาทั้งทรัพยากรบุคคล ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยี เงิน งบประมาณ อาคารสถานที่ และวัสดุ ครุภัณฑ์ 11) หลักการบูรณาการ เป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงการบูรณาการทั้งเนื้อหาสาระและกระบวนการจัดการ การศึกษากับการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬาและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม อย่างเป็นองค์รวม แล ปัจจัยการจัดการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการเพื่อนำไปสู่ผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผลให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้าพเจ้าจึงได้วิเคราะห์หลักการบริหารองค์การ สังเคราะห์ออกเป็นรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยใช้การวิจัยเชิงวิชาการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

      ๑. เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ 

      ๒. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ 

      ๓เพื่อทดลองใช้และประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ 

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

 คุณภาพการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานที่จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจใหผู้รับบริการโดยตรง ได้แก ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางออมได้แก สถานประกอบการ ประชาชนและ สังคมโดยรวมวาการดําเนินงานของสถานศึกษามีประสิทธิภาพทำให้ผู้ูเรียนมีคุณภาพหรือ คุณลักษณะที่พึงประสงคตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ  หมายถึง กรอบแนวคิดด้านหลักการ วิธีการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานที่จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ ทำให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายมีความเชื่อมั่นหรือพึงพอใจนั่นเองประกอบด้วยองค์ประกอบ ดังนี้  วิถีใหม่  ๔ ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโอกาส (Opportunity)  2) ด้านคุณภาพ (Quality) 3)ด้านประสิทธิภาพ (Performance) 4) ด้านความปลอดภัย (Safety)  วิถีคุณธรรม ๕ ด้าน ได้แก่  1) พอเพียง 2) กตัญญู 3) ซื่อสัตย์สุจริต 4) ความรับผิดชอบ และ 5) อุดมการณ์ และ วิถีคุณภาพ  ๓ ด้าน ได้แก่ 1) คุณภาพด้านนักเรียน  ๒) คุณภาพด้านบริการจัดการ  ๓) คุณภาพด้านครู 

 

กรอบแนวคิดในการวิจัย

แนวคิดทฤษฎีคุณภาพการศึกษา ได้แก่ แนวคิดของ Baumgart (1987 : 81 - 85), Whatmough (1994 : 94 - 95)    แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนคุณภาพของนักวิชาการ นักการศึกษาในประเทศ  ได้แก่ อำรุง จันทรวานิช  วิจารณ์ พานิช สมศักดิ์ สินธุระเวชณ์ สุรัฐ ศิลปะอนัน สุดาวรรณ เครือพานิช และนโยบาย จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนคุณภาพของนักวิชาการ นักการศึกษาต่างประเทศ ได้แก่ Aletta Grisay  Lars Stephenns Hoy and Fergusan Scribner Glickman  การบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ ที่ระบุมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลงานให้สัมฤทธิ์ผล ผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับวิถีใหม่ ของนักวิชาการ อัจฉรา นิยมาภา  (๒๕๖๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๒๕๖๔) ยืน  ภู่วรวรรณ  (๒๕๖๔) วิถีคุณธรรม  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระราชกระแสรับสั่งข้างต้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๒๕๖๔)   วิถีคุณภาพ ใช้หลักการแนวคิดของ นโยบายจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๖๕)  นโยบายและจุดเน้น สพฐ  (๒๕๖๕)  พระมหาอำนาจ เตชวโร (๒๕๕๙)   การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้แนวคิดทฤษฎีของธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2556:7).สายัญ ผาน้อย. (2559)กนกอร สมปราชญ์, (2560) Hennem. (2010). Adentunde. (2012). Good C V.  (1973 : 7) Riggs & Enochs . (1990 : 73) มาวิเคราะห์และสังเคราะห์หาองค์ประกอบในการวิจัย ได้องค์ประกอบดังนี้  วิถีใหม่  ๔ ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโอกาส (Opportunity) 2) ด้านคุณภาพ (Quality) 3)ด้านประสิทธิภาพ (Performance) 4) ด้านความปลอดภัย (Safety)  วิถีคุณธรรม ๕ ด้าน ได้แก่  1) พอเพียง 2) กตัญญู 3) ซื่อสัตย์สุจริต 4) ความรับผิดชอบ และ 5) อุดมการณ์ และ วิถีคุณภาพ  ๓ ด้าน ได้แก่ 1) คุณภาพด้านนักเรียน  ๒) คุณภาพด้านบริการจัดการ  ๓) คุณภาพด้านครู

 

วิธีดำเนินการวิจัย

ขั้นตอนที่๑ การศึกษากรอบแนวคิดการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ  ดังนี้ 1)วิเคราะห์ เอกสารและงานวิจัย 2) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่ง เป็นนักการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญทางการบริหารการศึกษา ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) 3) ประเมินกรอบแนวคิด โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญการบริหารและการวิจัยทางการบริหารการศึกษา ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ตรวจสอบคุณภาพ โดยการทดลองใช้แบบวิเคราะห์เอกสารและการทดลองสัมภาษณ์กบกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง และปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องแล้วนําไปใช้จริงและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ ดำเนินการ ดังนี้ 1)ร่างรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ โดยการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ  ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ประกอบด้วย นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารการศึกษา จำนวน ๓ คน และผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ จำนวน ๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบบันทึกการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ขั้นตอนที่ ๓ ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา จำนวน ๑๒ คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกแบบเจาะจง ผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติเป็นเลิศ เป็นสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จทางการบริหารคุณภาพการศึกษา (บุญชม ศรีสะอาด, ๒๕๖๐,น.๙๘) และผ่านการประเมินภายนอกจาก สมศ.ระดับดีขึ้นไปทุกมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบบันทึกการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบประเมินแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)  ดำเนินการดังนี้  ๑)ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบ ๒) ออกแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ โดยการกำหนดนโยบายและแผนงานปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับวิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ พัฒนาระบบการปฏิบัติงาน ใหม่ ปรับปรุงหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ใหม่ ส่งเสริมการจัดการเรียนแบบอิงบริบท และสนับสนุนให้ครูวัด และประเมินผลแบบสหวิถี 3)วางแผนและปฏิทินการบริหารสถานศึกษาตามรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพ แบบสอบถาม โดยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ใช้วิธีการหาค่า IOC (Index of item objective congruence) หรือดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับนิยามศัพท์ ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาความตรงของข้อคําถาม ผู้วิจัยได้คัดเลือกข้อคําถามที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.๘0-1.00 และแก้ไขตามข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นนํามาปรับปรุงแบบสอบถามและนําเครื่องมือ ไปทดลองใช้กบกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ่ ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 30 คน จากนั้นนํามาวิเคราะห์หาความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’ alpha coefficient) เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น ได้ค่าความเชื่อมัน เท่ากับ 0.๙๗ 

 

 

 

 

 

 

 

ผลการวิจัย

                       ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้

          1. การบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ ประกอบด้วย วิถีใหม่ ๔ ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโอกาส (Opportunity) 2) ด้านคุณภาพ (Quality) 3) ด้านประสิทธิภาพ (Performance) 4) ด้านความปลอดภัย (Safety) วิถีคุณธรรม ๕ ด้าน ได้แก่ 1) พอเพียง 2) กตัญญู 3) ซื่อสัตย์สุจริต 4) ความรับผิดชอบ และ 5) อุดมการณ์ และ วิถีคุณภาพ ๓ ด้าน ได้แก่ 1) คุณภาพด้านนักเรียน ๒) คุณภาพด้านบริการจัดการ ๓) คุณภาพด้านครู 

            2. รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ เรียกว่า NM6Qs Model ประกอบด้วย ๕ ส่วน ส่วนที่ ๑ องค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาส่วนที่ ๒ นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ ส่วนที่ ๓ องค์ประกอบย่อย ๗ ด้าน   ส่วนที่ ๔ ระบบการตรวจสอบความสำเร็จ ส่วนที่๕ ผลผลิตวิถีคุณภาพ ประกอบด้วย ๓ ด้าน 

          3. ผลการประเมินหลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า NM6Qs Model มีความเหมาะ ่ ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยูในระดับมากที่สุด

         ผู้วิจัยนําผลการพิจารณาและประเมินรูปแบบ สรุปเป็นรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ เรียกว่า NM6Qs Modelจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ ผู้วิจัยได้สังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ ให้บรรลุเป้าหมายของการบริหารสถานศึกษา 

รูปแบบการบริหารเกี่ยวกับผลงานที่ประสบผลสำเร็จ

โดยใช้รูปแบบ.  “NM6Qs Model” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖

     ภาพที่๑ : รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖  โดยใช้ NM6Qs Model 

          จากการวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ สรุปได้องค์ความรู้ใหม่ ดังนี้

     จากภาพที่ 1 การขับเคลื่อนการพัฒนาการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ โดยใช้รูปแบบ NM6Qs Model  N: New normal หมายถึง วิถีใหม่  M: Moral normal หมายถึง  วิถีคุณธรรม Q: Quality normal หมายถึง วิถีคุณภาพ  Q1: Safety Quality  หมายถึง การรักษาคุณภาพด้านความปลอดภัย Q2 : Healthy Quality หมายถึง คุณภาพชีวิต  Q3: Manage Quality หมายถึง การบริหารคุณภาพ Q4 : Innovation Quality หมายถึง นวัตกรรมคุณภาพ  Q5 : Network Quality หมายถึง  เครือข่ายคุณภาพ และ  Q6 : Quality teaching management หมายถึง คุณภาพการจัดการเรียนรู้  รูปแบบ NM6Qs Model  ประกอบด้วย ๕ ส่วน  รายละเอียดดังต่อไปนี้

          ส่วนที่ ๑ องค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาตามแนวคิด วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม วิถีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ ประกอบด้วย ๓  องค์ประกอบหลัก โดยใช้รูปแบบ NM6Qs Model ได้แก่ ๑) วิถีใหม่ (N: New normal) ๒)  วิถีคุณธรรม (M: Moral normal)  ๓) วิถีคุณภาพ (Q:  Quality normal)

          ส่วนที่ ๒  นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖  เปิดกว้าง (Open wide)    ปรับเปลี่ยน  (Modify) ปลอดภัย (Safety) ความหมายของส่วนที่ ๒ คือ เปิดกว้าง (Open wide) สร้างเครือข่าย  ใช้ ICT  มี AI ปรับเปลี่ยน(Modify)เขียนอ่าน  สื่อสารได้  ไทย  อังกฤษ  คิดคำนวณ   ปลอดภัย (Safety)สุขกาย  สบายใจ  โดยใช้หลักธรรมาภิบาล

          ส่วนที่ ๓ องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย  ๗ องค์ประกอบ ๑) O- Opportunity คือ ด้านโอกาส ผู้เรียนสามารถเข้าถึง เท่าเทียมและเสมอภาคด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และบริการอื่น ๆ ทางการศึกษา สถานศึกษามีระบบสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษามีการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ และมีงานทำ หรือเพิ่มช่องทางหลักสูตรทางเลือก ๒) Q- Quality คือ ด้านคุณภาพ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านการประเมินระดับชาติดี สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ออกแบบ สร้างสรรค์งานทั้งด้านวิชาการ และอาชีพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมีทักษะการเรียนรู้ ๓)P- Performance คือด้านประสิทธิภาพ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน สถานศึกษามีการบริหารด้านบุคลากรอย่างมีอิสระและคล่องตัว ในการกำหนดอัตรากำลัง สรรหาจัดจ้าง รวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนา มีการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศในการจัดการศึกษา โดยสามารถบริหารจัดการได้อย่างคล่องตัวตามสภาพความต้องการ และจำเป็น มีภาคีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ๔) S-Safety คือ ด้านความปลอดภัย ผู้เรียนมีทักษะด้านการป้องกันตัวเอง สถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดภัย มีมาตรการป้องกันผู้เรียนจากการ    ถูกคุกคาม มาตรการความปลอดภัยด้านอื่น ๆ  และมีภาคีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ๕) M-Morality and ethics คือ คุณธรรมจริยธรรม พอเพียง  กตัญญู ซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ และอุดมการณ์ ๖)S- Student คือด้านผู้เรียน กล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ คุณลักษณะอันพึงประสงค์“มีวินัย สุจริต จิตอาสา อยู่อย่างพอเพียง”สมรรถนะของผู้เรียน “มีทักษะชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ทำงานเป็นทีม รู้ทันเทคโนโลยีมีความรู้หลายภาษา”การพัฒนาด้านอัตลักษณ์ ความเป็นเลิศ และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ๗) T- Teacher คือ ด้านครู กล่าวถึง ครูต้องจัดการเรียนรู้ที่ตรงกับมาตรฐานและตัวชี้วัดสำคัญที่ต้องรู้และควรรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม มีกระบวนการตรวจสอบ ประเมินผลคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน

ส่วนที่ ๔  ระบบการตรวจสอบความสำเร็จ ๑) P-Plan คือ การวางแผน การกำหนดเป้าหมายและกระบวนการต่างๆที่จำเป็นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ   ๒)D-Do คือ การนำไปปฏิบัติ ปฏิบัติ ดำเนินการตามกระบวนการต่างๆที่กำหนดไว้ ๓)C-Check คือ การติดตาม ติดตามตรวจสอบและวัดผลกระบวนการทำงานว่าเป็นไปตามแผนทำงานและเป้าหมาย ๔)A-Act คือ การดำเนินการ ดำเนินการปรับปรุงสมรรถนะของกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

          ส่วนที่๕  ผลผลิตวิถีคุณภาพ ประกอบด้วย ๓ ด้าน คือ ๑) Student Quality คุณภาพผู้เรียน มีคุณภาพ ๒ ด้าน ได้แก่ Q1: Safety Quality  และ Q2 : Healthy Quality คุณภาพผู้เรียน กล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ คุณลักษณะอันพึงประสงค์“มีวินัย สุจริต จิตอาสา อยู่อย่างพอเพียง”สมรรถนะของผู้เรียน “มีทักษะชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ทำงานเป็นทีม รู้ทันเทคโนโลยีมีความรู้หลายภาษา”การพัฒนาด้านอัตลักษณ์ ความเป็นเลิศ และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดีมีร่างกายแข็งแรง ปลอดภัยภัยจากอัตรายทั้งปวง   ๒) Management Quality คุณภาพการบริหารจัดการ มีคุณภาพ ๓ ด้าน ได้แก่ Q3: Manage Quality ,Q4 : Innovation Quality และ Q5 : Network Quality คุณภาพการบริหารจัดการ กล่าวถึง กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาชัดเจน ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรอบรู้ทางวิชาชีพ  สนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ สนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการนิเทศทั้งภายในภายนอกสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ มีเครืองข่ายทางการศึกษาที่ได้มาตรฐานสามารถสื่อสารไปได้ทั่วโลก ๓) Teacher Quality มีคุณภาพ ๑ ด้าน ได้แก่ Q6 : Quality teaching management กล่าวถึง ครูต้องจัดการเรียนรู้ที่ตรงกับมาตรฐานและตัวชี้วัดสำคัญที่ต้องรู้และควรรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม มีกระบวนการตรวจสอบ ประเมินผลคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน

 

เอกสารอ้างอิง

บุญชม ศรีสะอาด. (25๖๐). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

วิจารณ์ พานิช. (2547). ธันวาคม. “ความรู้ยุคใหม่อยู่ในคนมากกว่าตำรา”. วารสารสานปฏิรูป. 7(80) : 62-68.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๖๔). ประกาศจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ ๒๕๖๔ . 

สุรัฐ ศิลปะอนันต์. (2545). กระบวนการปฏิรูปโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ:

 ด่านสุทธาการพิมพ์. 

สุดาวรรณ เครือพานิช. (2549).   วารสารวิชาการ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2549. 

อำรุง จันทวานิช. (2547). แนวทางการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ.

 กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

Aletta Grisay and lars Mahick. (1991). The Guality of education  in Develping Countries : A Review of Some Research Studies and Policy Document (Paris : Internation Instiute for Educational Planning’s Prinshop.).

Baumgart, N. (1987). Equity, Quality and Coat in Higher Education Bangkok : UNESCO Principle Regional Office for Asia and Pacific.

Gillham, D. P. (2000). Professional staff and parent perceptions of school effectiveness 

of seventh-day Adventist- k schools in the north america division. Retrieved from  http://www.thailis.uni.net.th/dao/printarticles.nsp 

Hoy, Wayne K. & Furguson Judith. (1985, Spring). “Theoretical Framework and

Exploration Organization Effectiveness of Sxhools,” Educational Administration Quarterly. 21(2) : 117-134

Krejeic, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970, Autumn). “Determining Sample Size for

Research Activity,” Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.

Likert, R.A. ; (1932, May). Technique for the measure of attitude. Arch Psychological. 

25(140) : 1 – 55.

Whatmough, R. (1994). The listening school Sixth formers and staff as customers of each other. 

In C. Parsons (Ed.), Quality improvement in education: Case student in schools, colleges and university. London : David Fulton.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 705026เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2022 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2022 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท